ThaiPublica > สู่อาเซียน > “ใคร” ในกองทัพเมียนมาคุมบริหารประเทศ

“ใคร” ในกองทัพเมียนมาคุมบริหารประเทศ

6 กุมภาพันธ์ 2021


พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ประชุมร่วมกับสภาบริหารแห่งรัฐและสมาคมธนาคารวันที่ 5ก.พ. 2564: https://www.mdn.gov.mm/en/state-administration-council-chairman-discusses-banking-services-economic-development

กองทัพ(Tamadaw)เมียนมา โดยพล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ได้ออกคำสั่งฉบับที่ 9/2021 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2021 แต่งตั้งรัฐมนตรีและผู้บริหารหน่วยงานสำคัญต่างๆ หลังจากทำการรัฐประหารขับไล่รัฐบาลพลเรือน วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ประกอบด้วยนายพล อดีตนายพลทหารและสมาชิกพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (Union Solidarity and Development Party: USDP)ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ หลังจากที่ปลดรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยจำนวน 24 คน

  • กองทัพเมียนมาคุมอำนาจ ประกาศฉุกเฉิน คุม “อองซานซูจี” พร้อมผู้นำอีกหลายคน
  • กองทัพเมียนมา ตั้ง “พลเอก มินต์ ส่วย” รักษาการประธานาธิบดี ปกครองใต้ภาวะฉุกเฉิน 1 ปี
  • สภาบริหารแห่งรัฐ

    คณะบริหารที่มีอำนาจเต็มได้แก่สภาบริหารแห่งรัฐ(State Administration Council )ที่มีจำนวน 16 คน โดยมีการแต่งตั้งชุดแรกตอนเช้าวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 11 คน ซึ่ง 8 คนเป็นนายทหาร ได้แก่ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ประธาน พล.อ.โซ วิน รองประธาน และมีกรรมการ คือ พล.อ.เมี๊ยะ ทุน อู, พล.อ.ติ่น อ่อง ซาน, พล.อ.หม่อง หม่อง จ่อ, พล.ท.โม มิ่นต์ ทุน, พะโด มาน เงน หม่อง, อู เต็ง ยุ่นต์, อู ขิ่น หม่อง ส่วย, พล.ท.อ่อง ลิน ดวย เลขานุการ, พล.ท.เย วิน อู เลขานุการร่วม

    ต่อมาวันที่ 3 กุมภาพันธ์ได้แต่งตั้งกรรมการเพิ่ม อีก 5 คน ประกอบด้วย ดอว์ เอ นุ เส่ง, Jeng Phang หน่อ ต่อง, อู หม่อง ฮา, อู ซาย โลง ส่าย, ซอ เดนียล

    ผู้นำกองทัพ: นายพล มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
    นายพลมิน อ่อง หล่าย วัย 64 เป็นผู้นำในการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำประเทศเป็นเวลา 1 ปีภายใต้การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน นายพล มิน อ่อง หล่าย เป็นบุคคลสำคัญของกองทัพมาร่วมทศวรรษ เป็นนักศึกษาวิชากฎหมายก่อนที่จะเขข้าร่วมกองทัพในปีทศวรรษ 1970 และมีความก้าวหน้าในเส้นทางนี้มาต่อเนื่องจนได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดในปี 2011

    หลังจากมีการยกเลิกรัฐบาลทหารในปี 2011 นายพล มิน อ่อง หล่ายเป็นเข้าร่วมในรัฐบาลกึ่งพลเรือนชุดแรกและมีตำแหน่งสำคัญรองจากประธานาธิบดี อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ในปี 2015 ที่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy: NLD) คว้าชัยทำให้ ออง ซาน ซูจี ก้าวขึ้นมามีอำนาจแทน

    ที่มาภาพ: https://www.theguardian.com/world/2021/feb/02/myanmar-coup-who-are-the-military-figures-running-the-country

    ขณะที่มีออง ซาน ซูจี เป็นผู้นำประเทศโดยพฤตินัย นายพล มิน อ่อง หล่าย ได้เข้ามามีส่วนทางการเมืองอย่างชัดเจนมากขึ้น บัญชีโซเชียลมีเดียของเขามีผู้ติดตามหลายแสนคน แต่ทั้งเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ได้ระงับบัญชีของเขาหลังจากที่กองทัพปราบปรามชนกลุ่มน้อย ชาวมุสลิมโรฮิงญา

    ในปี 2017 มีชาวโรฮิงญากว่า 750,000 คนต้องอพยพหลบหนีออกไปบังคลาเทศประเทศเพื่อนบ้าน เจ้าหน้าที่สหประชาชาติที่รับผิดชอบการสอบสวนในกรณีนี้ระบุว่า การปฏิบัติการกองทัพมีทั้งการสังหารหมู่ การข่มขืน การวางเพลิง และเป็นดำเนินการที่ตั้งใจฆ่าล้างเผ่าพันธ์ ในปี 2019 สหรัฐได้ใช้มาตรการคว่ำบาตรกับนายพล มิน อ่อง หล่ายและเจ้าหน้าที่กองทัพอีก 3 นาย กระทรวงการคลังได้อายัดทรัพย์สินของเขาในสหรัฐและห้ามการทำธุรกิจกับนายพล มิน อ่อง หล่ายและผู้นำกองทัพอีก 3 นาย

    ในเดือนกรกฎาคม 2020 สหราชอาณาจักรได้คว่ำบาตรนายพล มิน อ่อง หล่ายเช่นกัน โดยกล่าวหาว่าเขาและรองผู้บัญชาการกองทัพโซ วิน ร่วมกันใช้ความรุนแรงต่อชาวโรฮิงญา

    เป็นที่รู้กันดีว่า นายพล มิน อ่อง หล่าย ไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลพลเรือน และไม่พอใจกับความนิยมในตัวออง ซาน ซูจีที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งทึปรึกษาเปิดเผยว่า ทั้งสองคนไม่ได้พูดกันมาอย่างน้อยหนึ่งปีแล้ว และมีความตึงเครียดมากขึ้นหลังจากการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน ที่พรรค NLD คว้าชัยเหนือพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (Union Solidarity and Development Party: USDP) ที่กองทัพหนุน ก่อนการเลือกตั้งนายพลมิน อ่อง หล่ายได้เปิดเผยถึงเป้าหมายทางการเมืองต่อสาธารณะและมีรายงานว่าได้ร่วมกับพรรค USDP เพื่อก้าวสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี อย่างไรก็ตามการที่พรรค NLD ของออง ซานซูจี ชนะแบบถล่มทลาย ได้ดับความหวังนี้ลง

    นายพลมิน อ่อง หล่ายออกมากล่าวหาว่า มีการโกงการเลือกตั้งหลังจากที่พรรค NLD คว้าชัย และเรียกร้องให้มีการนับคะแนนใหม่ นายพลมิน อ่อง หล่าย จะครบวาระเกษียณในเดือนกรกฎาคมนี้ จึงมองกันว่าการทำการรัฐประการครั้งนี้เพื่อทำให้ตัวเขาอยู่ในอำนาจต่อไป ทั้งนี้มีรายงานว่านายพล มิน อ่อง หล่ายและครอบครัวร่ำรวยมหาศาล

    ประธานาธิบดี: มินต์ ส่วย

    ที่มาภาพ: https://www.theguardian.com/world/2021/feb/02/myanmar-coup-who-are-the-military-figures-running-the-country

    มินต์ ส่วยเป็นนายทหารที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีก่อนหน้านี้ และเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ชื่อของมินต์ ส่วยก็ปรากฎขึ้นมาเพื่อรับช่วงต่อหลังจากกองทัพคุมตัวผู้นำพลเรือน ทั้ง ออง ซาน ซูจีและบุคคลสำคัญอื่นๆของพรรค

    ในทันทีหลังจากที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี มินต์ ส่วย วัย 69 ปีได้ส่งมอบอำนาจให้กับนายพล มิน อ่อง หล่าย ทั้งนี้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2008 ประธานาธิบดีสามารถส่งมอบอำนาจให้กับผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้ภายใต้สภาวะฉุกเฉิน

    มินต์ ส่วย เป็นพันธมิตรที่แนบแน่นกับ ตาน ฉ่วย อดีตผู้นำกองทัพ ที่ได้ก้าวลงจากตำแหน่งเพื่อเปิดทางให้มีการเปลี่ยนผ่านให้กับรัฐบาลกึ่งพลเรือนที่เริ่มจัดตั้งขึ้นในปี 2011 ซึ่งการเปลี่ยนผ่านในช่วงนั้นส่งผลให้เมียนมารอดพ้นการถูกคว่ำบาตรจากนานาชาติที่เคยโดดเดี่ยวเมียนมาและปิดกั้นการลงทุนจากต่างประเทศมานานหลายสิบปี

    แม้มินต์ ส่วยจะไม่เป็นที่รูจักในระดับนานาชาติมากนัก แต่มีบทบาทสำคัญในกองทัพและการเมือง เคยเป็นมุขมนตรีของย่างกุ้ง เมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ และผู้บัญชาการกองทัพภาคหลายปี ในช่วงปี 2007 ที่มีการชุมนุมประท้วงที่นำโดยพระสงฆ์และโด่งดังไปทั่วโลกภายใต้ชื่อ การปฏิวัติชายจีวร (Saffron Revolution) มินต์ ส่วยรับหน้าที่หลักในการนำกรุงย่างกุ้งกลับสู่ความสงบหลังจากเกิดเหตุความไม่สงบและการปราบปรามที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่าสิบคน และมีการจับกุมตัวหลายร้อยคน

    คณะรัฐมนตรีใหม่

    สภาบริหารแห่งรัฐได้ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยใหม่จำนวน 20 คน โดยกระทรวงสำคัญยังตกเป็นกองทัพ ประกอบด้วย พล.ท.โซ ทุต เป็นรัฐมนตรีกระทรวงกิจการภายในและสำนักงานสหภาพ พล.อ.เมี๊ยะ ทุน อู เป็นรัฐมนตรีกลาโหม พลโท ทูน ทูน เนียง รัฐมนตรีกระทรวงกิจการชายแดน

    รัฐมนตรีกระทรวงกิจการภายในและสำนักงานสหภาพ: พล.ท. โซ ทุต

    ที่มาภาพ: https://www.theguardian.com/world/2021/feb/02/myanmar-coup-who-are-the-military-figures-running-the-country
    พล.ท.โซ ทุต วัย 60 ปี เป็นทหารอาชีพและเป็นผู้นำหน่วยข่าวกรองทหารก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในเดือนมีนาคม 2020 และยังคงนั่งเก้าอี้มหาดไทยหลังการรัฐประหาร พล.ท.โซ ทุต ดูแลหน่วยงานตำรวจ ราชทัณฑ์ และหน่วยข่าวกรอง, a position he retained on Monday. The ministry oversees police, prisons and intelligence. กระทรวงมหาดไทยภายใต้รัฐบาลพลเรือนเป็นหนึ่งในกระทรวงที่โควต้าเป็นของกองทัพ ตามรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับ กระทรวงกลาโหม และกระทรวงกิจการชายแดน จากข้อมูลขององค์การด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch) พล.ท.โซ ทุต อยู่ในรายชื่อที่สหภาพยุโรปคว่ำบาตรเพราะละเมิดสิทธิมนุษยชน ในช่วงที่ยังเป็นแม่ทัพภาคใต้

    รัฐมนตรีกลาโหม:พล.อ.เมี๊ยะ ทุน อู

    ที่มาภาพ: https://www.theguardian.com/world/2021/feb/02/myanmar-coup-who-are-the-military-figures-running-the-country
    พล.อ.เมี๊ยะ ทุน อู วัย 59 ปี เข้าร่วมโรงเรียนเตรียมทหารในปี 1980 และมีความก้าวหน้าในหน้าที่ในกองทัพต่อเนื่อง โดยได้ขึ้นมาเป็นผู้บัญชาการกองทัพบก กองทัพเรือและกองทัพอากาศในปี 2016 ก่อนที่จะมีการทำการรัฐประหาร พล.อ.เมียะ ทุน อู เป็นหนึ่งในรายชื่อที่จะได้รับการแต่งตั้งให้รับตำแหน่งแทน นายพล มิน อ่อง หล่ายหลังจากเกษียณในปีนี้ พล.อ.เมียะ ทุน อู อายุน้อยกว่าายพล มิน อ่อง หล่าย 5 ปี จากข้อมูลขององค์การด้านสิทธิมนุษยชน พล.อ.เมียะ ทุน อู มีบทบาทสำคัญเป็นอันดับสามในกองทัพ ในช่วงปี 2017 ซึงมีนโยบายต่อต้านชาวโรฮิงญา

    รัฐมนตรีต่างประเทศ:อู วันนะ หม่อง ลวิน

    ที่มาภาพ: https://news.un.org/en/story/2015/10/511482-only-through-wide-scale-reforms-will-un-keep-pace-changing-times-myanmar-tells
    กองทัพยังคงให้อู วันนะ หม่อง ลวิน วัย 68 ปี รับตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศต่อไป แม้มีการปรับเปลี่ยนรัฐบาล อู วันนะ หม่อง ลวินมีประวัติร่วมกับกองทัพมายาวนาน โดยรับราชการทหารมาเกือบครบ 3 ทศวรรษ ก่อนที่เกษียนอายุในตำแหน่งพันเอก นอกจากนี้เคยเป็นตัวแทนประเทศเข้าประจำที่สหประชาชาติ ปี 2007-2011

    อู วันนะ หม่อง ลวิน เป็นกรรมการบริหารกลางพรรค USDP แต่แพ้การเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน เคยเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ ปี 2011-16 ในรัฐบาลกึ่งทหารภายใต้การนำของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ตามรอยพันโทหม่อง ลวิน ผู้พ่อที่รับตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศปี 1969 ถึง 1970

    สำหรับรัฐมนตรีที่รับผิดชอบดูแลเศรษฐกิจได้แก่

    รัฐมนตรีกระทรวงวางแผน การเงินและอุตสาหกรรม: อู วิน เฉ่ง

    ที่มาภาพ: https://www.gnlm.com.mm/union-finance-minister-talks-tax-reform-in-parliament/
    อู วิน เฉ่ง เคยเป็นรัฐมนตรีช่วยกระทรวงคมนาคม ปี 2011-2012 ส่วนในปี 2013-2014 ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการการลงทุน (Myanmar Investment Commission) ครอบครัวของเขามีประวัติในการปกครองเมียนมามายาวนาน โดยซาน เฉ่ง ผู้พ่อ เป็นหนึ่งในกรรมการบริหารกลางของพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า (Burma Socialist Programme Party-BSPP) ที่ครองอำนาจมานาน

    อู วิน เฉ่ง อดีตนายทหาร ในตำแหน่งพลเรือจัตวาในปี 2010 ซึ่งเป็นสมาชิกพรรค USDP อีกรายที่แพ้การเลือกตั้ง แต่เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลังปี 2012 ภายใต้รัฐบาลประธานาธิบดีเต็ง เส่ง

    อู วิน เฉ่ง ประสบความสำเร็จในการเจรจาให้เจ้าหนี้ยกหนี้ต่างประเทศที่เกิดขึ้นก่อนปี 1988 หลังจากที่ได้ลงนามในข้อตกลงกับสมาชิก 11 รายของ Paris Club (สมาคมเจ้าหนี้ที่พบกันทุก 6 สัปดาห์ในปารีสเพื่อหารือเกี่ยวกับการบรรเทาหนี้ให้ประเทศกำลังพัฒนา) ในปี 2013

    รัฐมนตรีกระทรวงการลงทุนและเศรษฐกิจต่างประเทศ:อู อ่อง เนียง อู

    ที่มาภาพ: https://investmyanmar2019.com/investment/better-investment-scene-for-myanmar-in-2019/
    อดีตนายทหารเช่นกัน ได้เลื่อนจากตำแหน่งปลัดกระทรวงภายใต้รัฐบาลออง ซาน ซูจี ได้เข้าร่วมกับกองทัพในปี 1981 ถึง 2000 ก่อนที่จะเข้าทำงานกับกระทรวงพาณิชย์ จากนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นรองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการด้านการลงทุนและจดทะเบียนธุรกิจ (Directorate of Investment and Company Administration: DICA)ในปี 2011 ต่อมาปี 2014 ได้รับตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการลงทุนหรือ MIC

    นอกจากนี้ยังเป็นประธานร่วมในคณะทำงาน OECD ในการปรับปรุงกรอบนโยบายการลงทุน หลังจากที่ประชุมกลุ่มประเทศ G-20 ให้ความเห็นชอบ รวมทั้งยังมีตำแหน่งเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านศรษฐกิจในสมาคมอาเซียน

    อู อ่อง เนียง อู มีบทบาทสำคัญในการผลักดันกฎหมายการลงทุนเมียนมาฉบับใหม่และหลักเกณฑ์การลงทุนในเมียนมา รวมทั้งเป็นผู้ที่นำการจัดทำร่างกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ และปรับปรุงกฎหมายบริษัทในสมัยรัฐบาลออง ซาน ซูจี

    อู อ่อง เนียง อู เป็นผู้ที่สื่อสารได้ดี และได้รับความเชื่อมั่นจากนักลงทุนต่างชาติ และเป็นคนเดียวที่ทำให้นักลงทุนต่างมีความมั่นใจระหว่างการระบาดของไวรัสโควิด-19

    ผู้ว่าการธนาคารกลาง:อู ตาน เญน

    ที่มาภาพ:
    https://www.mmtimes.com/news/myanmar-military-appoints-new-captains-economy.html
    อู ตาน เญนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าการธนาคารกลาง(Central Bank of Myanmar) จากสภาบริหารแห่งรัฐ ก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ ธนาคารกลางมาแล้วในปี เดือนเมษายน 2007 เดือนกรกฎาคม 2013 ซึ่งในช่วงนั้นได้ผลักดันกฎหมายธนาคารกลาง และกฎหมายบริหารอัตราแลกเปลี่ยนให้ออกมาบังคับใช้

    ในระหว่างการดำรงตำแหน่ง อู ตาน เญน ได้ปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นระบบลอยตัวจากระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ซึ่งขณะนั้นกำหนดค่าเงินจ๊าดไว้ัที่ 6-7 จ๊าดต่อดอลลาร์

    ธนาคารกลางได้มีสถานะเป็นองค์กรอิสระในปี 2013 ซึ่งช่วงนั้น อู จอว์ จอว์ หม่อง ขึ้นทำหน้าที่ผู้ว่าการ ขณะที่อู ตาน เญน เป็นรองผู้ว่าการ แต่ได้ลาออกในภายหลัง

    อู ตาน เญน ยังคยรับเป็นที่ปรึกษาให้กับธนาคารกันบอว์ซะ Kanbawza Bank(KBZ) เป็นคนที่มีความสามารถทางการเงินและสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดี

    ตำแหน่งสำคัญอื่น

    สภาบริหารแห่งรัฐยังได้แต่งตั้งตำแหน่งสำคัญอื่นๆอีกด้วย โดย แต่งตั้ง พล.ท.ตาน หล่าย เป็นรองรัฐมนตรีกิจการภายใน และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แต่งตั้ง ดร.ติดา อู เป็นอัยการสูงสุด และ ดร.กัน ซอว์ อดีตรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลเต็ง เส่ง เป็นผู้อำนวยการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(Auditor General) ตั้งอู เต็ง โซ เป็นประธานคณะกรรมการเลือกตั้ง (UEC) พร้อมกรรมการเลือกตั้งอีก 5 คน

    เรียบเรียงจาก
    Myanmar millitary announces new State Administrative Council
    Myanmar’s Military Purges Government, Names 11 New Ministers
    Myanmar millitary appoints additionals to key personnel
    Myanmar military announces appointment of 11 new ministers
    Myanmar Military Appoints Ex-Generals, USDP Members to New Govt
    Myanmar Military appoints new captains of economy
    Republic of the Union of Myanmar State Administration Council Order No. (14/2021)
    Republic of the Union of Myanmar Office of the Commander-in-Chief of Defence Services Order No (9/2021)
    Myanmar coup: who are the military figures running the country?
    Tamadaw names new govt officials
    Myanmar Digital News