ThaiPublica > Native Ad > ‘เอไอเอส’ ยกระดับแก้ขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน ด้วยแพลตฟอร์ม “E-Waste+” ครั้งแรกของ SEA ด้วย Blockchain

‘เอไอเอส’ ยกระดับแก้ขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน ด้วยแพลตฟอร์ม “E-Waste+” ครั้งแรกของ SEA ด้วย Blockchain

15 ธันวาคม 2022


ปัญหาด้านปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste ในประเทศไทย มากกว่า 500,000 ชิ้น ในจำนวนนี้มีไม่ถึง 20% ที่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธี เนื่องจาก E-Waste ต้องใช้กระบวนการจัดการที่ซับซ้อนกว่าขยะมูลฝอยปกติ ตั้งแต่วิธีการทิ้งขยะอย่างถูกวิธี การเก็บรวบรวม การแยกชิ้นส่วนรายประเภท ตลอดจนการส่งต่อให้โรงงานกำจัด

ขณะเดียวกันผลกระทบจากการกำจัดไม่ถูกวิธี ยิ่งทำให้ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์สะสมมากขึ้นจนนำไปสู่ปัญหาระยะยาวที่สร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศ สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ภาคเอกชนอย่าง ‘เอไอเอส’ จึงคิดหาวิธีการใหม่ๆ ในการกำจัดขยะทั้งกระบวนการอย่างถูกต้องแบบ Zero Landfill

วิธีการดังกล่าวคือ การนำเทคโนโลยี Blockchain มาพัฒนาออกมาอยู่บนแพลตฟอร์ม E-Waste+ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้จัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นรูปธรรม

โดยร่วมมือกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ที่เข้ามาสนับสนุนแนวทางการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ได้จากการรีไซเคิล E-Waste อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล และนำร่องใช้กับ 6 องค์กร ได้แก่ บริษัท เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย จำกัด, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, บริษัท เงินติดล้อ จำกัด, ธนาคารออมสิน และธนาคารกสิกรไทย

นับเป็นการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามายกระดับการทำงานในแกนสิ่งแวดล้อม กับเรื่องของ E Waste ที่เอไอเอสดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2019 ภายใต้ภารกิจ “คนไทยไร้ E-Waste” ทั้งเรื่องการรณรงค์ เปิดจุดทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์และนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล จนกระทั่งปี 2022 เมื่อเอไอเอสสามารถพัฒนาศักยภาพดิจิทัลเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้สำเร็จ จึงก้าวข้ามเพนพ้อยเรื่องการจัดการที่ซับซ้อน รวมถึงแรงจูงใจในการรักโลก สู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ตลอดการทำงานเกือบ 4 ปี เอไอเอส ได้รวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปแล้วกว่า 397,376 ชิ้น เปิดจุดรับทิ้ง 2,484 จุด ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตร 142 องค์กร

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS กล่าวถึง การทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมเพื่อแก้ไขปัญหา E-Waste ขององค์กรว่า เอไอเอสมีหน้าที่ 2 ส่วนคือ สร้างการรับรู้และตระหนักถึงโทษภัยของขยะ E-Waste ขณะเดียวกันก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการจัดเก็บและทำลาย E-Waste อย่างถูกวิธี

“เราขยายผลไปอีกขั้นด้วยการ Redesign Ecosystem เพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถลงมือบริหารจัดการ E-Waste ในองค์กรเองได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครือข่ายพนักงานและลูกค้าของแต่ละองค์กร เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการนำขยะ E-Waste กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่ได้มาตรฐาน ผ่านแพลตฟอร์ม E-Waste+” นางสายชล กล่าว 

แอปพลิเคชั่น E-Waste+ เริ่มจากให้ผู้ใช้ลงทะเบียน และนำขยะ E-Waste มาทิ้งที่จุดรับ E-Waste+ โดยมีเจ้าหน้าที่ในการรับขยะ E-Waste ถ่ายภาพและใส่ข้อมูล ระบบก็จะบันทึกการทิ้งขยะ จากนั้นเทคโนโลยี Blockchain จะทำงานผ่านกระบวนการ Track and Trace แบบเรียลไทม์ ทำให้ขยะ E-waste ทุกชิ้น สามารถตรวจสอบสถานะได้ตั้งแต่ผู้ทิ้งขยะ (Customers) ผู้รับขยะ (Drop Point Agents) การขนส่ง ไปจนถึงปลายทางโรงงานจัดการขยะ เพื่อนำไปรีไซเคิล แล้วระบบจะคำนวณขยะ E-Waste ที่ได้ออกมาเป็น Carbon Scores เป็น ‘แรงจูงใจ’ ให้ผู้ทิ้งทราบว่าเราช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าไร

สำหรับแพลตฟอร์ม E-Waste+ จะรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ (1) โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต (2) อุปกรณ์เสริมมือถือ และแท็บเล็ต เช่น หูฟัง, ลำโพง, สายชาร์จ, อะแดปเตอร์ (3) ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เช่น คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก,เมาส์, คีย์บอร์ด, ฮาร์ดดิส, ลำโพง และ (4) อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กอื่นๆ เช่น กล้องถ่ายรูป, เครื่องเล่นดีวีดี, จอยเกมส์, วิทยุสื่อสาร, เครื่องคิดเลข, โทรศัพท์บ้าน, รีโมทคอนโทรล, เครื่องเล่น MP3 เป็นต้น ยกเว้น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่, พาวเวอร์แบงค์, ถ่านไฟฉายทุกประเภท

นายอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม AIS กล่าวว่า ในอนาคตเอไอเอสมีแผนต่อยอดไปสู่ Utility Token ช่วยให้ธุรกิจให้กับองค์กรพันธมิตรทำการตลาดได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น การให้ AIS Point เป็นสิ่งตอบแทน หรือถ้าผู้ทิ้งขยะไม่ได้ใช้ซิมของเอไอเอส ก็อาจเปลี่ยน AIS Point เป็นคะแนนหรือแต้มในแพลตฟอร์มของพันธมิตรได้ โดยจะเปิดให้บริการไม่เกินไตรมาส 3/2566

นายอราคิน เสริมว่า นอกจากเทคโนโลยี Blockchain จะช่วยลดปัญหา E-Waste แล้ว ยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อของระบบ และเป็นเครื่องบ่งบอกถึงการลงมือทำในกิจกรรมที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกด้วย

“AIS ในฐานะผู้นำด้านบริการดิจิทัลที่มุ่งสู่การเป็นองค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ หรือ Cognitive Tech-Co ทำให้เรามองโอกาสและเห็นขีดความสามารถของ Blockchain ในการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์จริงในทางธุรกิจ ซึ่งแพลตฟอร์ม E-Waste+ เป็นตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้แก้ปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม”

เอไอเอส ตั้งเป้าว่า E-Waste+ จะเป็น Hub of E-Waste in Thailand เพราะด้วยจุดแข็งด้านเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ทุกคน

ด้าน นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กล่าวว่า “วันนี้การมุ่งสู่ Net Zero GHG Emission ไม่ได้เป็นเรื่องของหน่วยงานหรือองค์กรเท่านั้น แต่ในระดับภาคประชาชนก็เริ่มหันมาให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน”

นายเกียรติชาย กล่าวอีกว่า “เรารู้สึกดีใจที่จะมีความร่วมมือในการพัฒนาฐานข้อมูล หรือกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจก และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ยกระดับแพลตฟอร์มการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ส่วนบุคคล อีเว้นท์ และกิจกรรมประเภทต่างๆ เช่น การคำนวณปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่ได้จากการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์บนแพลตฟอร์ม E-Waste+ ที่องค์กรต่างๆ สามารถเข้ามาใช้เพื่อร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน”

เพราะความสำเร็จขององค์กรไม่ได้ถูกวัดที่ผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการสร้างคุณค่าทั้งในมิติของระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทำให้ AIS ยึดหลักการดำเนินธุรกิจโดยมุ่งใช้ศักยภาพผู้ให้บริการดิจิทัลมาสร้างผลเชิงบวก โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมที่ AIS มุ่งพัฒนา Ecosystem ในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน