ThaiPublica > คนในข่าว > ‘หลี่ เค่อเฉียง’ อดีตนายกรัฐมนตรีจีนถึงแก่อสัญกรรม

‘หลี่ เค่อเฉียง’ อดีตนายกรัฐมนตรีจีนถึงแก่อสัญกรรม

27 ตุลาคม 2023


นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียงของจีนเข้าร่วมการประชุมสัมมนาเนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปีสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของจีนในกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2565 ที่มาภาพ: https://english.news.cn/20220520/c299279c21134dd8a99991cca60746b3/c.html

อดีตนายกรัฐมนตรีของจีน หลี่ เค่อเฉียง ถึงแก่อสัญกรรมในวัย 68 ปี ด้วยอาการหัวใจวายเมื่อวันศุกร์ (27 ต.ค) หลังเกษียณจากการดำรงตำแหน่งนานร่วมทศวรรษ ได้เพียง 10 เดือน

หลี่ เค่อเฉียง ที่ถูกมองว่าเป็นคู่แข่งชิงตำแหน่งผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ เคยถูกประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้ซึ่งกุมอำนาจอย่างเหนียวแน่น และเป็นผู้นำประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก กีดกันในช่วงไม่กี่ปีมานี้

  • ปรากฏการณ์ความร้าวฉาน ‘หลี่ เค่อเฉียง ปะทะ สี จิ้นผิง’ …การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้?
  • นักเศรษฐศาสตร์ชั้นยอดรายนี้ ถูกมองว่าเป็นผู้สนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีนิยมมากขึ้น แต่ก็ต้องยอมให้สี จิ้นผิงมีการควบคุมจากรัฐมากขึ้น

    “สหายหลี่ เค่อเฉียง ขณะพักอยู่ที่เซี่ยงไฮ้ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา มีอาการหัวใจวายกะทันหันเมื่อวันที่ 26 ต.ค. และหลังจากความพยายามอย่างเต็มที่ที่จะทำให้ล้มเหลว ก็ได้เสียชีวิตในเซี่ยงไฮ้หลังเที่ยงคืนของวันที่ 27 ต.ค. 10 นาที” สถานีโทรทัศน์ CCTV ของรัฐ รายงานและว่าจะมีการประการการอสัญกรรมในภายหลัง

    หลี่ เค่อเฉียง ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและเป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรีของจีนภายใต้การนำของสี จิ้นผิงมาเป็นเวลาหนึ่งทศวรรษ จนกระทั่งก้าวลงจากตำแหน่งในเดือนมีนาคม

    ในวาระสุดท้ายของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งสิ้นสุดเมื่อต้นปีนี้ หลี่ เค่อเฉียงเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงเพียงคนเดียวที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มใกล้ชิดของสี จิ้นผิง

    หลี่ เค่อเฉียง ซึ่งเป็นผู้ทรงอิทธิพลอันดับสองในพรรคคอมมิวนิสต์จีนจนกระทั่งเกษียณเมื่อปีที่แล้ว เป็นที่รู้จักในฐานะบุคคลทางการเมืองที่ฉลาดที่สุดคนหนึ่งในรุ่นของเขา โดยได้รับการยอมรับให้เข้าเรียนในโรงเรียนกฎหมายอันทรงเกียรติของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ไม่นานหลังจากที่มหาวิทยาลัยเปิดทำการอีกครั้งภายหลังการปฏิวัติวัฒนธรรมของเหมา เจ๋อตุง

    “ไม่ว่าลมและเมฆระหว่างประเทศจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร จีนก็จะขยายการเปิดประเทศอย่างแน่วแน่” หลี่ เค่อเฉียง กล่าวในการปรากฏตัวต่อสาธารณะครั้งสุดท้ายในงานแถลงข่าวเมื่อเดือนมีนาคม “แม่น้ำแยงซีและแม่น้ำเหลืองจะไม่ไหลย้อนกลับ”

    หลี่ เค่อเฉียง จุดประกายให้เกิดการอภิปรายเกี่ยวกับความยากจนและความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้ในปี 2563 โดยกล่าวว่าผู้คน 600 ล้านคนในจีนมีรายได้น้อยกว่า 140 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน

    อดัม นี นักวิเคราะห์และนักเขียนการเมืองอิสระของจีน กล่าวถึงหลี่ เค่อเฉียง ว่าเป็น “นายกรัฐมนตรีที่ไร้อำนาจ ในขณะที่จีนหันหลังให้กับการปฏิรูปและเปิดประเทศอย่างฉับพลัน”

    ขณะที่ศึกษากฎหมายที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง หลี่ เค่อเฉียง ได้ผูกมิตรกับผู้สนับสนุนประชาธิปไตยที่แข็งขัน หลังจากสำเร็จการศึกษา หลี่ เค่อ เฉียง ได้เข้าร่วมสันนิบาตเยาวชนของพรรคคอมมิวนิสต์ และกลายเป็นนักปฏิรูป ซึ่งเป็นบันไดสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น

    หลี่ เค่อ เฉียง ซึ่งเป็นผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษด้วยความมั่นใจ คลุกคลีอยู่กับการสั่งสมทางปัญญาและการเมืองของทศวรรษแห่งการปฏิรูป ภายใต้เติ้ง เสี่ยวผิง ผู้นำในขณะนั้น ช่วงเวลานั้นสิ้นสุดลงด้วยการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเพื่อประชาธิปไตยในปี 1989

    หลี่ เค่อเฉียงเติบโตในสันนิบาตเยาวชน ในขณะที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านกฎหมาย จากนั้นสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์ภายใต้ศาสตราจารย์หลี้ อี่หนิง ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนการปฏิรูปตลาดที่มีชื่อเสียง

    ประสบการณ์ทางการเมืองของเขาในฐานะผู้นำมณฑลเหอหนาน ซึ่งเป็นแถบชนบทที่ยากจนและวุ่นวายทางตอนกลางของจีน ถูกทำลายลงด้วยการกล่าวหาว่ามีการปราบปรามภายหลัง กรณีอื้อฉาวเรื่องโรคเอดส์ นอกจากนี้ เขายังดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคในเหลียวหนิง ซึ่งเป็นมณฑลแถบชนบทที่มุ่งมั่นที่จะดึงดูดการลงทุน และสร้างตัวเองใหม่ในฐานะศูนย์กลางอุตสาหกรรมสมัยใหม่

    หลี่ เค่อเฉียง ยังได้รับการยกย่องในการนำพาประเทศผ่านวิกฤติการเงินโลก โดยไม่ได้รับผลกระทบ

    การเสียชีวิตของหลี่ เค่อเฉียง มีการไว้อาลัยอย่างกว้างขวางบนโซเชียลมีเดียของจีน โดยหลายคนแสดงความตกใจ

    “นี่กะทันหันเกินไป เขายังอายุไม่มาก” ผู้ใช้คนหนึ่งบนเว็บไซต์โซเชียลมีเดียของจีน Weibo กล่าว อีกคนหนึ่งกล่าวว่า การเสียชีวิตของเขาเหมือนกับการสูญเสีย “เสาหลักของบ้าน”

    หลี่ เค่อ เฉียง เกิดเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2498 ในเมืองติงหยวน มณฑลอันฮุยทางตะวันออกของจีน ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่ยากจน ซึ่งพ่อของเขาเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่นี่ และยังเป็นที่ ที่เขาถูกส่งไปทำงานในทุ่งนาในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม

    เขาก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งต่างๆ กลายเป็นผู้ว่าการมณฑลที่อายุน้อยที่สุดในประเทศจีน และต่อมาได้รับตำแหน่งผู้นำระดับสูงของพรรค ซึ่งก็คือคณะกรรมการถาวรประจำกรมการเมืองแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน (Politburo Standing Committee)

    หลี่ เค่อเฉียงอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของ หู จิ่นเทา อดีตประธานาธิบดีจากกลุ่มการเมืองที่มีพื้นฐานมาจากสันนิบาตเยาวชน โดยไดได้รับการแต่งตั้งเป็นคนสุดท้ายของคณะบริหารของ หู จิ่นเทา ที่จะยังคงอยู่ในคณะกรรมการถาวรประจำกรมการเมือง ก่อนที่เขาจะก้าวลงจากตำแหน่งในเดือนมีนาคมปีนี้ ปีที่หู จิ่นเทาบริหาร ถูกมองว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการเปิดรับโลกภายนอกและเพิ่มความทนทานต่อแนวคิดใหม่ๆ

    หลังจากที่สี จิ้นผิง เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคในปี 2555 ก็ได้ดำเนินการเพื่อสลายกลุ่มสันนิบาตเยาวชน

  • การหมดอำนาจของ ‘หลี่ เค่อเฉียง’ สะท้อน ความตกต่ำของ “สันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์จีน”
  • “หู จิ่นเทา” อดีตประธานาธิบดี ถูกเชิญตัวออกจากพิธีปิดประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20
  • หลี่ เค่อเฉียงเป็นที่รู้จักจากนโยบายเศรษฐกิจเชิงปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นไปที่การลดช่องว่างความมั่งคั่งและจัดหาที่อยู่อาศัยราคาไม่แพง

    “เขาเป็นคนเปิดเผยที่กระตือรือร้นมาก และพยายามอย่างหนักเพื่อให้จีนก้าวไปข้างหน้า และจัดการให้มีการพูดคุยอย่างเปิดเผยกับผู้คนจากทุกสาขาอาชีพ” เบิร์ต ฮอฟแมน ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ กล่าวกับรายการนิวส์เดย์ของบีบีซี

    ในพรรคที่ถูกครอบงำโดยวิศวกร เขาเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นที่รู้จักจากการ “บอกถึงสิ่งที่เป็นอยู่ telling it like it is” ” โดยการยอมรับต่อสาธารณะถึงปัญหาเศรษฐกิจของจีน เพราะเป็นวิธีการแก้ปัญหา

    นโยบายเศรษฐกิจของเขาในการปฏิรูปโครงสร้างและการลดหนี้ เรียกว่า “หลี่โคโนมิกส์ Likonomics” มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการพึ่งพาหนี้ของจีนในการเติบโต และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปสู่ความยั่งยืนด้วยตนเอง

    แต่ภายในปีพ.ศ. 2559 บทความในหนังสือพิมพ์ People’s Daily ของพรรคได้เลิกใช้ “Likonomics” แทนแนวคิดทางเศรษฐกิจของหลี่ เค่อเฉียง ซึ่งเน้นย้ำถึงการปฏิรูปเศรษฐกิจจุลภาคและสนับสนุนการปรับเปลี่ยนด้านอุปทาน

    วาระการดำรงตำแหน่งของเขาสิ้นสุดลงด้วยวิกฤตโควิดเป็นศูนย์ของจีน

    ในช่วงที่เลวร้ายที่สุด เขากล่าวว่าเศรษฐกิจอยู่ภายใต้แรงกดดันมหาศาล และเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ระวังอย่าปล่อยให้ข้อจำกัดมาทำลายการเติบโต เขาปรากฏตัวโดยไม่สวมหน้ากากในที่สาธารณะก่อนที่จีนจะยกเลิกนโยบายปลอดโควิด

    แต่เมื่อผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกระหว่างคำสั่งของเขาในการปกป้องเศรษฐกิจ กับของสี จิ้งผิง ในการคุมโควิดให้เป็นศูนย์ด้วยวินัยขั้นสูงสุด ก็ไม่มีอะไรสู้ได้แล้ว