ThaiPublica > เกาะกระแส > ซูเปอร์เอลนีโญ เราจะรอดอย่างไร (6) : ฝนตกน้อยกว่าปกติ ปริมาณน้ำในเขื่อนปี ’67 เหลือใช้การต่ำกว่าปี ’66

ซูเปอร์เอลนีโญ เราจะรอดอย่างไร (6) : ฝนตกน้อยกว่าปกติ ปริมาณน้ำในเขื่อนปี ’67 เหลือใช้การต่ำกว่าปี ’66

21 มกราคม 2024


ติดตามสถานการณ์น้ำในเขื่อนปี 2567 หลังเอลนีโญเข้าสู่ระดับปานกลาง แต่รัฐยังคาดการณ์ น้ำปี 2567 ใช้การได้น้อยกว่าปี 2566

วิกฤติโลกเดือดยังคงเป็นประเด็นที่ทุกหน่วยงาน องค์กร ให้ความสำคัญ เพราะผลกระทบมากมายได้ปรากฏให้เป็นที่ประจักษ์จากภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ

เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2567 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) รายงานว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญค่อยๆ ผ่อนตัวลงจาก ‘รุนแรง’ เป็น ‘ปานกลาง’ ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2567 แต่ช่วงเวลาดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ทำให้ฝนตกน้อยกว่าค่าปกติ (มกราคม – พฤษภาคม 2567)

นอกจากนี้ รายงานสถานการณ์น้ำประจำเดือนมกราคม ปี 2567 พบว่า ปริมาณในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มีระดับกักเก็บน้ำน้อยกว่าปริมาณน้ำในปี 2566

สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้าได้สำรวจข้อมูลปริมาณน้ำในเขื่อน พบว่า ปี 2566 ปริมาณน้ำกักเก็บ จำนวน 55,812 ล้านลูกบาศเมตร (79%) ปริมาณน้ำใช้การได้ 32,270 ล้านลูกบาศเมตร (68%) และ ปี 2567 ปริมาณน้ำ กักเก็บ 53,503 ล้านลูกบาศเมตร (75%) ปริมาณน้ำใช้การได้ 29,966 ล้านลูกบาศเมตร (63%) น้อยกว่าปีที่ผ่านมา 2,304 ลูกบาศเมตร

ส่วนปริมาณน้ำในเขื่อนจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด 35 แห่งทั่วประเทศ มีอ่างเก็บน้ำจำนวน 2 แห่ง มีปริมาณน้ำเกิน 100% ของความจุ คือ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลและเขื่อนกิ่วคอหมา อ่างเก็บน้ำ 11 แห่ง มีปริมาณน้ำตั้งแต่ 81-100% แบ่งเป็นภาคเหนือ 3 แห่ง ได้แก่ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เขื่อนกิ่วลม และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 แห่ง ได้แก่ เขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนลำปาว ภาคตะวันออก 3 แห่ง ได้แก่ เขื่อนนฤบดินทรจินดา เขื่อนหนองประแสร์ และเขื่อนหนองปลาไหล ภาคตะวันตก 2 แห่ง ได้แก่ เขื่อนวชิราลงกรณ์ และเขื่อนศรีนครินทร์ ภาคใต้ 1 แห่ง ได้แก่ เขื่อนบางลาง

อ่างเก็บน้ำจำนวน 18 แห่ง มีปริมาณน้ำตั้งแต่ 51-80% แบ่งเป็น ภาคเหนือ 3 แห่ง ได้แก่ เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแม่มอก และเขื่อนภูมิพล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 แห่ง ได้แก่ เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนห้วยหลวง เขื่อนน้ำอูน เขื่อนน้ำพุง เขื่อนสิรินธร เขื่อนลำนางรอง เขื่อนลำแซะ เขื่อนมูลบน เขื่อนลำพระเพลิง และเขื่อนลำตะคอง ภาคตะวันจก 2 แห่ง ได้แก่ เขื่อนขุนด่านปราการชล และเขื่อนท่าพระ ภาคกลาง 1 แห่ง ได้แก่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ภาคใต้ 2 แห่ง ได้แก่ เขื่อนแก่งกระจานและเขื่อนรัชชประภา

อ่างเก็บน้ำจำนวน 4 แห่ง มีปริมาณน้ำตั้งแต่ 31-50% แบ่งเป็น ภาคตะวันออก 1 แห่ง ได้แก่ เขื่อนคลองสียัด ภาคกลาง 2 แห่ง ได้แก่ เขื่อนทับเสลา และเขื่อนกระเสียว ภาคใต้ 1 แห่ง ได้แก่ เขื่อนปราณบุรี 

อย่างไรก็ตาม ข้อมูล ณ วันที่ 18 มกราคม 2567 ระบุว่า ยังไม่มีอ่างเก็บน้ำใดที่มีปริมาณน้ำต่ำกว่า 30% ของความจุ

ขณะที่ปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลักในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำ ดังนี้

  • เขื่อนภูมิพล ปริมาณน้ำเก็บกัก 9,447 ล้านลูกบาศก์เมตร (70.17% ของความจุอ่าง) ปริมาตรน้ำใช้การ 5,647 ล้านลูกบาศก์เมตร
  • เขื่อนสิริกิติ์ ปริมาณน้ำเก็บกัก 5,493 ล้านลูกบาศก์เมตร (57.76% ของความจุอ่าง) ปริมาตรน้ำใช้การ 2,643 ล้านลูกบาศก์เมตร
  • เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ปริมาณน้ำเก็บกัก 789 ล้านลูกบาศก์เมตร (84% ของความจุอ่าง) ปริมาตรน้ำใช้การ 746 ล้านลูกบาศก์เมตร
  • เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปริมาณน้ำเก็บกัก 695 ล้านลูกบาศก์เมตร (72% ของความจุอ่าง) ปริมาตรน้ำใช้การ 685 ล้านลูกบาศก์เมตร

 

อ่างเก็บน้ำแต่ละภูมิภาค มีปริมาณน้ำ ดังนี้

  • อ่างเก็บน้ำในความดูแลของกรมชลประทาน รวมทั้งประเทศ ปริมาณน้ำ 52,703 ลูกบาศก์เมตร (74% ของความจุอ่าง) ปริมาตรน้ำใช้การ 29,166 ล้านลูกบาศก์เมตร (ข้อมูลวันที่ 18 มกราคม 2567)
  • ภาคเหนือ มีอ่างเก็บน้ำ 8 จุด ได้แก่ แม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วคอหมา แควน้อยบำรุงแดน กิ่วลม แม่กวงอุดมธารา แม่มอง ภูมิพล และสิริกิติ์ ปริมาณน้ำรวม 16,562 ล้านลูกบาศก์เมตร (67% ของความจุอ่าง) ปริมาตรน้ำใช้การ 9,817 ล้านลูกบาศก์เมตร
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอ่างเก็บน้ำ 12 จุด ได้แก่ ลำปาว อุบลรัตน์ สิรินธร จุฬาภรณ์ น้ำพุง ห้วยหลวง น้ำอูน ลำพระเพลิง ลำนางรอง ลำตะคอง ลำแซะ และมูลบน ปริมาณน้ำ 6,368 ล้านลูกบาศก์เมตร (76% ของความจุอ่าง) ปริมาตรน้ำใช้การ 4,718 ล้านลูกบาศก์เมตร
  • ภาคตะวันออก มีอ่างเก็บน้ำ 6 จุด ได้แก่ หนองปลาไหล นฤบดินทรจินดา ประแสร์ ขุนด่านปราการชล บางพระ และคลองสียัด ปริมาณน้ำ 956 ล้านลูกบาศก์เมตร (63% ของความจุอ่าง) ปริมาตรน้ำใช้การ 861 ล้านลูกบาศก์เมตร
  • ภาคกลาง มีอ่างเก็บน้ำ 3 จุด ได้แก่ ป่าสักชลสิทธิ์ ทับเสลา และกระเสียว ปริมาณน้ำ 852 ล้านลูกบาศก์เมตร (60% ของความจุอ่าง) ปริมาตรน้ำใช้การ 792 ล้านลูกบาศก์เมตร
  • ภาคตะวันตก มีอ่างเก็บน้ำ 2 จุด ได้แก่ วชิราลงกรณ์และศรีนครินทร์ ปริมาณน้ำ 21,856 ล้านลูกบาศก์เมตร (82% ของความจุอ่าง) ปริมาตรน้ำใช้การ 8,579 ล้านลูกบาศก์เมตร
  • ภาคใต้ มีอ่างเก็บน้ำ 4 จุด ได้แก่ บางลาง รัชชประภา แก่งกระจาน และปราณบุรี ปริมาณน้ำ 6,109 ล้านลูกบาศก์เมตร (75% ของความจุอ่าง) ปริมาตรน้ำใช้การ 4,399 ล้านลูกบาศก์เมตร

 

อ่างเก็บน้ำในความดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมทั้งประเทศ ปริมาณน้ำ 46,732 ลูกบาศก์เมตร (ข้อมูลวันที่ 18 มกราคม 2567) อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลชุดเดียวกันกับปริมาณน้ำภายใต้ความดูแลของกรมชลประทาน ไม่ได้รายงานข้อมูล สัดส่วนปริมาณน้ำเมื่อเทียบกับความจุ (% ของความจุ) และปริมาตรน้ำใช้การ

  • ภาคเหนือ มีอ่างเก็บน้ำ 3 จุด ได้แก่ ภูมิพล สิริกิติ์ และแม่งัด ปริมาณน้ำ 15,220 ล้านลูกบาศก์เมตร
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอ่างเก็บน้ำ 6 จุด ได้แก่ อุบลรัตน์ น้ำพุง จุฬาภรณ์ ห้วยกุ่ม สิรินธร และปากมูล ปริมาณน้ำ 3,670 ลูกบาศก์เมตร
  • ภาคตะวันตก มีอ่างเก็บน้ำ 3 จุด ได้แก่ วชิราลงกรณ์ ศรีนครินทร์ และท่าทุ่งนา ปริมาณน้ำ 21,900 ลูกบาศก์เมตร
  • ภาคใต้ มีอ่างเก็บน้ำ 3 จุด ได้แก่ บางลาง รัชชประภา และแก่งกระจาน ปริมาณน้ำ 5,942 ลูกบาศก์เมตร