“เศรษฐา” แจงสภาฯ – กางงบ ฯปี’67 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท รายจ่ายประจำ 2.53 ล้านล้านบาท ตั้งงบฯชดใช้เงินคงคลัง – ชำระต้นเงินกู้อีก 2.36 แสนล้านบาท เหลืองบลงทุน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน-รองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 7.17 แสนล้านบาท
เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2567 เวลา 09.30 น.นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แถลงร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ต่อสภาผู้แทนราษฎร ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชั้น 2 อาคารรัฐสภา ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพ โดยนายเศรษฐา ชี้แจงต่อที่ประชุมสภา ฯว่า คณะรัฐมนตรีขอเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมีหลักการและเหตุผลดังนี้
หลักการ
การตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วงเงินไม่เกิน 3,480,000 ล้านบาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายของหน่วยรับงบประมาณเป็นวงเงิน 3,361,638.87 ล้านบาท เพื่อชดใช้เงินคงคลังวงเงิน 118,361.13 ล้านบาท
เหตุผล
เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณได้มีกรอบวงเงินงบประมาณสำหรับใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่รัฐบาลนำเสนอต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลตามที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา โดยรัฐบาลได้ดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ และฐานะทางการเงินการคลังของประเทศ ตลอดจนแนวทางการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม
ภาวะเศรษฐกิจทั่วไป
ตามแถลงภาวะเศรษฐกิจของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 เศรษฐกิจไทยในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 ซึ่งเป็นเป้าล่าสุดในไตรมาสที่ 3 โดยเป็นเป้าหมายที่ถูกปรับมาเรื่อย ๆ โดยหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย และยังมีองค์กรต่างประเทศ ที่ได้ลดการประมาณการขยายตัวลงด้วย
เป้าหมายการขยายตัวนี้ มีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวตามการขยายตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการลงทุนภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีผลต่อภาคการส่งออกสินค้า และภาคการผลิตอุตสาหกรรม รวมทั้งภาระหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่ยังอยู่ในระดับสูง และความเสี่ยงจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตร โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 1.4 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.0 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประเมินไว้ว่า เศรษฐกิจในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.7 – 3.7 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการส่งออก การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงจากการลดลงของแรงขับเคลื่อนด้านการคลัง ภาระหนี้สินภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจยังอยู่ในระดับสูง ผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งต่อผลผลิตภาคการเกษตร ความเสี่ยงจากการชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ท่ามกลางความเสี่ยงจากความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์และความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.7 – 2.7 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.5 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ทั้งนี้ตัวเลขการประเมินข้างต้นอาจถูกกระทบโดยปัจจัยที่คาดไม่ถึงในอนาคต เช่น ภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ราคาพลังงานที่ผันผวน การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีสมัยใหม่ และปัจจัยอื่นๆ ในอนาคต
ความสัมพันธ์ของงบประมาณรายจ่าย และแผนการพัฒนาประเทศ
งบประมาณรายจ่ายปี พ.ศ. 2567 มุ่งทำให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้นผ่านการดำเนินนโยบายที่จะครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยมีการดำเนินการทั้งระยะเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาระยะสั้นและนโยบายระยะกลางและยาว เพื่อเสริมขีดความสามารถในการเจริญเติบโตของประเทศ
“จากการปรับลดเป้าหมายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น จนลงมาเหลือเพียงร้อยละ 2.5 ในไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2566 นั้น แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศกำลังสูญเสียความสามารถในการเจริญเติบโต ซึ่งเกิดมาจากปัจจัยทั้งผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา การลงทุนของภาคเอกชนที่ลดลง การสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆที่สูงขึ้น เป็นต้น”
เศรษฐกิจจึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เนื่องมาจากประชาชนจำนวนมากได้รับผลกระทบโดยตรง จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนของรัฐบาลนี้ที่จะพลิกฟื้นเศรษฐกิจในระยะสั้น โดยเริ่มจากการสร้างอุปสงค์ (Demand) ในกลุ่มเป้าหมายของนโยบาย นำไปสู่การผลิตสินค้า ที่จะต้องมีการลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อขยายการผลิต ก่อให้เกิดการขยายอุปทาน (Supply) มีการพัฒนาขีดความสามารถในภาคอุตสาหกรรม ยกระดับการผลิตและพัฒนาห่วงโซ่อุปทานให้ใช้เทคโนโลยีที่ดีขึ้นทั้งประเทศ
การท่องเที่ยวยังคงจะเป็นกลไกที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยทำให้การท่องเที่ยวเข้าถึงเมืองรองมากขึ้น สร้างงานและอาชีพในพื้นที่ดังกล่าว เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการในพื้นที่ โดยรัฐบาลจะดึงดูดการท่องเที่ยวด้วยมาตรการต่างๆ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น นำจุดเด่นทางวัฒนธรรมไปนำเสนอให้กับเวทีโลก สนับสนุนการใช้อัตลักษณ์ของไทยให้เกิดประโยชน์ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนา Soft Power ของประเทศในระยะยาวด้วย
ในขณะเดียวกัน ประชาชนจำนวนมากเดือดร้อนจากค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นที่มาของนโยบายการลดรายจ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบ ซึ่งครอบคลุมไปถึงหนี้นอกระบบ และหนี้ในระบบ การลดราคาพลังงาน ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว และกำลังอยู่ในระหว่างการปรับโครงสร้างพลังงานให้เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีค่าใช้จ่ายที่ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมก็จะสามารถแข่งขันได้มากขึ้น
ประชาชนไทยจะเข้าถึงแหล่งงานที่มีคุณค่ามากขึ้น สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถที่มาจากภาคอุตสาหกรรมและภาคเอกชนระดับโลกได้ โดยรัฐบาลจะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวม คนไทยจะมีทักษะความสามารถเพิ่มขึ้นจากการทำงานและการอบรม ซึ่งรัฐบาลได้เดินหน้าดึงดูดบริษัทชั้นนำต่างๆ ปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อขจัดข้อจำกัดในการลงทุน วางแผนลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นที่จะเอื้อให้เกิดการลงทุนเกี่ยวเนื่อง ให้ครอบคลุมทุกมิติการคมนาคมในประเทศจะสะดวกสบายมากขึ้น สามารถรองรับความต้องการได้ในทุกมิติไม่ว่าจะเป็นทางถนน ทางน้ำ ทางราง และทางอากาศ โดยรัฐบาลจะลงทุนอย่างต่อเนื่อง และทำให้การระบบคมนาคมและโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพ กลายเป็นหนึ่งในจุดแข็งของประเทศไทย โดยพัฒนาทั้งโครงสร้างพื้นฐาน และการบริหารจัดการให้ดีขึ้น เช่น การเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (National Single Window) ที่จะทำให้ขั้นตอนการยื่นเอกสารและดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐสะดวกและง่ายดายมากขึ้น เป็นต้น
ประเทศไทยจะมีการลงทุนเรื่องน้ำที่ครอบคลุมทั้งระบบ เช่น น้ำในภาคการผลิต ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลจะขยายการเชื่อมต่อชลประทานให้มากยิ่งขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมรับกับสถานการณ์เอลนีโญ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรในการปลูกพืช เลี้ยงปศุสัตว์ ลดต้นทุนในการเข้าถึงน้ำ ทำให้เกษตรกรไม่ต้องเป็นกังวลเรื่องปัจจัยการผลิตอีกต่อไป และทำให้ภาคอุตสาหกรรมไม่เป็นกังวลกับการผลิต ให้ยังคงสามารถลงทุนต่อเนื่องได้
ทรัพยากรธรรมชาติจะได้รับการดูแล อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทั้งป่าไม้ ป่าชายเลน ทะเล ชายฝั่ง ซึ่งเป็นสินทรัพย์ทางธรรมชาติของประเทศ อากาศจะต้องสะอาด ฝุ่นพิษจะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน และประเทศไทยจะเดินหน้าลดก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติในระยะยาว ผ่านการใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ และดำเนินมาตรการจูงใจให้ภาครัฐและเอกชนลดการใช้คาร์บอน
อีกด้านหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญ คือ ด้านสังคมและความมั่นคง โดยประชาชนคนไทยจะต้องมีสุขภาวะที่ดีทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ เข้าถึงงานบริการสาธารณสุขได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ไม่จำเป็นต้องไปต่อคิวอีกต่อไป โดยรัฐจะลงทุนการเชื่อมต่อข้อมูลทั้งระบบ อัพเกรดระบบ 30 บาทรักษาทุกโรคให้ดียิ่งขึ้น
รัฐบาลจะดูแลลูกหลานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากยาเสพติด โดยการปรับปรุงหลักเกณฑ์ผู้เสพให้เป็นผู้ป่วย ซึ่งจะเน้นบำบัดผู้ติดยาและทำให้พวกเขาสามารถกลับคืนสู่ครอบครัวและสังคมได้ รวมทั้งจะสกัดกั้นยาเสพติดที่ลักลอบข้ามพรมแดนไม่ให้สามารถเข้ามาแพร่กระจายได้ ใช้มาตรการการจับกุมและยึดทรัพย์ผู้ผลิต ผู้ค้า และเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง ทำให้ยาเสพติดไม่สามารถแพร่ระบาดในประเทศไทยได้
ด้านอัตลักษณ์และความเสมอภาค รัฐบาลจะทำให้คนทุกกลุ่มได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย โดยปราศจากเงื่อนไขทางเพศสภาพ อายุ ความเจ็บป่วยของร่างกาย ทำให้ได้รับสิทธิครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ และเข้าถึงโอกาสต่างๆ เพื่อสร้างความเสมอภาคทางสังคมที่แท้จริง
ประชาชนจะไม่ต้องกังวลเรื่องความมั่นคงใดๆ เพราะรัฐจะดูแลให้อย่างครบวงจร ครอบคลุมทั้งความมั่นคงทางด้านกายภาพ เช่น การดูแลชายแดนและชายฝั่งทะเล การพัฒนาความสามารถในการดูแลภัยพิบัติ และช่วยเหลือผู้ประสบภัย การต่อต้านการก่อการร้ายในรูปแบบดั้งเดิม และความมั่นคงทางด้านไซเบอร์ ที่มีแนวโน้มจะขยายความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆโดยจะมีการทำงานอย่างบูรณาการครบทุกส่วน และประชาชนจะไม่รู้สึกเป็นกังวลด้านความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน
รัฐบาลจะพัฒนากองทัพให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น สอดคล้องไปกับการพัฒนาความมั่นคงในทุกรูปแบบและให้ตรงกับยุคสมัย ระบบการเกณฑ์ทหารจะเปลี่ยนเป็นแบบสมัครใจ โดยมีการสร้างแรงจูงใจใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาตนเอง การฝึกอาชีพ รวมถึงโอกาสในการประกอบอาชีพหลังจากการเป็นทหารประจำการ ทั้งหมดนี้จะทำให้สถาบันทหารมีความเป็นมืออาชีพ มีภาพลักษณ์ที่ดีและใกล้ชิดกับประชาชนมากยิ่งขึ้น
ประชาชนคนไทยทุกคนจะสามารถใช้ประโยชน์จากการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ เป็นการดำเนินนโยบายแบบ “การต่างประเทศที่กินได้” โดยสร้างจุดยืนที่เป็นประโยชน์ต่อคนไทย เป็นประเทศแนวหน้าในภูมิภาค มีอำนาจต่อรอง และได้รับการยอมรับในสากล มีความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการค้า การลงทุน การดูแลคนไทยในต่างแดน การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นต้น ทำให้ประเทศและคนไทยรักษาไว้ซึ่งเกียรติภูมิและความภาคภูมิใจ
ด้านการพัฒนาศักยภาพของคนไทย ประชาชนจะต้องได้รับการศึกษาที่เข้าถึงได้ พัฒนาสถาบันการศึกษาให้มีคุณภาพ และพัฒนาหลักสูตรให้มีมาตรฐานและทันต่อยุคสมัย รวมทั้งขยายโอกาสทางการศึกษาให้ครอบคลุมไปถึงระดับวิชาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะสำหรับตลาดแรงงาน หรือผู้ประกอบการยุคใหม่ ๆ
และสุดท้ายในด้านการเมืองการปกครอง ประชาชนจะได้เห็นการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่จะแก้ไขจุดด้อยของฉบับที่ผ่านมา ผ่านการทำงานที่โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยจะแก้ไขรัฐธรรมนูญบนหลักการที่เป็นไปได้มากที่สุดและเหมาะสมกับสถานการณ์ ไม่นำไปสู่ความขัดแย้งใหม่ในสังคมไทย
ประชาชนจะได้รับการบริการจากภาคราชการที่เร็วขึ้น สะดวกมากขึ้น ซึ่งในช่วงโควิด-19 หลาย ๆส่วนราชการก็ได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาให้บริการประชาชนมากขึ้น และในขณะเดียวกันประชาชนจำนวนมากก็เริ่มคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการใช้บริการ จึงเป็นโอกาสอันดีที่ในปี พ.ศ. 2567 จะใช้งบประมาณรายจ่ายในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลให้เกิดขึ้นได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับบริการที่ดี รวดเร็ว สะดวก มีประสิทธิภาพ ไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารกระดาษอีกต่อไป และยังทำให้เชื่อมโยงหลากหลายหน่วยงานเข้าเป็นฐานข้อมูลเดียวกัน มุ่งหน้าไปสู่การเป็น E-government ที่แท้จริงในอนาคต
ประชาชนจะมีส่วนร่วมกับรัฐบาลมากขึ้นผ่านกลไกในระดับชุมชน ซึ่งจะเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม ทำให้ประชาชนตื่นตัว และช่วยกันพัฒนาประเทศไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
นโยบายการคลัง-ความสัมพันธ์ระหว่างรายรับ-งบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้ง
ภายใต้สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจดังกล่าว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุล เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้มีความต่อเนื่อง โดยประมาณการจัดเก็บรายได้จากภาษีอากร การขายสิ่งของและบริการ รัฐพาณิชย์ และรายได้อื่น รวมสุทธิจำนวน 2,912,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 จากปีก่อน และหักการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 125,800 ล้านบาท คงเหลือเป็นรายได้สุทธิที่สามารถนำมาจัดสรรเป็นรายจ่ายของรัฐบาล จำนวน 2,787,000 ล้านบาท
สำหรับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นการดำเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุล โดยกำหนดรายได้สุทธิ จำนวน 2,787,000 ล้านบาท และเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 693,000 ล้านบาท รวมเป็นรายรับวงเงิน 3,480,000 ล้านบาท เท่ากับวงเงินงบประมาณรายจ่าย
จากการเพิ่มขึ้นของประมาณการรายได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จะทำให้รัฐมีรายได้ 2,787,000 ล้านบาท หรือ เพิ่มกว่าร้อยละ 11.9 ทำให้รัฐบาลมีการกู้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณลดลงจากปีงบประมาณที่ผ่านมา และสามารถตั้งงบประมาณชำระคืนต้นเงินกู้ การชดใช้เงินคงคลัง และการตั้งงบประมาณรายจ่ายลงทุนที่เพิ่มขึ้นได้
ฐานะการคลัง
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2566 มีจำนวน 11,125,428.1 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62.1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบการบริหารหนี้สาธารณะ ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 70 โดยหนี้สาธารณะที่เป็นข้อผูกพันของรัฐบาล ซึ่งเกิดจากการกู้ยืมเงินโดยตรง และการค้ำประกันเงินกู้โดยรัฐบาล มีจำนวนทั้งสิ้น 10,537,912.7 ล้านบาท
ปัจจุบันฐานะเงินคงคลัง ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 297,093.6 ล้านบาท โดยรัฐบาลจะบริหารเงินคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และบริหารรายรับและรายจ่ายของรัฐให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
ฐานะและนโยบายการเงิน
อัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ถูกปรับให้สูงขึ้น โดยใช้สมมุติฐานว่าสภาพเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวด้วยดี โดยจะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว โดยคณะกรรมการนโยบายการเงินได้มีมติปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ในการประชุมเมื่อเดือนกันยายน 2566 นั้น อาจเป็นปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2566 ยังอยู่ที่ระดับต่ำที่ร้อยละ 0.5 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 ซึ่งน้อยกว่าประเทศในภูมิภาคเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยลดลงมาจากที่อยู่ในระดับที่สูงในปีก่อนหน้า ซึ่งสะท้อนจากสภาพเศรษฐกิจที่มีการชะลอตัวลง
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2566 ยังอยู่ที่ระดับต่ำที่ร้อยละ 0.5 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 ซึ่งน้อยกว่าประเทศในภูมิภาคเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยลดลงมาจากที่อยู่ในระดับที่สูงในปีก่อนหน้า ซึ่งสะท้อนจากสภาพเศรษฐกิจที่มีการชะลอตัวลงต้องมีการปรับให้เหมาะสมกับนโยบายที่อาจได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากนโยบายของภาครัฐ
มูลค่าเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 มีจำนวน 211,750.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 2.74 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง
สาระสำคัญของงบประมาณรายจ่ายปี 2567
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีวงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 3,480,000 ล้านบาท จำแนกเป็นรายจ่ายประจำ จำนวน 2,532,826.9 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 72.8 รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 118,361.1 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.4 รายจ่ายลงทุน จำนวน 717,722.2 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 20.6 และรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 118,320.0 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.4 ทั้งนี้รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้เป็นรายจ่ายลงทุนกรณีการกู้เพื่อการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 7,230.2 ล้านบาท
1. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำแนกตามกลุ่มงบประมาณ
-
1.1 งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน 606,765.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.4 ของวงเงินงบประมาณ
1.2 งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน 1,150,144.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 33.0 ของวงเงินงบประมาณ
1.3 งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน 214,601.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.2 ของวงเงินงบประมาณ จำนวน 10 เรื่อง ได้แก่
-
1. ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
3. ต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ
4. เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย
5. บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
6. ป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
7. พัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์
8. พัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต
9. รัฐบาลดิจิทัล
10. สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว
1.4 งบประมาณรายจ่ายบุคลากร รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน 785,957.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 22.6 ของวงเงินงบประมาณ
1.5 งบประมาณรายจ่ายสำหรับทุนหมุนเวียน รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน 257,790.5 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.4 ของวงเงินงบประมาณ
1.6 งบประมาณรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน 346,380.1 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 10.0 ของวงเงินงบประมาณ
1.7 งบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน 118,361.1 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.4 ของวงเงินงบประมาณ
2. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำแนกตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ
ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้กำหนดไว้จำนวน 6 ยุทธศาสตร์ 1 รายการ โดยได้นำยุทธศาสตร์ชาติ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติมากำหนดเป็นกรอบโครงสร้างยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รายละเอียดการดำเนินงานที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ด้านความมั่นคง
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่าย จำนวน 390,149.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.2 ของวงเงินงบประมาณเพื่อให้ประเทศมีความมั่นคง ประชาชนมีความสุข สามารถรับมือกับภัยคุกคามและภัยพิบัติได้ทุกรูปแบบบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล จำแนกตามแผนงานสำคัญ ดังนี้
-
1) การป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด งบประมาณ 4,357.4 ล้านบาท เพื่อให้ปัญหายาเสพติดได้รับการแก้ไข เด็ก เยาวชน ผู้ใช้แรงงาน และประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีภูมิคุ้มกันรู้เท่าทันและปลอดภัยจากยาเสพติด มีสัดส่วนของผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดไม่เกิน 9.5 คน ต่อประชากร 1,000 คน สร้างความร่วมมือกับต่างประเทศในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด จับกุมเครือข่ายยาเสพติดร้อยละ 50 อายัด ยึดทรัพย์ ดำเนินคดีผู้สมคบ สนับสนุน หรือให้การช่วยเหลือผู้เสพยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ร้อยละ 31.2
-
2) การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ งบประมาณ 5,668.6 ล้านบาท เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน มีเกียรติภูมิ มีอำนาจต่อรองและได้รับการยอมรับในสากล เป็นผู้นำและเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืนและการเสริมสร้างพลังบวก สร้างอำนาจแบบนุ่มนวลของไทย ดำเนินการเพื่อสันติภาพตามกรอบสหประชาชาติ และกฎหมายระหว่างประเทศ ตลอดจนส่งเสริมการแก้ไขความขัดแย้งโดยใช้แนวทางสันติวิธี
-
3) การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ งบประมาณ 6,658.4 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความปลอดภัยทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม มีเป้าหมายเหตุรุนแรงลดลงร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับปี 2560 โดยขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้แบบบูรณาการ อย่างเป็นระบบและมีเอกภาพ ครอบคลุมทุกพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย ยึดมั่นในหลักสันติวิธี มุ่งเน้นการขจัดปัญหาความขัดแย้งและความไม่เป็นธรรมอย่างจริงจังและถาวร และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ตลอดจนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะในสถานศึกษาของรัฐ เสริมสร้างความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง
-
4) การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ งบประมาณ 12,695.1 ล้านบาท เพื่อพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมธำรงรักษาไว้เป็นสถาบันหลักของชาติ สร้างความผูกพันที่ดีระหว่างสถาบันหลักและประชาชน สร้างจิตสำนึกรัก ความหวงแหน ความจงรักภักดี และทำให้สถาบันหลักเป็นที่เคารพยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทย ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
-
5) การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง งบประมาณ 19,758.8 ล้านบาท เพื่อรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยในประเทศ ความมั่นคงชายแดน ชายฝั่งทะเล และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ การก่อการร้าย ป้องกันภัยคุกคามข้ามชาติ และเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี ตลอดจนติดตามและเฝ้าระวังการทำการประมงให้เป็นไปตามกฎหมาย
-
6) การพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติและระบบบริหารจัดการภัยพิบัติ งบประมาณ 21,536.1 ล้านบาท เพื่อลดความสูญเสีย สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยพัฒนาปรับปรุงนโยบายการบริหารจัดการให้ครอบคลุมรองรับภัยทุกประเภท เตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือการป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและภัยพิบัติให้รับมือได้อย่างทันท่วงที พัฒนาระบบเตือนภัยให้ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงภัยทั่วประเทศ รวมทั้งเสริมสร้างความร่วมมืออย่างบูรณาการจากทุกภาคส่วนทั้งภายในประเทศ และภายนอกประเทศ
-
7) การรักษาความสงบภายในประเทศ งบประมาณ 21,615.0 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการจราจร และปัญหาความรุนแรงในสังคม
-
8) การพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศและความพร้อมเผชิญภัยคุกคามทุกมิติ งบประมาณ 57,162.1 ล้านบาท เพื่อให้หน่วยงานด้านการข่าว และประชาคมข่าวกรอง ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเผชิญภัยคุกคาม ทุกรูปแบบ ทุกมิติ และทุกระดับความรุนแรง พัฒนากิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่อาจนำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจใหม่ภายในประเทศ และให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอวกาศ พัฒนาระบบงานข่าวกรองแบบบูรณาการ และประชาคมข่าวกรองในประเทศให้ทันสมัย
-
9) การดำเนินงานภารกิจพื้นฐานและภารกิจอื่น งบประมาณ 36,625.7 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 204,072.1 ล้านบาท เพื่อให้การดำเนินภารกิจด้านความมั่นคง มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า มีความพร้อมด้านการป้องกันประเทศ การดำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมือในการดำเนินงานด้านความมั่นคงระหว่างประเทศไทยกับมิตรประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่าย จำนวน 393,517.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.3 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในทุกด้านให้มีเสถียรภาพและยั่งยืน ผลักดันการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุน โดยมีเป้าหมายกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในทุกภูมิภาคของประเทศ จำแนกตามแผนงานสำคัญ ดังนี้
-
1) การพัฒนาความมั่นคงทางพลังงาน งบประมาณ 1,916.4 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานทั้งระบบให้มีความมั่นคง สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในทุกภาค สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อบริหารจัดการและผลิตพลังงานทดแทน พลังงานทางเลือก กำกับดูแลกลไกตลาดพลังงานให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรม รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการใช้พลังงานของประเทศ วางแผนความต้องการและสนับสนุนการจัดหาแหล่งพลังงานอย่างเหมาะสม ส่งเสริมการผลิตพลังงานสะอาด และพลังงานหมุนเวียน
-
2) การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล งบประมาณ 2,455.5 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในส่วนของโครงข่ายสื่อสารหลักและบรอดแบรนด์ความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลและบริการที่มีประสิทธิภาพอย่างเท่าเทียม ส่งเสริมการลงทุนและใช้ทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลร่วมกัน ทั้งในและต่างประเทศ ในส่วนของภาคพื้นดิน เคเบิ้ลใต้น้ำ และระบบดาวเทียมสำหรับการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านให้มีเพียงพอและมีระบบโครงข่ายสำรอง (Redundancy) ให้สามารถสื่อสารระหว่างประเทศได้อย่างต่อเนื่อง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ตลอดจนจัดให้มีมาตรการเฝ้าระวังและรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ที่ได้มาตรฐานสากล เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดวงจรอาชญากรรมออนไลน์ โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการกำหนดมาตรการและแนวปฏิบัติสำหรับผู้ให้บริการในการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้รับบริการ ส่งเสริมการให้ความรู้ เพิ่มทักษะและใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแก่ประชาชนและทุกสาขาอาชีพ สร้างความรู้การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สื่อออนไลน์ โครงข่ายสังคมออนไลน์ และทักษะด้านเกมต่อยอดอาชีพในอนาคต
-
3) การพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต งบประมาณ 3,806.6 ล้านบาท เพื่อเพิ่มอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 4.8 โดยโครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตให้เกิดการขยายตัว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย์ อุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล ข้อมูลปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและอากาศยาน และอุตสาหกรรมความมั่นคง โดยสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ระบบฐานข้อมูลสามมิติคู่เหมือนดิจิทัลเชิงพื้นที่ เพื่อรองรับเมตาเวิร์ส ยกระดับผลิตภาพและพัฒนากำลังคนเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนพัฒนาต่อยอดความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมและยกระดับไปสู่อุตสาหกรรมที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง และส่งเสริมให้เกิดการใช้รถยนต์ไฟฟ้าและการลงทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ตามมาตรการการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์
-
4) การสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว งบประมาณ 7,384.1 ล้านบาท ให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีเป้าหมายเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว 3 ล้านล้านบาท และอันดับการพัฒนาการเดินทางและการท่องเที่ยวอยู่ 1 ใน 30 ของโลก โดยส่งเสริมการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ สนับสนุนการสร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับความต้องการเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ กลุ่มคุณภาพ กลุ่มกีฬา กลุ่มสุขภาพ และกลุ่มความสนใจพิเศษไม่น้อยกว่า 35 ล้านคน สนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) รายสาขาเพื่อนำเสนอและรักษาจุดเด่นด้านขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศไทย เช่น พัฒนาเมืองสร้างสรรค์ตามแนวทางของยูเนสโก (UNESCO) ๕ เมือง การพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี 100 ชุมชน เพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 5 แห่ง พัฒนาแหล่งธรณีวิทยาเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว 7 แห่ง พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อรองรับการจัดงานท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ 10 เมือง ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกลุ่มอาเซียนและงานสัมมนาระดับนานาชาติ รวมทั้งพัฒนาและยกระดับชุมชนเข้าสู่มาตรฐานการท่องเที่ยวไทย 50 ชุมชน ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเข้าสู่มาตรฐานการท่องเที่ยวไทย 160 ราย การท่องเที่ยวไทยและผลักดันให้ชุมชนเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 20 ชุมชน เพื่อประโยชน์ในการสร้างงานสร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชน ประชาชน และผู้ประกอบการ 32,900 คน พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางน้ำและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเชื่อมโยงไปยังภูมิภาค โดยการพัฒนาท่าเรือและก่อสร้างทางหลวงชนบทเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว ระยะทาง 209.993 กิโลเมตร และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวทางน้ำ 9 แห่ง
-
5) เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก งบประมาณ 8,089.0 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายให้เกิดการลงทุนจริงในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาท โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน คมนาคมขนส่ง และระบบสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพ เข้าถึงได้สะดวก และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ เช่น โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ส่วนต่อขยายเชื่อมสนามบินอู่ตะเภา เป็นต้น สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลัก ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคในพื้นที่เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) พัฒนาเมืองให้น่าอยู่ มีความทันสมัยเหมาะกับการอยู่อาศัย สามารถประกอบกิจการได้อย่างมีคุณภาพ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ เช่น เตรียมพื้นที่สำหรับพัฒนาศูนย์ธุรกิจ และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ พัฒนาพื้นที่ชุมชนและปรับปรุงภูมิทัศน์ ตามผังเมือง อีอีซี ไม่น้อยกว่า 17 แห่ง ยกระดับและพัฒนาศูนย์การแพทย์ครบวงจร 2 แห่ง โรงพยาบาลศูนย์เฉพาะทาง 2 แห่ง ผลิตและพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ไม่น้อยกว่า 4,200 คน และถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ใน 40 ชุมชน
-
6) การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง แข่งขันได้ งบประมาณ 8,744.8 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และผู้ประกอบการชุมชนมีความรู้และทักษะของการเป็นผู้ประกอบการที่มีอัตลักษณ์ชัดเจน มีนวัตกรรมในการผลิตสินค้าและบริการ สามารถปรับตัวสู่ธุรกิจใหม่ โดยเสริมสร้างศักยภาพวิสาหกิจในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล 12,800 คน ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SME เข้าถึงแหล่งทุน เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาและยกระดับธุรกิจ ผ่านกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนการเข้าถึงแหล่งข้อมูลและองค์ความรู้ในการพัฒนาธุรกิจ สามารถขยายการค้าและการลงทุนไปต่างประเทศ ด้วยการส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีช่องทางการค้าผ่าน e-commerce 25,800 ราย รวมทั้งส่งเสริมการลงทุนที่เน้นการวิจัย พัฒนา และสร้างนวัตกรรม สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ และส่งเสริม SME ให้แข่งขันได้ในตลาดสากล
-
7) การพัฒนาพื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ งบประมาณ 9,433.8 ล้านบาท เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในทุกภูมิภาคของประเทศ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบสื่อสารด้วยเทคโนโลยีระบบดิจิทัลที่ทันสมัย รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย เพื่อยกระดับความน่าอยู่ของเมือง โดยใช้แผนผังภูมินิเวศเป็นกรอบในการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชนบทมั่นคง เกษตรยั่งยืน และอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมถึง ผังพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ แหล่งโบราณคดี วัฒนธรรม ประเพณี และอัตลักษณ์ท้องถิ่น โดยสนับสนุนการวางผังเมือง 106 ผัง และจัดรูปที่ดิน 232 ไร่
-
8) การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม งบประมาณ 19,270.4 ล้านบาท เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม โดยเร่งขยายการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสม พัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมให้มีสมรรถนะและทักษะสูงขึ้น เพิ่มความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ตอบโจทย์ปัญหาความท้าทายในสังคม สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ รวมทั้งการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
-
9) การสนับสนุนด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน งบประมาณ 36,997.7 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนเป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน โดยการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตและทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการและลดต้นทุนการผลิต สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุน พัฒนาช่องทางการตลาดและขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก ควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี รวมทั้งการแก้ปัญหาหนี้สินในภาคครัวเรือน เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อย
-
10) การเกษตรสร้างมูลค่า งบประมาณ 49,895.6 ล้านบาท เพื่อเพิ่มการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมและผลิตภาพด้านการผลิตของสาขาเกษตร โดยส่งเสริมระบบเกษตรแปลงใหญ่ จำนวน 2,472 แปลง และ 475,000 ไร่ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตต่อหน่วย บริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) จำนวน 69,954 ไร่ และ 135 แปลง ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้เทคโนโลยี นวัตกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตและปรับเปลี่ยนการผลิตหรือชนิดของพืช ปศุสัตว์ ให้เหมาะสมกับศักยภาพพื้นที่ ลดต้นทุนการผลิตด้านการเกษตร ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารเข้าสู่ระบบมาตรฐานความปลอดภัยด้วยการตรวจประเมินแหล่งผลิตไม่น้อยกว่า 307,347 แห่ง สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ รวมทั้งส่งเสริมความเข้มแข็งเกษตรกรในรูปแบบต่างๆ โดยมีเกษตรกรได้รับประโยชน์ 7.92 ล้านครัวเรือน และส่งเสริมการใช้แพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัล เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเป็นภาคการผลิตที่สร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เกษตรกรพึ่งพาตนเอง
-
11) การพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ งบประมาณ 181,529.4 ล้านบาท เพื่อให้ประเทศไทยมีระบบคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ให้มีความสมบูรณ์เชื่อมต่ออย่างครอบคลุม เป็นประตูการค้าและการลงทุน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทุกมิติอย่างเป็นระบบทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ เช่น ทางถนน ก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงและทางหลวงชนบท ระยะทาง ไม่น้อยกว่า 2,900.6 กิโลเมตร และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ระยะทางไม่น้อยกว่า 105 กิโลเมตร ทางราง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการขนส่งทางรางสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ สายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม และพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) ทางน้ำ พัฒนา ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพการเดินเรือในแม่น้ำต่าง ๆ เพื่อรองรับปริมาณการขนส่งสินค้า ไม่น้อยกว่า 115 ล้านตัน ทางอากาศ เพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) รวมทั้งส่งเสริมการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะของประชาชนอย่างทั่วถึง การพัฒนารูปแบบการกำกับดูแล และการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม การพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ โดยมีเป้าหมายไม่น้อยกว่า 2,390 คน กำกับดูแลและพัฒนามาตรฐานด้านการคมนาคมและโลจิสติกส์ทุกรูปแบบให้มีคุณภาพระดับสากล รองรับและอำนวยความสะดวกทางการค้าด้วยระบบการเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
12) การดำเนินงานภารกิจพื้นฐานและภารกิจอื่น งบประมาณ 21,335.6 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 42,659.0 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันสอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนากำลังคนและศักยภาพของประเทศอย่างยั่งยืน รวมทั้ง ส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจใหม่ ทำให้วงจรทางเศรษฐกิจการดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ แหล่งบ่มเพาะธุรกิจสร้างสรรค์ ส่งเสริมการลงทุนทั้งในประเทศและในต่างประเทศอันจะส่งผลให้มูลค่าการลงทุนที่ได้รับบัตรส่งเสริมไม่น้อยกว่า 250,000 ล้านบาท
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่าย จำนวน 561,954.2 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.1 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อให้ประชาชนทุกช่วงวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี การศึกษาได้รับการปฏิรูปให้ตอบสนองต่อนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง สร้างสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งในและนอกระบบการศึกษา สนับสนุนการอนุรักษ์และพัฒนามรดกทางศิลปวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ พัฒนาระบบบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน ครอบคลุม ทั่วถึง มีประสิทธิภาพ และเสริมสร้างศักยภาพทางการกีฬา รวมทั้ง ผลิตกำลังคนและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย และวางรากฐานเศรษฐกิจในอนาคต จำแนกตามแผนงานสำคัญ ดังนี้
-
1) การเสริมสร้างศักยภาพการกีฬา งบประมาณ 2,539.8 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง มีน้ำใจนักกีฬา และตระหนักถึงประโยชน์ของการออกกำลังกาย โดยส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มทุกวัย ออกกำลังกาย เล่นกีฬาและนันทนาการอย่างสม่ำเสมอ ผ่านอาสาสมัครทางการกีฬาและผู้นำการออกกำลังกาย 700 หมู่บ้าน พัฒนาทักษะและศักยภาพนักกีฬามุ่งสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติ ตลอดจน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อุปกรณ์ สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการออกกำลังกาย
-
2) การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม งบประมาณ 3,145.8 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนมีคุณธรรม จริยธรรม และความภูมิใจในความเป็นไทย โดยสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเทิดพระเกียรติและเผยแพร่เกียรติคุณทั้งด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม รวมทั้ง ส่งเสริมค่านิยมที่ดีงาม คุณธรรม จริยธรรม และการอนุรักษ์ฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ไม่น้อยกว่า 11.2 ล้านคน รวมทั้ง ให้มีการประกาศขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ และจัดทำฐานข้อมูลด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมในรูปแบบดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ และพัฒนาต่อยอดเป็นพลังสร้างสรรค์ อันจะนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าและเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเป็นไทยสู่สากล
-
3) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ งบประมาณ 24,932.7 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และทั่วถึง พัฒนาระบบการเรียนรู้และหลักสูตรให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของตลาดแรงงาน ส่งเสริมการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลาด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มระบบการจัดการเรียนรู้ พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นครูยุคใหม่ ไม่น้อยกว่า 175,696 คน สนับสนุนการคืนครูให้นักเรียน ไม่น้อยกว่า 68,000 คน เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนครู พัฒนาการเรียนการสอนหลักสูตรสะเต็มศึกษา (STEM) แก่นักเรียน 200,000 คน ในโรงเรียน 15,000 แห่ง ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี 15,000 คน สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานให้กับสถานศึกษาเพื่อพัฒนาเป็นโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล 8,217 แห่ง สนับสนุนอาหารเสริม (นม) และอาหารกลางวัน ส่งเสริมการขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง 455 แห่ง แก้ปัญหาเด็กที่อยู่นอกระบบการศึกษาและเด็กออกกลางคันให้เข้าสู่ระบบการศึกษา รวมทั้ง พัฒนาทักษะวิชาชีพและอบรมอาชีพระยะสั้นให้กับกลุ่มเป้าหมาย 1,299,500 คน เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานและต่อยอดอาชีพให้กับประชาชน
-
4) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต งบประมาณ 33,372.8 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนทุกช่วงวัยมีคุณภาพ ครอบครัวเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยเสริมสร้างให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย มีทักษะและความรู้ที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ผลิตและพัฒนากำลังคน อุดมศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จัดรูปแบบและหลักสูตรต่อเนื่องเพื่อเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ให้สามารถสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) 120 หลักสูตร ส่งเสริมโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ให้มีทักษะที่สามารถตอบโจทย์อุตสาหกรรม ไม่น้อยกว่า 13,520 คน รวมทั้ง พัฒนาแรงงานให้มีทักษะและสมรรถนะสูงและมีงานทำ ไม่น้อยกว่า 1,002,690 คน ดึงดูดผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศในตำแหน่งงานที่ขาดแคลน 20,000 คน และพัฒนาทักษะอาชีพผู้สูงอายุไม่น้อยกว่า 179,600 คน ให้สามารถประกอบอาชีพและพึ่งพาตนเองได้
-
5) การเสริมสร้างให้คนมีสุขภาวะที่ดี งบประมาณ 64,670.1 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดีทั้งกาย ใจ และสติปัญญา สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและเป็นธรรม โดยส่งเสริมกลไก สร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค เพิ่มศักยภาพการให้บริการด้านสาธารณสุข สามารถรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินจากโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต พัฒนาระบบการแพทย์ปฐมภูมิ และเครือข่ายระบบสุขภาพระดับอำเภอ ตลอดจนพัฒนาระบบระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ผ่านกลไกระดับชุมชน ด้วยการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ไม่น้อยกว่า 1,075,100 คน และภาคีเครือข่ายในการจัดการสุขภาพ ส่งเสริมความรอบรู้ด้านการรักษาและฟื้นฟูสุขภาพที่ถูกต้องแก่ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ เสริมสร้างความเป็นเลิศทางการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และสมุนไพร พัฒนาและยกระดับสมุนไพรเพื่อเพิ่มมูลค่าและการดูแลสุขภาพประชาชน เร่งรัดการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ ไม่น้อยกว่า 30,580 คน และกระจายแพทย์ไปสู่ชนบทไม่น้อยกว่า 900 คนต่อปี พัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินครบวงจรและระบบการส่งต่อ ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างทันท่วงที ตลอดจนเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตผ่านช่องทางที่หลากหลาย
-
6) การดำเนินงานภารกิจพื้นฐานและภารกิจอื่น งบประมาณ 29,109.8 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 404,183.2 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพทั่วถึง ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับสวัสดิการและคุณภาพชีวิตที่เหมาะสม 1,350,000 คน สนับสนุนบริการวิชาการด้านพลศึกษา กีฬาและนันทนาการ 3,628,800 คน พัฒนาศักยภาพวัยแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ตลอดจน สนับสนุนให้สถาบันการศึกษาน้อมนำแนวพระราชดำริมาบูรณาการแก้ไขปัญหาในการพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่าย จำนวน 834,240.6 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 24.0 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อให้คนไทยได้รับสวัสดิการพื้นฐานอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ ส่งเสริมสภาพแวดล้อมและกลไกที่ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เร่งดำเนินการให้ประชาชนมีสิทธิในที่ดินทำกิน พัฒนาระบบสาธารณสุข ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกโรค และการศึกษาที่ได้คุณภาพและมาตรฐาน รวมทั้งสร้างหลักประกันสวัสดิการ สำหรับแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ และสนับสนุนการเตรียมความพร้อมสังคมไทยในการรองรับสังคมสูงวัย จำแนกตามแผนงานสำคัญ ดังนี้
-
1) การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย งบประมาณ 820.1 ล้านบาท เพื่อเตรียมความพร้อมประชากรเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ โดยเผยแพร่ความรู้และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สุขภาพ สังคม และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม อาทิ ผู้สูงอายุมีงานทำและมีรายได้ ไม่น้อยกว่า 2,720 คน สามารถเข้าถึงความคุ้มครองทางสังคมและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ไม่น้อยกว่า 331,220 คน อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ไม่น้อยกว่า 11,000 แห่ง และเข้าถึงระบบบริการสุขภาพตามมาตรฐานและได้รับการดูแลที่เหมาะสม ไม่น้อยกว่า 1,393,195 คน ตลอดจน เพิ่มศักยภาพบุคลากรด้านสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น ไม่น้อยกว่า 23,390 คน เพื่อเป็นกลไกในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 62,320 คน ให้ได้รับบริการด้านสุขภาพและสังคมอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
-
2) การพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก งบประมาณ 2,302.7 ล้านบาท เพื่อเพิ่มศักยภาพและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากภายในประเทศให้สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น และกระจายรายได้สู่ชุมชน ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำของรายได้ประชาชน พัฒนาและสร้างโอกาสประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้มีอาชีพ สนับสนุนเกษตรกรรุ่นใหม่ไปสู่เกษตรกรปราดเปรื่อง จำนวนเกษตรกรได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการเกษตร 23,095 ราย เกษตรกรได้รับสิทธิในที่ดินทำกิน ยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจ สนับสนุนศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ส่งเสริมและสร้างทักษะในการประกอบอาชีพทั้งในและนอกภาคการเกษตร สนับสนุนการปลูกไม้มีค่าเป็นพืชเศรษฐกิจ พัฒนาผลิตภัณฑ์และการให้บริการชุมชน โดยพัฒนาความเข้มแข็งของสถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน รวมทั้งพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในชุมชน พัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน สนับสนุนการพัฒนากลไกการตลาดและระบบการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มรายได้จากการจำหน่ายสินค้าชุมชน โดยพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ส่งเสริมช่องทางการตลาดสินค้าชุมชนให้ครอบคลุมทุกช่องทาง รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนากลไกและโครงสร้างดูดซับมูลค่าทางเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้กลับสู่ท้องถิ่น
-
3) การสนับสนุนด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม งบประมาณ 5,053.0 ล้านบาท เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อยและเกษตรกร โดยการจัดสรรที่ดินทำกินของตนเอง เพื่อใช้สำหรับประกอบอาชีพเกษตรกรรม และที่อยู่อาศัย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรผ่านกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร 591 ราย ส่งเสริมการร่วมมือทางการค้าเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและสนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจฐานรากในแต่ละภูมิภาค ส่งเสริมกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติรวมทั้งสนับสนุนผู้มีรายได้น้อยให้เข้าถึงสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในระดับราคาที่เหมาะสม โดยรัฐบาลสนับสนุนสินเชื่อที่อยู่อาศัยในอัตราดอกเบี้ยที่ผ่อนปรน ตลอดจนสนับสนุนงานพิธีศพที่ได้รับพระราชทาน ตามพระบรมราโชบายอย่างเหมาะสม
-
4) การเสริมสร้างพลังทางสังคม งบประมาณ 6,842.0 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการสร้างพลังในชุมชนให้เกิดเป็นพลังทางสังคม สร้างครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็ง สนับสนุนบทบาทและพัฒนาศักยภาพองค์การสวัสดิการสังคม อาสาสมัคร เครือข่าย และภาคประชาชน พัฒนากลไกและระบบสนับสนุนการบริหารจัดการเครือข่ายในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และชุมชน ส่งเสริมศักยภาพบทบาทสตรีและสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดวิสาหกิจเพื่อสังคม 160 กิจการ สนับสนุนทุกเพศสภาพเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม ส่งเสริมชุมชนให้มีการสร้างงาน สร้างรายได้และพึ่งตนเองได้ ประชาชนมีที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สนับสนุนการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของแต่ละชุมชนโดยพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม นำองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และน้อมนำแนวทางพระราชดำริสู่การปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมทุนทางสังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่นให้สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาสู่การเพิ่มคุณค่า และมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม
-
5) มาตรการแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะกลุ่ม งบประมาณ 22,867.0 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนและจัดหาโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมให้ประชากรกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพิสูจน์สิทธิของบุคคลในเขตที่ดินของรัฐที่มีข้อพิพาทให้ยุติ ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษโดยเฉพาะกลุ่มเด็ก เยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานของรัฐอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม สร้างความเชื่อมั่น และเพิ่มคุณภาพการให้บริการสาธารณะให้มีความปลอดภัย รวมทั้งสร้างพลังความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อนำไปสู่การยกระดับการคุ้มครองทางสังคม โดยสนับสนุนเบี้ยเด็กแรกเกิดถึง 6 ปี ไม่น้อยกว่า 2,556,723 คน สนับสนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี 115,281 ราย สนับสนุนการพัฒนาและปรับปรุงบ้านมั่นคง 3,900 ครัวเรือน บ้านพอเพียง 26,348 ครัวเรือน พัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองเปรมประชากร 70 ครัวเรือน รวมทั้งผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ส่งเสริมการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสาธารณะสำหรับคนพิการ ช่วยเหลือคุ้มครองผู้ประสบปัญหาทางสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนกลุ่มเป้าหมายพิเศษในพื้นที่ ปรับปรุงและจัดหาอาคารเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย รวมถึงสนับสนุนบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน
-
6) การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ งบประมาณ 23,076.0 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการดำเนินการแบบบูรณาการครอบคลุมทุกมิติการพัฒนาของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ที่มีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ผ่านโครงการภายใต้แผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดที่มีการบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน ได้แก่ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไปสู่การขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
-
7) การสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา งบประมาณ 85,853.3 ล้านบาท เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ทั้งในระบบและนอกระบบตามสิทธิที่กำหนดไว้ โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 9,085,400 คน ประกอบด้วยค่าจัดการเรียนการสอน ค่าหนังสือเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน และค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ไม่น้อยกว่า 1.3 ล้านคน ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาหรือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพให้เหมาะสมสอดคล้องกับความจำเป็นรายบุคคล ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของหน่วยจัดการเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบหรือกลไกความร่วมมือในพื้นที่ รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ และสนับสนุนทุนเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาและสายอาชีพ จำนวน 25,000 คน
-
8) การสร้างหลักประกันทางสังคม งบประมาณ 339,007.2 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกจากบริการพื้นฐานทางการแพทย์ใกล้บ้าน มีสุขภาวะที่ดี โดยพัฒนาระบบสาธารณสุข ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกโรคให้มีสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น ประชาชนที่ได้รับสิทธิ์ ไม่น้อยกว่า 47.67 ล้านคน สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขภายใต้ระบบประกันสุขภาพที่ทั่วถึง ได้มาตรฐานและเป็นธรรม ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว โดยเชื่อมโยงข้อมูลบนฐานข้อมูลที่มีความปลอดภัย พัฒนาคลินิกหมอครอบครัว ส่งเสริมกลไกการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรค อาทิ วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก มีสถานส่งเสริมสุขภาพ สถานชีวาภิบาลประจำท้องถิ่นเพื่อดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อดูแลประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรมในราคาสินค้าและบริการอย่างเหมาะสม ส่งเสริมการสร้างหลักประกันสังคมและสวัสดิการสำหรับแรงงานในระบบและนอกระบบ รวมถึงสร้างความปลอดภัยและอนามัยสุขภาพในการทำงานให้เหมาะสม ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนไร้ที่พึ่ง และคนขอทานได้รับการคุ้มครองช่วยเหลือที่ครอบคลุม ตลอดจนสนับสนุนและช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในการลดภาระค่าครองชีพผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไม่น้อยกว่า 15 ล้านคน และส่งเสริมการออมเพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำนาญและประโยชน์ตอบแทนแก่สมาชิกเมื่อสิ้นสภาพ 2.55 ล้านคน ผ่านกองทุนการออมแห่งชาติ
-
9) การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น งบประมาณ 339,124.9 ล้านบาท เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินงานและจัดบริการสาธารณะได้อย่างมีมาตรฐานและประสิทธิภาพ สามารถพึ่งตนเองได้ในทุกมิติและประชาชนได้รับบริการสาธารณะอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม โดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ คือ สนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่นักเรียนโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่น้อยกว่า 0.96 ล้านคน สนับสนุนอาหารกลางวันนักเรียน ไม่น้อยกว่า 5.19 ล้านคน สนับสนุนอาหารเสริม (นม) ไม่น้อยกว่า 5.2 ล้านคน สนับสนุนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ไม่น้อยกว่า 11.83 ล้านคน เบี้ยยังชีพคนพิการ ไม่น้อยกว่า 2.14 ล้านคน รวมถึงสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแสดงความสามารถและร่วมพัฒนาศักยภาพในพื้นที่ของตนเอง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นให้ดียิ่งขึ้น เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและประเทศอย่างมั่นคง และยั่งยืน
-
10) การดำเนินภารกิจพื้นฐานและภารกิจอื่น งบประมาณ 837.9 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 8,456.5 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอทางสังคมให้ประชาชนได้รับโอกาสในการเข้าถึงการบริการสาธารณะอย่างเท่าเทียม เป็นธรรม และทั่วถึง รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานในระบบและนอกระบบ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่าย จำนวน 131,292.3 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.8 ของวงเงินงบประมาณ เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน สร้างการเติบโตบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว และบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำแนกตามแผนงานสำคัญ ดังนี้
-
1) การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล งบประมาณ 415.4 ล้านบาท เพื่อให้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้รับการปรับปรุง ฟื้นฟู และสร้างใหม่ โดยจัดการคุณภาพน้ำทะเล รักษาระบบนิเวศและสัตว์ทะเลหายากใกล้สูญพันธุ์ ตลอดจนคุ้มครอง อนุรักษ์ และฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งให้คงความสมบูรณ์ ควบคู่กับการบริหารจัดการเพื่อใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน รวมทั้งพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบติดตามเฝ้าระวัง คาดการณ์ และประเมินผลกระทบจากคราบน้ำมันในทะเล โดยมีค่าเป้าหมายดัชนีคุณภาพมหาสมุทร 72 คะแนน
-
2) การจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม งบประมาณ 868.0 ล้านบาท เพื่อให้ประเทศมีการบริหารจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพและเอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยแก้ไขปัญหาขยะทุกประเภทอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการบริหารจัดการมลพิษจากแหล่งกำเนิด และสนับสนุนการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ส่งเสริมการบริหารจัดการที่ดินในพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน ส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร จัดการคุณภาพอากาศของแต่ละพื้นที่ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และปริมาณน้ำเสียได้รับการบำบัดได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน ไม่น้อยกว่า 90.0 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมถึงการส่งเสริมให้โรงพยาบาล มีการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมได้ตามเกณฑ์
-
3) การจัดการผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ งบประมาณ 1,788.2 ล้านบาท เพื่อให้ประเทศสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมลดลง 45 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือคิดเป็นร้อยละ 8 จากกรณีปกติ ด้วยการเสริมสร้างความตระหนักรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างความร่วมมือของภาคีต่าง ๆ เสริมสร้างขีดความสามารถในการลดมลพิษ และลดก๊าซเรือนกระจกจากภาคอุตสาหกรรม ส่งเสริมการลงทุนเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ เพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าเพื่อพัฒนาประเทศมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพระบบตรวจวัดและการแจ้งเตือนภัยสภาพอากาศ รวมทั้งประเมินการกักเก็บคาร์บอนในภาคป่าไม้ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อใช้กำหนดนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
-
4) การสนับสนุนด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม งบประมาณ 2,333.5 ล้านบาท เพื่ออนุรักษ์ รักษาและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน สนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวง บริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากร รวมทั้งเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล
-
5) การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ งบประมาณ 5,655.8 ล้านบาท เพื่อให้ความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟู โดยพัฒนากลไกและมาตรการในการอนุรักษ์ ปกป้องคุ้มครอง ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน รักษาพื้นที่ป่าในความดูแล 98.94 ล้านไร่ และส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจแบบครบวงจร 36,300 ไร่ จัดระเบียบการใช้ที่ดินด้วยการสำรวจการถือครองที่ดินและจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ระดับพื้นที่ 3,731 หมู่บ้าน เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติ รวมทั้งการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจในพื้นที่ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
-
6) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ งบประมาณ 92,003.6 ล้านบาท เพื่อให้ประเทศมีความมั่นคงด้านน้ำเพิ่มขึ้น มีการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบและยั่งยืน รวมทั้งช่วยเหลือและแก้ปัญหาภัยแล้ง โดยการจัดการน้ำอุปโภคบริโภคผ่านการจัดหาแหล่งน้ำสำรองเพื่อระบบประปา 56,434 ครัวเรือน สร้างความมั่นคงด้านน้ำทั้งภาคการผลิต การเกษตร และอุตสาหกรรมให้มีต้นทุนน้ำใช้อย่างสมดุล มีพื้นที่รับประโยชน์จากแหล่งน้ำเพิ่มขึ้น 335,501 ไร่ การจัดการน้ำท่วมและบรรเทาสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เศรษฐกิจ 298,646 ไร่ พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำเสีย 120 แห่ง อนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำ ป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูป่าต้นน้ำ 37,194 ไร่ และปลูกป่าฟื้นฟู 7,450 ไร่ พื้นที่ชลประทานเดิมได้รับการปรับปรุง 1 ล้านไร่ เกษตรกรและราษฎรได้รับประโยชน์จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 20,000 คน ตลอดจนบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
-
7) การดำเนินงานภารกิจพื้นฐานและภารกิจอื่น งบประมาณ 10,013.5 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 18,214.3 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการบริหารจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ชายฝั่งและระบบนิเวศทางทะเล ทรัพยากรธรรมชาติ จัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมและพัฒนาสวนสัตว์เพื่อการท่องเที่ยว และการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และแหล่งอนุรักษ์พันธุ์พืช
ยุทธศาสตร์ที่ 6 : ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่าย จำนวน 604,804.5 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.4 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อให้ระบบการบริหารราชการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม จำแนกตามแผนงานสำคัญ ดังนี้
-
1) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ งบประมาณ 754.0 ล้านบาท เพื่อลดปัญหาการทุจริตในสังคมไทย โดยมีค่าเป้าหมายค่าดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions index : CPI) อยู่ในอันดับ 1 ใน 51 และ/หรือได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 53 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ของหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานในประเทศไทย ไม่น้อยกว่า 89 คะแนน ผ่านการปลูกจิตสำนึก และสร้างค่านิยมให้ทุกภาคส่วนตระหนักรู้ในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต คุณธรรม จริยธรรม และใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร ปรับปรุงกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและเป็นธรรม รวมทั้งให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อให้สังคมไทยมีภาพลักษณ์ความซื่อสัตย์สุจริตดีขึ้น มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้
-
2) รัฐบาลดิจิทัล งบประมาณ 3,029.6 ล้านบาท เพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการภาครัฐผ่านการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่า โดยยกระดับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลภาครัฐให้ยืดหยุ่นคล่องตัว มีการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการพัฒนาทักษะบุคลากรภาครัฐ ไม่น้อยกว่า 100,000 คน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลโดยให้บริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ ไม่น้อยกว่า 40,000 VM (Virtual Machine) สนับสนุนการพัฒนาแพลตฟอร์มหรือเครื่องมือดิจิทัลกลางภาครัฐเพื่อเชื่อมโยงและแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ อย่างน้อย 16 แพลตฟอร์ม ให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน ภาคธุรกิจ และผู้ใช้บริการ ตลอดจนจัดตั้งทีมรับมือเหตุฉุกเฉินทางคอมพิวเตอร์ในด้านบริการภาครัฐ ด้านพลังงานสาธารณูปโภค และด้านสาธารณสุข เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ ปรับปรุงระบบการอนุมัติและอนุญาตของภาครัฐ พัฒนาระบบจัดเก็บและเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ เพื่อยกระดับการพัฒนาภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล
-
3) การพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรม งบประมาณ 17,774.2 ล้านบาท เพื่อทบทวน ปรับปรุง หรือยกเลิกกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือเป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศ ให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป พัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และมาตรฐานและกลไกกำกับดูแลด้านดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ รวมทั้ง ควบคุมและพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อคืนคนดีสู่สังคม
-
4) การพัฒนาบริการประชาชนและการพัฒนาประสิทธิภาพภาครัฐ งบประมาณ 28,420.2 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกในการบริการภาครัฐให้สามารถติดต่อราชการโดยสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ลดค่าใช้จ่าย และตรวจสอบได้ รวมทั้งการบริหารจัดการด้านการเงิน การคลัง โดยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ ขยายฐานภาษี และการปรับปรุงระบบภาษีที่เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการหนี้สาธารณะให้เกิดความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาว มีการปรับสมดุลภาครัฐโดยการปรับขนาดของภาครัฐให้เหมาะสมกับภารกิจ เสริมสร้างบทบาทของภาคส่วนอื่นๆ ตลอดจนสร้างบุคลากรภาครัฐให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึก และเป็นคนเก่ง มีความรู้ความสามารถ ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างประสิทธิภาพและคุณภาพภายใต้หลักระบบคุณธรรม
-
5) การสนับสนุนด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ งบประมาณ 425,212.6 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนเป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ สนับสนุนการดำเนินงานด้านนิติบัญญัติ รวมทั้ง ค่าใช้จ่ายตามสิทธิและประโยชน์ต่างๆ ของบุคลากรภาครัฐที่กำหนดไว้ในงบกลาง อาทิ เงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินเลื่อนเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการ เงินสำรอง เงินสมทบ เงินชดเชย และเงินช่วยเหลือของข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ
-
6) การดำเนินงานภารกิจพื้นฐานและภารกิจอื่น งบประมาณ 21,241.5 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 108,372.4 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า ประชาชนได้รับความสะดวกและรวดเร็ว
รายการดำเนินการภาครัฐ
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายไว้ จำนวน 564,041.2 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.2 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายรองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยมิได้คาดหมายสำหรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น การบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ และชดใช้เงินคงคลัง ดังนี้
สำหรับเอกสารประกอบได้มีการจัดทำให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 10 และมาตรา 11 ดังนี้
-
1. คำแถลงประกอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
2. รายรับรายจ่ายเปรียบเทียบระหว่างปีที่ล่วงมาแล้ว ปีปัจจุบันและปีที่ขอตั้งงบประมาณรายจ่าย แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 1 (เล่มคาดส้ม)
3. คำอธิบายเกี่ยวกับประมาณการรายรับและวิธีหาเงินส่วนที่ขาดดุล แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 2 (เล่มคาดเขียว)
4. คำชี้แจงเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้ง ซึ่งรวมถึงการแสดงผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณและความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 3 (เล่มคาดแดง) และฉบับที่ 4 (เล่มคาดเหลือง)
5. รายงานเกี่ยวกับสถานะทางการเงินโดยรวมของรัฐวิสาหกิจ แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 5 (เล่มคาดม่วง)
6. รายงานเกี่ยวกับสถานะเงินนอกงบประมาณและแผนการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณโดยรวมของหน่วยรับงบประมาณ แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 7 (เล่มคาดชมพู)
7. คำอธิบายเกี่ยวกับหนี้ของรัฐบาลทั้งที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันและหนี้ที่เสนอเพิ่มเติม แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 5 (เล่มคาดม่วง)
8. ผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณของปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้ว แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 6 (เล่มคาดน้ำเงิน)
9. ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
“สรุปงบประมาณรายจ่ายปี พ.ศ. 2567 นี้มีงบประมาณรายจ่าย 3,480,000 ล้านบาท โดยจะมีที่มาจากรายได้ที่คาดว่าจะจัดเก็บได้ 2,787,000 ล้านบาท และเป็นการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 693,000 ล้านบาท แม้ว่างบประมาณรายจ่ายปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่รัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้ได้มากขึ้นกว่าร้อยละ 11.9 ทำให้สามารถจัดสรรงบไปลงทุนได้กว่า 717,722.2 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 4.1 และสามารถชดใช้เงินคงคลังและชำระคืนต้นเงินกู้ได้กว่า 118,361.1 ล้านบาทอีกด้วย ซึ่งจะทำเป็นการเตรียมพร้อม ทำให้รัฐบาลมีกรอบในการลงทุนในระยะกลางและยาวมากขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 อีกด้วย การบริหารงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินนโยบายทั้งในระยะสั้นไปจนถึงระยะยาว โดยรัฐบาลจะดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ ใช้จ่ายเงินภาษีของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีเป้าหมายที่จะบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ลงทุนเพื่อสร้างการเจริญเติบโตของประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และเป็นไปตามกฎหมาย” นายกรัฐมนตรี กล่าว