ThaiPublica > สู่อาเซียน > รายชื่อผู้กุมอำนาจในเมียนมา…หลังรัฐประหาร

รายชื่อผู้กุมอำนาจในเมียนมา…หลังรัฐประหาร

6 กุมภาพันธ์ 2021


ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์ รายงาน

พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ในฐานะประธาน SAC เป็นประธานประชุมคณะรัฐมนตรีและกรรมการ SAC เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 : ที่มาภาพเว็บไซต์ข้อมูลข่าวสารกองทัพพม่า

หากเป็นไปตามที่ พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย กำหนดอายุของสถานการณ์ฉุกเฉินไว้ 1 ปี ตามที่ประกาศไว้หลังการทำรัฐประหารเมื่อเช้ามืดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564

1 ปีนับจากนี้ “SAC-State Administration Council” หรือสภาบริหารแห่งรัฐ น่าจะเป็นชื่อองค์กรที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด อาจมากกว่าคณะรัฐมนตรีด้วยซ้ำ!!!

SAC หรือตัวย่อตามตัวอักษรพม่าว่า “นะ ซะ ก๊ะ” ถูกแต่งตั้งขึ้นตามคำสั่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ฉบับที่ 5/2021 ในตอนเช้าวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 โดยอ้างอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตราที่ 419 มอบบทบาทและอำนาจให้ SAC เป็นผู้วางและกำกับนโยบายการบริหารประเทศ มีอำนาจปลด โยกย้าย และแต่งตั้ง บุคคลที่เป็นผู้บริหารในทุกระดับ

หากย้อนดูการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของเมียนมาช่วง 30 ปีที่ผ่านมา นับแต่พล.อ.อาวุโส ตานฉ่วย ขึ้นมาครองอำนาจต่อจากนายพลเนวิน และนายพลซอหม่อง สิ่งที่ต้องจับตานับจากนี้ คือ SAC ในยุคของพล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย จะมีบทบาทเหมือนกับ SLORC-สภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ(State Law and Order Restoration Council) หรือ SPDC-สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ(State Peace and Development Council) ซึ่งเป็นองค์กรปกครองสูงสุดของคณะเผด็จการทหารในอดีต หรือไม่?

  • กองทัพเมียนมาคุมอำนาจ ประกาศฉุกเฉิน คุม “อองซานซูจี” พร้อมผู้นำอีกหลายคน
  • กองทัพเมียนมา ตั้ง “พลเอก มินต์ ส่วย” รักษาการประธานาธิบดี ปกครองใต้ภาวะฉุกเฉิน 1 ปี
  • ช่วงเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยในเมียนมาจากโมเดลแอฟริกาใต้ถอยกลับสู่รัฐประหาร
  • “ใคร” ในกองทัพเมียนมาคุมบริหารประเทศ
  • ก่อนมีคำสั่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ฉบับที่ 5/2021 ออกมา ตั้งแต่เริ่มยึดอำนาจ พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ในฐานะหัวหน้าคณะรัฐประหาร ได้ออกประกาศแต่งตั้งบุคลากรเข้ารับหน้าที่บริหารประเทศแล้วจำนวนหนึ่ง ได้แก่

    • แต่งตั้ง อู มิ่น ส่วย ขึ้นเป็นประธานาธิบดีชั่วคราว
    • แต่งตั้งนายทหารระดับพลโท จำนวน 7 คน เป็นคณะกรรมการเจรจาสันติภาพ
    • แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ จำนวน 11 คน
    คำสั่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ฉบับที่ 5/2021 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 แต่งตั้งสภาบริหารแห่งรัฐ(SAC) ชุดแรก 11 คน

    คำสั่งฉบับที่ 5/2021 ที่ออกมาตอนเช้าวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 ได้แต่งตั้งบุคคล 11 ขึ้นเป็น SAC จากนั้น SAC ก็เข้ารับบทบาทในการแต่งตั้งบุคคลต่างๆเข้ารับตำแหน่งในการบริหาร โดยประกาศเป็นคำสั่ง SAC ซึ่งมี พล.ท.อ่อง ลิน ดวย ในฐานะกรรมการ และเลขานุการ SAC เป็นผู้ลงนามท้ายคำสั่งทุกฉบับ

    เช้าวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 มีคำสั่ง SAC ฉบับที่ 14/2021 แต่งตั้งบุคคลที่เป็นตัวแทนจากกลุ่มชาติพันธุ์ เข้าเป็นกรรมการ SAC เพิ่มอีก 5 คน ส่งผลให้จำนวน SAC มีรวมทั้งสิ้น 16 คน มีโฆษกและรองโฆษกอีก 2 คน ที่เพิ่งแต่งตั้งเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564

    นอกจากนี้ ยังได้แต่งตั้งบุคคลเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีเพิ่มเติมในกระทรวงที่ยังขาด ทำให้คณะรัฐมนตรีของเมียนมา ขณะนี้ มีทั้งสิ้น 22 คน

    รวมถึงได้แต่งตั้งประธานประธานสภาบริหารรัฐและภาค ประธานเขตปกครองตนเอง ตามด้วยประกาศโครงสร้าง SAC ระดับรัฐ/ภาค เขตปกครองตนเอง และ SAC ระดับจังหวัด กับระดับอำเภอ

    โดยโครงสร้าง SAC ระดับรัฐ/ภาค และเขตปกครองตนเอง ให้ประธานสภาบริหารรัฐ/ภาค และเขตปกครองตนเอง ที่ได้แต่งตั้งไปก่อนหน้า เป็นประธาน SAC โดยตำแหน่ง แต่ในคณะกรรมการต้องมีตัวแทนจากกองทัพ 1 คน หัวหน้าฝ่ายตรวจคนเข้าเมืองและประชากร ประจำรัฐ/ภาค 1 คน ผู้บัญชาการตำรวจแต่ละรัฐ/ภาค อีก 1 คน ที่เหลือจึงเป็นกรรมการที่มาจากภาคประชาชนหรือผู้บริหารท้องถิ่น

    SAC ระดับจังหวัดและอำเภอ นอกจากตัวประธานซึ่งจะมีการแต่งตั้งตามลำดับขั้นต่อไปแล้ว โครงสร้างคณะกรรมการไม่แตกต่างจาก SAC ระดับรัฐ/ภาค เขตปกครองตนเอง คือต้องมีตัวแทนจากกองทัพ 1 คน หัวหน้าฝ่ายตรวจคนเข้าเมืองและประชากร ในพื้นที่ 1 คน ผู้บัญชาการตำรวจของแต่ละพื้นที่ 1 คน

    พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ในฐานะประธาน SAC เป็นประธานประชุมคณะรัฐมนตรีและกรรมการ SAC เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 : ที่มาภาพเว็บไซต์ข้อมูลข่าวสารกองทัพพม่า

  • สรุปล่าสุด ณ คืนวันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 หลังผ่านพ้นการรัฐประหารไปแล้ว 5 วัน SAC ได้ออกประกาศมาแล้วทั้งสิ้น 29 ฉบับ
  • รายชื่อคณะบุคคลที่ได้เข้ามากุมอำนาจบริหารในภาคส่วนต่างๆของเมียนมา ประกอบด้วย

    SAC-สภาบริหารแห่งรัฐ 16 คน ได้แก่

    1.พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ประธาน
    2.พล.อ.โซ วิน รองประธาน
    3.พล.อ.เมี๊ยะ ทูน อู กรรมการ
    4.พล.อ.ติ่น อ่อง ซาน กรรมการ
    5.พล.อ.หม่อง หม่อง จ่อ กรรมการ
    6.พล.ท.โม มิ่น ทูน กรรมการ
    7.พะโด มาน เงม หม่อง กรรมการ
    8.อู เตง ญุ่น กรรมการ
    9.อู ขิ่น หม่อง ส่วย กรรมการ
    10.ดอ เอ นุ เส่ง กรรมการ
    11.Jeng Phang หน่อต่อง กรรมการ
    12.อู หม่อง ฮา กรรมการ
    13.อู ซาย โลง ไซ ส่าย กรรมการ
    14.ซอ ดัน นี แย กรรมการ
    15.พล.ท.อ่อง ลิน ดวย เลขานุการ
    16.พล.ท.แย วิน อู เลขานุการร่วม

    พลจัตวา ส่อ มิน ทูน โฆษก SAC
    อู แตท ส่วย รองโฆษก SAC

    รายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ที่มีการทยอยประกาศแต่งตั้งออกมาตั้งแต่วันที่ 1-5 กุมภาพันธ์ 2564 ล่าสุดมี ตำแหน่ง 22 ประกอบด้วย

    1.อู วุณณะ หม่อง ลวิน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
    2.พล.ท.โซ ทุต รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย และสำนักงานรัฐบาลสหภาพ
    3.พล.ท.ตาน หล่าย เป็นรองรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
    4.พล.ต.โซ ติ้น ไหน่ รองรัฐมนตรี สำนักงานรัฐบาลสหภาพ
    5.พล.อ.เมี๊ยะ ทูน อู รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม
    6.พล.ท.ทูน ทูน หน่อง รัฐมนตรีกระทรวงกิจการชายแดน
    7.อู ส่อ ทูน อ่อง มิ่น รัฐมนตรีกระทรวงกิจการชาติพันธุ์
    8.อู มิ่น จ่าย รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ตรวจคนเข้าเมือง และประชากร
    9.อู วิน เฉ่ง รัฐมนตรีกระทรวงวางแผน การคลัง และอุตสาหกรรม
    10.อู หม่อง หม่อง วิน รองรัฐมนตรีกระทรวงวางแผน การคลัง และอุตสาหกรรม
    11.ดอ ตัน ตัน ลิน รองรัฐมนตรีกระทรวงวางแผน การคลัง และอุตสาหกรรม
    12.อู อ่อง ไหน่ อู รัฐมนตรีกระทรวงการลงทุน และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
    13.อู โก่ โก่ ไหล่ รัฐมนตรีกระทรวงความร่วมมือระหว่างประเทศ
    14.ดร.ปวิ่น ซาน รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์
    15.พล.อ.ติ่น อ่อง ซาน รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม และการสื่อสาร
    16.อู ฉ่วย เล กระทรวงก่อสร้าง
    17.อู ติ่น ทุต อู รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และชลประทาน
    18.อู ขิ่น หม่อง ยี รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
    19.ดร.ตัด ข่าย วิน รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขและกีฬา
    20.อู ชิด ไหน่ รัฐมนตรีกระทรวงสารสนเทศ
    21.อู โก่ โก่ รัฐมนตรีกระทรวงศาสนาและวัฒนธรรม
    22.ดร.เตท เตท ข่าย รัฐมนตรีกระทรวงสวัสดิการสังคม การบรรเทาทุกข์ และการโยกย้ายถิ่นฐาน

    พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ประธาน SAC เรียกประชุมประธานสมาคมธนาคาร และผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งในเมียนมา เพื่อชี้แจงและรับฟังคำเสนอแนะ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ : ที่มาภาพเว็บไซต์ข้อมูลข่าวสารกองทัพพม่า

    ประธานสภาบริหาร ภาค/รัฐ

    1.อู เขต เตง หน่าน ประธานสภาบริหาร รัฐคะฉิ่น
    2.อู ขิ่น หม่อง อู(บูแยล์) ประธานสภาบริหาร รัฐกะยา
    3.อู ส่ง มิ่น อู ประธานสภาบริหาร รัฐกะเหรี่ยง
    4.อู แตหริ่น สะมวย นี คเว ประธานสภาบริหาร รัฐชิน
    5.ดร.ติน เท ประธานสภาบริหาร รัฐมอญ
    6.ดร.อ่อง จ่อ มิน ประธานสภาบริหาร รัฐยะไข่
    7.ดร.จ่อ ทูน ประธานสภาบริหาร รัฐฉาน
    8.อู หม่อง หม่อง ลิน ประธานสภาบริหาร ภาคสะกาย
    9.อู ติ้น ลวิน ประธานสภาบริหาร ภาคมะกวย
    10.อู หม่อง โก่ ประธานสภาบริหาร ภาคมัณฑะเล
    11.อู มิว ส่วย วิน ประธานสภาบริหาร ภาคพะโค
    12.อู ติน อ่อง ประธานสภาบริหาร ภาคตะนาวศรี
    13.ดร.หม่อง หม่อง ไหน่ เป็นประธานสภาบริหาร กรุงเนปิดอ

    ประธานเขต/ภาค ปกครองตนเอง

    1.อู ทูน ทูน วิน ประธานเขตปกครองตนเอง นาคา
    2.อู อ่า ก่า ลิน ประธานเขตปกครองตนเอง ธะนุ
    3.ขุน แย ทวย ประธานเขตปกครองตนเอง ปะโอ
    4.ตา เตง ส่อ ประธานเขตปกครองตนเอง ปะหล่อง
    5.อู มิ่น ส่วย ประธานเขตปกครองตนเอง โกก้าง
    6.อู ญี นัต ประธานภาคปกครองตนเอง ว้า

    ด้านเศรษฐกิจ แต่งตั้ง

    -อู ตาน ญิน เป็นผู้ว่าการ ธนาคารกลางเมียนมา(CBM)
    -อู วิน ต่อ รองผู้ว่าการ ธนาคารกลางเมียนมา
    -ดอ ตาน ตาน ส่วย รองผู้ว่าการ ธนาคารกลางเมียนมา

    ด้านการปกครอง แต่งตั้ง
    -อู เมียว หม่อง เป็นประธานศาลฎีกา ประจำภาคสะกาย
    -อู จี เตง เป็นประธานศาสฎีกา ประจำภาคมัณฑะเล
    -ดร.ดอ ติดา อู เป็นอัยการสูงสุด
    -ดร.กัน ส่อ เป็นผู้อำนวยการ สำนักงานตรวจสอบแห่งรัฐ
    -อู ส่อ มิน เป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์

    คณะกรรมการเจรจาสันติภาพ 7 คน

    1.พล.ท.ยะ ปยี ประธาน
    2.พล.ท.เส่ง วิน กรรมการ
    3.พล.ท.แย อ่อง กรรมการ
    4.พล.ท.ติ่น หม่อง วิน กรรมการ
    5.พล.ท.มิน หน่อง กรรมการ
    6.พล.ท.เอ วิน กรรมการ
    7.พล.ท.อ่อง ลิน ดวย เลขานุการ

    คณะกรรมการเลือกตั้ง(UEC)
    1.อู เตง โซ ประธาน
    2.อู ตอง ติ่น กรรมการ
    3.อู ตาน ทูน กรรมการ
    4.อู เจ้าก์ กรรมการ
    5.อู อ่อง ส่อ วิน กรรมการ
    6.อู ตาน วิน กรรมการ