ThaiPublica > คอลัมน์ > ปรากฏการณ์ความร้าวฉาน ‘หลี่ เค่อเฉียง ปะทะ สี จิ้นผิง’ …การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้?

ปรากฏการณ์ความร้าวฉาน ‘หลี่ เค่อเฉียง ปะทะ สี จิ้นผิง’ …การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้?

30 พฤษภาคม 2022


ดร. นพ.มโน เลาหวณิช ผู้อำนวยการสถาบันคานธี อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต

สี จิ้นผิงและหลี เค่อเฉียง ในปี 2018 ที่ NPC เห็นชอบให้หลี เค่อเฉียง ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่มาภาพ: https://news.cgtn.com/news/3059544d7a6b7a6333566d54/share_p.html

สัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม เกิดเหตุการณ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ เมื่อนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน เรียกประชุมข้าราชการกว่าหนึ่งแสนคน แล้วประกาศว่าผู้นำสูงสุดของจีนกำลังนำประเทศชาติไปสู่ความล่มจม โดยเฉพาะนโยบาย “โควิดต้องเป็นศูนย์” ซึ่งทำให้ต้องปิดเมืองเซี่ยงไฮ้เป็นเดือน ประชาชนกว่า 25 ล้านคนถูกล็อกดาวน์ ห้ามออกจากบ้านเป็นเวลานานนับเดือน และหากพบว่ามีผู้ตรวจโควิดแล้วได้ผล ATK เป็นบวกแม้จะไม่มีอาการก็ตาม ประชาชนในอาคารนั้นๆ ทั้งหมดจะถูกห้ามออกจากบ้าน

แม้ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก นายแพทย์เทดรอส อาดานอม เกเบรเยซุส (Tedros Adhanom Ghebreyesus) ออกมาเตือนจีนว่า นโยบายอันเข้มงวดของจีนนี้เป็นสิ่งที่ไม่อาจนำมาปฏิบัติได้นาน ผู้นำสูงสุดของจีนก็มิได้นำพาต่อคำพูดเหล่านั้น ทั้งยังให้โฆษกกระทรวงการต่างประเทศออกมาประณามคำเตือนของเขาอย่างรุนแรงเสียอีก แม้เป็นที่ทราบกันดีว่าท่านผู้อำนวยการใหญ่คนนี้เข้าข้างจีนมาตลอดก็ตาม

ความเจริญทางเศรษฐกิจที่ประธานาธิบดีจีนเคยประกาศว่าในปี พ.ศ. 2565 นี้จีนจะเติบโตในอัตรา 5.5% ในที่สุดแล้วจะโตเพียง 4% หรือต่ำกว่านั้น และที่น่าวิตกยิ่งกว่านั้นคือนักลงทุนต่างชาติและนักธุรกิจจีนรายใหญ่ๆ ทยอยเปลี่ยนใจไม่ลงทุนในจีนและออกไปลงทุนในต่างประเทศแทน เพราะบรรยากาศการลงทุนในจีนนั้นเสื่อมทรามลงทุกวัน อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเสื่อมทรามลงยิ่งไปกว่านี้อีก และเป็นที่คาดการกันว่าปีนี้จะเป็นปีแรกที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะเจริญโตชนะจีนในรอบ 40 ปี

  • กรณีท่าเรือ Hambantota ของศรีลังกา คือนิทานโกหก (Myth) เรื่อง “การทูตกับดักหนี้สิน” ของจีน
  • จีนหั่นเป้าจีดีพีปี 2559 มาอยู่ที่ 6.5-7% – ปล่อย zombies companies ล้มละลาย
  • พรรคคอมมิวนิสต์จีนผ่านมติประวัติศาสตร์ ตอกย้ำสถานะสี จิ้นผิง
  • “สี จิ้นผิง” กับการเดินทางครั้งใหม่ นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนสู่ศตวรรษที่ 2
  • ‘สี จิ้นผิง’ ประกาศชัยชนะเหนือการระบาดไวรัสโควิด- ขจัดความยากจนแร้นแค้นแบบตรงจุด
  • ชวนคนจีนมองสี จิ้นผิง: “ไม่แคร์”, “อึดอัด”, “รับได้”, หรือ “รักเลย”
  • อีกประการหนึ่งคือ โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt One Road Initiative) ซึ่งประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เป็นผู้ริเริ่มในปี พ.ศ.​ 2556 กำลังประสบปัญหาใหญ่ทางเศรษฐกิจคือ “งบประมาณไม่พอ” ซึ่งต้องใช้งบประมาณสูงถึง 8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และต้องใช้งบประมาณโดยรวม 40% GDP ของโลก เกี่ยวพันกับ 65% ประชากรโลก และ 75% ของทรัพยากรพลังงานของโลก แม้จีนได้ทุ่มเงินลงทุนไปแล้วมากหลายหมื่นล้านหยวนแล้วก็ตาม โครงการนี้เป็นโครงการขนาดยักษ์เกี่ยวพันกับประเทศต่างๆ ถึง 72 ประเทศทั่วโลกเป็นโครงการต่อเนื่องขนาดใหญ่ที่สุดที่เกิดเกิดขึ้นในโลกยุคใหม่ ซึ่งโครงการนี้ไม่ใช่แต่เพียงการสร้างถนนหนทางระหว่างประเทศเท่านั้น ยังรวมรางรถไฟรางคู่ ท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ เส้นทางรถไฟความเร็วสูง และรวมไปถึงการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ โรงงานกลั่นน้ำมัน โรงไฟฟ้า อุโมงค์ทะลุเทือกเขา สนามบินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ยุโรปตะวันออก แอฟริกา เช่น การสร้างท่าเรือน้ำลึกในปากีสถานและศรีลังกา สร้างอุโมงค์ทะลุเทือกเขาในอินโดนีเซีย

    โครงการทั้งหมดเหล่านี้ยังไม่มีผลกำไรใดๆ เกิดขึ้นกับจีนเลย ทำให้จีนต้องปฏิเสธการขอกู้เงินครั้งล่าสุดของรัฐบาลปากีสถาน จนขณะนี้ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปากีสถาน ซึ่งปากีสถานเองอยู่ในยุทธศาสตร์ของจีนที่จะเข้าไปสร้างท่าเรือน้ำลึกที่นั่น และเป็นการปิดล้อมอินเดียไปด้วยพร้อมๆ กัน

    การที่นายกรัฐมนตรีออกมาวิพากษ์ประธานาธิบดีจีนนี้เป็นเรื่องที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่ง แม้จะไม่เป็นข่าวใหญ่ของสำนักข่าวต่างประเทศ แต่เป็นเรื่องที่น่าตกใจอย่างยิ่งสำหรับชาวจีน เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นเลยตั้งแต่การก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนขึ้นมา แม้ในสมัยของประธานเหมา เจ๋อตุง ถึงประธานาธิบดีคนก่อหน้านี้เหตุการณ์ในลักษณะเช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นเลย

    ในวัฒนธรรมขงจื้อของจีนนั้น ความขัดแย้งกันเองของผู้นำระดับสูงเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้เลย ตามปกติแล้วในวัฒนธรรมขงจื้อนั้นเมื่อผู้ใหญ่ทะเลาะกันภายใน ผู้ใหญ่ต้องปรึกษาหารือกันก่อนจนตกผลึก แล้วจึงออกมาประกาศนโยบายใหม่ให้ชัดเจนเป็นเสียเดียว มิใช่ผู้ที่มีอำนาจอันดับสองของประเทศออกโรงมาประณามผู้มีอำนาจอันดับหนึ่งในลักษณะเช่นนี้ นอกจากจะเป็นการสร้างความแตกแยกในพรรคคอมมิวนิสต์และในประเทศจีนแล้ว ยังเท่ากับเป็นการท้าทายอำนาจของผู้นำสูงสุดของประเทศอีกด้วย

    ในรัฐธรรมนูญของจีนนั้นกำหนดให้นายกรัฐมนตรีของสภาแห่งรัฐแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือ Premier ซึ่งบางครั้งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่านายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาลและผู้นำของสภาแห่งรัฐของจีน นายกรัฐมนตรีจึงมีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาหลักของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และดำรงตำแหน่งสูงสุดในข้าราชการพลเรือนของรัฐบาลกลาง

    นายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากสภาประชาชนแห่งชาติโดยการเสนอชื่อจากประธานาธิบดี ในทางปฏิบัติ ผู้สมัครจะได้รับการคัดเลือกภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) ต้องผ่านการพิจารณาและคัดกรองโดยสมาชิกกรรมการบริหาร (Politburo) ที่กำลังดำรงตำแหน่งอยู่ ร่วมกับสมาชิกคณะกรรมการประจำ Politburo ที่เกษียณอายุแล้วด้วย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการกำหนดสมาชิกภาพในคณะกรรมการประจำพรรคคอมมิวนิสต์จีนคนใหม่ที่กำลังจะมีขึ้นภายใต้กระบวนการที่ไม่เป็นทางการนี้

    กระบวนการคัดสรรนี้ทำให้นายกรัฐมนตรีคนใหม่จะได้รับเลือกจากผู้ที่เป็นรองนายกรัฐมนตรีคนแรกก่อนเท่านั้น ในช่วงการเปลี่ยนผ่านความเป็นผู้นำรอบต่อไป ทั้งประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีได้รับเลือกทุกๆ ห้าปี ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถูกจำกัดไว้ให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงสองวาระ แต่ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งไม่จำกัดวาระ นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกของกรรมกลางพรรคคอมมิวนิสต์ (CCP Central Politburo) และนาย หลี่ เค่อเฉียง เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2556 ต่อจากนายเหวิน เจียเป่า

    ในโครงสร้างที่กำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นที่ปรึกษาของประธานาธิบดีเช่นนี้ ทำให้เห็นได้ว่าเกิดความร้าวฉานอย่างหนักระหว่างผู้ที่มีอำนาจสูงสุดของจีน อย่างชนิดที่เรียกได้ว่า “มองหน้ากันไม่ติด” จนทำให้นายหลี่ เค่อเฉียง ไม่พอใจอย่างมาก จึงต้องออกมาประชุมข้าราชการฝ่ายเศรษฐกิจของจีนกว่าหนึ่งแสนคน และประณามนโยบายของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง อย่างเป็นทางการ

    ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ในงานยกย่องวีรบุรุษและตัวแทนแบบอย่างด้านความปลอดภัยสาธารณะ วันที่ 25 พฤษภาคม 2565 ที่มาภาพ: http://en.people.cn/n3/2022/0526/c90000-10101503.html

    ‘หลี่ เค่อเฉียง’ เชื่อในเสรีนิยมและตลาดเสรี

    นายหลี่ เค่อเฉียง เกิดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 ในเมืองเหอเฟย มณฑลอานฮุย พ่อของเขาเป็นข้าราชการในมณฑลอานฮุย หลี่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยม Hefei No.8 Senior High School ในปี พ.ศ. 2517 ระหว่างการปฏิวัติทางวัฒนธรรมอยู่นั้น เขาถูกส่งไปทำงานในชนบทในอันหุ่ย มณฑลเฝงหยัง ซึ่งในที่สุดเขาก็เข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีนและได้เป็นหัวหน้าพรรคท้องถิ่น เขาได้รับรางวัลเกียรติยศบุคคลดีเด่นในการศึกษาความคิดเหมาเจ๋อตุงในช่วงเวลานี้

    หลี่ปฏิเสธข้อเสนอของบิดาในการดูแลเขาให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคในเทศมณฑลและเข้าเรียนคณะนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ซึ่งเขาได้รับปริญญานิติศาสตร์มหาบัณฑิต และกลายเป็นประธานสภานักศึกษาของมหาวิทยาลัย เขาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี พ.ศ. 2538 โดยมีนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง คือ ศาสตราจารย์ หลี่ ยีนิง เป็นที่ปรึกษาการเขียนดุษฎีนิพนธ์ของเขาซึ่งต่อมาได้รับรางวัลซุน เยฟัง (Sun Yefang Prize) ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดด้านเศรษฐศาสตร์ของจีน

    ในปี พ.ศ. 2525 หลี่ได้รับตำแหน่งเลขาธิการสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์ที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง เขาก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำระดับสูงขององค์กรระดับชาติของสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์ ในปี พ.ศ. 2526 ในฐานะสมาชิกของสำนักเลขาธิการ และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับอดีตเลขาธิการพรรคนายหู จิ่นเทา ซึ่งก็ก้าวขึ้นมาจากตำแหน่งสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์เช่นกัน หลี่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคนแรกขององค์กรในปี พ.ศ. 2536 และดำรงตำแหน่งจนถึงปี พ.ศ. 2541 เขาเป็นสมาชิกตัวแทนรุ่นแรกที่ลุกขึ้นจากความเป็นผู้นำของสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์ ภรรยาของหลี่เป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยอันมีชื่อเสียงในกรุงปักกิ่ง และเธอเป็นผู้ที่ช่วยเหลือเขาอย่างมากในการแต่งตำราเศรษฐศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษอีกด้วย

    หลี่ได้เป็นตัวแทนของรัฐบาลจีนเข้าร่วมประชุมเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมหลายครั้ง เขาได้ให้ความเชื่อมั่นในระดับนานาชาติในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนของจีนซึ่งเน้นธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) เน้นระบบตลาดเสรี การบริโภคภายในประเทศ

    เขายังรับผิดชอบในเรื่องการปฏิรูประบบประกันสุขภาพ แก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและทรัพยากรธรรมชาติ เขื่อนสามผาที่มีชื่อเสียง การพัฒนาอุตสาหกรรม การทำให้เป็นชุมชนเมือง ความทันสมัยทางเกษตรกรรม เพื่อพัฒนาความสามารถทางการแข่งขันและความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางพลังงาน และที่อยู่อาศัยราคาถูกสำหรับประชาชน และเขายังเป็นกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติของจีน เตรียมตัวที่จะขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

    ในเวทีนานาชาติ นายหลี่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ไกล เป็นนักบริหารแบบเสรีนิยม เป็นนักพูดที่โผงผางฝีปากกล้า กล้าวิจารณ์อย่างตรงไปตรงมา เขาเชื่อในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยกลไกการตลาด และเรียกร้องให้มีการปฏิรูประบบการเงินการธนาคารของโลก และยังเรียกร้องให้มีธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กรทางการเงินการคลังระดับโลก เพื่อช่วยเหลือประเทศที่มีรายได้น้อยหรือกำลังพัฒนาและผู้มีรายได้น้อยทั่วโลก

    นายหลี่ยังได้เขียนตำราเศรษฐศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ ในแนวเสรีนิยมและตลาดเสรีอีกด้วย ซึ่งเป็นแนวคิดที่เกือบจะตรงกันข้ามกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้ที่เชื่อในแนวคิดสังคมนิยม

    ‘สี จิ้นผิง’นักการเมืองสายเหยี่ยว

    นายสี จิ้นผิง เกิด 15 มิถุนายน พ.ศ. 2496 เป็นนักการเมืองชาวจีนซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการของ พรรคคอมมิวนิสต์จีนและประธานคณะกรรมาธิการการทหารกลางตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 สี จิ้นผิงเป็นผู้นำสูงสุดของจีน ซึ่งเป็นผู้นำทางการเมืองและการทหารที่โดดเด่นที่สุดในจีนของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555

    ลูกชายของนายสี โจงสุน (Xi Zhongxun) ทหารผ่านศึกคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งถูกเนรเทศไปยังชนบทในเมืองยันช่วง (Yanchuan County) เมื่อสียังเป็นวัยรุ่นหลังจากการกวาดล้างบิดาของเขาในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม และได้ไปอาศัยอยู่ในเมืองเหยาตงในหมู่บ้านเหลียงเจียเฮ (Liangjiahe) ซึ่งเขาเข้าสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์และทำงานเป็นเป็นเลขานุการของสาขาของพรรคในระดับท้องถิ่น หลังจากเรียนวิศวกรรมเคมีที่มหาวิทยาลัยซิงหัว ในฐานะ “นักศึกษาคนทำงาน-ชาวนา-ทหาร” สีได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำทางการเมืองในมณฑลชายฝั่งของจีน เขาดำรงตำแหน่งผู้ว่าการมณฑลฝูเจี้ยน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2545 ก่อนที่จะกลายเป็นผู้ว่าการและเลขาธิการพรรคของเจ้อเจียงที่อยู่ใกล้เคียงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ถึง พ.ศ. 2550 หลังจากที่การ เลขาธิการพรรคเซี่ยงไฮ้ถูกไล่ออก สีถูกย้ายไปแทนที่เขาในช่วงเวลาสั้นๆ ในปี พ.ศ. 2550 ต่อมาได้เข้าร่วมเป็นกรรมการถาวรของโปลิตบูโรของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และทำหน้าที่เป็นเลขาธิการคนแรกของสำนักงานเลขาธิการกลางในเดือนตุลาคมปี พ.ศ. 2550

    ในปี พ.ศ. 2008 เขาได้รับมอบหมายให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งของนายหู จิ่นเทา จ่อคิวที่จะขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดของจีน ด้วยเหตุนี้ สีจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองประธานของกรรมการบริหารพรรคและรองประธานกลางโหมของพรรค เขาได้รับตำแหน่ง “แกนนำความเป็นผู้นำ” อย่างเป็นทางการจากพรรคคอมมิวนิสต์ ในปี พ.ศ. 2559 สียังเป็นสมาชิกของโปลิตบูโร ซึ่งมีอำนาจในการกำหนดนโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ในปี พ.ศ. 2561 เขาสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญยกเลิกการจำกัดวาระประธานาธิบดีซึ่งเติ้ง เสียวผิงกำหนดไว้ประธานาธิบดีอยู่ได้ไม่เกิน 2 วาระ การแก้ไขครั้งนี้ทำให้เขาสามารถดำรงตำแหน่งบริหารสูงสุดของจีนได้อย่างไม่จำกัดกาล

    สีเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนคนแรกที่เกิดหลังจากการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง สีได้ใช้มาตรการที่กว้างขวางเพื่อบังคับใช้ระเบียบวินัยของพรรคและเพื่อกำหนดความสามัคคีภายใน การรณรงค์ต่อต้านการทุจริตของเขานำไปสู่การล่มสลายของเจ้าหน้าที่พรรคหลายคนที่ดำรงตำแหน่งและที่เกษียณอายุไปแล้ว ซึ่งรวมถึงอดีตสมาชิกของโปลิตบูโรอีกด้วย เขายังตราหรือส่งเสริมนโยบายต่างประเทศที่เชิงรุกมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์จีน-ญี่ปุ่น การเรียกร้องของจีนในทะเลจีนใต้ และการสนับสนุนการค้าเสรีและโลกาภิวัตน์ เขาได้พยายามที่จะขยายอิทธิพลของแอฟริกาและเอเชียของจีนผ่านโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง

    สี จิ้นผิง เป็นนักการเมืองสายเหยี่ยว ซึ่งก้าวขึ้นสู่อำนาจด้วยการปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างเด็ดขาด แต่ขณะเดียวกันมักถูกมองว่าเป็นเผด็จการหรือผู้นำเผด็จการในสาายตาผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองและวิชาการ โดยอ้างถึงการเซ็นเซอร์และการสอดส่องมวลชนที่เพิ่มขึ้น การเสื่อมถอยในสิทธิมนุษยชน รวมถึงการกักขังชาวอุยกูร์นับล้านคนในมณฑลซินเจียง ลัทธิบุคลิกภาพที่พัฒนารอบตัวเขา และการยกเลิกข้อ จำกัด วาระสำหรับความเป็นผู้นำภายใต้การดำรงตำแหน่งของเขา ความคิดทางการเมืองของสีถูกรวมเข้ากับพรรคและรัฐธรรมนูญระดับชาติ ในฐานะผู้นำรุ่นที่ 5 ของสาธารณรัฐประชาชนจีน สีจิ้นผิงได้รวมอำนาจของสถาบันไว้อย่างมากโดยเข้ารับตำแหน่งผู้นำที่หลากหลาย รวมถึงการเป็นประธานคณะกรรมการความมั่นคงแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ตลอดจนคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมชุดใหม่ การปรับโครงสร้างทางทหารและความทันสมัย และอินเทอร์เน็ต

    ล่าสุดในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 พรรคคอมมิวนิสต์ได้ประกาศให้อุดมการณ์ของสีเป็น “แก่นแท้ของวัฒนธรรมจีน” นี่เป็นมติขั้นพื้นฐานครั้งที่สามของพรรคคอมมิวนิสต์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง และทำให้เขาได้รับเกียรติในระดับเดียวกันกับผู้นำเหมาเจ๋อตุงและเติ้งเสี่ยวผิง

    ความขัดแย้งระหว่างประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรีของจีนที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝันนี้ เป็นเหตุการณ์ร้ายแรงที่สำนักข่าวระหว่างประเทศกำลังจับตามองอย่างใกล้ชิด การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่อย่างหนึ่งกำลังจะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้!!!