การประชุม COP28 วันที่ 2 ธันวาคม 116 ประเทศยังได้ลงนามในคำมั่นสัญญาว่าด้วยพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ(Global Renewables and Energy Efficiency Pledge) โดยตกลงที่จะเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานทดแทนที่ติดตั้งทั่วโลกเพิ่มขึ้น 3 เท่า
การประชุมสุดยอด World Climate Action วันที่ 2 ธันวาคม ดร. สุลต่าน อัล จาเบอร์ ประธาน COP28 ได้เปิดตัวโครงการ Global Decarbonization Accelerator (GDA) ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มสำคัญที่ออกแบบมาเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกให้มาก
GDA มุ่งเน้นไปที่ 3 เสาหลัก ได้แก่ การขยายระบบพลังงานแห่งอนาคตอย่างรวดเร็ว การลดคาร์บอนของระบบพลังงานในปัจจุบัน และกำหนดเป้าหมายมีเทนและก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ใช่คาร์บอนไดออกไซด์ (GHGs) อื่นๆ ซึ่งเป็นแผนงานที่ครอบคลุมสำหรับการปรับเปลี่ยนทั้งระบบ และตอบสนองความต้องการและการจัดหาพลังงานในเวลาเดียวกัน
GDA ได้รับข้อมูลจากความคิดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศ รัฐบาลและผู้กำหนดนโยบาย องค์กรพัฒนาเอกชน และซีอีโอจากทุกภาคส่วนอุตสาหกรรม
ดร. อัล จาเบอร์ กล่าวถึงการเปิดตัว GDA ว่า “โลกจะหยุดนิ่งหากไม่มีพลังงาน แต่โลกจะพังทลายหากเราไม่แก้ไขพลังงานที่เราใช้ในปัจจุบัน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับกิกะไบต์ และเปลี่ยนไปสู่ทางเลือกคาร์บอนเป็นศูนย์อย่างรวดเร็วจึงเป็นที่มาของการ เปิดตัว Global Decarbonization Accelerator”
ในด้านการขยายระบบพลังงานแห่งอนาคตอย่างรวดเร็วนั้น
ในวันนี้ 116 ประเทศยังได้ลงนามในคำมั่นสัญญาว่าด้วยพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ(Global Renewables and Energy Efficiency Pledge) โดยตกลงที่จะเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานทดแทนที่ติดตั้งทั่วโลกเพิ่มขึ้น 3 เท่าเป็นอย่างน้อย 11,000 กิกะวัตต์ และเพิ่มอัตราการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิโดยเฉลี่ยทั่วโลกขึ้นเป็น 2 เท่าจากประมาณ 2% เป็นกว่า 4%ทุกปีจนถึงปี 2030
ด้วยการประกาศเจตจำนงไฮโดรเจนของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(UAE Hydrogen Declaration of Intent) 27 ประเทศได้ตกลงที่จะรับรองมาตรฐานการรับรองระดับโลก และยอมรับแผนการรับรองที่มีอยู่ ซึ่งช่วยปลดล็อกการค้าระดับโลกในด้านไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำ
สำหรับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากระบบพลังงานในปัจจุบัน ภายใต้ GDA บริษัท 50 แห่งซึ่งผลิตน้ำมันรวมกันกว่า 40% ของการผลิตน้ำมันทั่วโลก ได้ลงนามในกฎบัตรการลดคาร์บอนของน้ำมันและก๊าซ (Oil and Gas Decarbonization Charter-OGDC) โดยให้คำมั่นว่าจะลดการปล่อยก๊าซมีเทนเป็นศูนย์และยุติการเผาก๊าซส่วนเกินที่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์(flaring)ภายในปี 2030 และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ทั้งหมดภายในปี 2050 เป็นอย่างช้า
บริษัทน้ำมันแห่งชาติ (NOC) กว่า 29 แห่งให้คำมั่นต่อกฎบัตร ซึ่งมีจำนวน NOC มากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในการลงนามในคำมั่นสัญญาการลดคาร์บอน
OGDC เป็นก้าวสำคัญในการดำเนินการที่เพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของข้อตกลงปารีส
ผู้ลงนามในกฎบัตรตกลงที่จะกำหนดเป้าหมายการดำเนินการที่สำคัญหลายประการ ซึ่งรวมถึง
นอกจากนี้ และไม่เกี่ยวกับ OGDC แล้ว GDA ยังครอบคลุมถึงการเปิดตัว Industrial Transition Accelerator (ITA) ซึ่งจะเร่งการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในภาคส่วนหลักที่ปล่อยก๊าซอย่างหนัก และสนับสนุนให้ผู้กำหนดนโยบาย ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค และผู้สนับสนุนทางการเงินทำงานจับมือกับอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อปลดล็อกการลงทุนและขยายการดำเนินการ และการส่งมอบโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างรวดเร็ว
ด้านเป้าหมายมีเทนและก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ใช่คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นเสาหลักที่ 3 ของ GDA จะจัดการกับมีเทนและก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ที่ไม่ใช่คาร์บอนไดออกไซด์ ผ่านการลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากทุกภาคส่วน (Economy-Wide) และเพื่อสนับสนุนการดำเนินการด้านนี้จะมีการระดมเงินกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สำหรับโครงการลดก๊าซมีเทน โดยจะมีการเผยแพร่ข้อมูลเพิ่มเติมในวันที่ 5 ธันวาคม ในการประชุม COP28 ที่มีวาระเรื่องพลังงาน(Energy Thematic Day)
GDA ยังครอบคลุมถึง Global Cooling Pledge หรือเจตจำนงฉบับใหม่ที่เรียกร้องให้หลายประเทศลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับความเย็น ซึ่งตั้งเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซจากความเย็นทั่วโลกลงอย่างมาก 68% ภายในปี 2050 การปล่อยก๊าซจากความเย็นคิดเป็น 7% ของการปล่อยก๊าซทั้งหมดทั่วโลก ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มเป็น 3 เท่าเนื่องจากประเทศต่างๆ จำนวนมากหันมาใช้เครื่องปรับอากาศ โดยวันนี้มี 52 ประเทศได้ลงนามในคำมั่นสัญญาแล้ว
ดร. อัล จาเบอร์ กล่าวว่า “GDA คืจุดเปลี่ยนในการจัดการกับความท้าทายต่างๆ ที่ทำให้การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานชะลอตัวลงจนถึงปัจจุบัน ความคิดริเริ่มแต่ละอย่างได้รับการสนับสนุนจากกรอบความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่าคำมั่นสัญญาที่ทำขึ้นนั้นเป็นคำมั่นสัญญาที่ส่งมอบ”
ดร. อัล จาเบอร์ กล่าวปิดท้ายว่า “GDA มีจำนวนประเทศเพิ่มมากขึ้นและมีบริษัทจากภาคส่วนต่างๆ มากขึ้นกว่าที่เคย ซึ่งทั้งหมดนี้สอดคล้องกับเป้าหมายที่จะรักษาอุณหภูมิไม่ให้เพิ่มขึ้นกว่า 1.5 องศาเซลเซียส
การประชุม COP28 หรือ การประชุมของภาคีอนุสัญญากรอบสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UN Framework Convention on Climate Change-UNFCCC) มีขึ้นตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน ถึง 12 ธันวาคม