ThaiPublica > เกาะกระแส > ‘สมศักดิ์’จี้ทุกหน่วยชงสภาฯ ยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ – มติ ครม.โยกงบฯ 1.3 หมื่นล้าน ซื้อ ‘LAAB’ 36,000 โดส

‘สมศักดิ์’จี้ทุกหน่วยชงสภาฯ ยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ – มติ ครม.โยกงบฯ 1.3 หมื่นล้าน ซื้อ ‘LAAB’ 36,000 โดส

12 มีนาคม 2024


เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานที่ประชุม ครม. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล
ที่มาภาพ : www.thaigov.go.th/
  • ‘สมศักดิ์’จี้ส่วนราชการชงสภาฯ ยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ
  • เร่งผ่านร่าง กม. 95 ฉบับ
  • จัด ครม.สัญจร ‘พะเยา’ 19 มี.ค.นี้
  • มติ ครม.ยกเว้นภาษีปันผล ‘โทเคนดิจิทัล’
  • เล็งยกเว้นภาษีนำเข้างานศิลป์ – รถยนต์โบราณ
  • ต่อ O/D ให้ กคช.กู้ออมสิน 500 ล้าน ถึง มี.ค.ปี’70
  • โยกงบฯเงินกู้ 1.3 หมื่นล้าน ซื้อ ‘LAAB’ รุ่นใหม่ 36,000 โดส
  • ตั้ง 55 คกก.วินิจฉัย – สั่งหน่วยงานรัฐ เปิดเผยข้อมูล
  • เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี และรักษาการแทนนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล เนื่องจาก นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เดินทางไปราชการในต่างประเทศ (ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมัน) ระหว่างวันที่ 7-13 มีนาคม 2567 ภายหลังการประชุม ครม. เสร็จสิ้น นายสมศักดิ์ มอบหมายให้นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รายงานข้อสั่งการ

    เร่งผ่านร่าง กม. 95 ฉบับ

    นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รายงานว่า ในที่ประชุม ครม. วันนี้ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี และรักษาการแทนนายกรัฐมนตรี มีเรื่องแจ้งเพื่อทราบในที่ประชุมเรื่องกฎหมายที่ค้างอยู่ และยังไม่เสร็จจำนวน 95 ฉบับ โดยอยากให้หน่วยงานเร่งรัดรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานต่างๆ ให้รัฐบาลมีกฎหมายออกมาบังคับใช้ให้ได้มากที่สุด

    จี้ส่วนราชการชงสภาฯ ยกเลิก ปว.

    นายคารม กล่าวต่อว่า รักษาการแทนนายกฯ กล่าวในที่ประชุมเรื่อง ‘ประกาศคณะปฏิวัติ’ โดยขอให้หน่วยงานต่างๆ ยืนยันว่าจะใช้ประกาศคณะปฏิวัติอยู่หรือไม่ เนื่องจากขณะนี้เพิ่งจะมีหน่วยงานที่ยืนยันเพียง 2-3 ฉบับเท่านั้น ดังนั้นขอให้หน่วยงานต่างๆ ยืนยัน เพื่อจะได้ดำเนินการยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ และนำเรื่องเข้าสภา

    จัด ครม.สัญจร ‘พะเยา’ 19 มี.ค.นี้

    นายคารม กล่าวว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีกำหนดการเดินทางไปประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2567 ณ จังหวัดพะเยา และติดตามการตรวจราชการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย น่าน พะเยา และแพร่) จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำปาง ระหว่างวันที่ 18 – 19 มีนาคม 2567 โดยมีกำหนดการดังนี้

    วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม 2567 เวลา ประมาณ 13.30 น. นายกรัฐมนตรีหารือแผนการพัฒนาพื้นที่เป็นสนามบินจังหวัดพะเยา ณ ตำบลดอนศรีชุม และตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จากนั้น นายกรัฐมนตรีเดินทางไปยังจุดผ่านแดนถาวรบ้านฮวก ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา เพื่อติดตามสถานการณฺการค้าชายแดนและการพัฒนาพื้นที่ก่อสร้างที่ทำการชายแดน CIQ ณ จุดผ่านแดนถาวรบ้านฮวก เสร็จแล้ว นายกรัฐมนตรีจะสักการะพ่อขุนงำเมือง ณ อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง และรับฟังการนำเสนอแผนพัฒนาโครงการ ชมนิทรรศการและผลิตภัณฑ์ชุมชนของจังหวัดพะเยา ณ อุทยานการเรียนรู้พะเยา (TK Park)

    วันอังคารที่ 19 มีนาคม 2567 เวลาประมาณ 10.00 น. นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2567 ณ หอประชุมพญางำเมือง มหาวิทยาลัยพะเยา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา จากนั้น นายกฯ จะเดินไปยังวัดจองคำ พระอารามหลวง ตำบลบ้านทวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อความเป็นสิรมงคล ต่อจากนั้น นายกฯ จะพบประประชาชนในพื้นที่จังหวัดลำปาง ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ก่อนจะเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร

    มติ ครม. มีดังนี้

    นางสาวเกณิกา อุ่นจิตร์ , นายคารม พลพรกลาง และนางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกันแถลงผลการประชุม ครม. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล
    ที่มาภาพ : www.thaigov.go.th

    ไฟเขียวแก้ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่กระทรวงสาธารณสุข เสนอ และรับทราบผลการพิจารณาในประเด็นเกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ ในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เสนอ

    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ มีดังนี้

    1. กำหนดให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

    2. แก้ไขคำนิยาม “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์” และ “การสื่อสารการตลาด” และเพิ่มเติมคำนิยาม “ผู้มีปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์”4 เพื่อให้มีความชัดเจนและครอบคลุมการบำบัดรักษาในกลุ่มบุคคลมากยิ่งขึ้น

    3. คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ

      3.1 เพิ่มองค์ประกอบของกรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ รัฐมันตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และรัฐมนูตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
      3.2 เพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการฯ ให้สามารถกำหนดนโยบาย แผนงาน และการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกี่ยวกับผู้มีปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการเสนอแผนยุทธศาสตร์หรือแผนปฏิบัติการด้านการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และด้านการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือผู้มีปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ

    4. คณะกรรมการควนคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

      4.1 เพิ่มองค์ประกอบของกรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจแสะสังคม และปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
      4.2 เพิ่มอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ให้มีอำนาจหน้าที่ให้สามารถกำหนดนโยบายแผนงาน และการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกี่ยวกับผู้มีปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการกำหนดวันหรือเวลาห้ามขายหรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการกำหนดเวลา ห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณสถานที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสถานที่ หรือบริเวณสถานที่จัดบริการเพื่อให้มีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อประโยชน์ในทางการค้า

    5. คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กรุงเทพมหานคร คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัด และสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

      5.1 เพิ่มองค์ประกอบของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กรุงเทพมหานคร เช่น ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุดและผู้แทนกรมคุมประพฤติ รวมทั้งเปลี่ยนกรรมการโดยตำแหน่งจากหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร เป็นผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และเพิ่มกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสาธารณสุขด้านรณรงค์ทางสังคม
      5.2 เพิ่มองค์ประกอบของคณะกรรมการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัด เช่น อัยการจังหวัด ปลัดจังหวัด เปลี่ยนกรรมการโดยตำแหน่งจากผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาในจังหวัดซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง เป็นศึกษาธิการจังหวัด และเพิ่มกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสาธารณสุข ด้านรณรงค์ทางสังคม
      5.3 แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ในการเสนอความเห็นเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้มีปัญหาจงกการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อคณะกรรมการควบคุม และดำเนินการตามนโยบาย แผนงาน และการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดำเนินการให้มีแผนงานในระดับจังหวัด และดำเนินการให้มีการบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือผู้มีปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
      5.4 แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในการพัฒนาให้มีระบบและกลไกเพื่อให้เกิดการบังคับใช้ รวมถึงเฝ้าระวังการกระทำความผิด การพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับนโยบายในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ดำเนินการพัฒนาองค์ความรู้ การบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือผู้มีปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    6. เพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจของรัฐมนตรีในการกำหนดหลักเกณฑ์-วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับสถานที่ห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มเติมได้

    7. เพิ่มเรื่องการห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ หรือ บริเวณสถานที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสถานที่หรือบริเวณสถานที่จัดบริการ เพื่อให้มีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อประโยชน์ในทางการค้าในเวลาที่ รัฐมนตรีประกาศกำหนด5 โดยคำแนะนำของคณะกรรมการ ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวจะกำหนดเงื่อนไขหรือข้อยกเว้นใด ๆ เท่าที่จำเป็นไว้ด้วยก็ได้

    8. การโฆษณา เพิ่มหมวดว่าด้วยการโฆษณา โดยมีบทบัญญัติเรื่องการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การประชาสัมพันธ์ใด ๆ โดยผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนด ห้ามแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจ และห้ามโฆษณาผลิตภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใดที่อาจทำให้เข้าใจว่าหมายถึงการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตลอนจนห้ามมิให้การอุปถัมภ์หรือให้การสนับสนุนบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชน ในลักษณะที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยไม่ใช้บังคับกับการบริจาคหรือการช่วยเหลือตามมนุษยธรรมในกรณีที่เกิดสาธารณภัยร้ายแรง

    9. การบำบัดรักษาหรือการฟื้นฟูสภาพผู้ติดยาเสพติดแอลกอฮอล์

      9.1 แก้ไขชื่อหมวดจากเดิม “การบำบัดรักษาหรือการฟื้นฟูสภาพผู้ติดยาเสพติดแอลกอฮอล์” เป็น “การบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือผู้มีปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์”
      9.2 เพิ่มหน่วยงานที่สนับสนุนเกี่ยวกับการบำบัดฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือผู้มีปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น กรมควบคุมโรค กรมการแพทย์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น โดยให้มีอำนาจในการส่งเสริมและสนับสนุนิการบำบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพจิตใจดังกล่าว และกำหนดลักษณะของผู้มีปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการส่งเสริมและสนับสนุนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือผู้มีปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้เป็นตามที่คณะกรรมการควบคุมกำหนด

    10. แก้ไขอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น ให้มีอำนาจในการเข้าไปในสถานที่หรือบริเวณสถานีที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสถานที่หรือบริเวณสถานที่ที่จัดบริการเพื่อให้มีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อประโยชน์ในทางการค้า เพื่อตรวจสอบหรือควบคุมเท่าที่จำเป็น ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าน่าจะมีการกระทำความผิด และมีอำนาจในการเรียกและขอดูบัตรประจำตัวประชาชนหรือเอกสารอื่นใด ในกรณีที่มีการกระทำความผิดหรือกรณีที่มีหลักฐานตามสมควรว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และอำนาจในการตรวจสอบ รวบรวมพยานหลักฐานหรือวัตถุอื่นใด เพื่อประโยชนในการดำเนินคดี

    11. บทกำหนดโทษ เช่น เพิ่มเติมโทษในกรณีที่ฝ่าฝืนบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณสถานที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต้องชำระค่าปรับเป็นพินัยไม่เกิน 10,000 บาท เพิ่มอัตราโทษปรับในกรณีผู้กระทำความผิดเป็นผู้ผลิตหรือนำเข้า จากเดิม “ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” เป็น “ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

    ยกเว้นภาษีเงินปันผล ‘โทเคนดิจิทัล’

    นายคารม กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. [มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการระดมทุนด้วยโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token)] ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

    นายคารม กล่าวว่า ร่างพระราชกฤษฎีกาที่กระทรวงการคลังเสนอ มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินส่วนแบ่งของกำไร (เงินปันผล) หรือ ผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากการถือ หรือ ครอบครองโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน และได้หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย (ในอัตราร้อยละ 15) ไว้แล้ว ไม่ต้องนำเงินได้ส่วนดังกล่าวไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก สำหรับเงินส่วนแบ่งของกำไรหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป เพื่อยกระดับการกำกับดูแลโทเคนดิจิทัล เพื่อการลงทุนให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกับหลักทรัพย์ รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการระดมทุน ตลอดจนสอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล

    คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละประมาณ 50 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวจะทำให้ผู้ประกอบธุรกิจมีทางเลือกในการระดมทุนด้วยโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนเพิ่มเติมจากการระดมทุนด้วยเครื่องมือดั้งเดิม (ตราสารหนี้และตราสารทุน) อันจะส่งผลดีต่อการระดมทุน การลงทุน และการจ้างงานในประเทศ ตลอดจนช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการระดมทุนด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Hub) เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์คาดการณ์ว่า ในปี 2567 จะมีการระดมทุนด้วยโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนถึง 18,500 ล้านบาท นายคารม กล่าว

    เล็งยกเว้นภาษีนำเข้างานศิลป์ – รถยนต์โบราณ

    นางสาวเกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบมาตรการส่งเสริมงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars)
    โดยครม.มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
    1.เห็นชอบในหลักการของการดำเนินมาตรการส่งเสริมงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ดังนี้

      1.1 มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการซื้องานศิลปะ
      1.2 มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ
      1.3 มาตรการลด หรือ ยกเว้นอากรขาเข้างานศิลปะ
      1.4 มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมรถยนต์โบราณ (Classic Cars)

    2. มอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงวัฒนะรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กระทรวงคมนาคม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการศึกษารายละเอียด ผลประโยชน์และผลกระทบ ทั้งในมิติของเศรษฐกิจ การคลัง และสังคม รวมทั้งข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในแต่ละมาตรการอย่างรอบคอบต่อไป

    3. ให้กระทรวงการคลัง กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงคมนาคม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณาศึกษารายละเอียดของมาตรการและประสานหน่วยงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการดำเนินการต่อไป

    โดยมีสาระสำคัญของเรื่อง

    1.กิจการเกี่ยวกับศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการของประเทศไทยเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในตลาดโลกและตลาดภูมิภาค โดยประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 10 ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นผู้ส่งออกกลุ่มงานสินค้าสร้างสรรค์ และมีความอุดมสมบูรณ์ของทุนทางวัฒนธรรมและมีทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และทักษะฝีมือด้านศิลปะที่เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมจิตรกรรมและประติมากรรม ซึ่งปัจจุบันงานศิลปะได้รับสิทธิประโยชน์ในทางภาษีอากรเกี่ยวกับการยกเว้นอากรขาเข้า เช่น การนำเข้างานศิลปะเพื่อจัดแสดงให้สาธารณชนได้รับชมเป็นการทั่วไป การนำเข้างานศิลปะ เข้ามาเป็นการชั่วคราวเพื่อการการจัดแสดงสินค้าระหว่างประเทศ การนำเข้างานศิลปะภายใต้กรอบความตกลงการค้าเสรี

    รวมทั้งกรณีส่งออกสินค้างานศิลปะที่ผลิตในประเทศไทยไปจำหน่ายต่างประเทศ จะได้รับการชดเชยภาษีตามพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. 2524 นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีศักยภาพและความพร้อมที่จะสนับสนุนมาตรการเกี่ยวกับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) สำหรับการแข่งขันในอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่นด้านทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรด้านอื่น ๆ ที่สามารถนำมาผลิต หรือ บูรณะ (Restoration) และสามารถนำมาขายต่อ (Reselling) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจได้

    2. มาตรการส่งเสริมงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars) เป็นการส่งเสริมงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ซึ่งคาดว่าจะมีศักยภาพในการขยายตัวโดยการใช้ทุนวัฒนธรรมกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars) เช่น ภาคการท่องเที่ยว แฟชั่น การออกแบบอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ โดยมาตรการ ดังนี้

      2.1 มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการซื้องานศิลปะ
      2.2 มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ
      2.3 มาตรการลด หรือ ยกเว้นอากรขาเข้างานศิลปะ
      2.4 มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมรถยนต์โบราณ (Classic Cars)

    3. กระทรวงการคลังแจ้งว่าการยกระดับทุนทางวัฒนธรรมและส่งเสริมอุตสาหกรรมทัศนศิลป์ ของประเทศไทยและเพิ่มรายได้จากการใช้จ่ายในประเทศ และจากต่างประเทศจะช่วยสร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยรวมของประเทศ รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมภาคธุรกิจงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจในประเทศไทย

    จัดทำข้อสงวนเพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ‘อุ้มหาย’

    นางสาวเกณิกา กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบการจัดทำข้อสงวนในข้อบทที่ 42 (การนำข้อพิพาทระหว่างรัฐเข้าสู่การพิจารณาโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ) เพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ (อนุสัญญาฯ) ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำข้อสงวนในข้อบทที่ 42 เพื่อประกอบการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ต่อไป

    เดิม คณะรัฐมนตรีมีมติ (4 ตุลาคม 2554) เห็นชอบให้ไทยลงนามในอนุสัญญาฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดให้การทำให้บุคคลหายสาบสูญโดยถูกบังคับ เช่น การจับกุม คุมขัง ลักพาตัว เป็นฐานความผิดตามกฎหมายอาญา (เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคล หรือ กลุ่มบุคคลซึ่งกระทำการโดยได้รับการอนุญาต การสนับสนุนหรือการยอมรับโดยปริยายของรัฐ) รวมทั้งกำหนดโทษของความผิดดังกล่าว โดยรัฐจะต้องกำหนดให้ตนมีเขตอำนาจศาลเหนือความผิดฐานกระทำให้บุคคลหายสาบสูญ โดยถูกบังคับถึงแม้ว่าบุคคลที่หายสาบสูญ หรือ บุคคลที่ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวจะไม่ใช่คนชาติของตนและการทำให้หายสาบสูญก็มิได้เกิดขึ้นในดินแดนของรัฐตน รวมทั้งกำหนดให้รัฐมีหน้าที่ปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและจัดให้เหยื่อและสมาชิกในครอบครัวได้รับการเยียวยาและชดเชยอย่างเหมาะสมและมอบหมายให้ กต. ดำเนินการลงนามในอนุสัญญาดังกล่าวต่อองค์การสหประชาชาติซึ่งได้ไทยลงนามแล้วเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2555

    ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติ (24 พฤษภาคม 2559) เห็นชอบการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และให้เสนออนุสัญญาฯ ให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งต่อมาในคราวประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 16/2560 (10 มีนาคม 2560) ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้ไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ เมื่อมีกฎหมายภายในรองรับครบถ้วนแล้ว ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมีพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 25651 (พระราชบัญญัติป้องกันฯ) ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 โดยเป็นกฎหมายที่รองรับการดำเนินการตามอนุสัญญาฯ และอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติ หรือ การลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ดังนั้น ไทยจึงสามารถเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้

    สาระสำคัญของเรื่อง กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) รายงานว่า

    1. ภายหลังจากที่ไทยได้มีกฎหมายรองรับการดำเนินงานตามอนุสัญญาฯ ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาจัดทำข้อสงวน2 และคำแถลงตีความต่ออนุสัญญาฯ สำหรับการเตรียมการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ได้แก่ (1) การประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2559 (ปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน และ (2) การประชุมร่วมกันระหว่าง ยธ. (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กต. กระทรวงกลาโหม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด เมื่อวันอังคารที่ 18 กรกฎาคม 2566 (รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเป็นประธาน) ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้ไทยดำเนินการ ดังนี้

    1.1 จัดทำข้อสงวนตามข้อบทที่ 42 (การนำข้อพิพาทระหว่างรัฐเข้าสู่การพิจารณาโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ)

    1.2 ไม่ประกาศยอมรับอำนาจของคณะกรรมการว่าด้วยการบังคับให้หายสาบสูญ ตามข้อบทที่ 31 และข้อบทที่ 32 (การรับและพิจารณาคำร้องเรียนจากปัจเจกบุคคลที่อยู่ภายใต้อำนาจของรัฐภาคีและจากรัฐภาคีหนึ่งที่กล่าวอ้างอีกรัฐภาคีหนึ่งว่าไม่ได้ปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ) เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับการตั้งข้อสงวนต่อสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับอื่น ๆ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

    สำหรับข้อบทที่ 31 และข้อบทที่ 32 (การรับและพิจารณาคำร้องเรียนจากปัจเจกบุคคลที่อยู่ภายใต้อำนาจของรัฐภาคีและจากรัฐภาคีหนึ่งที่กล่าวอ้างอีกรัฐภาคีหนึ่งว่าไม่ได้ปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ) ที่ประชุมได้มีความเห็นว่า ไทยไม่จำเป็นต้องจัดทำข้อสงวน เนื่องจากถ้อยความในข้อบทดังกล่าวระบุไว้อย่างชัดเจนว่า รัฐภาคีจะต้องประกาศยอมรับอำนาจของคณะกรรมการว่าด้วยการบังคับให้หายสาบสูญก่อน คณะกรรมการว่าด้วยการบังคับให้หายสาบสูญจึงจะมีอำนาจในการพิจารณาคำร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับรัฐภาคีนั้น ๆ ซึ่งภายหลังการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ หากไทยยังไม่ประกาศยอมรับอำนาจของคณะกรรมการว่าด้วยการบังคับให้หายสาบสูญ ข้อบทดังกล่าวก็จะไม่ผูกพันไทย (ในทางปฏิบัติรัฐภาคีหลายประเทศไม่ได้ประกาศยอมรับอำนาจของคณะกรรมการดังกล่าวเช่นกัน)

    2. การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ จะเป็นประโยชน์แก่ไทย ดังนี้

      2.1 ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของไทย โดยแสดงให้เห็นว่า ไทยมีเจตนารมณ์และความตั้งใจจริงที่จะเคารพสิทธิมนุษยชนเทียบเท่ากับระดับสากลอันจะช่วยทำให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับและความเชื่อถือจากประชาคมระหว่างประเทศ
      2.2 ยกระดับกระบวนการยุติธรรม สร้างหลักประกันว่าจะไม่มีการงดเว้นโทษต่อผู้กระทำความผิด การดำเนินคดีเป็นไปด้วยความโปร่งใส.สอดคล้องกับหลักนิติธรรม
      2.3 ทำให้ประชาชนได้รับความคุ้มครอง สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่าการลิดรอนเสรีภาพทั้งปวงจากรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะกระทำมิได้ ส่งผลให้สังคมมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
      2.4 เป็นหนึ่งในผลสำเร็จของรัฐบาลไทยที่สามารถนำเสนอ ในการประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (ระดับสูง) [Human Rights Council (High Level Panel)] ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2567 ตลอดจนช่วยสนับสนุนให้ไทยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในปี 2567 ได้ด้วย

    อนึ่ง พระราชบัญญัติป้องกันฯ ได้กำหนดฐานความผิดสำหรับการกระทำทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายไว้เป็นการเฉพาะ รวมทั้งได้กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ตลอดจนมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาทั้งสองฉบับ เช่น มาตรการป้องกันและปราบปราม มาตรการเยียวยาผู้เสียหาย เป็นต้น

    ก่อนการเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาฉบับใดก็ตาม รัฐที่จะเข้าเป็นภาคีสามารถตั้งข้อสงวน (Reservation) เพื่อยกเว้นความผูกพันบางข้อบทของอนุสัญญานั้นได้ ทั้งนี้ ประเด็นที่ตั้งข้อสงวนจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์และความมุ่งหมายหลักของอนุสัญญา โดยไทยได้จัดทำข้อสงวนในประเด็นการไม่รับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไว้ในอนุสัญญาระหว่างประเทศฉบับอื่น ๆ อีกจำนวน 3 ฉบับ ได้แก่

      (1) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women : CEDAW) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (14 พฤษภาคม 2528) อนุมัติให้ไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และให้ตั้งข้อสงวนในข้อบทที่ 29 (การนำข้อพิพาทระหว่างรัฐเข้าสู่การพิจารณาโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ) ก่อนการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ (ไทยได้เข้าเป็นภาคีด้วยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2528)
      (2) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination : ICERD) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (26 พฤศจิกายน 2545) เห็นชอบให้ไทยตั้งข้อสงวนในข้อบทที่ 22 (การให้นำข้อพิพาทเกี่ยวกับการตีความหรือการนำอนุสัญญาฯ ไปใช้ ขึ้นสู่การวินิจฉัยขี้ขาดของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้หากคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ) ก่อนการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ (ไทยได้เข้าเป็นภาคีด้วยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2546)
      (3) อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment : CAT) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (7 สิงหาคม 2550) เห็นชอบให้ไทยจัดทำข้อสงวนในข้อบทที่ 30 (การยื่นข้อพิพาทเกี่ยวกับการตีความ/การบังคับใช้อนุสัญญาไปยังศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ) ก่อนการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ (ไทยได้เข้าเป็นภาคีด้วยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2550)

    รับรองปฏิญญา-เข้าร่วมสมาชิกต้านภัยยาเสพติดสังเคราะห์

    นางสาวเกณิกา กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้

    1. เห็นชอบในสารัตถะของปฏิญญาว่าด้วยการเร่งรัด และเสริมสร้างความเข้มแข็งในการรับมือระดับโลกต่อภัยคุกคามยาเสพติดสังเคราะห์1 (Ministerial Declaration on Accelerating and Strengthening the Global Response to Synthetic Drugs) (ปฏิญญาฯ) และให้ความเห็นชอบให้ประเทศไทย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ร่วมรับรองปฏิญญาดังกล่าว

    2. เห็นชอบ ต่อการเข้าร่วมเป็นสมาชิกแนวร่วมในการรับมือภัยคุกคามจากยาเสพติดสังเคราะห์ระดับโลก (Global Coalition to Address Synthetic Drug Threats) (แนวร่วมฯ) ของ ยธ. ในนามของประเทศไทย โดยมีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) เป็นหน่วยดำเนินการ

    3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) แจ้งผลการพิจารร่วมรับรองปฏิญญาฯ และการเข้าร่วมเป็นสมาชิกแนวร่วมฯ ของประเทศไทยต่อกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา [การประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติดแห่งสหประชาชาติ (Commission on Narcotic Drugs: CND) สมัยที่ 67 มีกำหนดจัดขึ้น ณ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย ระหว่างวันที่ 14 – 22 มีนาคม 2567 โดยจะมีการหารือในประเด็นที่เกี่ยวกับการเข้าร่วมเป็นสมาชิกแนวร่วมฯ ในระหว่างวันที่ 14 – 15 มีนาคม 2567]

    สาระสำคัญ

    1. กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเพื่อเปิดตัวแนวร่วมในการรับมือภัยคุกคามจากยาเสพติดสังเคราะห์ (Global Coalition to Address Synthetic Drug Threats) รวมถึงพิจารณารับรองปฏิญญาฯ เมื่อวันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 2566 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญ ดังนี้

    ยธ. แจ้งว่า วัตถุประสงค์ของปฏิญญาฯ และการจัดตั้งแนวร่วมฯ ไม่ขัดต่ออำนาจหน้าที่ของ ยธ. (สำนักงาน ป.ป.ส.) ตามมาตรา 12 (7) ของประมวลกฎหมายยาเสพติด ซึ่งบัญญัติให้ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศในด้านการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยถือเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับนโยบายที่สำคัญและเท่าทันเหมาะสมต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลซึ่งกำหนดให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นวาระเร่งด่วน มุ่งเน้นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี นำความปลอดภัยมาสู่ประชาชนและดำเนินการปราบปรามผู้มีอิทธิพลและยาเสพติดให้หมดสิ้นจากสังคมไทยภายใต้แนวคิด “เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย” ขณะที่ผู้ผลิตและผู้ค้ายาเสพติดต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรมที่มุ่งเน้นการใช้มาตรการปราบปรามทางกฎหมายอย่างจริงจัง รวมทั้งสอดคล้องกับการขับเคลื่อนนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด (พ.ศ. 2566 – 2570) ซึ่งกำหนดให้มีการยกระดับและรักษาบทบาทสำคัญของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศ นอกจากนี้ การรับรองปฏิญญาฯ และการเข้าเป็นสมาชิกแนวร่วมฯ จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกาในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือระหว่างสำนักงาน ป.ป.ส. กับสำนักงานปราบปรามยาเสพติด (Drug Enforcement Administration: DEA) กระทรวงยุติธรรมสหรัฐอเมริกา และกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา

    ออกเลขที่บ้านชั่วคราวให้ผู้บุกรุกที่รถไฟ

    นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบการขอผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2546 [เรื่อง การออกเลขที่บ้านชั่วคราวให้กับผู้บุกรุกในเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)] ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ โดยสาระสำคัญ มีดังนี้

      1. พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 34 บัญญัติให้ทุกบ้านมีเลขประจำบ้าน และมาตรา 36 บัญญัติให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นจัดทำทะเบียนบ้านไว้ทุกบ้าน นายทะเบียนจึงมีหน้าที่ต้องออกทะเบียนบ้านให้แก่บ้านทุกบ้านที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ไม่ว่าเจ้าของบ้านจะมีสิทธิในที่ดินอันเป็นที่ตั้งของบ้านหรือไม่ ทำให้มีการออกทะเบียนบ้านชั่วคราวให้กับบ้านที่มีการปลูกสร้างขึ้นโดยบุกรุกที่ดินของรัฐ ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐอีกทางหนึ่ง คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ (8 เมษายน 2546) ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ในการให้บริการด้านต่าง ๆ แก่ประชาชนที่มีผลกระทบหรือเกี่ยวโยงกับที่ดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า ถือเป็นหลักปฏิบัติโดยเคร่งครัดว่า กรณีประชาชนผู้ได้รับทะเบียนบ้านชั่วคราวมาขออนุญาตใช้บริการต่าง ๆ ดังกล่าว จะอนุญาตได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐที่ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่บ้านในทะเบียนบ้านชั่วคราวนั้น ๆ ตั้งอยู่ โดยให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมตินี้เป็นต้นไป
      2. ที่ผ่านมา กระทรวงมหาดไทย (มท.) โดยการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค ได้ผ่อนปรนให้ประชาชนผู้ได้รับทะเบียนบ้านชั่วคราวซึ่งออกให้กับที่อยู่อาศัยที่ปลูกสร้างขึ้นในที่ดินของรัฐโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงผู้ที่อยู่ระหว่างการพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของบุคคลในเขตที่ดินของรัฐ สามารถขอใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาได้ในอัตราค่าบริการที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนกลุ่มดังกล่าวในระยะยาว ซึ่งบางส่วนไม่มีสาธารณูปโภคทั้งไฟฟ้าและน้ำประปาใช้มาเป็นเวลานานมากแล้ว คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ (9 มกราคม 2567) ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) เร่งรัดการดำเนินการขอผ่อนผันการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2546 (เรื่อง การออกเลขที่บ้านชั่วคราวให้กับผู้บุกรุก ในเขตที่ดินของ รฟท.) รวมทั้งเร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในที่ดิน ที่อยู่ระหว่างการพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของบุคคลในเขตที่ดินของรัฐมาก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติในวันนี้ (วันที่ 9 มกราคม 2567) สามารถเข้าถึงสาธารณูปโภคทั้งไฟฟ้าและน้ำประปาได้เป็นการชั่วคราวตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยให้ดำเนินการเรื่องนี้เป็นการนำร่องก่อนเฉพาะในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีและแม่ฮ่องสอน และให้ สคทช. รายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบภายใน 1 เดือน ทั้งนี้ ให้ มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือกับ สคทช. ในการดำเนินการดังกล่าวข้างต้นตามหน้าที่และอำนาจด้วย
      3. สคก. รายงานว่า เพื่อให้การอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567 เป็นไปโดยรวดเร็ว สคก. จึงเสนอขอผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2546 เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
      4. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีความเห็นเพิ่มเติมว่า เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบด้านการบุกรุกที่ดินของรัฐเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากการที่ผู้บุกรุกที่ดินของรัฐไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณูปโภคได้จนอาจทำให้มีการบุกรุกในที่ดินอื่นต่อไป เห็นสมควรให้ สคทช. ร่วมกับกระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณากำหนดแนวทางเพื่อให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในที่ดินของรัฐโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงผู้ที่อยู่ระหว่างการพิสูจน์สิทธิ สามารถเข้าถึงสาธารณูปโภคทั้งไฟฟ้าและน้ำประปาได้เป็นการชั่วคราว ตามหลักสิทธิมนุษยชนโดยเร็ว ควบคู่ไปกับการดำเนินการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐให้ชัดเจนและเหมาะสมต่อไป

    แจก “ริบบิ้นสีน้ำเงินเข้ม” รณรงค์ต้านภัยมะเร็งลำไส้

    นางรัดเกล้า กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.มีมติมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับต้น ๆ ของหลายประเทศทั่วโลก ด้วยวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของประชากรส่งผลให้แนวโน้มอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำมาสู่สาเหตุการตายและปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี

    รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า กล่าวว่า สำหรับประเทศไทย มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็น 1 ใน 5 ของมะเร็งที่พบมากในคนไทย มีอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นทุกปี ปัจจุบันพบมากเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย และอันดับ 4 ในเพศหญิง แต่ละปีจะมีผู้ป่วยรายใหม่ 12,467 คน เป็นเพศชาย 6,874 และเพศหญิง 5,593 คน และมีผู้เสียชีวิตกว่า 4,700 คนต่อปี ทั้งนี้ ปัจจุบันวิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากโดยเฉพาะพฤติกรรมการบริโภค เช่น รับประทานอาหารไขมันสูง อาหารฟาสต์ฟูดต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น อาหารปิ้งย่างไหม้เกรียม อาหารจากน้ำมันทอดซ้ำ และเนื้อสัตว์แปรรูป ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรค อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ขาดการออกกำลังกาย การมีภาวะอ้วนน้ำหนักเกิน ตลอดจนมีประวัติครอบครัวหรือตนเองเป็นติ่งเนื้อในลำไส้ เป็นต้น

    “มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจคัดกรองเพื่อค้นหามะเร็งในระยะเริ่มแรกได้ ส่งผลให้การรักษาได้ผลดีและมีโอกาสหายจากโรคสูง ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรรับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงโดยการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระปีละครั้ง หากผิดปกติควรได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ กรณีพบติ่งเนื้อหรือความผิดปกติในลำไส้ใหญ่แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อบริเวณดังกล่าวเพื่อวินิจฉัยต่อไป ในการประชุม ครม. วันนี้ (12 มีนาคม 2457) กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติได้แจกริบบิ้นสีน้ำเงินเข้ม หรือ Dark Blue Ribnbon ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน เนื่องในเดือนมีนาคม ที่เป็นเดือนที่คนทั่วโลกพร้อมใจกันติดสัญลักษณ์ดังกล่าว เพื่อร่วมกันเชิญชวนประชาชนให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ให้ร่วมกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของตัวเองและคนที่เรารัก และให้ร่วมกันย้ำเตือนต่อสังคมว่าภัยร้ายจากมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน” นางรัดเกล้าฯ กล่าว

    จัดงบฯ 163 ล้าน ดูแลผู้สูงอายุชุมชนภาคใต้

    นางรัดเกล้า กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.ยังมีมติคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการโครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน (ภาคใต้) วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 163.231 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชนให้ได้รับการดูแลครอบคลุมในทุกมิติอย่างเหมาะสม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ

    จากรายงาน ของ พม. ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ การเกิดของประชากรไทยมีอัตราลดลงเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยในปี 2566 ประเทศไทยมีประชากรสูงอายุ จำนวน 13.06 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 20.08 ของประชากรทั้งหมด 65.06 ล้านคน พม. ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุให้ครอบคลุมในทุกมิติ (มิติสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีและนวัตกรรม) รวมถึงการป้องกันการเข้าสู่ภาวะพึ่งพิงและการดูแลระยะยาวในผู้สูงอายุ โดยส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและดูแลผู้สูงอายุเพื่อรองรับสถานการณ์สังคมสูงอายุในปัจจุบันและอนาคต และเป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิต สร้างระบบการดูแลและเฝ้าระวังทางสังคมผู้สูงอายุในระดับพื้นที่ให้กับผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ จึงได้จัดทำ โครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน ขึ้นมา

    โครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชนนั้น กรมกิจการผู้สูงอายุได้เสนอตั้งงบประมาณในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ไว้แล้วจำนวน 8.850 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการในลักษณะนำร่องใน 12 จังหวัด 19 พื้นที่ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการเมื่องบประมาณได้ผ่านการอนุมัติ

    ทั้งนี้ จากการการลงพื้นที่ควบคู่กับการร่วมการประชุม ครม.สัญจร ทาง พม. จึงเห็นความจำเป็นในการขยายโครงการฯ ไปในภูมิภาคต่างๆ โดย ก่อนหน้านี้ ในประชุม ครม.สัญจร ณ จังหวัดหนองบัวลำภู (9 ธันวาคม 2566) ครม. ได้อนุมัติ วงเงิน 359 ล้านบาท สำหรับ โครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสร้างกลไกการดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนในพื้นที่ 20 จังหวัด 322 อำเภอภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว

    จากการประชุม ครม.สัญจร ณ จังหวัดระนอง (23 มกราคม 2567 พม. ได้รวบรวมข้อมูลและพบว่า ภาคใต้ (14 จังหวัด) มีประชากรสูงอายุ จำนวน 1.62 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17.14 ของประชากรภาคใต้ทั้งหมด 9.45 ล้านคน (ข้อมูลจากกรมการปกครอง ณ เดือนธันวาคม 2566) นอกจากนั้น ข้อมูลการคัดกรองสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบว่า ภาคใต้มีประชากรสูงอายุ จำนวน 1.07 ล้านคน แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ

      กลุ่มติดสังคม จำนวน 1.03 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 96.19
      กลุ่มติดบ้าน จำนวน 33,493 คน เป็นร้อยละ 3.12
      กลุ่มติดเตียง จำนวน 7,404 คน คิดเป็นร้อยละ 0.69

    โดยผู้สูงอายุนั้นยังมีแนวโน้มอยู่ลำพังคนเดียวและถูกทอดทิ้งเพิ่มขึ้นอีกด้วย เนื่องจากสมาชิกในครอบครัวมีการย้ายถิ่นฐานเพื่อการประกอบอาชีพและหารายได้ โดยมีผู้สูงอายุที่อยู่ลำพัง จำนวน 189,190 คน และผู้สูงอายุดูแลกันเอง จำนวน 89,680 คน (ข้อมูลจากกรมการพัฒนาชุมชน ณ เดือนธันวาคม 2565) ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนจำนวนผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม

    ในการประชุม ครม. วันนี้ (12 มีนาคม 2567) พม. จึงได้เสนอ โครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชนในภาคใต้ ด้วยวงเงิน 163.231 ล้านบาท ซึ่งโครงการฯ ดังกล่าว สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสอดคล้องกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ เช่นแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (พ.ศ. 2566-2570) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่มีแผนพัฒนาเกี่ยวกับการจัดตั้งหรือสนับสนุนการจัดตั้งองค์กรที่มีบทบาทหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากปัญหาการพึ่งพิงและประชากรวัยเด็กลดลงทำให้มีอัตราวัยแรงงานลดลงแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (พ.ศ. 2566-2570) ที่มีแผนพัฒนาเกี่ยวกับการลงทุนทางสังคมแบบมุ่งเป้าเพื่อช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนยากจน กลุ่มเปราะบางและกลุ่มผู้มีภาวะพึ่งพิงสูง ให้เข้าถึงบริการสาธารณสุข เนื่องจากมีแนวโน้มความต้องการด้านสาธารณสุขในพื้นที่ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยโครงการฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

    ต่อ O/D ให้ กคช.กู้ออมสิน 500 ล้าน ถึง มี.ค.ปี’70

    จากนั้นที่ประชุม ครม.ได้มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ ให้การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ต่ออายุวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารออมสิน วงเงิน 500 ล้านบาท ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2567 สิ้นสุดวันที่ 11 มีนาคม 2570 โดยมีกระทรวงการคลัง (กค.) ค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย ภายใต้แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2567 (ปรับปรุงครั้งที่ 1) (สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับปัจจุบันจะสิ้นสุดลงในวันที่ 11 มีนาคม 2567)

    สาระสำคัญของเรื่อง พม. รายงานว่า

    1. กคช. ได้ประสานกับธนาคารออมสินเพื่อขอต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี วงเงิน 500 ล้านบาท ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 11 มีนาคม 2567 ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2567 และครบกำหนดวันที่ 11 มีนาคม 2570 โดยเป็นการขอวงเงินไว้สำหรับในกรณีที่ กคช. ขาดเงินทุนหมุนเวียนในช่วงใดช่วงหนึ่งก็จะขอเบิกจากวงเงินเบิกเกินบัญชีมาใช้ในการหมุนเวียน เพื่อมิให้การดำเนินงานต้องกระทบกระเทือนหรือหยุดชะงักลงและจะใช้คืนธนาคารทันทีที่มีสภาพคล่องทางการเงินเพียงพอ ซึ่งคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 ได้มีมติเห็นชอบการขอต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และ กคช. ได้แจ้งให้ กค. ทราบไว้ล่วงหน้าแล้ว ทั้งนี้ วงเงินดังกล่าวได้รับการบรรจุไว้ในการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 1 ด้วยแล้ว

    2. ธนาคารออมสินได้เห็นชอบให้ กคช. ต่ออายุวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวออกไปอีกเป็นระยะเวลา 3 ปี สรุปได้ ดังนี้

    โยกงบฯเงินกู้ 1.3 หมื่นล้าน ซื้อ ‘LAAB’ รุ่นใหม่ 36,000 โดส

    นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม.ยังมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2566 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ เสนอดังนี้

      1. อนุมัติให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ กรณีโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทยจำนวน 60,000,000 โดส (AstraZeneca) ปี พ.ศ. 2565 (โครงการจัดหาวัคซีนฯ AZ) โดยเปลี่ยนแปลงรายละเอียดรายการวัคซีน AstraZeneca ที่ยังไม่ได้รับการส่งมอบ จำนวน 19,074,400 โดส เป็นการจัดซื้อภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป หรือ แอนติบอดี้ออกฤทธิ์ยาว (Long – acting antibody : LAAB) รุ่นใหม่ จำนวน 36,000 โดส ส่งผลให้กรอบวงเงินโครงการฯ ลดลงจาก 18,382.4643 ล้านบาท เป็น 13,634.8712 ล้านบาท หรือ ลดลงจำนวน 4,747.5931 ล้านบาท ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
      2. มอบหมายให้ สธ. กำกับให้กรมควบคุมโรค เร่งประสานกับบริษัท AstraZeneca (ประเทศไทย) จำกัด (บริษัท AstraZeneca) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียน2 เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไว้ภายในเดือนมีนาคม 2567 และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ LAAB ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
      3. อนุมัติให้จังหวัดกระบี่ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565 (โครงการพัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งฯ ปี 2565) โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการปรับภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวหาดอ่าวนางและหาดนพรัตน์ธารา ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ วงเงิน 5.4000 ล้านบาท จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2565 เป็นเดือนธันวาคม 2566 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
      4. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 1. และ 3. เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) (ระบบ eMENSCR) ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโดยเร็ว
      5. รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 9 (1 สิงหาคม – 31 ตุลาคม 2566) พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คกง. ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด

    สาระสำคัญของเรื่อง

    เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธาน คกง. ได้รายงานผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2566 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 โดยมีมติ ดังนี้

    1. เห็นชอบการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการกรณีโครงการจัดหาวัคซีนฯ AZ ของกรมควบคุมโรค สธ. โดยเปลี่ยนแปลงรายละเอียดรายการวัคซีนฯ AZ ที่ยังไม่ได้รับการส่งมอบเป็นการจัดซื้อภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือ LAAB รุ่นใหม่3 ซึ่งจะใช้เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่เป็นสารตั้งต้นในการผลิต เพื่อให้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคโควิด 19 ที่แพร่ระบาดในปัจจุบันได้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

    ทั้งนี้ ให้ สธ. กำกับกรมควบคุมโรค เร่งประสานกับบริษัท AstraZeneca และ อย. เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียน เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไว้ภายในเดือนมีนาคม 2567 และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ LAAB ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามผลการพิจารณาของ คกง. เห็นควรมอบหมายให้กรมควบคุมโรคเร่งปรับปรุงรายละเอียดของโครงการในระบบ eMENSCR ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว

    2. เห็นชอบการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ กรณีโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ปี 2565 ของกระทรวงมหาดไทย (มท.) จำนวน 1 จังหวัด (จังหวัดกระบี่) รวม 1 โครงการ (โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวหาดอ่าวนางและหาดนพรัตน์ธารา ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่) กรอบวงเงิน 5.4000 ล้านบาท โดยขอขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2565 เป็นเดือนธันวาคม 25664 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว และให้จังหวัดกระบี่เร่งปรับปรุงรายละเอียดของโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ปี 2565 ในระบบ eMENSCR และเบิกจ่ายเงินให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ปัจจุบันโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ปี 2565 ดำเนินการเสร็จแล้ว คงเหลือการเบิกจ่ายเงินตามขั้นตอน

    3. เห็นชอบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 9 (1 สิงหาคม – 31 ตุลาคม 2566) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

    ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คกง. ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ดังนี้

      3.1 กรณีโครงการแล้วเสร็จ ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งดำเนินการคืนวงเงินเหลือจ่าย พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของการเบิกจ่ายให้ครบถ้วนก่อนจัดส่งรายงานผลสำเร็จของโครงการให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) โดยเร็วตามขั้นตอนข้อ 21 และ 22 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมินตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไว้รัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564)
      3.2 กรณีโครงการของส่วนราชการและโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ปี 2565 ที่มีสถานะอยู่ระหว่างดำเนินการ ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ เร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนการดำเนินโครงการให้ทันกรอบระยะเวลาสิ้นสุดโครงการตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี อย่างไรก็ตามในกรณีที่หน่วยงานรับผิดชอบพิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินโครงการมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถดำเนินกิจกรรมหรือเบิกจ่ายโครงการได้ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้เร่งเสนอขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 โดยเร็ว

    ตั้ง 55 คกก.วินิจฉัย – สั่งหน่วยงานรัฐ เปิดเผยข้อมูล

    วันนี้ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบ/อนุมัติ การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ และผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานรัฐ มีรายละเอียดดังนี้

    1. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่ง ประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)

    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นายวินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ รองอธิบดีกรมสรรพากร ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

    2. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)

    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้

      1. นางกอบเพชร หาญพัฒนพานิชย์ ผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
      2. พันตำรวจเอก ประทีป เจริญกัลป์ รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

    3. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร

    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด) ประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร จำนวน 55 คน ตามมติคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ในการประชุมครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 เนื่องจากคณะกรรมการชุดเดิม ได้ดำรงตำแหน่งครบวาระ 3 ปี ดังนี้

    1. สาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมาย

      1.1 ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ
      1.2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์จันทจิรา เอี่ยมมยุรา
      1.3 พลโท สุขสันต์ สิงหเดช
      1.4 นายพิรุฬ เพียรล้ำเลิศ
      1.5 นายมานะ วีระอาชากุล
      1.6 พลตำรวจโท วราวุธ ทวีชัยการ
      1.7 พลตำรวจตรี ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์
      1.8 รองศาสตราจารย์วรรณภา ติระสังขะ
      1.9 นายณอคุณ สิทธิพงศ์
      1.10 นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์
      1.11 นายนนทิกร กาญจนะจิตรา
      1.12 รองศาสตราจารย์อดิศร เนาวนนท์
      1.13 พลเอก กฤษณะ บวรรัตนารักษ์
      1.14 นายธนกฤต วรธนัชชากุล
      1.15 พันตำรวจโท เธียรรัตน์ วิเชียรสรรค์
      1.16 นางพัชฌา จิตรมหึมา
      1.17 นายอรรถพล อรรถวรเดช
      1.18 ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
      1.19 นายสมคิด จันทมฤก
      1.20 นายมานะ สิมมา
      1.21 นางวนิดา สักการโกศล
      1.22 นายคุณวุฒิ ตันตระกูล
      1.23 นายสุวัฒน์ เอื้อเฟื้อ
      1.24 นายจเร พันธุ์เปรื่อง
      1.25 รองศาสตราจารย์ยุทธพร อิสรชัย
      1.26 นายธนากร แหวกวารี
      1.27 นายสมยศ อักษร
      1.28 นายไพรัช ชัยชาญ

    2. สาขาการแพทย์และสาธารณสุข

      2.1 ศาสตราจารย์บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ
      2.2 นายรุ่งเรือง กิจผาติ
      2.3 ศาสตราจารย์เฉลิม หาญพาณิชย์
      2.4 พลโท ศาสตราจารย์คลินิกภานุวิชญ์ พุ่มหิรัญ
      2.5 นายกิติพงษ์ มหารัตนวงศ์
      2.6 นางสาวเสาวณีย์ คงวุฒิปัญญา
      2.7 พลอากาศโท อิทธพร คณะเจริญ

    3. สาขาต่างประเทศ ความมั่นคง และการเมือง

      3.1 พลเอก วิทยา จินตนานุรัตน์
      3.2 นายดนัย มู่สา
      3.3 นายวิตถวัลย์ สุนทรขจิต
      3.4 พลตำรวจตรี ศาสตราจารย์ชัชนันท์ ลีระเติมพงษ์
      3.5 พันตำรวจเอก วิทยา บวรศิขริน
      3.6 นายปิยะ คงขำ
      3.7 นายศุภวัฒน์ สิงห์สุวงษ์

    4. สาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม และการเกษตร

      4.1 นายอดิทัต วะสีนนท์
      4.2 นายภุชพงค์ โนดไธสง
      4.3 รองศาสตราจารย์ชมพูนุท โกสลากร เพิ่มพูนวิวัฒน์
      4.4 พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย
      4.5 นางสาวสายน้ำผึ้ง ทองใส
      4.6 ศาสตราจารย์วราวุฒิ ครูส่ง
      4.7 นายสุรพงษ์ เจียสกุล

    5. สาขาเศรษฐกิจและการคลัง

      5.1 นางชลิดา พันธ์กระวี
      5.2 นางดวงตา ตันโช
      5.3 นายเกริกพงษ์ เกสรทอง
      5.4 นายพนิต ธีรภาพวงศ์
      5.5 นายเทวินทร์ นรินทร์
      5.6 รองศาสตราจารย์เอกพร รักความสุข

    โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป

    อ่าน มติ ครม. ประจำวันที่ 12 มีนาคม 2567 เพิ่มเติม