ThaiPublica > เกาะกระแส > รายงานกสศ.-ธนาคารโลก เผย ไทยเผชิญวิกฤติการขาดแคลนทักษะทุนชีวิต

รายงานกสศ.-ธนาคารโลก เผย ไทยเผชิญวิกฤติการขาดแคลนทักษะทุนชีวิต

21 กุมภาพันธ์ 2024


กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เผยแพร่ รายงานการสำรวจทักษะและความพร้อมเยาวชนและประชากรวัยแรงงาน (ASAT) ในประเทศไทย พ.ศ. 2565 ที่จัดทำโดยความร่วมมือระหว่างธนาคารโลกพบว่าประเทศไทยกำลังเผชิญกับวิกฤติการขาดแคลนทักษะทุนชีวิต เยาวชนและประชากรวัยแรงงานส่วนใหญ่ไม่มีทักษะพื้นฐานของทุนชีวิต ไม่พร้อมรับมือความท้าทายและใช้ประโยชน์จากโอกาสศตวรรษที่ 21

รายงานการสำรวจทักษะและความพร้อมเยาวชนและประชากรวัยแรงงาน (ASAT) ในประเทศไทย พ.ศ. 2565 ที่กสศ.จัดทำโดยความร่วมมือระหว่างธนาคารโลกพบว่าประเทศไทยกำลังเผชิญกับวิกฤติการขาดแคลนทักษะทุนชีวิต เยาวชนและประชากรวัยแรงงานส่วนใหญ่ไม่มีทักษะพื้นฐานของทุนชีวิต ไม่พร้อมรับมือความท้าทายและใช้ประโยชน์จากโอกาสศตวรรษที่ 21

รายงานฉบับนี้นำเสนอสารให้แกผู่กำหนดนโยบาย นักการศึกษา และนักพัฒนาแรงงานในประเทศไทยให้ทราบถึงความจำเป็นที่เร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการกับการที่ประเทศไทยมีสัดส่วนที่ใหญ่มากของเยาวชนและประชากรวัยแรงงงานที่ยังไม่มีทักษะทุนชีวิต(foundational skills) ที่จะเผชิญหน้ากับความท้าทายและใช้ประโยชน์จากโอกาสในศตวรรษที่ 21 ได้

ทั้งนี้ ทักษะทุนชีวิต ซึ่งรวมถึง การรู้หนังสือ ทักษะดิจิทัล และทักษะทางอารมณ์และสังคม เป็นทักษะพื้นฐาน เป็นทักษะที่สามารถนำไปต่อยอดเป็นทักษะที่จะช่วยพัฒนาความสามารถของบุคคลให้ก้าวไปข้างหน้า เพื่อให้บุคคลนั้นสามารถแก้ปัญหาที่เข้ามาในชีวิตประจำวัน

ตัวอย่างเช่น การค้นหาและเลือกสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคจากเว็บไซต์ ความเข้าใจและความสามารถที่จะทำตามคำสั่งในฉลากยา หรือการระดมความคิดกับเพื่อนร่วมงานเพื่อจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน ทักษะเหล่านี้แตกต่างจากทักษะด้านเทคนิคของแต่ละอาชีพ เช่น การป้อนคำสั่งด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ขั้นสูง (advanced coding) หรือการประเมินผลการลงทุน(investment evaluation) โดยทักษะทุนชีวิต เป็นทักษะทที่มีความเกี่ยวพันกับการทำงานในทุกๆ อาชีพ ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้กับทุก ๆ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตและในสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมและภูมิศาสตร์ที่หลากหลาย และตลอดช่วงชีวิต

รายงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์สามประการ ประการแรก เพื่อ แสดงขนาดของวิกฤตด้านทักษะทุนชีวิตที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ ประการที่สอง เพื่อทบทวนสิ่งที่รัฐบาล สถาบันการศึกษาและฝึกอบรม และนายจ้าง ได้ดำเนินการแก้วิฤตด้านทักษะ โดยการจัดเตรียมนโยบาย การนำเครื่องมือมาใช้ และการส่งมอบโปรแกรมที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทุนชีวิตประการที่สาม เพื่อให้ข้อเสนอแนะแก่ประเทศไทยในการสร้างระบบนิเวศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะทุนชีวิตให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุม และยั่งยืน ซึ่งสามารถผลักดันได้จากการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ (learning society) โดยข้อเสนอแนะทั้ง 5 ข้อในรายงานฉบับนี้ มีพื้นฐานมาจากแนวปฏิบัติที่ดีจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยซึ่งได้มีการดำเนินการเพื่อให้เกิดการปฏิรูปอย่างเป็นรูปธรรม โดยข้อเสนอแนะทุกข้อนี้ยังสอดคล้องกับเจตนารมย์และก้าวแรกที่ได้ดำเนินการไปแล้วของรัฐบาลชุดใหม่

ผลการวิเคราะห์ที่นำเสนอในรายงานฉบับนี้มาจากการประเมินทักษะของประชากรวัยแรงงานในประเทศไทยในวงกว้างซึ่งได้ทำขึ้นเป็นครั้งแรก โดยได้ออกแบบมาเพื่อวัดทักษะทุนชีวิตของบุคคลอายุ 15-64 ปี ในด้านทักษะการรู้หนังสือ ทักษะดิจิทัล และทักษะทางอารมณ์และสังคม ซึ่งโครงการสำรวจทักษะและความพร้อมของเยาวชนและประชากรวัยแรงงาน (Adult SkillsAssessment in Thailand: ASAT) นี้พัฒนาขึ้นโดยธนาคารโลกและกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรทางวิชาการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งนี้ โครงการสำรวจ ASAT ใช้การประเมินและวิธีการวิเคราะห์ที่เข้มงวดโดยอาศัยทฤษฎีการตอบสนองของรายการ (item responsetheory) เพื่อลดข้อผิดพลาดในการประเมินช่องว่างทางทักษะ การวิเคราะห์นี้สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับผู้กำหนดนโยบาย นักการศึกษา และนักพัฒนาแรงงานเพื่อวัดขนาดของช่องว่างทางทักษะ (skill gaps) และเพื่อชี้ให้เห็นกลุ่มย่อยของเยาวชนและประชากรวัยแรงงานที่ยังขาดทักษะทุนชีวติ ที่จะช่วยให้สามารถเติบโตได้ดีในตลาดแรงงานและในสังคมยิ่งไปกว่านั้นการวิเคราะห์นี้ยังสามารถใชใ้นการกระตุ้นกลยุทธ์การตอบสนอง เพื่อใช้ในการปรับปรุงระบบการศึกษาและฝึกอบรม ซึ่งรวมถึงการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มที่เปราะบาง

ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาวิกฤติด้านทักษะคล้ายกับหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคนี้ กล่าวคือ มีสัดส่วนที่ใหญ่มากของเยาวชนและประชากรวัยแรงงานที่มมีทักษะทุนชีวิตต่ำกว่าเกณฑ์ (threshold level) กลุ่มคนเหล่านี้ไม่มีความสามารถในการอ่านหนังสือขั้นพื้นฐานและการคำนวณอย่างง่าย ๆ และไม่แสดงออกว่า จะสามารถมีส่วนร่วมกับผู้อื่นหรือเปิดกว้างรับแนวคิดใหม่ ๆ

จำนวนเกือบสองในสาม (ร้อยละ 64.7)ของเยาวชนและประชากรวัยแรงงานในประเทศไทยมีทักษะทุนชีวิตในด้านการรู้หนังสือที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งหมาย ความว่ากลุ่มบุคคลเหล่านี้ไม่สามารถที่จะอ่านและเข้าใจข้อความสั้นเพื่อแก้ปัญหาง่าย ๆ เช่น การทำ ตามฉลากยา ในขณะที่จำนวนสามในสี่ (ร้อยละ 74.1) ของเยาวชนและประชากรวัยแรงงานมีทักษะทุนชีวิตด้านดิจิทัลที่ต่ำกว่าเกณฑ์ หมายความว่ากลุ่มบุคคลเหล่านี้ประสบปัญหาในการใช้อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (pointing device) และแป้นพิมพ์ (keyboard) บนคอมพิวเตอร์พกพาและไม่สามารถทำงานง่าย ๆ เช่น การค้นหาราคาที่ถูกต้องของสินค้าจากเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ยิ่งไปกว่านั้น ร้อยละ 30.3 ของเยาวชนและประชากรวัยแรงงานมีทักษะทุนชีวิตทางอารมณ์และสังคมที่ต่ำกว่าเกณฑ์ซึ่งหมายความว่า กลุ่มบุคคลเหล่านี้ไม่มีแนวโน้มที่จะคิดริเริ่มเพื่อสังคมหรือมีความกระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็นและมีจินตนาการ

การที่สัดส่วนที่ใหญ่ของเยาวชนและประชากรวัยทำงานมีทักษะต่ำกว่าเกณฑ์ในด้านการรู้หนังสือและด้านดิจิทัลนั้น เป็นต้นทุนทางเศรษฐกิจที่ใหญ่มาก โดยมีมูลค่าถึง 3.3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 20.1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross DomesticProduct: GDP) ในปี พ.ศ. 2565

โดยเฉลี่ยแล้ว เยาวชนและประชากรวัยแรงงานซึ่งมีทักษะทุนชีวิตต่ำกว่าเกณฑ์สามารถสร้างผลลัพธ์ในตลาดแรงงานได้น้อยกว่า กลุ่มที่มีทักษะสูงกว่าเกณฑ์ เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มที่มีทักษะทุนชีวิตด้านการรู้หนังสือต่ำกว่าเกณฑ์มีรายได้จากการทำงานเฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่ากลุ่มที่มีทักษะสูงกว่าเกณฑ์ ถึง 6,324 บาท (หรือประมาณ 179ดอลลาร์สหรัฐ) ช่องว่างของรายได้ที่เกิดจากการขาดทักษะนี้ถือว่าสูงมากเนื่องจากประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยรายได้ของครัวเรือนอยู่ที่เพียงประมาณ 27,352 บาท ต่อเดือน (หรือ 775 ดอลลาร์สหรัฐ) ทั้งนี้ การคำนวณความสูญเสียทางเศรษฐกิจท่ี่มีมูลค่าสูงถึง 3.3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ20.1 ของ GDP ในปี พ.ศ. 2565 นี้ เป็นการคำนวณเฉพาะจากความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากรายได้ต่อเดือนที่ต่ำลงของการที่มีสัดส่วนที่ใหญ่ของกลุ่มเยาวชนและประชากรวัยแรงงานที่มีทักษะต่ำกว่าเกณฑ์ในด้านการรู้หนังสือและด้านดิจิทิลโดยมูลค่าดังกล่าวมีจำนวนสูงกว่างบประมาณภาครัฐ ประจำปี พ.ศ. 2565 (3.1 ล้านล้านบาท)

วิกฤตด้านทักษะนี้กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มประชากรวัยแรงงานที่อายุค่อนข้างมาก (กลุ่มบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป) กลุ่มประชากรวัยแรงงานที่อายุน้อย (กลุ่มบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี) ที่ไม่จบการศึกษาขั้นสูง และกลุ่มผู้ที่อาศัยอยู่ในชนบทในภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย มีการกระจุกตัวอย่างมากของกลุ่ม ประชากรวัยแรงงานที่มีทักษะทุนชีวิตต่ำกว่าเกณฑ์ ตัวอย่างเช่น ร้อยละ 80 ของประชากรวัยแรงงานที่อายุค่อนข้างมากแสดงทักษะด้านดิจิทัลที่ต่ำกว่าเกณฑ์ และกว่าร้อยละ 60 ของประชากรวัยแรงงานที่อายุน้อยและไม่จบการศึกษาขั้นสูงก็ยังแสดงทักษะในการอ่านหนังสือที่ต่ำกว่า เมื่อเทียบกับร้อยละ 40 ของประชากรวัยแรงงานที่อายุน้อยที่จบการศึกษาขั้นสูงที่มีทักษะต่ำกว่า

นอกจากนั้น สัดส่วนของเยาวชนและประชากรวัยแรงงานในชนบทที่มีแนวโน้มไม่เปิดรับแนวคิดใหม่ ๆ ค่อนข้างสูง (ร้อยละ 33.0) เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มเยาวชนและประชากรวัยแรงงานที่อยู่ในเมือง (ร้อยละ 27.1) ในภาคเหนือ สัดส่วนของเยาวชนและประชากรวัยแรงงานที่มีทักษะการรู้หนังสือต่ำกว่าเกณฑ์อยู่ในระดับที่สูง (ร้อยละ 89.0) ในขณะที่สัดส่วนของเยาวชนและประชากรวัยแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลต่ำกว่าเกณฑ์ในภาคใต้นั้้นสูงมาก (ร้อยละ 83.7)

เป็นเรื่องน่ายินดีที่รัฐบาลไทยแสดงความมุ่งมั่นที่จะจัดการกับวิกฤตด้านทักษะโดยไม่เพียงแต่จะให้ความสำคัญกับทักษะทุนชีวิตในนโยบายของรัฐบาลเท่านั้นแต่ยังได้เริ่มดำเนินการอย่างชัดเจน เช่น การกำำหนดมาตรฐาน และการขับเคลื่อนการใช้เครื่องมือเพื่อช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ ความสำคัญของการพัฒนาทักษะทุนชีวิต ปรากฎอย่างเด่นชัดในเอกสารยุทธศาสตร์ของรัฐบาล แผนงาน และกรอบการดำเนินงาน ซึ่งเน้นการมีส่วนร่วมของกระทรวงและหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการสนับสนุนการศึกษาและฝึกอบรมในทุก ๆ ระดับ ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลได้ ริ่มแปลเปลี่ยนเจตนารมย์ที่ปรากฎในเอกสารไปสู่การปฏิบัติจริง โดยจัดทำมาตรฐานการเรียนรู้ทักษะทุนชีวิตสำหรับแต่ละระดับการศึกษาและฝึกอบรม รวมถึงมีการกำหนดคุณสมบัติมาตรฐานของอาชีพและวิชาชีพเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะให้กับสถาบันฝึกอบรมและผู้เรียนเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานและสังคม นอกจากนั้น รัฐบาลยังได้จัดเตรียมเครื่องมือเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะของผู้เรียน รวมไปถึงหลักสูตรฐานสมรรถนะและเครื่องมือสำหรับการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้อง นอกเหนือไปจากนี้ ยังมีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อกระตุ้นให้นายจ้างเพิ่มการลงทุนในกิจกรรมการฝึกอบรมให้แก่พนักงานของตน

5 ข้อเสนอแนะ

รายงานฉบับนี้ได้นำเสนอข้อเสนอแนะ 5 ข้อ สำหรับรัฐบาลไทยที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพของระบบการศึกษาและการฝึกอบรมเพื่อให้สามารถส่งเสริมการพัฒนาทักษะทุนชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุม และยั่งยืน ประเทศไทยยังเผชิญกับวิกฤติด้านทักษะทุนชีวิต แม้ว่าจะมีเจตนารมย์ของนโยบายที่เข้มแข็งและรัฐบาลไทยก็ได้ลงมือดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมไปแล้วในหลาย ๆ ด้าน ข้อเสนอแนะเหล่านี้จะต่อยอดจากการดำเนินการในปัจจุบัน และช่วยลดช่องว่างทางทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มที่เปราะบางที่สุดในสังคมไทย

1. พัฒนาแนวทางเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้นักการศึกษาและนักพัฒนาแรงงานเข้าใจและสามารถตอบสนองต่อวิกฤตด้านทักษะได้ดียิ่งขึ้น โดย แสดงลักษณะของช่องวา่างทางทักษะ (skill gap) จากการวินิจฉัยด้านอุปทานของทักษะ (skill supply) จัดเตรียมและเผยแพร่โปรแกรมที่มีผลลัพธ์เชิงประจักษ์(evidence-based programs) จัดทำกรอบอ้างอิงโดยใช้มาตรฐานการเรียนรู้ที่มีรายละเอียดและมีความสอดคล้องกันในแต่ละระดับพัฒนาการและโครงสร้างของทักษะทุนชีวิต เพื่อ ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

2. พัฒนาประสิทธิภาพและความครอบคลุมของการส่งมอบการเรียนรู้แบบกระจายอำนาจ โดยจักตั้งหน่วยประสานงานในระดับจังหวัดเพื่อดำเนินการส่งเสริมทักษะทุนชีวิต มีการให้การรับรองการลงทุนที่เพียงพอสำหรับการพัฒนาเด็กปฐมวัย และการใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของภาคเอกชน

3. ดำเนินการใช้เครื่องมือ นวัตกรรมเพื่อช่วยพัฒนาการสอนและการเรียนรู้ โดยขับเคลื่อนเครื่องมือสำหรับการสังเกตการณ์ห้องเรียนเพื่อเพิ่มความสามารถในการสอนของครูในชั้นเรียน และริเริ่มให้มีการทำบัญชีการเรียนรู้สำหรับแต่ละบุคคล (individual learning accounts : ILA) เพื่อ ให้กลุ่มที่เปราะบาง สามารถเพิ่มพูนทักษะเดิม ที่มีอยูแล้ว (upskill) และสร้างทักษะใหม่(reskill) โดยไม่คำถึงสถานะการจ้างงาน

4. เพิ่มประสิทธิภาพการรับรองคุณภาพ โดยรับรองให้บุคลากรครู มีการฝึกฝนเพื่อให้มีความสามารถในการบ่มเพาะและพัฒนาทักษะทุนชีวิตของผู้เรียนผ่านโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพครู และกำหนดให้มีการพัฒนาความสามารถอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการต่ออายุใบอนุญาต
ประกอบวิชาชีพครู

5. ใช้ประโยชน์จากพลังของการรณรงค์เผยแพร่ข้อมูล โดยเลือกบุคคลที่เหมาะสม (เช่นผู้แทนจากในท้องถิ่น และผู้เชี่ยวชาญ) เพื่อสื่อสารข้อมูลที่เหมาะสมและสัมพันธ์กันกับกลุ่มเป้าหมาย (เช่น ผลประโยชน์ทางรายได้ที่ส่งผลมาจากการพัฒนาทักษะทุนชีวิตด้านการรู้หนังสือ ดิจิทัล และทักษะทางอารมณ์และสังคม)

การปฏิรูปอย่างเป็นระบบนี้มีความสอดคล้องกับกรอบโยบายด้านการศึกษาและฝึกอบรมของประเทศไทยที่มุ่งให้ความสำคัญกับ (ก) การพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 (ข) การใช้แนวทางผู้เรียนรู้เป็นศูนย์กลาง (learner-centric) (ค) การใช้ประโยชน์จากพลังของครูและผู้สอนที่มีความสามารถ (ง) การใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผลลัพธ์เชิงประจักษ์(competence-based) และตามความต้องการ (demand-driven) ทั้งนี้ แนวทางในการปฏิรูปนี้จะช่วยเป็นบันไดไปสู่เป้าหมายสำคัญที่รัฐบาลชุดใหม่ได้เสนอไว้ (เช่น การเตรียมเยาวชนและประชากรวัยแรงงานให้สามารถผลักดันพลังสร้างสรรค์ (soft-power)ในประเทศไทย) ให้เป็นรูปธรรม เติบโต ซึ่งจะส่งผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจสังคมให้กับผู้คนอย่างกว้างขวางในระยะยาว ประเทศไทยยังสามารถพัฒนาต่อยอดจากความพยายามในการปฏิรูปนี้เพื่อสร้างระบบนิเวศการศึกษาและฝึกอบรมให้เข้มแข็ง ยืดหยุ่น และยั่งยืนซึ่งเป็นหนทางไปสู่การพัฒนาระบบนิเวศที่จำเป็นต้องมีการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้(establishing a learning society) สังคมที่ทุกคนมีโอกาสที่จะพัฒนาความสามารถและสร้างทัก ษะใหม่อย่างต่อเนื่องตลอดทุุกช่วงชีวิต ในสังคมแห่งการเรียนรู้ ทุกคนมีความสนใจอย่างแรงกล้าและถูกกระตุ้นให้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ทั้งนี้ สังคมแห่งการเรียนรู้ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้าง ที่จะช่วยรับรองได้ว่ามีทักษะที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาบุคคลและสังคมให้ก้าวหน้า