ThaiPublica > เกาะกระแส > ‘ชาญชัยและคณะ’ จี้ ป.ป.ช.ส่งศาลรีเซ็ต ครม.-รัฐสภา ปมโยกงบใช้หนี้แบงก์รัฐ-แจกเงินหมื่น ผิด รธน.144

‘ชาญชัยและคณะ’ จี้ ป.ป.ช.ส่งศาลรีเซ็ต ครม.-รัฐสภา ปมโยกงบใช้หนี้แบงก์รัฐ-แจกเงินหมื่น ผิด รธน.144

26 พฤษภาคม 2025


เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2568 เวลา 11.00 น. นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต สส.จังหวัดนครนายก พรรคประชาธิปัตย์ และคณะ อันประกอบด้วย นายสมชาย แสวงการ อดีต สว. , นายเจษฎ์ โทณะวณิก นักวิชาการและอดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ปี 2560 และนายนิติธร ล้ำเหลือ หรือ “ทนายนกเขา” เดินทางไปยื่นหลักฐานเพิ่มเติม พร้อมติดตามความคืบหน้าของคดีตัดงบใช้หนี้แบงก์รัฐนำมาแจกเงินหมื่นขัดรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 144 ณ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)

‘ชาญชัยและคณะ’ จี้ ป.ป.ช.เร่งสรุปผลสอบส่งศาลรีเซ็ต ครม. ถึงรัฐสภา ปมโยกงบใช้หนี้แบงก์รัฐ 35,000 ล้านบาท แจกเงินหมื่น พร้อมส่งหลักฐานเพิ่มตอกย้ำความผิด-ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 ชี้คดีมีอายุความ 20 ปี

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2568 เวลา 11.00 น. นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต สส.จังหวัดนครนายก พรรคประชาธิปัตย์ และคณะ อันประกอบด้วย นายสมชาย แสวงการ อดีต สว. , นายเจษฎ์ โทณะวณิก นักวิชาการและอดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ปี 2560 และนายนิติธร ล้ำเหลือ หรือ “ทนายนกเขา” เดินทางไปยื่นหลักฐานเพิ่มเติม พร้อมติดตามความคืบหน้าของคดีตัดงบใช้หนี้แบงก์รัฐนำมาแจกเงินหมื่นขัดรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 144 ณ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)

นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต สส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) กล่าวว่า ตามที่ตนและคณะเคยมายื่นเรื่องต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ก่อนหน้านี้ เพื่อให้ความปรากฎต่อ ป.ป.ช.ว่ามีการกระทำผิดฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 ของคณะรัฐมนตรี(ครม.) ที่ได้มีมติสั่งปรับลดงบประมาณ หรือ ตัดงบประมาณที่จะนำไปใช้หนี้มาตรา 28 ให้แบงก์รัฐ 5 แห่ง วงเงินรวม 35,000 ล้านบาท โดยมีการโยกเงินงบประมาณดังกล่าวมาใช้โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet หรือ “โครงการแจกเงินหมื่น” ซึ่งบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 เขียนไว้ชัดเจนว่า “ห้ามไปลด หรือ ตัดทอน งบประมาณรายจ่ายที่จะนำไปชำระต้นเงินกู้ , ดอกเบี้ย และเงินที่กำหนดให้ต้องจ่ายตามกฎหมาย” นอกจาก ครม.จะไม่ได้สั่งการระงับ หรือ ยับยั้ง ยังไปมีมติเห็นชอบให้ปรับลดงบประมาณดังกล่าว รวมถึงสส. และสว. ตลอดจนกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 ที่เห็นชอบในกรณีดังกล่าว ซึ่งเข้าข่ายความผิดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 และพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ มาตรา 28 ด้วย ซึ่งตนได้ยื่นเรื่องร้องเรียนดังกล่าวครบ 1 เดือนแล้ววันนี้จึงมาติดตามผล เนื่องจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ ระบุชัดว่า กรรมการ ป.ป.ช. ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ป.ป.ช. และยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยพลันกับผู้กระทำความผิดทั้งหมด ยกเว้นผู้ที่พิสูจน์ได้ว่า ไม่อยู่ร่วมในการประชุม เพื่ออนุมัติปรับลดงบประมาณรายจ่ายในส่วนนี้

“ในวันนี้ตนได้นำเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมประกอบด้วยหนังสือของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ที่เคยส่งหนังสือทักท้วงและเตือนรัฐบาลในการทำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัล วอลเล็ต ลงวันที่ 22 เมษายน 2567 โดย ธปท.ในฐานะที่รับมอบหมายให้กำกับดูแลความเสี่ยงและฐานะของสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีข้อกังวลว่าการที่รัฐบาลจะมอบหมายให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)สนับสนุนโครงการนี้ โดยยังมีภาระหนี้คงค้างกับ ธ.ก.ส.ถึง 800,000 ล้านบาท อาจทำให้เกิดความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและความเสี่ยงต่อฐานะการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. อย่างมีนัยสำคัญ” นายชาญชัย กล่าว

นายชาญชัย กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ให้ความเห็นกรณีรัฐบาลจะมอบหมายให้ ธ.ก.ส.ดำเนินโครงการอะไรนั้นจะต้องเป็นการดำเนินการที่อยู่ภายใต้ เข้าวัตถุประสงค์ และอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 ตามนัยยะของมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ 2561 ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า เงินดังกล่าวนี้เป็นหนี้สาธารณะ และต้องชำระตามกฎหมาย

รวมทั้งเอกสารที่ พล.ต.อ.วัชรพล ประสานราชกิจ อดีตประธาน ป.ป.ช. เคยมีข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ให้กับรัฐบาลพิจารณา โดยเฉพาะในข้อ 8.4 ที่ระบุว่า “การดำเนินโครงการเติมเงิน 10,000 ผ่าน Digital Wallet คณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาประเด็นความเสี่ยงด้านกฎหมายอย่างรอบคอบ ประกอบด้วย รัฐธรรมนูญปี 2560 (มาตรา 172), พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 (มาตรา53), พ.ร.บ.เงินคงคลัง พ.ศ. 2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(มาตรา4,5,6) , พ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ. 2501 ตลอดจนกฎหมายคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ และระเบียบอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินการโครงการเกิดประสิทธิภาพสูงสุด”

นายชาญชัย กล่าวต่อว่า กรณีที่รัฐบาลไปตัดงบฯชำระหนี้ มาตรา 28 ของ ธ.ก.ส. แล้วโยกมาแจกเงินหมื่น ก็เปรียบเสมือนคนทั่วไปที่มีบัตรเครดิต เมื่อนำบัตรไปรูดซื้อสินค้าจนเก็บเต็มวงเงิน พอถึงเวลาก็ไม่นำเงินมาชำระหนี้ ธนาคารเจ้าของบัตรเครดิตก็ไม่ปล่อยเงินมาให้ใช้อีก เช่นเดียวกันกับกรณีที่รัฐบาลค้างจ่ายหนี้มาตรา 28 กับ ธ.ก.ส. พอถึงเวลาไม่นำเงินมาชำระหนี้ แต่กลับนำเงินไปใช้ในโครงการอื่น ส่งผลทำให้หนี้ตามมาตรา 28 เกือบเต็มวงเงิน ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้รัฐบาลติดค้างหนี้มาตรา 28 ได้ไม่เกิน 32% ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่งปัจจุบันแทบไม่เหลือช่องว่างให้รัฐบาลดำเนินนโยบายกึ่งการคลัง โดยไปสั่งการให้ แบงก์รัฐ หรือ ธ.ก.ส.ดำเนินโครงการ หรือ มาตราการช่วยเหลือเกษตรกรที่เดือดร้อนจากราคาผลิตผลทางการเกษตรตกต่ำได้ ไม่ว่าจะเป็นการแทรกแซงราคาข้าว , ปาล์มน้ำมัน , ยางพารา , ผลไม้ เป็นต้น จึงขอให้ป.ป.ช.เร่งตรวจสอบเรื่องนี้โดยพลัน เพราะการดำเนินการดังกล่าวมีผลกระทบต่อระบบชัดเจน หากเห็นว่า มีมูล ก็ให้เสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 วรรค 3 พร้อมเรียกเงินงบประมาณ 35,000 ล้านบาท จากผู้ทำความผิดส่งคืนแผ่นดิน ซึ่งมีอายุความ 20 ปี นับจากวันที่มีการจัดสรรงบประมาณดังกล่าว

  • ทำไม!! ปมตัดงบแบงก์รัฐ-แจก ‘เงินหมื่น’ เป็นเหตุต้อง ‘รีเซ็ต ครม.-รัฐสภา’
  • ‘ชาญชัยและคณะ’ ยื่น ป.ป.ช.รีเซ็ต ครม. ถึงรัฐสภา ปมตัดงบใช้หนี้แบงก์รัฐ-แจกเงินหมื่น ผิด รธน.144
  • รัฐบาลเบี้ยวหนี้แบงก์รัฐ 35,000 ล้านบาท โยกงบฯ ปี ’68 แจก “เงินหมื่น” ทั้งที่ค้างจ่ายกว่า 1 ล้านล้านบาท
  • คลังกลับลำ ครั้งที่ 4 ไม่ยืมเงิน ธ.ก.ส. – ใช้งบฯ ปกติ 4.5 แสนล้าน แจก ‘ดิจิทัล วอลเล็ต’
  • เงินดิจิทัล 10,000 บาท แจก 5.6 แสนล้านบาท บริหารอย่างไร-ไม่ต้องกู้
  • ครม. กลับลำจัดงบกลางปี ’67 ทำ “ดิจิทัลวอลเล็ต” แทนโยกงบ กู้ชดเชยขาดดุลได้ 815,000 ล้าน เคาะวงเงิน 28 พ.ค.นี้
  • เงินหมื่นเฟส 1- 3 แจก 21.25 ล้านคน ใช้เงิน 2.1 แสนล้าน คุ้มค่าไหม!!