วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือฟิทช์ เรทติ้งส์ Fitch Ratings ฮ่องกงประกาศคงอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศ(Foreign Currency Long-Term Issuer Default Rating-IDR )ของประเทศไทยไว้ที่ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทยอยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook)
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่ออันดับความน่าเชื่อถือ
สถานะต่างประเทศแข็งแกร่ง มีข้อจำกัดด้านโครงสร้าง: อันดับเครดิตของประเทศไทยสะท้อนถึงสถานะการเงินต่างประเทศที่แข็ง
แกร่งและกรอบนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่เข้มแข็ง ซึ่งถ่วงดุลกับลักษณะเชิงโครงสร้างที่อ่อนด้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นที่ได้อันดับเครดิตอื่นในระดับ ‘BBB’ ซึ่งรวมถึงรายได้ต่อหัว และคะแนนด้านธรรมาภิบาลของธนาคารโลกที่ต่ำกว่า ตัวชี้วัดทางการคลังสาธารณะถดถอยลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และปัจจุบันอยู่ในระดับเดียวกับประเทศอื่นที่ได้อันดับเครดิตเท่ากัน ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการจัดหาเงินสำหรับการใช้จ่ายของรัฐบาลใหม่บ่งบอกถึงความเสี่ยงทางการคลังในระยะเวลาอันใกล้นี้ ในขณะที่โครงสร้างประชากรที่ไม่เอื้ออำนวยก่อให้เกิดความเสี่ยงระยะกลาง
การเติบโตจะเร่งตัวมากขึ้น: ฟิทช์คาดการณ์ว่าการเติบโตของ GDP ของประเทศไทยจะเร่งตัวขึ้นเป็น 3.8% ในปี 2567 หลังจากขยายตัวอ่อนแอกว่าที่คาดไว้ที่ 2.8% ในปี 2566 เราคาดว่าการเติบโตที่แข็งแกร่งจะได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวที่สมำเสมอ การส่งออกสินค้าที่ดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และอุปสงค์ในประเทศที่สูงขึ้นจากการใช้จ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้นและการกำหนดนโยบายสนับสนุนอื่นๆ
รัฐบาลใหม่ได้เปิดตัวการยกเว้นวีซ่าชั่วคราวสำหรับนักท่องเที่ยวจากตลาดต้นทางที่เป็นเป้าหมาย เช่น จีน และอินเดีย การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวของเร็วขึ้นและการใช้จ่ายทางการคลังที่มากขึ้นกว่าที่คาดไว้ในปัจจุบันอาจช่วยกระตุ้นการเติบโตในระยะสั้นต่อไปได้ ในขณะที่ความเสี่ยงด้านต่ำอาจมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่เด่นชัดมากขึ้น ความแห้งแล้งรุนแรงจากปรากฏการณ์เอลนิโญ่ และความล่าช้าด้านงบประมาณอย่างมีนัยสำคัญ
รัฐบาลผสมที่จัดตั้งขึ้นใหม่: ฟิทช์เชื่อว่าการจัดตั้งรัฐบาลผสมที่นำโดยพรรคเพื่อไทย (PTP) หลังจากการหยุดชะงักไปสี่เดือนจะช่วยลดความไม่แน่นอนทางการเมืองในระยะสั้น การรวมกลุ่มต่างๆ เข้าด้วยกันอาจมีผลต่อการกำหนดนโยบายที่ต้องใช้ฉันทางมติ แม้การสร้างสมดุลระหว่างกลุ่มที่ที่หลากหลายอาจส่งผลต่อความมีประสิทธิภาพในการกำหนดนโยบายและความรอบคอบทางการคลัง ความไม่แน่นอนทางการเมืองยังคงมีอยู่ เนื่องจากวุฒิสภาจะไม่สามารถเข้าร่วมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีได้อีกต่อไปตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2567 ฟิทช์เชื่อว่าตัวบ่งชี้ธรรมาภิบาลภาครัฐ(World Bank Governance Indicators)ของธนาคารโลกจะดีขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงเสถียรภาพทางการเมืองในระดับที่สูงขึ้น
นโยบายหลักที่สำคัญในอันดับต้น: ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่จะเป็นอุปสรรคในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า ถือเป็นความท้าทายที่กำลังจะเกิดขึ้นสำหรับรัฐบาลใหม่ ซึ่งข้อเสนองบประมาณเพิ่มเติมสำหรับปีงบประมาณที่สิ้นสุดในเดือนกันยายน 2567 (ปีงบประมาณ 2567) มุ่งเน้นไปที่การกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ ฟิทช์คาดว่างบประมาณจะล่าช้าออกไป 7 เดือนจนถึงปลายเดือนเมษายน 2567 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเบิกจ่ายเงินสำหรับโครงการลงทุนใหม่ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ารัฐบาลจะดำเนินการเพิ่มเติมในการสนับสนุนเศรษฐกิจด้วยงบประมาณปี 2567 โดยไม่ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ระยะกลางที่สำคัญของประเทศในการส่งเสริมการลงทุนและการเติบโตของผลิตภาพอย่างมีนัยสำคัญ
การขาดดุลที่มากขึ้น การรัดเข็มขัดทางการคลัง(fiscal Consolidation)ช้าลง: ฟิทช์คาดการณ์ว่าการขาดดุล (จากระบบสถิติเพื่อการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายการคลัง Government Finance Statistics:GFS) จะเพิ่มขึ้นเป็น 3.7% ของ GDP ในปีงบประมาณ 2567 (ซึ่งตามอันดับเครดิต BBBแล้วค่ามัธยฐานอยู่ที่ 2.9%) จากประมาณการที่ 3.0% ในปีงบประมาณ 2566 และมองว่ารายจ่ายที่เพิ่มขึ้นนี้เพื่อรองรับโครงการแจกเงินสดดิจิทัลและมาตรการอื่น ๆ ที่สนับสนุนโดยพรรคร่วมระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง จะมากเกินกว่าการจัดเก็บรายได้ที่เก็บได้ต่อเนื่องตามการเติบโตแข็งแกร่งขึ้น และคาดการณ์ว่าการขาดดุลการคลังจะลดลงเพียงเล็กน้อยเหลือ 3.5% ในปีงบประมาณ 2568 (ค่ามัธยฐาน BBB: 2.6%) ส่วนใหญ่มาจากการใช้จ่ายทางสังคมและทุนที่ต่อเนื่อง
ให้คำมั่นจะใช้จ่ายเพื่อการเติบโต: พรรคเพื่อไทยให้คำมั่นว่าจะแจกเงินสดดิจิทัลในวงกว้างให้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป โดยเป็นการใช้จ่ายครั้งเดียวประมาณ 5 แสนล้านบาท (2.6% ของ GDP) แผนที่ประกาศโดยนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน คือ การออกพระราชบัญญัติกู้เงิน เพื่อนำมาใช้ในการแจกและจะเลื่อนออกไป 3 เดือนเป็นเดือนพฤษภาคม 2567 อย่างไรก็ตาม ฟิทช์มองว่ามีความไม่แน่นอนในระยะสั้นบางประการในแง่ของการอนุมัติของรัฐสภาที่จะให้รัฐบาลใช้หนี้ก้อนใหม่ทั้งก้อนมาดำเนินการ ซึ่งอาจบ่งบอกว่า ไม่บรรลุเป้าหมายระยะสั้นในการรัดเข็มขัดทางการคลังและทำให้มีข้อจำกัดทางการคลังเพิ่มเติม
อัตราส่วนหนี้สาธารณะจะทรงตัว: ฟิทช์คาดการณ์ว่าหนี้ภาครัฐโดยรวม (General Government Debt:GGGD) จะเพิ่มขึ้นเป็น 56.8% ของ GDP ภายในปีงบประมาณ 2568 และสูงกว่าระดับก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ถึง 21 จุด และสอดคล้องกับค่ามัธยฐานที่ 56.3 % ของคู่เทียบที่ได้อันดับ ‘BBB’ส่วนใหญ่ เป้าหมายการขาดดุลการคลังที่กว้างขึ้นเล็กน้อยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า หรือประมาณ 3.4% ของ GDP ตามที่รัฐบาลใหม่เผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ในกรอบการคลังระยะกลาง จะทำให้หนี้ของรัฐบาลในระยะต่อไปอ่อนแอลง โดยเฉพาะหากการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นไม่สามารถทำให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนและถาวรมากขึ้น
ในกรณีฐาน ฟิทช์คาดการณ์ว่าอัตราส่วน หนี้ต่อGDP (GGGD/GDP) จะทรงตัวที่ประมาณ 57.5% ภายในปีงบประมาณ 2570 และเชื่อว่าการเข้าถึงตลาดทุนในประเทศที่มีความลึกของรัฐบาล ด้วยวงจรและโครงสร้างหนี้ที่ดีซึ่งมีระยะเวลาครบกำหนดโดยเฉลี่ยที่นานและส่วนใหญ่เป็นสกุลเงินท้องถิ่นจะช่วยลดความเสี่ยงด้านการคลังสาธารณะที่มาจากการเพิ่มขึ้นอย่างมากของอัตราส่วน GGGD/GDP
สถานะต่างประเทศที่แข็งแกร่ง: สถานะต่างประเทศที่แข็งแกร่งของประเทศไทยยังคงเป็นจุดแข็งหลัก และน่าจะเป็นเกราะป้องกันที่เพียงพอต่อภาวะการเงินโลกที่ตึงตัวและความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ ฟิทช์คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะรักษาตำแหน่งเจ้าหนี้ต่างประเทศสุทธิรายใหญ่ที่ 40.1% ของ GDP ในปี 2567 ซึ่งสูงกว่าค่ามัธยฐานที่คาดการณ์ไว้สำหรับเจ้าหนี้กลุ่มที่มีอันดับเครดิต ‘BBB’ (-0.9%) และ ‘A’ (5.9%) และคาดการณ์ว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะกลับมาเกินดุล 1.0% ของ GDP ในปี 2566 จากที่ขาดดุล 3.2% ในปี 2565 โดยมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศรองรับการชำระเงินต่างประเทศปัจจุบันเป็นเวลา 7.1 เดือน ซึ่งสูงกว่าค่ามัธยฐานของอันดับเครดิต ‘BBB’ ที่ประเมินไว้ที่ 5.0 เดือน
แรงกดดันเงินเฟ้อปานกลาง: ฟิทช์คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่เฉลี่ย 1.4% ในปี 2566 จากการขยายการอุดหนุนราคาพลังงานและผลจากฐานที่สูง โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย 1.0%-3.0% ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ 1.8% ในปี 2567 สะท้อนถึงผลของการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวที่ต่อเนื่อง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการส่งผ่านที่ไม่รุนแรงจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในช่วงหลัง ปี 2567 ในกรณีฐานคาดว่า ธปท. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.5% จนถึงสิ้นปี 2567 แม้ว่าความเสี่ยงจากปรากฏการณ์เอลนีโญต่อผลผลิตทางการเกษตรและราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอาจนำไปสู่แรงกดดันด้านราคาที่เพิ่มมากขึ้น
หนี้ครัวเรือนยังคงอยู่ในระดับสูง: หนี้ครัวเรือนของไทยยังคงเพิ่มขึ้นมาที่ 90.7% ของ GDP ภายในสิ้นไตรมาส 2 ปี2566 ซึ่งสูงกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนผู้มีรายได้น้อยและ SMEs ในครัวเรือนที่มีหนี้ลดลง ท่ามกลางอุปสรรคทางเศรษฐกิจและการปรับนโยบายการเงินให้กลับสู่ปกติ อาจก่อให้เกิดความท้าทายด้านคุณภาพสินทรัพย์ต่อธนาคาร อย่างไรก็ตาม คาดว่าผลประกอบการของธนาคารจะฟื้นตัวต่อเนื่องในปี 2567 ในขณะที่ยังคงรักษาระดับเงินทุนที่มั่นคงและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญได้ครอบคลุม มีสภาพคล่องที่มั่นคง ซึ่งช่วยเป็นกันชนรองรับแรงกระแทกจากความเสี่ยงจากสินเชื่อที่ปรับโครงสร้างหนี้จะกลับมาด้อยค่า
ESG -ธรรมาภิบาล: ประเทศไทยมีคะแนน ESG Relevance Score (RS) อยู่ที่ ‘5’ และ ‘5[+]’ ตามลำดับ ในด้านเสถียรภาพทางการเมืองและสิทธิ และหลักนิติธรรม คุณภาพสถาบันและกฎระเบียบ และการควบคุมการทุจริต คะแนนเหล่านี้ บ่งชี้ว่า World Bank Governance Indicator มีน้ำหนักอย่างมากในโมเดลการจัดอันดับ Sovereign Rating (SRM) ของฟิทช์ ประเทศไทยได้คะแนน World Bank Governance Indicator ในระดับปานกลางที่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 45 ส่วนหนึ่งสะท้อนถึงขีดความสามารถของสถาบันและคุณภาพด้านกฎระเบียบที่ดี และหลักนิติธรรมที่เป็นที่ยอมรับ ถูกเบียดบังด้วยความผันผวนทางการเมืองที่ยังคงมีอยู่