ตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำข้อเสนอความเห็นและข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่อง โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet
ไปเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เสนอดังนี้
……….
คลังชงเป็นเรื่องเร่งด่วนต้องกระตุ้นศก.
ความเห็นของกระทรวงการคลัง ลงนามโดยนายเศรษฐา ทวีสิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้นระบุว่า…
กระทรวงการคลังในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital wallet ขอเสนอเรื่อง โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet มาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา ดังนี้
เหตุผลความจำเป็นที่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรี
ตามที่นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 โดยแถลงถึงนโยบายการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ซึ่งเป็นการใส่เงินในระบบเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง และกระจายไปยังทุกพื้นที่ให้หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจให้ถึงฐานราก เกิดการจับจ่ายใช้สอย ยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชน และภาคธุรกิจ ที่จะขยายการลงทุน ขยายกิจการ เกิดการผลิตสินค้าที่มากขึ้น นำไปสู่การจ้างงาน สร้างอาชีพ และเกิดการหมุนเวียนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลก็จะได้รับผลตอบแทนคืนมาในรูปแบบของภาชี อันจะเป็นการวางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับประเทศ เป็นการเตรียมความพร้อมของประเทศให้เข้าสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่และเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความโปร่งใสให้กับกลไกการชำระเงินของระบบเศรษฐกิจและรัฐบาล
นอกจากนี้คณะรัฐนตรีในคราวการประชุมมี่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการในการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายฯ เพื่อกำกับดูแลและขับเคลื่อนการดำเนินโครงการเติมเงิน Digtal Wallet 10,000 บาท ให้เป็นไปอย่างรอบคอบ โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง โดยมีหน้าที่และอำนาจ เช่น กำหนดนโยบายโครงการฯ วัตถุประสงค์โครงการฯ แนวทางการดำเนินโครงการฯ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ และแหล่งที่มาของเงินที่จะนำมาใช้ในโครงการฯ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี กำกับ ดูแล ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินโครงการฯ ให้เป็นโปตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เป็นต้น
ความเร่งด่วนของเรื่อง
โครงการฯ เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ที่คณะกรรมการนโยบายฯ เห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการฯ เพื่อเพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้กระจายตัวไปสู่ท้องถิ่นและชุมชน โดยการดำเนินโครงการฯ ได้พิจารณาขอบเขตและเงื่อนไขที่เหมาะสมกับบริบทเศรษฐกิจ จึงเห็นควรนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อดำเนินโครงการฯ ให้เป็นรูปธรรมต่อไปโดยเร็ว
สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
การดำเนินการของคณะกรรมการนโยบายฯ ได้มีมติรับทราบข้อเสนอแนะๆ ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. พร้อมทั้งมีมติให้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงและความเห็นของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยรับฟังความคิดเห็นให้รอบคอบและครบถ้วน รวมทั้งรายงานผลการรวบรวมข้อเท็จจริงและความเห็นให้คณะกรรมการนโยบายฯ ทราบเพื่อรายงานผลต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
ผลการรวบรวมข้อมูล ความเห็น ข้อเท็จจริง และข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ จำนวน 65 หน่วยงาน โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) หน่วยงานราชการ 8 หน่วยงาน (2) สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย และสมาคมการค้า 22 หน่วยงาน (3) ผู้ประกอบการและร้านค้า 12 หน่วยงาน และ (4) ประชาชน 23 หน่วยงาน ทั้งนี้ จากข้อมูล ณ วันที่ 17 เมษายน 2567 มีหน่วยงานตอบแบบสอบถามแล้วทั้งสิ้น 39 หน่วยงาน คิดเป็น 60% ของทั้งหมด นอกจากนี้ คณะทำงานฯ ยังได้รวบรวมข้อมูล ความเห็น ข้อเท็จจริง และข้อเสนอแนะของสื่อสาธารณะ 16 หน่วยงาน และความเห็นของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)
ข้อเสนอกรอบหลักการโครงการฯ ตามมติคณะกรรมการนโยบายฯ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่และช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพ ยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือ เช่น กลุ่มเปราะบาง เกษตรกร เป็นต้น ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มดังกล่าว และชุมชนมีความเข้มแข็ง ในด้านเศรษฐกิจ สามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งสร้างและเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชนอีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม
โดยระบุความจำเป็นที่ต้องมีโครงการนี้ว่าในปี 2567 GDP คาดว่าจะขยายตัวที่ 2.7% ต่อปี (ข้อมูลสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าที่หลายหน่วยงานเคยประมาณไว้ โดยเป็นระดับที่ต่ำกว่าศักยภาพและมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับในอดีต ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเทียบ GDP ในไตรมาสที่ 4 กับ GDP ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 ที่ขจัดผลของฤดูกาลแล้ว (seasonally adjusted) พบว่า GDP ในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 หดตัว 0.6% นอกจากนี้ ในปัจจุบันเศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งในและนอกประเทศ เช่น ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ การฟื้นตัวของรายได้ของประชาชนที่ไม่เท่ากันตั้งแต่หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2562 หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงและบั่นทอนกำลังซื้อของประชาชนและภาระดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้า โตต่ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการส่งออกสินค้าและบริการอยู่ที่ร้อยละ 69
ดังนั้น รัฐบาลตามที่ได้แถลงนโยบายไว้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการฯ เพื่อเพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้กระจายตัวไปสู่ท้องถิ่นและชุมชน การดำเนินโครงการฯ ที่มีขอบเขตและเงื่อนไขที่เหมาะสมกับบริบทเศรษฐกิจในปัจจุบันย่อมส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวมและช่วยดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ยังต้องมีความระมัดระวังและป้องกันความเสี่ยงทางด้านการคลังรวมถึงมีแนวทางในการช่วยลดผลกระทบดังกล่าว เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชนโดยรวม ตลอดจนรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐอย่างเคร่งครัด
กลุ่มเป้าหมายประชาชนที่จะเข้าร่ามโครงการฯ
แนวทางการเข้าร่ามโครงการฯ ของประชาชน
ทั้งนี้ ผู้จัดทำระบบจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางการเข้าร่วมโครงการๆ ของประชาชนข้างต้น ตลอดจนเงื่อนไขอื่นที่อาจเพิ่มเติมภายหลัง (หากมี)
เงื่อนไขการใช้ง่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้า
ประเภทร้านค้า ร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการฯ แบ่งตามการรับการใช้จ่ายได้ ดังนี้
ประเภทสินค้า
รูปแบบและขั้นตอนการยืนยันตัวตน และเงื่อนไขการสมัครและวิธีการสมัครของร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้เป็นไปตามกระทรวงพาณิชย์
เงื่อนไขการใช้จ่ายระหว่างร้านค้า ไม่กำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายเชิงพื้นที่ระหว่างร้านค้ากับร้านค้าในระดับอำเภอแต่การชำระเงินภายใต้โครงการฯ ต้องเป็นแบบพบหน้า
เงื่อนไขคุณสมบัติร้านค้าที่สามารถถอนเงินสดจากโครงการได้ ร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษีที่สามารถถอนเงินสดจากโครงการ ได้แก่
-
(1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (value added tax: VAT) หรือ
(2) ภาษีเงินได้นิติบุคคล (corporate income tax: CIT) หรือ
(3) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (personal income tax: PIT) เฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
เงื่อนไขการใช้จ่ายเงินในโครงการ- และการถอนเงินสุดจากโครงการฯ
(1) วิธีการใช้จ่ายเงิน: การใช้จ่ายเงินสามารถใช้จ่ายได้หลายรอบ
-
(1.1) โดยรอบที่ 1 เป็นการใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้าขนาดเล็ก จนถึงร้านค้าสะดวกซื้อขนาดเล็กเท่านั้น ทั้งนี้ เงื่อนไขร้านค้าที่สามารถเข้าร่วมโครงการฯ เป็นไปตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด
(1.2) ตั้งแต่รอบที่ 2 ขึ้นไป เป็นการใช้จ่ายระหว่างร้านค้ากับร้านค้า ทั้งนี้ ไม่มีการกำหนดเงื่อนไขร้านค้า
(2) ร้านค้าไม่สามารถถอนเงินสดได้ทันที หลังประชาชนใช้จ่าย แต่ร้านค้าจะสามารถถอนเงินสดได้เมื่อมีการใช้จ่ายตั้งแต่ในรอบที่ 2 เป็นต้นไป
(3) ร้านค้าที่จะสามารถถอนเงินส่ดได้เฉพาะร้านค้าที่มีคุณสมบัติตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ โดยมีการยื่นขอเบิกจ่ายผ่านผู้จัดทำระบบและผู้จัดทำระบบมีหน้าที่โอนเงินให้ร้านค้าที่เบิกจ่ายโดยตรง
ส่วนผู้พัฒนาและดำเนินการระบบ มอบหมายให้สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นผู้พัฒนาและดำเนินการระบบสำหรับโครงการฯ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ประชาชน
(1) ระบบลงทะเบียนและตรวจสอบคุณสมบัติกลุ่มเป้าหมายตามเงื่อนไขโครงการฯ เช่น อายุ เงินได้พึงประเมิน เงินฝาก
(2) ระบบยืนยันตัวตนสำหรับประชาชนและการตรวจสอบข้อมูลกับกรมการปกครอง
ร้านค้า
(3) ระบบลงทะเบียนและตรวจสอบคุณสมบัติร้านค้า (ตามเงื่อนไขที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด)
ระบบการใช้จ่าย
(4) ระบบการใช้จ่ายรอบที่ 1: การใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้าขนาดเล็กจนถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กเท่านั้น
(5) ระบบการใช้จ่ายรอบที่ 2 ขึ้นไป: การใช้จ่ายระหว่างร้านค้ากับร้านค้า ทั้งนี้ ไม่มีการกำหนดเงื่อนไขร้านค้า
ระบบการชำระเงิน
(6) ระบบการการใช้จ่ายสำหรับการชำระบัญชี (clearing and settlement) ระหว่างบัญชีของประชาชนและบัญชีของร้านค้าที่ธนาคารที่รับชำระเงิน (open loop)
(7) ระบบการชำระเงินให้ผู้ประกอบการร้านค้าโดยให้เป็นไปตามเงื่อนไขแหล่งเงิน
(8) ตรวจสอบร้านค้าที่ตรงตามเงื่อนไขในการถอนเงินได้ (ร่วมกับกรมสรรพากร)
(9) ระบบเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยรับงบประมาณและเบิกจ่ายเงิน โดยจะต้องกระทบยอด (reconcile) ความถูกต้องของเงินที่จะเบิกจ่าย
ทั้งนี้ ระบบการใช้จ่ายระหว่างประชาชนและร้านค้าเป็นระบบเปิด (open Loop) ที่ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของทุกรายการใช้จ่ายตามเงื่อนไข รวมถึงการชำระบัญชีของโครงการตามเงื่อนไขทั้งหมดจนจบโครงการและบริหารจัดการภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
อื่นๆ
(10) ระบบตรวจสอบธุรกรรม (transaction) ที่มีความต้องสงสัยเข้าข่ายการกระทำผิดเงื่อนไข (fraud)
(11) อื่นๆ ตามที่ระบบจะต้องดำเนินการเพื่อให้โครงการฯ สามารถขับเคลื่อนได้สำเร็จ
(11.1) กำหนดวันที่ในการลงทะเบียนร้านค้า วันที่ลงทะเบียนประชาชน และวันที่เริ่มใช้จ่าย
(11.2) ระบบที่เตรียมให้ประชาชนและร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ จะต้องมีการให้ยืนยันหลักเกณฑ์เงื่อนไข และความยินยอมสำหรับประชาชนและร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ (consent)
(12) กำหนดชื่อเว็บไซต์และจัดทำเว็บไซต์ (website) สำหรับใช้ดำเนินโครงการฯ
ที่มาแหล่งเงินของโครงการ
แหล่งเงินการดำเนินโครงการฯ มีแนวทางเกี่ยวกับแหล่งเงินสำหรับการดำเนินโครงการฯ รวมเป็นเงิน 500,000 ล้านบาท จำแนกได้ ดังนี้
(1) เงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวนประมาณ 152,700 ล้านบาท โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อให้มีแหล่งเงินในการรองรับการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
(2) การดำเนินโครงการผ่านหน่วยงานของรัฐ จำนวนประมาณ 172,300 ล้านบาท จะพิจารณานำมาสนับสนุนการดำเนินนโยบายรัฐภายใต้วัตถุประสงค์และกฎหมายจัดตั้งของหน่วยงานรัฐนั้นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกร ทั้งนี้ในการดำเนินการต้องสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐและอยู่ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และอำนาจของหน่วยงานดังกล่าวด้วย
(3) การบริหารจัดการเงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวนประมาณ 175,000 ล้านบาท ทั้งนี้ เนื่องจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีความล่าข้าในการประกาศใช้ จึงอาจพิจารณาแนวทางการบริหารเงินงบประมาณในปี ๒๕๖๗ ร่วมกับสำนักงบประมาณให้สอดคล้องกับสถานการณ์การใช้งบประมาณ เช่น การปรับลดงบประมาณที่ไม่จำเป็นหรืองบประมาณที่หน่วยรับงบประมาณไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 การใช้งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เป็นต้น
เนื่องจากมีแนวทางการใช้แหล่งเงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และ พ.ศ. 2568 ในการดำเนินโครงการฯ ดังนั้น จึงจะต้องมีการพิจารณาระยะเวลาดำเนินโครงการฯ ให้สอดคล้องกับแหลงเงินดังกล่าว โดยระยะเวลาดำเนินโครงการฯ จะต้องไม่เกินเดือนกันยายน 2569
คณะกรรมการนโยบายฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการตรวจสอบการกระทำที่อาจเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ (คณะอนุกรรมการด้านการตรวจสอบฯ) โดยมีหน้าที่และอำนาจ เช่น กำหนดแนงทางการตรวจสอบ พิจารณา และวินิจฉัยเกี่ยวกับการกระทำที่อาจเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการฯ รวมถึงการกระทำที่อาจฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบกรณีมีการร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินการตามโครงการฯ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติ เสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนโครงการฯ ต่อคณะกรรมการนโยบายฯ เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ เป็นไปด้วยความโปร่งใส และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการฯ เป็นต้น โดยมีรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานอนุกรรมการ และมีผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือผู้แทน ผู้บัญชาการสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ หรือผู้แทนและผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการและเลขานุการร่วม
อนึ่ง เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการนโยบายฯ จึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (คณะอนุกรรมการกำกับฯ) ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการกำกับฯ สามารถกำหนดรายละเอียดที่ไม่ขัดต่อกรอบหลักการ เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการฯ ได้ โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อ่มรวิวัฒน์) เป็นประธานอนุกรรมการ และมีผู้แทนกรมการค้าภายใน ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และผู้แทนสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เป็นเลขานุการร่วม
คณะกรรมการนโยบายฯ คาดว่าการดำเนินโครงการฯ จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้กระจายตัวไปสู่ท้องถิ่นและชุมชน โดยการดำเนินโครงการฯ ที่มีขอบเขตและเงื่อนไขที่เหมาะสมกับบริบทเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งย่อมจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวมและช่วยดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น อนึ่ง คณะกรรมการนโยบายฯ ได้พิจารณากำหนดกรอบการดำเนินโครงการฯที่ระมัดระวังและป้องกันล้วามเสี่ยงทางด้านการคลัง เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชนโดยรวมตลอดจนรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐอย่างเคร่งครัด
ข้อเสนอของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการคลังในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายฯ ได้รับมอบหมายให้นำมติคณะกรรมการนโยบายฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี
โดยรับทราบผลการรวบรวมข้อมูล ความเห็น ข้อเท็จจริง และข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ และกระทรวงการคลังมีความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
1. เห็นควรมอบหมายให้สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
2. เห็นควรมอบหมายคณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ที่จะจัดตั้งขึ้น ร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงดิจิหัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนรับทราบรายละเอียดโครงการฯ การลงทะเบียนโครงการฯ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. ในการดำเนินโครงการฯ ควรมุ่งเน้นการกำกับดูแลการดำเนินการในเรื่องต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ข้อกฎหมาย รวมถึงรักษากรอบวินัยการเงินการคลังอย่างรอบคอบ และเคร่งครัด
………..
กฤษฎีกาติงแหล่งเงินจาก ธกส.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีโดยด่วน โดยเห็นว่ากรณีที่กระทรวงการคลังในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบผลการรวบรวมข้อมูล ความเห็น ข้อเท็จจริง และข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ และให้ความเห็นชอบในหลักการ กรอบหลักการโครงการฯ และมอบหมายหน่วยงาน ตามที่คณะกรรมการนโยบายฯ เสนอ เป็นกรณีที่อยู่ในอำนาจของคณะรัฐมนตรีที่จะพิจารณารับทราบ เห็นชอบ และมอบหมายได้ตามที่เห็นสมควร
สำหรับกรณีที่กระทรวงการคลังมีข้อเสนอให้มอบหมายสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแหล่งเงินโดยการดำเนินโครงการผ่านหน่วยงานของรัฐ ประมาณ 172,300 ล้านบาท นั้น หากเป็นการมอบหมายให้ ธ.ก.ส. ดำเนินโครงการ จะต้องเป็นการดำเนินการที่อยู่ภายในขอบวัตถุประสงค์และในหน้าที่ และอำนาจตามกฎหมายของ ธ.ก.ส. ตามพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 ทั้งนี้ ตามนัยมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และกระทรวงการคลังกับ ธ.ก.ส. จะต้องจัดทำแผนบริหารจัดการโครงการ ประมาณการรายจ่าย แหล่งเงินที่ใช้ตลอดระยะเวลาดำเนินการประมาณการสูญเสียรายได้ และประโยชน์ที่จะได้รับ และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติในรายละเอียดก่อนดำเนินโครงการตามนัยมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไปด้วย
………..
ป.ป.ช. ติงใช้งบสูง-เสี่ยงหลายด้าน-สร้างภาระการคลังระยะยาว
สำนักงาน ป.ป.ช. ขอเสนอข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet มาเพื่อคณะรัฐมนตรีรับทราบ มีรายละเอียด ดังนี้
เหตุผลความจำเป็นที่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรี
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินนโยบายการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ของรัฐบาล เนื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหน้าที่และอำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 32 ในการเสนอมาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี รัฐสภา ศาล องค์กรอิสระ หรือองค์กรอัยการในการปรับปรุงการปฏิบัติราชการ หรือวางแผนงานโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ เพื่อป้องกันหรือปราบปรามการทุจริต การกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ซึ่งนโยบายดังกล่าวเป็นนโยบายที่ใช้งบประมาณค่อนข้างสูง ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน และอาจสร้างภาระการคลังในระยะยาว
ทางคณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงแต่งตั้ง “คณะกรรมการเพื่อศึกษาและดำเนินการรับฟังความเห็นเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณี การเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet” เพื่อศึกษารายละเอียดผลกระทบและความเสี่ยงต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการตามนโยบายดังกล่าว และเห็นควรมีข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณี การเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณี ตามนัยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 32
ความเร่งด่วนของเรื่อง
เนื่องจากนโยบายการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นนโยบายที่ใช้งบประมาณค่อนข้างสูง ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน และอาจสร้างภาระการคลังในระยะยาว และยังไม่ได้กำหนดรายละเอียดและแนวทางที่ชัดเจนในการบริหารจัดการโครงการ เช่น แหล่งที่มาของงบประมาณ การมอบหมายหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการ ตลอดจนการวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนทางการคลังของประเทศ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีรับทราบและพิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณี เพื่อให้การดำเนินนโยบายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด ตลอดจนเป็นการใช้จ่ายงบประมนอย่างคุ้มค่า และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีการศึกษาข้อมูล ข้อเท็จจริง จากเอกสารหลักฐานต่างๆ รวมถึงการรับฟังความเห็นเกี่ยวกับโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet จากส่วนราชการและหน่วยงาน ตลอดจนนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง พบว่ามีประเด็นสำคัญ ที่ควรพิจารณา สรุปได้ดังนี้
(1) ประเด็นความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย
เมื่อพิจารณาจากรายละเอียดของโครงการ ที่เน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น และการกำหนดเงื่อนไขในการขึ้นเงินของร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ อาจจะมีความเสี่ยงในการเอื้อประโยชน์ต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้ ดังนั้น รัฐบาลต้องศึกษา วิเคราะห์ให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมว่า ผู้ใด้รับประโยชน์จากโครงการฯ จะไม่ตกแก่พรรคการเมือง หรือบุคคลร้ายใดรายหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีศักยภาพมากกว่าผู้ประกอบการรายย่อย พร้อมกับต้องมีขั้นตอน วิธีการที่เป็นรูปธรรมชัดเจนให้โครงการฯ สามารถกระจายการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง
(2) ความเสี่ยงต่อการทุจริตจากกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับเงินจากโครงการฯ เช่น
– ความเสี่ยงในการรับจ้างลงทะเบียนร้านค้าในลักษณะนอมินีให้อยู่นอกระบบฐานข้อมูลภาษีของกรมสรรพากร เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี หรือความเสี่ยงในการใช้ประโยชน์จากโครงการฯ ในการฟอกเงินจากการกระทำผิดกฎหมาย กรณีดังกล่าวรัฐบาลควรนำมาตรการหรือกระบวนการทางภาษีมาพัฒนาและประยุกต์ใข้เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตในกรณีนี้
– โอกาสหรือความเสี่ยงในการสมคบคิดร่วมกันทุจริตระหว่างผู้ประกอบการร้านค้า กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับเงิน โดยไม่มีการซื้อขายสินค้ากันจริง หรือการให้แลกเป็นเงินสด พร้อมกับส่วนแบ่งผลประโยชน์ ซึ่งรัฐบาลต้องมีมาตรการป้องกันที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ โดยอาจใช้มาตรการหรือกระบวนการทางภาษี หรือเทคโนโลยีอื่นๆ เป็นเครื่องมือหรือเป็นตัวบ่งขี้ในการเฝ้าระวัง พร้อมกับต้องมีมาตรการที่เข้มงวด หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่บังคับใช้กฎหมาย มีการลงโทษอย่างจริงจังกับผู้กระทำการทุจริต รวมทั้งต้องรณรงค์ให้กลุ่มเป้าหมายตามโครงการฯ เข้าใจถึงผลเสียของการกระทำดังกล่าว
– ความเสี่ยงในการตรวจสอบสิทธิของประชาชนและร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ รัฐบาลต้องกำชับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบอย่างเคร่งครัด ให้ตระหนักและเข้มงวดในการตรวจสอบสิทธิของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ให้อยู่ภายในกรอบและคุณสมบัติของผู้มีสิทธิตามที่กำหนด
(3) เครื่องมือ กลไก มาตรการป้องกันการทุจริต
– รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการฯ ควรนำข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่องการบูรณาการป้องกันการทุจริตของโครงการภาครัฐ (โดยการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน) ซึ่งคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553 ได้ลงมติเห็นชอบในหลักการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดังกล่าว โดยได้วางแนวทางในการบูรณาการเพื่อป้องกันการทุจริตในขั้นตอนต่าง 1 ของแต่ละหน่วยงานให้มีการประสานความร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพไม่ซ้ำซ้อน โดยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการประเมินผลชั้นวางแผนก่อนดำเนินโครงการ (pre-implernentation stage) ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการ (implementation stage) และขั้นตอนการประเมินผลขั้นสรุปผลหลังการดำเนินโครงการ (post-implementation stage) มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม
– รัฐบาล ควรนำเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย และคู่มีอการใช้เกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีและมีมติรับทราบเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2562 ซึ่งเป็นการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564) โดยตามเกณฑ์ขี้วัดฯ ดังกล่าว นอกจากจะเป็นสิ่งบ่งชี้และรายละเอียดที่พรรคการเมืองต่างๆ นำเสนอนโยบายภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ยุทธศาสตร์ชาติ ฯลฯ เพื่อประกอบการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งแล้ว ยังสามารถนำมาใช้หลังจากพรรคการเมืองนั้นเข้ามาบริหารประเทศได้ด้วย ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย หลังจากที่ได้นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติต่อไป
– รัฐบาลควรนำข้อเสนอแนะแนวทางการบูรณาการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบายในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งคณะรัฐมนตรี ได้มีมติรับทราบเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 และมอบหมายให้สำนักงาน ป.ป.ท. เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน รับข้อเสนอแนะไปพิจารณาขับเคลื่อนการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบายในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพกับนโยบายการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ด้วยเพื่อป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการทางนโยบายบริหารราชการแผ่นดินและการนำนโยบายลงสู่การปฏิบัติผ่านแผนงานหรือโครงการดังกล่าวต่อไป
การดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในขณะที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะสมดุล จะต้องคำนึงถึงความคุ้มค่และมีความจำเป็นเพียงใด ตลอดจนผลกระทบ และภาระทางการเงิน การคลังในอนาคต และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายที่มีวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือประชาชนภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เข้าชั้นวิกฤติ ควรมีการจัดลำดับความสำคัญรวมถึงการพิจารณากลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างแท้จริง เช่น กลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน จึงอาจเป็นทางเลือกที่จะไม่ส่งผลกระทบทางการคลัง โดยเฉพาะดอกเบี้ยและสัดส่วนของหนี้สาธารณะได้มากกว่า
การวางแนวนโยบายและการดำเนินโครงการภายใต้แนวนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัลของรัฐบาลต้องชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ ในการวางแนวนโยบายจะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 71 และ มาตรา 75 เช่น ในการจัดสรรงบประมาณ รัฐพึงคำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการที่แตกต่างกันของเพศ วัย และสภาพของบุคคล ทั้งนี้ เพื่อความเป็นธรรม และพึ่งจัดระบบเศรษฐกิจให้ประชาชนมีโอกาสได้รับประโยชน์จากความเจริญเติบโตทางเครษฐกิจไปพร้อมกันย่างทั่วถึง เป็นธรรม และยั่งยืน สามารถพึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมตลอดถึงยุทธศาสตร์ชาติที่ได้วางแนวทางในการบริหารประเทศอย่างมั่นคงและยั่งยืน
ทั้งนี้ การดำเนินโครงการภายใต้แนวนโยบายดังกล่าว รัฐบาลจะต้องตระหนัก และใช้ความระมัดระวังอย่างเคร่งครัดและรอบคอบภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้ รวมทั้งแนวปฏิบัติที่ชัดเจน โปร่งใส ปราศจากการทุจริตและประพฤติมิชอบ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2563 พระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2503 ตลอดจนกฎหมาย คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ และระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
(1) เทคโนโลยีบล็อกเชน (blockchain)
ในกรณีที่มีการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet โดยปรับปรุงแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ของธนาคารกรุงไทย ให้มีการนำบล็อกเชนมาใช้งาน จะมีประเด็นต่างๆ ที่ต้องพิจารณา เช่น การพัฒนาบล็อกเชนที่สามารถรองจำนวนผู้ใช้งานประมาณ 5 ล้านคน และต้องรองรับการใช้งานจำนวนมากต่อนาที ต้องใช้ระบบที่มีขนาดใหญ่ ทรัพยากรจำนวนมาก ระยะเวลาในการพัฒนาและทดสอบระบบมาก และงบประมาณในการพัฒนาจำนวนมาก และอาจจะไม่ทันต่อการดำเนินโครงการ ทำให้มีความเสี่ยงในการดำเนินโครงการที่จะล่าข้าออกไป นอกจากนี้ หากมีการนำบล็อกเชนมาใช้งานในระบบเป๋าตัง ในลักษณะบล็อกเชนสาธารณะเพื่อเปิดให้มีการเข้าตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ อาจจะมีประเด็นต้องพิจารณาเพิ่มเติมเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แต่หากนำมาใช้ในลักษณะบล็อกเชนเอกชน ที่มีธนาคารกรุงไทยเป็นผู้ดูแลกลาง ความน่าเชื่อถือและการดูแลจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารกรุงไทย ดังนั้น รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรพิจารณาถึงความจำเป็นและความเหมาะสม การนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้กับโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet และเห็นว่าระบบแอปพลิเคชันเป๋าตัง เป็นระบบที่มีสถาบันการเงินเป็นตัวกลางในการทำธุรกรรมที่สามารถรองรับโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digita Wallet ได้อยู่แล้วและสามารถตรวจสอบได้
(2) ประเด็นเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายของพรรคการเมือง เช่น
– เมื่อพิจารณาข้อกฎหมายตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 จะเห็นว่า กฎหมายระบุว่า ให้พรรคการเมืองจัดทำข้อมูลในการประกาศนโยบายให้ครบถ้วน ถูกต้องตามที่กำหนด ชี้แจงเป็นร้ายการมายังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งหากพรรคการมืองฝ่าฝืน คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจปรับไม่เกิน 500,000 บาท และปรับอีกวันละ 10,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง
อนึ่ง กฎหมายไม่ได้กำหนดให้พรรคการเมืองจะต้องแจ้งนโยบายที่จะใช้ในการประกาศโฆษณาเพื่อใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง พิจารณาตรวจสอบ ก่อนที่จะดำเนินการโฆษณา จึงอาจเป็นช่องทางหรือความเสี่ยงที่ทำให้พรรคการเมืองนำนโยบายที่เป็นไปได้ยากหรือไม่มีการศึกษาอย่างรอบคอบมาใช้เป็นเครื่องมือในการหาเสียง แต่ภายหลังได้รับการเลือกตั้งกลับไม่ปฏิบัติตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ และที่ผ่านมาในทางปฏิบัติ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบนโยบายว่า มีการจัดทำรายการครบถ้วน ตามมาตรา 57 (1) – (3) หรือไม่ และในกรณีของการวีเคราะห์นโยบายของพรรดการเมือง คณะกรรมการการเลือกตั้งจะต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับเรื่องนี้ เพื่อเป็นการสกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบายตั้งแต่ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย เพื่อเป็นการลดโอกาสหรือลดความเสี่ยงของนโบบายที่มีแนวโน้มในการทุจริต หรือมีโอกาสในการสร้างความเสียหายต่อประเทศ รวมทั้งการกำหนดมาตรการหรือกลไกที่จะป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาภายหลังจากเมื่อมีการประกาศนโยบายแล้ว ผู้กำหนดนโยบายไม่สามารถดำเนินการได้หรือดำเนินการได้บางส่วน หรือมีความเสียหายเกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายนั้นๆ
ในประเด็นดังกล่าวข้างต้น สำนักงาน ป.ป.ช. ได้จัดทำกณฑ์ซี้วัดความเสี่ยงการทุจริตเชิงนโยบายในขั้นตอนการพัฒนานโยบาย ขึ้นเพื่อเป็นกลไกป้องกันการทุจริตที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. พัฒนามาจากเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงเพื่อสกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบายในโครงการของรัฐที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบเมื่อเตือนมิถุนายน 2566 โดยได้มีการทบทวนปรับปรุงเกณฑ์ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทการเมืองไทยในปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นกลไกในการสร้างความโปร่งใสในกระบวนการพัฒนานโยบายของพรรคการเมือง ซึ่งจะช่วยในการป้องกัน ระงับ ยับยั้ง การทุจริตเชิงนโยบาย ซึ่งเป็นปัญหาที่พบมากขึ้นในปัจจุบันที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างมหาศาล ตลอดจนจะช่วยเป็น เครื่องมือให้พรรคการเมืองได้แสดงเจตนารมณ์ที่ในการอธิบายที่มา วัตถุประสงค์ ความคุ้มค่า ความเป็นไปได้ของนโยบายที่กำหนดขึ้นมาใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง รวมทั้งเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งด้วย ทั้งนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มติเห็นชอบเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงฯ ดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 และให้เสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามนัยมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 เพื่อนำไปประกอบการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2561 ต่อไป ซึ่งในส่วนนี้จะต้องมีการสรุปผลการดำเนินการขับเคลื่อนเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงฯ ดังกล่าว ว่า สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้นำแบบฟอร์มของสำนักงาน ป.ป.ช. ไปบูรณาการร่วมกับแบบรายงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือไม่ และมีผลการดำเนินงานอย่างไร เพื่อให้การสกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
– การนำเสนอนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองโดยเฉพาะโครงการแจกเงิน เป้าหมายเพื่อมุ่งประสงค์ได้รับเลือกจากประชาชน ซึ่งไม่ได้มีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ทางการคลังของประเทศ และความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 อาจเข้าข่ายขัดพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 73 และหรือมาตรา 136
จากสาระสำคัญและข้อเท็จจริงในข้างต้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้ว เห็นควรเสนอข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณี การเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณี ในการป้องกันมิให้เกิดการทุจริตหรือเกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของรัฐหรือประชาชน
ปัจจุบันนโยบายการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet อยู่ในขั้นตอนของการนำนโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรต้องมีการประเมินความเสี่ยงอย่างรอบด้าน เนื่องจากเป็นนโยบายที่มีความสำคัญและส่งผลกระทบต่อวินัยการเงินการคลังในระยะยาว โดยการดำเนินนโยบายดังกล่าวอาจจะมีความเสี่ยงในด้านต่างๆ เช่น การเอื้อประโยชน์ต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดรายหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ความเสี่ยงต่อการทุจริตในขั้นตอนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทะเบียน การตรวจสอบสิทธิ การแลกเปลี่ยนเป็นเงินสด ตลอดจนความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจและกฎหมาย
ดังนั้น คณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องดำเนินการตามควรแก่กรณี เพื่อหาแนวทางป้องกันมิให้เกิดการทุจริตหรือเกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของรัฐหรือประชาชน ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการดำเนินนโยบายตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างแท้จริง
– รัฐบาลควรศึกษา วิเคราะห์ การดำเนินโครงการตามนโยบายฯ รวมทั้งขี้แจงความชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรม ว่าผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการ จะไม่ตกแก่พรรคการเมือง นักการเมืองหรือเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บุคคลรายใตรายหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีศักยภาพมากกว่าผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งเป็นการดำเนินนโยบายที่อาจเข้าข่ายการทุจริตเชิงนโยบายรวมทั้งประชาชนที่เข้าร่วมโครงการเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะได้รับประโยชน์จากดำเนินโครงการของรัฐบาลอย่างแท้จริง เช่น เป็นผู้ที่มีรายได้น้อย หรือกลุ่มเปราะบาง พร้อมกับต้องมีขั้นตอนและวิธีการที่เป็นรูปธรรมชัดเจนเพื่อให้สามารถกระจายการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
– การหาเสียงของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 และพรรคเพื่อไทยได้จัดตั้งรัฐบาล ได้มีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 เกี่ยวกับโครงการดังกล่าวนั้นมีความแตกต่างกัน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ควรดำเนินการตรวจสอบว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 หรือไม่ มาประกอบการพิจารณาด้วย มิฉะนั้นจะเป็นบรรทัดฐานสำหรับพรรคการเมืองสามารถหาเสียงไว้อย่างไร เมื่อได้รับเลือกตั้งแล้วไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามที่ได้หาเสียงไว้
– การดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ควรคำนึงถึงความคุ้มค่าและความจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ตลอดจนผลกระทบ และภาระทางการเงิน การคลังในอนาคต ภายใต้หลักธรรมาภิบาล 4 ด้าน คือ ความโปร่งใส (transparency), การถ่วงดุล (checks and balances), การรักษาความมั่นคงของระบบการคลัง (fiscal integrity) และความคล่องตัว (flexibility) ซึ่งรัฐบาลพึงต้องใช้ความระมัดระวัง พิจารณาระหว่างผลดี
ผลเสียที่จะต้องกู้เงินจำนวน 500,000 ล้านบาท ในขณะที่ตัวทวีคูณทางการคลังมีเพียง 0.4 การกู้เงินจึงเป็นการสร้างภาระหนี้แก่รัฐบาลและประชาชนในระยะยาว ซึ่งจะต้องตั้งงบประมาณในการชำระหนี้จำนวนนี้เป็นระยะเวลา 4-5 ปี กระทบต่อตัวเลขการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ
– คณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการประเมินความเสี่ยงในการดำเนินเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet อย่างรอบด้าน โดยกำหนดแนวทางหรือมาตรการบริหารความเสี่ยง และการป้องกันการทุจริต ตลอดจนมีกระบวนการในการตรวจสอบทั้งก่อน ระหว่าง และหลังจาการดำเนินโครงการ ให้สามารถดำเนินการได้อย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติอย่างแท้จริง
– จากข้อมูลภาวะเศรษฐกิจของหน่วยงานต่างๆ ที่ได้จากการศึกษา และตัวทวีคูณทางการคลัง รวมถึงตัวบ่งชี้ภาวะวิกฤติที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รวบรวมและประมวลข้อมูลจากงานศึกษาของธนาคารโลกและ IMF มีความเห็นตรงกันว่า ในช่วงเวลาที่ศึกษาอัตราความเจริญเตีบโตของประเทศไทยยังไม่ถึงขั้นประสบภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ เพียงแต่ชะลอตัวเท่านั้น ดังนั้น ในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน รัฐบาลควรพิจารณาและให้ความสำคัญต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เช่น การกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน การกระตุ้นการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ การเพิ่มทักษะให้แก่แรงงานเป็นต้น ในกรณีที่รัฐบาลต้องดำเนินนโยบายที่มีวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือประชาชน ภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่เข้าขั้นวิกฤติ ควรพิจารณากลุ่มประชาชนเป้าหมายที่เปราะบางที่สุด ซึ่งต้องการความช่วยเหลืออย่างแท้จริง
– หากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องการช่วยเหลือประชาชน รัฐบาลควรช่วยเหลือกลุ่มประชาชนที่มีฐานะยากจน ที่เปราะบาง ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ใด้เท่านั้น โดยแจกจากแหล่งเงินงบประมาณปกติมิใช่เงินกู้ตามพระราชบัญญัติเงินกู้ และจ่ายในรูปเงินบาทปกติในอัตราที่เหมาะสมเพื่อพยุงการดำรงชีวิตของกลุ่มประชาชนที่ยากจน โดยการกระจายจ่ายเงินเป็นงวดๆ หลายงวดผ่านระบบแอปเป้าตังที่มีประสิทธิภาพ และมีฐานข้อมูลครบสามารถทำได้รวดเร็ว การดำเนินการกรณีนี้ หากใช้แหล่งเงินงบประมาณปกติ มิใช่จากการกู้เงินตามพระราชบัญญัติเงินกู้ จะลดความเสี่ยงต่อการขัดรัฐธรรมนูญ ขัดพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง พ.ศ. 2561 และขัดพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 ประการสำคัญ ไม่สร้างภาระหนี้สาธารณะของประเทศในระยะยาว
………..
แบงก์ชาติติงโครงการ DW 4 ประเด็น
โครงการเดิมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (โครงการ DW) ด้วยโครงการ DW เป็นโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ใช้งบประมาณจำนวนมาก และก่อให้เกิดภาระผูกพันต่อรัฐบาลในระยะยาว ดังนั้น เพื่อให้คณะรัฐมนตรีได้รับข้อมูลและความเห็นที่ครบถ้วนประกอบการพิจารณานโยบายสำคัญนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงขอเรียนเสนอความเห็นและข้อสังเกตสำคัญที่ได้เคยแจ้งต่อคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโดรงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet รวมถึงข้อห่วงใยอื่น ดังนี้
1. ความจำเป็นในการดำเนินโครงการ DW และผลกระทบต่อเสถียรกาพทางการคลังของประเทศ
1.1 ควรทำโครงการ DW ในขอบเขตที่ครอบคลุมเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือเท่านั้น (targeted) เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิผลคุ้มค่า และใช้งบประมาณลดลง โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่รายได้ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ถือบัตรสวัสติการแห่งรัฐ 15 ล้านคน ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันที และใช้งบประมาณ 150,000 ล้านบาท เนื่องจากคนกลุ่มรายได้น้อยมีสัดส่วนการใช้จ่ายเพื่อบริโภคสูงกว่ากลุ่มรายได้อื่น และมักซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทมากกว่าสินค้านำเข้า นอกจากนี้ควรพิจารณาดำเนินโครงการแบบแบ่งเป็นระยะ (phasing) เพื่อลดผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลังด้วย ทั้งนี้ ความจำเป็นที่จะกระตุ้นการบริโภคในวงกว้างมีไม่มาก โดยในปี 2566 การบริโภคภาคเอกชนของไทยขยายตัวได้ที่ร้อยละ 7.1 เทียบกับค่าเฉลี่ยช่วงปี 2553-2565 ที่ขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 3 ต่อปี
1.2 โครงการ DW ก่อให้เกิดภาระทางการคลังจำนวนมากในระยะยาว แสามารถรักษาเสถียรภาพภาระหนี้ภาครัฐใด้ จะเพิ่มความเสี่ยงที่ประเทศไทยจะถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ เช่น เกณฑ์การประเมินของ Moody’s ได้กำหนดอัตราส่วนภาระดอกเบี้ยจ่ายต่อรายได้ของประเทศในกลุ่ม Baa 1 (Rating ของไทยในปัจจุบัน) ไว้ว่าไม่ควรเกินร้อยละ 11 โดยโครงการ DW จะทำให้อัตราส่วนดังกล่าวมีแนวโน้มสูงกว่าเกณฑ์นี้ ในปี 2568 ซึ่งหากไทยถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ จะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมภาครัฐและภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้น รวมถึงอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในภาพรวม
1.3 การดำเนินโครงการ DW ที่ใช้วงเงินงบประมาณมูลค่าสูงทำให้ความสามารถในการดำเนินนโยบายการคลังอื่นของรัฐบาลลดลง และมีความเสี่ยงที่จะมีงบประมาณไม่เพียงพอรองรับในภาวะฉุกเฉิน ซึ่งการเพิ่มวงเงินกู้ปิงบประมาณ 2568 จนเกือบเต็มกรอบที่กฎหมายกำหนด ทำให้เหลือวงเงินกู้ได้อีกราว 5,000 ล้านบาท เทียบกับวงเงินคงเหลือเฉลี่ยในปีก่อนๆ ที่มากกว่า 100,000 ล้านบาท นอกจากนี้ การจัดสรรวงเงินจากงบประมาณปี 2567 ทำให้งบกลางสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นลดลงจนอาจไม่เพียงพอรองรับกรณีฉุกเฉิน โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์การเมืองโลกที่มีความไม่แน่นอนสูงและภาวะภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงมากขึ้น
1.4 รัฐบาลควรพิจารณาถึงความคุ้มค่าของการนำงบประมาณ 500,000 ล้านบาทไปใช้ลงทุนในโครงการที่จะแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างและยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ตัวอย่างการใช้งบประมาณที่ผ่านมา ได้แก่ โครงการพัฒนาบุคลากรการแพทย์ (ใช้วงเงินเฉลี่ย 3.8 ล้านบาทต่อตำแหน่ง) จะสามารถสร้างบุคลากรการแพทยได้กว่า 130,000 ตำแหน่ง โครงการเรียนฟรี 15 ปีสำหรับนักเรียนทั่วประเทศ (83,000 ล้านบาทต่อปี) จะสามารถสนับสนุนได้นานถึง 6 ปี โครงการรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-ชุมพร (40,000 ล้านบาทต่อสาย) จะพัฒนาได้กว่า 10 สาย และโครงการรถฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (190,000 ล้านบาทต่อสาย) จะพัฒนาได้กว่า 2 สาย เป็นต้น
2. แหล่งเงินสำหรับดำเนินโครงการ DW
ตามที่กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณเสนอวงเงินดำเนินโครงการรวม 500,000 ล้านบาท ขี่งมีที่มาจากงบประมาณรายจ่ายต่างปีและต่างประเภท และอีกส่วนหนึ่งจะมาจากการมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐดำเนินโครงการโดยรัฐบาลจะรับภาระชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 การใช้เงินงบประมาณจากแหล่งต่างๆ จะต้องมีความสอดคล้องกับกฎหมายแถะหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ดลอดจนคำนึงถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน
2.1 สิทธิการใช้จ่ายภายให้โครงการ DW จะต้องไม่ขัดแย้งกับการควบคุมระบบเงินตรา โดยมูลค่าสิทธิ์ใช้จ่ายที่ รัฐบาลกำหนดขึ้นจะต้องมีงบประมาณรองรับเต็มจำนวน (fully earmarked) และมีแหล่งที่มาของเงินที่เจาะจงชัดเจนในวันเริ่มโครงการ โดยหากรัฐบาลยังไม่สามารถ earmark งบประมาณเต็มมูลค่าสิทธิรวมในวันเริ่มโครงการ ด้วยเหตุใดๆ เช่น ไม่สามารถนำเงินงบประมาณส่วนใดมาใช้ได้ตามเงื่อนไขของกฎหมาย หรือมีความล่าช้าในการพิจารณาอนุมัติ ก็จะมีผลให้การกำหนดสิทธิใช้จ่ายในส่วนที่ไม่มีงบประมาณรองรับเป็นการสร้างวัตถุหรือเครื่องหมายแทนเงินตรา ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501
2.2 การให้ ธ.ก.ส. ร่วมสนับสนุนการดำเนินโครงการ DW เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกร ควรมีความชัดเจนทางกฎหมายว่า การดำเนินการดังกล่าวอยู่ภายใต้หน้าที่และอำนาจ และอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของ ธ.ก.ส. ตามมาตรา 9 และมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 ประกอบ กฎกระทรวงที่เกี่ยวช้อง นอกจากนี้ จะต้องกำหนดกลไกการเติมเงินให้เกษตรกรแยกส่วนจากการเติมเงินให้ประชาชนทั่วไปอย่างชัดเจน ทั้งอาจต้องจำกัดขอบเขตการใช้จ่ายให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ ธ.ก.ส. ด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการใช้งบประมาณผิดประเภท ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความถูกต้องและรอบคอบ จึงเสนอให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงการคลังหารือคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อน ดังเช่นที่ได้เคยหารือในประเด็นกิจการอันพึงเป็นงานธนาคารออมสิน ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489 แล้ว
ธปท. ในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลความเสียงและฐานะของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มีข้อกังวลว่า การที่รัฐบาลจะมอบหมายให้ ธ.ก.ส. สนับสนุนโครงการดังกล่าว โดยยังมีภาระหนี้คงค้างกับ ธ.ก.ส. ถึงประมาณ 800,000 ล้านบาท อาจทำให้เกิดความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและความเสี่ยงต่อฐานะการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินการตามพันธกิจ และกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ฝากเงิน จึงควรมีแนวทางชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ให้แก่ ธ.ก.ส. พร้อมทั้งรับฟังความเห็นของคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ก่อนด้วย
3. ผู้พัฒนาและดำเนินการระบบสำหรับโครงการ DW
ด้วยระบบสำหรับโครงการ DW มีความชับซ้อนและต้องรองรับผู้ใช้งานจำนวนมาก จึงต้องเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ มีความเสถียร และมีความมั่นคงปลอดภัยเพียงพอ เพื่อไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงเชิงระบบ (systemic risk) ธปท. ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลเสถียรภาพระบบการชำระเงินของประเทศ มีข้อห่วงใยในการพัฒนาและดำเนินการระบบ ตังนี้
3.1 ควรใช้ระบบโครงสร้างฟื้นฐานการชำระเงินที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น ระบบพร้อมเพย์ และ Thai QR Payment เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำช้อน ลตต้นทุนในการพัฒนาระบบ และใช้ประโยซน์สูงสุดจากโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินที่มีอยู่
3.2 ด้วยเงื่อนไขของการใช้สิทธิที่มีความชับข้อนในหลายมิติ รวมทั้งการที่ระบบจะมีลักษณะเป็นระบบเปิด (open-loop) ที่ต้องเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการที่หลากหลาย จึงควรต้องกำหนดโครงสร้างและสถาปัดยกรรมของระบบที่ชัดเจน ตลอดจนวางแผนการพัฒนาและทดสอบที่รัดกุมครบถ้วน เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงเชิงระบบ อันจะกระทบต่อเสถียรภาพระบบการชำระเงินของประเทศ ทั้งนี้ ควรคำนึงถึงมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของระบบและข้อมูล ความถูกต้องเชื่อถือได้ของระบบงานและข้อมูล ความต่อเนื่องของการให้บริการ การจัดการการเข้าถึงข้อมูลธุรกรรม และการป้องกันภัยไซเบอร์ที่เข้มงวด รวมทั้งมีกระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนของประชาชนและผู้ประกอบการ ที่ได้มาตรฐานตามระดับความเสี่ยงของภาคการเงินด้วย
3.3 ผู้พัฒนาระบบ (developer) ต้องมีความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาระบบการชำระเงินเป็นอย่างดี โดยเฉพาะการพัฒนาระบบที่เป็น open-loop เพื่อให้ระบบสอดคล้องกับมาตรฐานข้างต้นและดำเนินการได้ตามกรอบเวลาที่จำกัด ทั้งนี้ ตัวอย่างที่ผ่านมา ทีมงานของธนาคารพาณิชย์ต้องใช้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบการชำระเงินเป็นจำนวนมากและใช้เวลาในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 1 ปี
3.4 ผู้ดำเนินการระบบ (operator) ต้องสามารถดูแลระบบที่มีผู้ใช้งานจำนวนมากได้อย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงัก และสามารถดูแลแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้การใช้จ่ายของประชาชนมีความติดชัด หรือเกิดการใช้จ่ายที่ไม่สอดลล้องกับเงื่อนไขของโครงการ ซึ่งอาจส่งผลให้ต้องมีการยกเลิกธุรกรรมและเรียกคืนสิทธิจากประชาชนและร้านค้าจำนวนมาก และในกรณีที่มีการโจมตีทางไซเบอร์หรือมีการรั่วไหลของข้อมูลธุรกรรมหรือข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องสามารถหยุดยั้งและแก้ไขเหตุได้อย่างทันท่วงที
4. การบริหารจัดการความเสี่ยงต่อการรั่วไหลหรือทุจริต
หน่วยงานที่รับผิดชอบควรกำหนดกลไกลดความเสี่ยงต่อการรั่วไหลหรือทุจริตในขั้นตอนต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะประเด็นที่ปัญหาพึงคาดหมายได้ตั้งแต่เริ่มแรก เช่น (1) แนวทางการตรวจสอบรายได้และทรัพย์สินของผู้เข้าร่วมโครงการให้เป็นไปตามคุณสมบัติที่กำหนด (2) การป้องกันการลงทะเบียนเป็นร้านค้าปลอม (3) การกำหนดประเภทและขนาดของร้านค้าเพื่อรองรับเงื่อนไขการใช้จ่าย (4) ประเภทสินค้าต้องห้ามและมาตรการป้องกันในการห้ามไม่ให้มีการซื้อสินค้าดังกล่าวที่มีประสิทธิภาพ และ (5) การตรวจสอบว่ามีการซื้อขายสินค้าจริง และป้องกันไม่ให้มีการขายลดสิทธิ์ (discount) เป็นต้น
ด้วยเหตุผลและข้อสังเกตข้างตัน ธปท. จึงมีความเห็นว่า การพิจารณากรอบหลักการและรายละเอียดต่างๆ ของโครงการ DW ซึ่งเป็นโครงการที่มีรายละเอียดการดำเนินการรับซ้อน ใช้งบประมาณจำนวนมาก ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาระการคลังของประเทศในระยะยาว และมีความเสี่ยงต่อการรั่วไหลหรือทุจริตในขั้นตอนต่างๆ ควรดำเนินการด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง (due care) และมีกระบวนการที่ถูกต้องรัดกุม (due process) อย่างเต็มที่ ดังนั้น เพื่อให้การให้ความเห็นชอบในกรอบหลักการโครงการ DW มีความรอบคอบครบถ้วน จึงเสนอให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนและนำเสนอข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมทั้งจัดทำแนวทางหรือมาตรการแก้ไขประเด็นปัญหาหรือความเสี่ยงต่างๆ ให้เป็นรูปธรรมด้วย ก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาให้ความเห็นชอบในกรอบหลักการของโครงการ DW ต่อไป
………….
สภาพัฒน์เสนอ 4 ประเด็น
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีความเห็นเพิ่มเติมเพื่อให้การดำเนินโครงการมีความรอบคอบและสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงถัดไป ดังนี้
1. จากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่อยู่ในช่วเนื่องแต่ยังคงมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจการเงินโลก และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ดังนั้น การใช้แหล่งเงินงบประมาณประจำปีเป็นแหล่งเงินสำหรับการดำเนินโครงการควรพิจารณาดำเนินการให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ เงื่อนไขทางการคลังและกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ รวมทั้งจัดเตรียมมาตรการรองรับในกรณีที่เศรษฐกิจไทยอาจได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในช่วงถัดไป
2. สำหรับการมอบหมายให้สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลังและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการโดยในรายละเอียดของการดำเนินโครงการในวงเงิน 172,300 ล้านบาท เห็นควรให้มีการพิจารณารายละเอียดอย่างรอบด้านของวิธีการดำเนินการที่ควรต้องสอดคล้องกับขอบเขตวัตถุประสงค์และกฎหมายการจัดตั้งหน่วยงานที่จะดำเนินการและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยควรนำรายละเอียดดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อนดำเนินการ
3. กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรพิจารณากำหนดแนวทางในการลดผลกระทบทางการคลังในระยะถัดไป โดยให้ความสำคัญกับการบริหารการจัดเก็บรายได้ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้และควรมีการประเมินผลในช่วงระหว่างการดำเนินโครงการเพื่อให้สามารถปรับการดำเนินโครงการให้สอดคล้องกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างดำเนินโครงการและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและทำการประเมินผลภายหลังจากการดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
4. การจัดทำแพลตฟอร์มเพื่อใช้ในการดำเนินการโครงการฯ ควรให้ความสำคัญกับข้อกำหนดในการรักษาเสถียรภาพของระบบและการรักษาความปลอดภัยโดยการจัดทำระบบควรเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น
………….
สพร. พร้อมหนุน
นางสาวอภิณห์พร อังคกมลเศรษฐ์ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. ไม่ขัดข้องในหลักการกรอบหลักโครงการฯ ดังกล่าว และมีข้อสังเกตเพิ่มเติม ดังนี้
1. สพร. เห็นว่าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำหรับการออกแบบและพัฒนาระบบลงทะเบียนและตรวจสอบสิทธิสำหรับประชาชนและร้านค้าที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายฯ มีความชัดเจนในระดับหนึ่งแล้วแต่เมื่อประเมินความพร้อมด้านทรัพยากรโดยเฉพาะกำลังคนของ สพร. ในปัจจุบันแล้ว สพร. สามารถที่จะพัฒนาโปรแกรมระบบในส่วนของการลงทะเบียนและตรวจสอบสิทธิสำหรับประชาชนและร้านค้า โดยเป็นการพัฒนาต่อยอดจากแอปพลิเคชันทางรัฐ… ที่ สพร. เปิดให้บริการอยู่ใปปัจจุบัน
2. การพัฒนาระบบเพื่อรองรับการใช้จ่ายและการชำระเงินสำหรับโครงการฯ สพร. และ ดศ. ได้ร่วมกันดำเนินการศึกษารูปแบบและแนวทางการพัฒนาระบบโดยในเบื้องต้นพบว่าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำหรับการออกแบบและพัฒนาระบบเพื่อรองรับการใช้จ่ายและการชำระเงินที่เกี่ยวข้องกับ Open Loop ยังไม่ชัดเจนเพียงพอซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลาในการพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติมร่วมกับ ดศ.และหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง ก่อนทำการศึกษากำหนดรูปแบบและแนวทางการพัฒนาระบบรวมถึงการกำหนดหน่วยงานที่มีความพร้อมและมีความเชี่ยวชาญเพื่อรับผิดชอบงานพัฒนาระบบในส่วนนี้ต่อไป โดย สพร. ได้นำเสนอให้คณะกรรมการนโยบายฯ ทราบในคราวการประชุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 ด้วยแล้ว
3. ในการดำเนินการดังกล่าวมีความจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรมีการมอบหมายหน่วยงานหลักที่ต้องดำเนินการหารือร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาว่าข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้สำหรับตรวจสอบ คัดกรอง ประชาชนและร้านค้า นั้นจัดเก็บโดยหน่วยงานใด ข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิทัล มีความครบถ้วนถูกต้อง เป็นปัจจุบันมีรายละเอียดเพียงพอที่จะนำไปใช้ในการประมวลผลข้อมูลเพื่อตรวจสอบสิทธิโดยอัตโนมัติได้หรือไม่ และประสานงานจนได้มาซึ่งข้อมูลดังกล่าวเพื่อมาใช้ในโครงการฯ ในเบื้องต้น
4. ควรมีการมอบหมายให้สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) (Big Data Institute : BDI) ในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในเรื่องการวิเคราะห์ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่เข้าร่วมทำงานกับหน่วยงานหลักต่างๆ ตามข้อ 3 เพื่อรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน พร้อมที่จะส่งให้ สพร. นำมาใช้ในการตรวจสอบเปรียบเทียบเพื่อคัดกรองประชาชน และร้านค้าต่างๆ ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ได้ทันที
5. ควรมีการมอบหมายให้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยเปิดระบบเพื่อรองรับการดำเนินการตามโครงการฯ ให้สามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าทางดิจิทัล (face verification service หรือ FVS) ของกรมการปกครองได้ เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน
6. ควรมีการมอบหมายให้กระทรวงการคลังในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายฯ หารือและจัดเตรียมข้อมูลกลุ่มประชาชนตามเกณฑ์สิทธิ เช่น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น กับสถาบันการเงินทั้งธนาคารในกำกับของรัฐและธนาคารพาณิชย์ ผู้ประกอบธุรกิจเป้าเงินอิเล็กทรอนิกส์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้ได้ข้อมูล หลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำหรับการออกแบบและพัฒนาระบบเพื่อรองรับการใช้จ่ายและการชำระเงินซึ่งเกี่ยวข้องกับ open loop ให้มีความชัดเจนในทางปฏิบัติมากขึ้น
…………………
สำนักงบฯ-กระทรวงพาณิชย์ เห็นพ้อง
นายเฉลิมพล เพ็ญสูตร ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ขอเรียนว่า โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่ ช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพ ยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือ เช่น กลุ่มเปราะบาง เกษตรกร เป็นต้น และเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีความเข้มแข็งในด้านเศรษฐกิจ สามารถพึ่งพาตนเองได้ สร้างและเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชน รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดีจิทัลเพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม
ประกอบกับคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet มีมติเห็นชอบกรอบหลักการโครงการฯ ในคราวการประชุมเมื่อวันที่ 10 เมยายน 2567 แล้ว จึงเห็นสมควรที่คณะรัฐมนตรีจะรับทราบผลการรวบรวมข้อมูล ความเห็น ข้อเท็จจริง และข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ และพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการกรอบหลักการโครงการฯ และหน่วยงานตามที่คณะกรรมการนโยบายฯ รวมทั้งมอบหมายให้สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง และมอบหมายคณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินโครงการฯ ที่จะจัดตั้งขึ้น ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนรับทราบรายละเอียดโครงการฯ รวมทั้ง มุ่งนันการกำกับดูแลการดำเนินการในเรื่องต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯข้อกฎหมาย รวมถึงรักษากรอบวินัยการเงินการคลังอย่างรอบคอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าวเกิดประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนเห็นควรให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับมติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน รวมถึงจัดให้มีการติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ และรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวอย่างเหมาะสมและทันต่อสถานการณ์โดยเคร่งครัด
……….
ตามที่ได้เสนอความเห็นและข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่อง โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ไปเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เสนอความเห็นและข้อสังเกตไปเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วย ส่วนความเห็นของกระทรวงพาณิชย์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้รับภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีเสร็จสิ้นแล้ว ความละเอียดปรากฏตามบัญชีสำเนาหนังสือที่ส่งมาด้วยนี้
ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์) ชี้แจงเพิ่มเติมว่า
1. เรื่องที่กระทรวงการคลังเสนอในครั้งนี้เป็นการเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักการของกรอบหลักการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (โครงการฯ) หลังจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เพื่อพิจารณาจัดทำรายละเอียดในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนและครบถ้วน โดยนำความเห็นของหน่วยงานต่าง 1 ที่ได้เสนอมาประกอบการพิจารณาด้วยและนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
2. โครงการฯ มีแหล่งเงินที่จะนำมาใช้ในการดำเนินโครงการฯ จาก 3 แหล่ง ได้แก่ ส่วนที่ 1 การบริหารจัดการเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ส่วนที่ 2 เงินงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 สำหรับส่วนที่ 3 ถือเป็นการดำเนินโครงการผ่านหน่วยงานของรัฐในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกร ซึ่งเป็นนโยบายกึ่งการคลังของรัฐที่มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามนัยมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะได้มีหนังสือหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินส่วนที่ 3 ให้เกิดความถูกต้อง รอบคอบ ชัดเจน ก่อนดำเนินการต่อไป
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอความเห็นเพิ่มเติมว่า เรื่องนี้เป็นการดำเนินการตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 266/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet สงวันที่ 4 ตุลาคม 2566 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักการของกรอบหลักการโครงการฯ เท่านั้น สำหรับรายละเอียดต่างๆ ของการดำเนินโครงการฯ เช่น นิติสัมพันธ์ในการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประชาชนและร้านค้า หรือระหว่างร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ รวมทั้งการออกแบบระบบให้เหมาะสมและเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นเรื่องที่คณะรัฐมนตรีสามารถจะมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องได้ตามหน้าที่และอำนาจของแต่ละหน่วยงาน แล้วนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาตามขั้นตอนอีกครั้งหนึ่งต่อไป
นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ในการจัดทำรายละเอียดโครงการฯ หากมีประเด็นข้อสงสัยหรือความไม่ชัดเจนในเรื่องใด ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ได้ข้อยุติที่ถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วนทุกประเด็น ก่อนดำเนินการต่อไปด้วย ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วลงมติว่า
1. รับทราบตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์) ชี้แจงเพิ่มเติมและที่เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอความเห็นเพิ่มเติม
2. เห็นชอบให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวช้องถือปฏิบัติตามที่นายกรัฐมนตรีเสนออย่างเคร่งครัด
3. รับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอและที่มีความเห็นเพิ่มเติม ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet กระทรวงการคลัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพาณิชย์ สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป