ThaiPublica > เกาะกระแส > นายกฯ เยือนสหรัฐฯ ดึงต่างชาติตั้งฐานผลิต-ส่งออก – มติ ครม.เพิ่มงบฯปี’67 อีก 1.3 แสนล้านบาท

นายกฯ เยือนสหรัฐฯ ดึงต่างชาติตั้งฐานผลิต-ส่งออก – มติ ครม.เพิ่มงบฯปี’67 อีก 1.3 แสนล้านบาท

18 กันยายน 2023


เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2566 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ที่มาภาพ : www.thaigov.go.th/
  • นายกฯ เยือนสหรัฐฯ ดึงต่างชาติตั้งฐานผลิต-ส่งออก
  • เปิดไฟล์ทบิน รับต่างชาติเที่ยวเชียงใหม่ 24 ชม.
  • หั่นค่าไฟรอบ 2 เหลือ 3.99 บาท/หน่วย
  • มติ ครม.เพิ่มงบฯปี’67 อีก 1.3 แสนล้านบาท
  • จัดงบกลาง 2.3 พันล้าน อุดหนุนอาหารกลางวันเด็ก – นมโรงเรียน
  • ย้ายผู้ว่าฯ 22 จังหวัด – ตั้ง “พรอนงค์ บุษราตระกูล” นั่งเลขาฯกลต.
  • เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2566 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุม ครม. เสร็จสิ้น นายเศรษฐา ได้มอบหมายให้ นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รายงานข้อสั่งการและมติ ครม.

    เปิดไฟล์ทบิน รับต่างชาติเที่ยวเชียงใหม่ 24 ชม.

    นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกฯ ต้องการให้เน้นเรื่องการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวจีน จึงได้ลงพื้นที่ติดตามให้เกิดผลการปฏิบัติ โดยมีการวางเป้าหมายตลาดใหญ่ที่จังหวัดเชียงใหม่

    ทั้งนี้ นายชัย ให้ข้อมูลว่า เดิมทีสนามบินจังหวัดเชียงใหม่ เปิดให้เวลาการบิน 18 ชั่วโมง แต่นักท่องเที่ยวจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ต้องการให้มีไฟล์ทบินช่วงดึก เพื่อให้กลับถึงประเทศเขาเช้าแล้วทำงานได้ต่อทันที

    “นายกฯ จึงนำผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยาน (AOT) ไปเจรจา จนกระทั่งได้ผลว่า สนามบินเชียงใหม่จะเปิดดำเนินการโดยมีไฟล์ทบินตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป สนองกับความต้องการของนักท่องเที่ยวจีน และวีซ่าฟรีของจีน” นายชัย กล่าว

    นายชัย กล่าวต่อว่า วันนี้นายกฯ แจ้งในที่ประชุม ครม. และย้ำกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องว่า เรื่องนี้ขอให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องติดตามให้เกิดผลในรูปธรรม เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรม ให้เกิดประสิทธิภาพ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบและมติ ครม. อย่งเคร่งครัด

    หั่นค่าไฟรอบ 2 เหลือ 3.99 บาท/หน่วย

    นายชัย กล่าวต่อว่า นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แจ้งในที่ประชุมถึงผลการหารือกับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ว่า จากมติ ครม.ครั้งที่แล้วที่ลดค่าไฟฟ้าจาก 4.45 บาทต่อหน่วย เหลือ 4.10 บาทต่อหน่วย จากนั้นนายกฯ ได้ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานไปหารือเพิ่มเติมว่าให้ลดค่าไฟฟ้าเพิ่ม โดยที่ยังเป็นไปตามกฎหมาย-กฎระเบียบ และไม่ฝ่าฝืนวินัยการเงินการคลัง

    ดังนั้น ในการประชุม ครม. วันนี้ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ได้แจ้งในที่ประชุมว่า จากที่ค่าไฟฟ้าเหลือ 4.10 บาทต่อหน่วย ยังสามารถลดไปได้จนเหลือ 3.99 บาทต่อหน่วย โดยมีผลในรอบบัญชีตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 เป็นต้นไป

  • ครม.ลด “ค่าไฟ” รอบ 2 เหลือ 3.99 บาท/หน่วย เริ่มงวด ก.ย.นี้
  • มติ ครม.มีดังนี้

    นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
    ที่มาภาพ : www.thaigov.go.th

    จัดงบกลาง 2.3 พันล้าน อุดหนุนอาหารกลางวันเด็ก – นมโรงเรียน

    นายชัย รายงานว่า ที่ประชุม ครม.ยังมีมติอนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (งบกลางฯ ปี 2566) จำนวนทั้งสิ้น 2,310.26 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับรายการเงินอุดหนุนสำหรับสนุนอาหารกลางวัน และเงินอุดหนุนสำหรับสนุบสนุนอาหารเสริม (นม) ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาลนคร เทศบาลเมือง และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ โดย มท. จะนำเงินงบกลางฯ ปี 2566 ที่ได้รับจัดสรรครั้งนี้ ไปชำระเป็นค่าอาหารกลางวันและจัดซื้ออาหารเสริม (นม) ให้แก่โรงเรียนสำหรับไตรมาสที่ 4 (ช่วงเดือนกันยายน 2566)

    ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 อนุมัติให้ปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนระดับชั้นเด็กเล็กถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในอัตราตามขนาดของโรงเรียน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และมีมติเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 อนุมัติปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ จึงส่งผลให้งบประมาณรายการเงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนอาหารกลางวันและรายการเงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนอาหารเสริม (นม) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและหน่วยรับงบประมาณตรงไม่เพียงพอ เนื่องจากการปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันและอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ตามมติคณะรัฐมนตรีและมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ มท. จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับรายการเงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนอาหารกลางวัน และเงินอุดหนุนสำหรับสนันสนุนอาหารเสริม (นม)

    โดยสำนักงบประมาณแจ้งผลการพิจารณาการขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการดังกล่าว เป็นเงินทั้งสิ้น 2,310,262,300 บาท จำแนกตามหน่วยรับงบประมาณได้ ดังนี้

    1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 4 แห่ง 980,000 บาท
    2. เทศบาลนคร (ทน.) 20 แห่ง จำนวน 21,603,600 บาท
    3. เทศบาลเมือง (ทม.) จำนวน 24,209,500 บาท
    4. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) ซึ่งมีจำนวนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนสังกัด อปท. (องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลตำบล) และโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ขอรับจัดสรรงบประมาณฯ จำนวน 2,263,469,200 บาท

    นายชัย กล่าวต่อว่า การขอรับจัดสรรงบกลางฯ ปี 2566 ครั้งนี้ มท. ได้คำนวณค่าใช้จ่ายจากจำนวนนักเรียนจริงในภาคเรียนที่ 1/2566 สำหรับรายละเอียดรายการเงินอุดหนุน วงเงิน 2,310,262,300 บาท จำแนกเป็น 1. อาหารกลางวัน เด็กปฐมวัย 773,502,400 บาท 2. อาหารกลางวัน ระดับประถมศึกษา 1,222,062,400 บาท 3. อาหารเสริม (นม) ระดับประถมศึกษา 314,697,500 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายอาหารเสริม (นม) เด็กปฐมวัย มท. ได้ปรับแผนการปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายไว้แล้ว

    โยนฝ่ายความมั่นคงแถลง ขยายเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

    ผู้สื่อข่าวถามถึงการพิจารณาขยายเวลาบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดย นายชัย ตอบว่า “ฝ่ายความมั่นคงได้มีการเสนอเข้ามาในที่ประชุมว่าเป็นเรื่องค่อนข้างละเอียดอ่อน ยังไม่อยากให้แถลงอะไรมากมาย แต่ทางฝ่ายความมั่นคงจะแถลงเอง”

    “เพียงแต่ผมสามารถพูดได้ตอนนี้ว่าทิศทางของเรื่องนี้ จะดำเนินไปในทิศทางที่ผ่อนคลายมากขึ้น เน้นสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เอาว่าดีกว่าเดิม แต่ดีขนาดไหน ขออนุญาตว่าไม่สามารถตอบท่านทั้งหลายที่นี่ได้ แต่มันอยู่ในทิศทางดีขึ้น” นายชัย กล่าว

    เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงรายละเอียด นายชัย ยังย้ำว่า “อย่างที่เรียนว่าทิศทางดี ทิศทางไปในทางบวก ในทางที่ประชาชนรู้สึกดีขึ้น รู้สึกผ่อนคลาย…ฝ่ายความมั่นคงขอว่าอย่าให้ผมพูดออกไป เดี๋ยวอีกวันสองวัน ท่านคงได้ทราบแน่ แต่บอกได้ว่าไปในทิศทางที่ผ่อนคลาย เอื้อต่อสิทธิเสรีภาพประชาชนมากขึ้น บอกได้เท่านี้…รายละเอียดยังไม่ถึงมือผม ถ้ามาถึงเมื่อไร ผมจะส่งให้ผู้สื่อข่าว”

    ปัดแจงรายละเอียดลดค่าไฟ ชี้อำนาจ กกพ.

    เมื่อถามถึงรายละเอียดมติ ครม.ลดค่าไฟฟ้าเหลือ 3.99 บาทต่อหน่วย นายชัย ชี้แจงว่า “การลดค่าพลังงานไม่ได้อยู่ในอำนาจ ครม. แต่เป็นเรื่องที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ตัดสินใจ โดยการหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และแจ้งว่าได้ไปหารือแล้ว เพราะรัฐบาลมีนโยบายต้องการลดค่าใช้จ่ายประชาชน และเจรจาว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง เพื่อจะสนองต่อนโยบายรัฐบาล ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานใช้เวลาอาทิตย์เดียว ก็เสนอ ครม.”

    “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานรายงานว่าคุยกับ กกพ.เรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีอำนาจเห็นชอบให้ประกาศเลย…ผมไม่ทราบรายละเอียด เวลานี้ขอรายละเอียดอยู่ ทันทีที่รายละเอียดมา ผมจะแจ้งให้พวกท่านทราบ” นายชัย กล่าว

    แต่งตั้งรองโฆษกฯไม่คืบ

    ถามต่อเรื่องความคืบหน้าการแต่งตั้งรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดย นายชัย ตอบว่า “ผมถูกถามทุกวันเลยนะครับ รัฐบาลอยากตั้งให้เร็วนะครับ แต่มันต้องอยู่ที่พรรคร่วม เขากำลังไปพิจารณากันอยู่ เขาก็เห็นใจผม ส่งคนมาช่วย ผมคนเดียวคงรับมือไม่ไหว อยากให้คนมาช่วย”

    นายกฯ เยือนสหรัฐฯ ดึงต่างชาติตั้งฐานผลิตเพื่อส่งออก

    นายชัย ยังกล่าวถึงกรณีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะออกเดินทางไปร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 78 (78th Session of the United Nations General Assembly: UNGA78) ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 18-24 กันยายน 2566 ว่า นายกฯ จะเน้น 2 เรื่องคือ 1. คบกับผู้นำประเทศต่าง ๆ เพื่อแสวงหาความร่วมมือ โดยเฉพาะการลงทุน และ 2. เน้นเรื่องการพบผู้นำทางเศรษฐกิจภาคเอกชนรายใหญ่ของโลก เพื่อดึงให้บริษัททั้งหลายมาใช้ประเทศไทย เป็นฐานการลงทุน ผลิตสินค้าและบริการเพื่อส่งออก

    “ในเวทีใหญ่ระดับโลกที่ผ่านมา ผู้นำไทยไม่ได้ไปแสดงวิสัยทัศน์ นายกฯ ก็หวังว่าจะใช้โอกาสนี้ไปแสดงวิสัยทัศน์เพื่อให้นานาชาติ ได้มองเห็นภาพพจน์ประเทศไทยผ่านวิสัยทัศน์ผู้นำประเทศ”

    โต้ ‘สมชัย ศรีสุทธิยากร’ ไม่มีประสบการณ์ธุรกิจ

    สืบเนื่องจากประเด็นข้างต้น ผู้สื่อข่าวถามถึงเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของการเดินทางไปครั้งนี้ ใช้เครื่องบินเช่าเหมาลำที่มีนักธุรกิจร่วมเดินทางไปด้วย โดยใช้งบประมาณ 30 ล้านบาท โดย นายชัย ตอบว่า “ไม่กังวลครับ ท่านนายกฯ เป็นนักธุรกิจมาก่อน ท่านเน้นมากที่จะใช้งบประมาณของประชาชนต้องสมเหตุสมผล นายกฯ ยืนยันและเลือกแนวทางที่สมเหตุสมผลที่สุด พอสมควร เหมาะสม ไม่มากไม่น้อยไป พอดีๆ”

    ถามต่อว่า นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ตั้งคำถามถึงความเหมาะสมที่เชิญนักธุรกิจไปร่วมงานโดยใช้งบประมาณของรัฐ ทำให้นายชัย ตอบว่า “เป็นทัศนคติของอาจารย์สมชัย น้อมรับอาจารย์จะวิจารณ์ก็ไม่ว่าอะไร แต่รัฐบาลมีวิธีคิดของตัวเอง อาจจะไม่เหมือนกับอาจารย์สมชัย สุดแท้แต่อาจารย์จะว่าอย่างไรก็เชิญ อาจารย์ไม่ได้มีวิสัยทัศน์ด้านธุรกิจมาก่อน ไม่ได้มีประสบการณ์ คนมีประสบการณ์ด้านเศรษฐกิจ มุมมองคงไม่เหมือนอาจารย์”

    เพิ่มงบฯปี’67 อีก 1.3 แสนล้านบาท

    นายชัย กล่าวถึงมติที่ประชุม ครม. ที่ได้รับทราบกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 จากเดิมอยู่ที่ 3.35 ล้านล้านบาท เป็น 3.48 ล้านล้านบาท ว่าเป็นไปตามความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจและนโยบายของรัฐบาล ส่วนรายละเอียดที่เพิ่มในปีงบประมาณนั้นเป็นเรื่องลงทุน แต่ทางสำนักงบประมาณจะส่งเอกสารให้กับคณะรัฐมนตรีได้รับทราบอีกครั้ง

    “มีเรื่องของการปรับงบประมาณเล็กน้อยให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะเรื่องการลงทุนอะไรต่าง ๆ ก็ได้มีการปรับงบประมาณรายจ่าย เพราะสภาพเศรษฐกิจมีทิศทางดีขึ้น” นายชัย กล่าว

    ทั้งนี้ นายชัย กล่าวว่า ยังไม่มีรายละเอียดจากสำนักงบประมาณ แต่ถ้าได้เอกสารแล้วจะส่งมาให้ในภายหลัง

    ย้ายผู้ว่าฯ 22 จังหวัด – ตั้ง “พรอนงค์ บุษราตระกูล” นั่งเลขาฯกลต.

    นายชัย กล่าวต่อว่า วันนี้ที่ประชุม ครม.มีมติแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการและผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานรัฐมีรายละเอียดดังนี้

    1.แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร

    คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่ง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 233/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้การดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภาเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนตามระบบรัฐสภา ตลอดจนการประสานงานกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกรัฐสภา และพรรคการเมือง ด้านนิติบัญญัติให้ดำเนินการไปอย่างราบรื่น ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสนับสนุนการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีในการเสนอร่างกฎหมาย และดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนิติบัญญัติ อันจะส่งผลให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเรียบร้อย จึงสมควรแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญเหมาะสม เพื่อทำหน้าที่ประสานงานระหว่างคณะรัฐมนตรีกับสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมาตรา 184 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จึงแต่งตั้งคณะกรรมการในการบริหารราชการแผ่นดินที่เกี่ยวกับกิจการของสภาขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่าคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) โดยมีองค์ประกอบหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

    องค์ประกอบ
    1.1 คณะที่ปรึกษา

      (1) นางมนพร เจริญศรี ที่ปรึกษา/กรรมการ
      (2) รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล ที่ปรึกษา/กรรมการ
      (3) พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ ที่ปรึกษา/กรรมการ

    1.2 คณะกรรมการ

      (1) นายอดิศร เพียงเกษ ประธานกรรมการ
      (2) นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง
      (3) นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม รองประธานกรรมการ คนที่สอง
      (4) นายสรวงศ์ เทียนทอง รองประธานกรรมการ คนที่สาม
      (5) นายอาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพ รองประธานกรรมการ คนที่สี่
      (6) นายอนันต์ ผลอำนวย รองประธานกรรมการ คนที่ห้า
      (7) นางพิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ รองประธานกรรมการ คนที่หก
      (8) นายศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ กรรมการ
      (9) นางสาวสกุณา สาระนันท์ กรรมการ
      (10) นายโอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย กรรมการ
      (11) นายวันนิวัติ สมบูรณ์ กรรมการ
      (12) นางสาวจิราพร สินธุไพร กรรมการ
      (13) นางสาวชนก จันทาทอง กรรมการ
      (14) นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ กรรมการ
      (15) นางเทียบจุฑา ขาวขำ กรรมการ
      (16) นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ กรรมการ
      (17) นายรังสรรค์ มณีรัตน์ กรรมการ
      (18) นางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ กรรมการ
      (19) นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรรมการ
      (20) นางสาวขัตติยา สวัสดิผล กรรมการ
      (21) นายวรวงศ์ วรปัญญา กรรมการ
      (22) นายเจเศรษฐ์ ไทยเศรษฐ์ กรรมการ
      (23) นายธนยศ ทิมสุวรรณ กรรมการ
      (24) นางสาวแนน บุณย์ธิดา สมชัย กรรมการ
      (25) นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ กรรมการ
      (26) นายอำนาจ วิลาวัลย์ กรรมการ
      (27) นางสุขสมรวย วันทนียกุล กรรมการ
      (28) นายภราดร ปริศนานันทกุล กรรมการ
      (29) นายอัคร ทองใจสด กรรมการ
      (30) นายภาคภูมิ บูลย์ประมุข กรรมการ
      (31) นายฉกาจ พัฒนกิจวิบูลย์ กรรมการ
      (32) นายชัยมงคล ไชยรบ กรรมการ
      (33) นายองอาจ วงษ์ประยูร กรรมการ
      (34) นายอรรถกร ศิริลัทธยากร กรรมการ
      (35) นายวิทยา แก้วภราดัย กรรมการ
      (36) นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ กรรมการ
      (37) นายศาสตรา ศรีปาน กรรมการ
      (38) นายปรเมษฐ์ จินา กรรมการ
      (39) นายเสมอกัน เที่ยงธรรม กรรมการ
      (40) นายอนุรักษ์ จุรีมาศ กรรมการ
      (41) นายซูการ์โน มะทา กรรมการ
      (42) นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล กรรมการ
      (43) นางพิมพกาญจน์ พลสมัคร กรรมการ
      (44) นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ กรรมการและเลขานุการ

    1.3 ผู้แทนส่วนราชการ

      (1) นายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการ
      (2) ผู้แทนสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการ
      (3) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
      (4) ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กรรมการ

    1.4 ฝ่ายเลขานุการ

      (1) ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ ด้านประสานกิจการภายในประเทศ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
      (2) ผู้อำนวยการกองประสานงานการเมือง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
      (3) ผู้อำนวยการกลุ่มประสานงานการเมือง 1 กองประสานงานการเมือง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
      (4) เจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 2 คน ผู้ช่วยเลขานุการ

    2. หน้าที่และอำนาจ

      2.1 พิจารณาดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเป็นไปด้วยความราบรื่นและเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนตามระบบรัฐสภา
      2.2 ประสานงานกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกรัฐสภา และพรรคการเมืองในปัญหาต่างๆ ด้านนิติบัญญัติ และกิจการรัฐสภาอื่นๆ ทั้งการเสนอร่างกฎหมายและดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนิติบัญญัติ และกิจการรัฐสภา ให้ดำเนินการไปอย่างราบรื่น
      2.3 พิจารณาระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อกำหนดแนวทางการทำงานและมีมติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบหรือเห็นชอบแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ มติของคณะกรรมการต้องสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลหรือของนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรี พร้อมแจ้งคณะรัฐมนตรี
      2.4 ในระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมร่วมกันของรัฐสภา คณะกรรมการสามารถพิจารณาวินิจฉัยที่จะเปลี่ยนแปลงมติของคณะกรรมการตามข้อ 2.3 ได้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความจำเป็น
      2.5 ขอความร่วมมือส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงข้อเท็จจริง และจัดส่งเอกสารข้อมูลให้แก่คณะกรรมการ
      2.6 ให้ประธานกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยเหลือปฏิบัติงาน
      ในเรื่องต่างๆ ของคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น
      2.7 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

    3.องค์ประชุม

    การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม
    ในการนี้ ให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานให้เบิกจ่ายตามระเบียบทางราชการโดยให้เบิกจ่ายจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน 2566 เป็นต้นไป

    2. การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง กระทรวงมหาดไทย

    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทยให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ดังนี้

      1. นายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตราด สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
      2. นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ พ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการปกครอง
      3. นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
      4. นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
      5. นายสนั่น พงษ์อักษร พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานปลัดกระทรวง
      6. นายชลธี ยังตรง พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา สำนักงานปลัดกระทรวง
      7. นายสุภกิณห์ แวงชิน พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก สำนักงานปลัดกระทรวง
      8. นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานปลัดกระทรวง
      9. นายทวี เสริมภักดีสกุล พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเลย สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานปลัดกระทรวง
      10. นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานปลัดกระทรวง
      11. นายภาสกร บุญญลักษม์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี สำนักงานปลัดกระทรวง
      12. นายสุพจน์ รอดเรือง ณ หนองคาย พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา สำนักงานปลัดกระทรวง
      13. นายโสภณ สุวรรณรัตน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต สำนักงานปลัดกระทรวง
      14. นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม สำนักงานปลัดกระทรวง
      15. นายอำพล พงศ์สุวรรณ พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา สำนักงานปลัดกระทรวง
      16. นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง
      17. นายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานปลัดกระทรวง
      18. นายสมนึก พรหมเขียว พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา สำนักงานปลัดกระทรวง
      19. นายศักระ กปิลกาญจน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล สำนักงานปลัดกระทรวง
      20. นายผล ดำธรรม พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร สำนักงานปลัดกระทรวง
      21. นายบัญชา เชาวรินทร์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง
      22. นายเจษฎา จิตรัตน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานปลัดกระทรวง
      23. นายพิริยะ ฉันทดิลก พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง สำนักงานปลัดกระทรวง
      24. นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานปลัดกระทรวง

    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

    3.การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นางพรอนงค์ บุษราตระกูล ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (เลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต.) ตามมติเสียงข้างมากของคณะกรรมการ ก.ล.ต. และเป็นอันดับสูงสุด โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2566 เป็นต้นไป

    4.การมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามนัยมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 โดยเรียงตามลำดับ ดังนี้

      1. นายทรงศักดิ์ ทองศรี ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
      2. นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
      3. นายเกรียง กัลป์ตินันท์ ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

    5.การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงยุติธรรม)

    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และนายกูเฮง ยาวอหะซัน ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2566 เป็นต้นไป

    6.การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงคมนาคม)

    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 4 ราย ดังนี้

      1. นายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นางมนพร เจริญศรี)
      2. นายสรพันธ์ คุณากรวงศ์ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นางมนพร เจริญศรี)
      3. นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ)
      4. นางสาวณภัทรา กมลรักษา ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ)

    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2566 เป็นต้นไป

    6. การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้ง นายนพดล พลเสน ให้ดำรงตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2566 เป็นต้นไป

    7.การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงแรงงาน)

    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้ง นายอารี ไกรนรา เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2566 เป็นต้นไป

    8. การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงอุตสาหกรรม)

    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2566 เป็นต้นไป

    9.ขอต่อเวลาการดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ครั้งที่ 2)

    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอการต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการ (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ต่อไปอีก 1 ปี (ครั้งที่ 2) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567

    10. การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงแรงงาน)

    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้ง นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงแรงงาน เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

    11. การมอบหมายผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติมอบหมายเป็นหลักการให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จำนวน 2 ราย ตามลำดับ ดังนี้

      1. นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
      2. นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

    12. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงวัฒนธรรม)

    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ดังนี้

      1. นายสุรพล เกียรติไชยากร ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
      2. นางสาวเพ็ญพิสุทธิ์ จินตโสภณ ดำรงตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2566 เป็นต้นไป

    13. การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการคลัง)

    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้

      1. นายนิโรธ สุนทรเลขา ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ)
      2. นางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปฏิบัติราชการประจำรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ)

    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2566 เป็นต้นไป

    14. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงพลังงาน)

    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้ง นางสาวอรพินทร์ เพชรทัต เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และแต่งตั้ง นายเริงชัย คงทอง เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2566 เป็นต้นไป

    อ่าน มติ ครม. ประจำวันที่ 18 กันยายน 2566 เพิ่มเติม