ThaiPublica > สู่อาเซียน > “สหรัฐฯ อังกฤษ แคนาดา” คว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ยุติธรรมเมียนมา รอบ 1 ปีกองทัพยึดอำนาจ

“สหรัฐฯ อังกฤษ แคนาดา” คว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ยุติธรรมเมียนมา รอบ 1 ปีกองทัพยึดอำนาจ

1 กุมภาพันธ์ 2022


ที่มาภาพ: https://www.myanmar-now.org/en/news/anti-coup-mass-protests-take-place-in-cities-across-myanmar

สหรัฐฯ อังกฤษ แคนาดา คว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเมียนมา โดยการใช้มาตรการคว่ำบาตรครั้งล่าสุด ‘เพื่อตอกย้ำถึงความรับผิดชอบต่อการทำรัฐประหารและความรุนแรงจากการกระทำของรัฐบาล’

สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และแคนาดา ได้ประกาศมาตรการคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเมียนมา ในวันครบรอบ 1 ปีของการทำรัฐประหาร

กระทรวงการคลังสหรัฐฯ คว่ำบาตรอัยการสูงสุด ทิดา อู หัวหน้าผู้พิพากษาศาลฎีกาตุน ตุน อู และ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต อู ทิน อู ซึ่งกระทรวงระบุว่ามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดด้วยแรงจูงใจทางการเมืองในการดำเนินคดีกับอองซาน ซูจี

การประกาศมาตรการคว่ำบาตรของกระทรวงการคลังสหรัฐและกระทรวงการต่างประเทศ ตรงกับวันครบรอบหนึ่งปีของการทำรัฐประหารในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เมื่อทหารควบคุมตัวออง ซาน ซูจีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรายอื่นๆที่ได้รับการเลือกตั้ง และยึดอำนาจเพื่อตนเอง

  • สหรัฐฯคว่ำบาตรภรรยา นายพล มิน อ่อง หล่าย คู่สมรส-บุตรสมาชิกสภาบริหารแห่งรัฐ
  • สหราชอาณาจักรคว่ำบาตร 2 บริษัทเอี่ยวกองทัพเมียนมาและสภาบริหารแห่งรัฐ
  • สหรัฐฯคว่ำบาตรผู้ว่าการ ธนาคารกลางเมียนมา 4 สมาชิกสภาบริหารแห่งรัฐและ 7 รัฐมนตรี
  • สหภาพยุโรปคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่รัฐทหารเมียนมา 10 คน บริษัทกองทัพ 2 แห่ง
  • สหรัฐฯคว่ำบาตรลูกนายพลมิน อ่อง หล่าย ผู้นำกองทัพเมียนมา
  • อังกฤษ-แคนาดา คว่ำบาตรนายพลเมียนมาหลังยึดอำนาจ
  • ประธานาธิบดีโจ ไบเดน สหรัฐฯประกาศคว่ำบาตรผู้นำทหารเมียนมา
  • สหราชอาณาจักรระบุว่า การใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อ ทิดา อู , ติน อู และ อู เต็ง โซ อดีตนายทหารที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งของประเทศหลังการรัฐประหาร

    “เราได้ประสานงานในการดำเนินการกับสหราชอาณาจักรและแคนาดา เพื่อแสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนที่แข็งแกร่งของประชาคมระหว่างประเทศต่อประชาชนพม่า และเพื่อตอกย้ำถึงความรับผิดชอบต่อการทำรัฐประหารและความรุนแรงที่กระทำโดยรับาล” รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ นายแอนโทนี บลิงเคน ระบุในแถลงการณ์

    “สหรัฐฯ จะยังคงทำงานร่วมกับพันธมิตรระหว่างประเทศของเราเพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน และกดดันให้รัฐบาลยุติความรุนแรง ปล่อยตัวผู้ที่ถูกกักขังอย่างไม่ยุติธรรม ไม่ขัดขวางการเข้าถึงด้านมนุษยธรรม และฟื้นฟูเส้นทางสู่ประชาธิปไตยของพม่า” นายบลิงเคนกล่าว

    นางลิซ ทรัสส์ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษกล่าวว่า ระบอบการปกครองของทหารเมียนมา “พยายามข่มขู่ประชาชนเมียนมาให้ยอมจำนน”

    “ด้วยความกลัวและความรุนแรง พวกเขาได้สร้างความแตกแยกและความขัดแย้ง” นางทรัสส์กล่าวในแถลงการณ์

    “สหราชอาณาจักรจะปกป้องสิทธิในเสรีภาพ ประชาธิปไตย และหลักนิติธรรมเสมอ สำหรับประเทศที่มีความคิดเหมือนๆ กัน เราจะให้รัฐบาลที่โหดร้ายรับผิดชอบต่อการปราบปราม”

    รัฐบาลแคนาดาระบุในถ้อยแถลงว่า กองทัพ “ไม่มีสัญญาณของการปรับแนวทาง” ต่อสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมและการเมืองในเมียนมาในปีที่ผ่านมา

    แคนาดาใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อเจ้าหน้าที่เมียนมา 3 รายเช่นเดียวกับวอชิงตัน โดยระบุว่าพวกเขา “ใช้บทบาทของตนเพื่อละเมิดหลักนิติธรรมและกำจัดฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ส่งผลให้เกิดการละเมิดสันติภาพระหว่างประเทศและสถานการณ์ความมั่นคงเลวร้ายลง”

    สหรัฐฯ ยังได้คว่ำบาตรต่อผู้นำธุรกิจและบริษัทหลายแห่งที่ถูกกล่าวหาว่าให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กองทัพเมียนมาอีกด้วย คือ โจนาธาน เมียว จอ ตอง ซีอีโอของ KT Group และกรรมการของ KTSL บริษัทในเครือ KT Group ซึ่งดำเนินการท่าเรือหลักในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเมียนมาและศูนย์กลางการค้าของย่างกุ้ง รวมทั้ง เต ซา เจ้าของ “บริษัทหลายแห่งซึ่งเป็นที่รู้กันว่ามีการจัดหาอุปกรณ์และบริการ รวมทั้งอาวุธให้กับกองทัพพม่า”

    ทู้ เต็ต เต ซา และ ปเย เพียว เต ซา บุตรของ เต ซา ก็ถูกคว่ำบาตรเช่นกัน กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ระบุ

    ทรัพย์สินและผลประโยชน์ทั้งหมดในทรัพย์สินของบุคคลที่มีชื่อข้างต้นซึ่งอยู่ในสหรัฐอเมริกา จะถูกยึด และห้ามไม่ให้ชาวอเมริกันทำธุรกิจกับพวกเขา