ThaiPublica > Native Ad > เอไอเอส-กทม. เดินหน้าอุ่นใจไซเบอร์ ผ่านกิจกรรม “วัยรุ่นตัว TOP STOP ภัยไซเบอร์” ตั้งเป้าเข้าถึง 437 โรงเรียน

เอไอเอส-กทม. เดินหน้าอุ่นใจไซเบอร์ ผ่านกิจกรรม “วัยรุ่นตัว TOP STOP ภัยไซเบอร์” ตั้งเป้าเข้าถึง 437 โรงเรียน

2 กุมภาพันธ์ 2024


ปี2567 เป็นปีที่เอไอเอสปักหมุดว่าภารกิจอุ่นใจไซเบอร์ จะไม่ได้อยู่เพียงช่องทางออนไลน์ 100% อีกต่อไป เพราะในปีนี้เอไอเอสเดินหน้าสู่ช่องทางออฟไลน์ ผ่านการลงพื้นที่ให้ความรู้ตามโรงเรียนต่างๆ ภายใต้ชื่อ ‘กทม. x AIS อุ่นใจ CYBER School Tour วัยรุ่นตัว TOP STOP ภัยไซเบอร์’ ด้วยแนวคิด Gamification หรือ โลกแห่งการเรียนรู้ผ่านเกม

จากที่ผ่านมา เอไอเอสได้ร่วมมือกับหน่วยงานรัฐต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งหน่วยงานท้องถิ่นอย่างกรุงเทพมหานคร เพื่อนำความรู้เรื่องภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ส่งต่อให้กับเด็กนักเรียนทั่วประเทศไทย นำไปสู่เป้าหมายพลเมืองดิจิทัล

อย่างไรก็ตาม ภัยไซเบอร์เป็นปัญหาที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เห็นได้จากผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย หรือ Thailand Cyber Wellness Index (TCWI) พบว่าในกลุ่มเด็กนักเรียนอายุ 10-15 ปี ในพื้นที่ กรุงเทพฯ กว่า 82.97% อยู่ในระดับที่ต้องพัฒนา หรือกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อภัยไซเบอร์ นอกจากนี้ยังพบอีกว่า 81.49% ขาดทักษะด้านการจัดสรรเวลาในการใช้งานบนโลกออนไลน์ และ 75.15% ขาดความรู้ความเข้าใจในการป้องกันตัวเองจากภัยในโลกไซเบอร์

ดังนั้น โครงการ “กทม. x AIS อุ่นใจ CYBER School Tour วัยรุ่นตัว TOP STOP ภัยไซเบอร์” จึงนำร่องใน 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนนาหลวง, โรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์), โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์) และ โรงเรียนบ้านบางกะปิ

ส่วนเป้าหมายของภารกิจอุ่นใจ School Tour คือการช่วยยกระดับการใช้งานสื่อและโลกออนไลน์ให้บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนของโรงเรียนในสังกัด กทม.กว่า 250,000 คน เข้าศึกษาหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์และได้รับประกาศนียบัตรทุกโรงเรียนรวม 437 แห่ง ภายในปีการศึกษา 2567 และตั้งเป้าเข้าถึงนักเรียนทั่วประเทศอีก 3,000,000 คนภายในปี 2570

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

กิจกรรมทัวร์โรงเรียนกทม. ส่งหลักสูตร ‘อุ่นใจไซเบอร์’ 437 แห่ง

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า “กิจกรรมวัยรุ่นตัว TOP STOP ภัยไซเบอร์ เกิดขึ้นจากความตั้งใจระหว่าง AIS กับ กทม. ในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้านดิจิทัลให้กับน้องๆ นักเรียน โดยเราตั้งใจถ่ายทอดเนื้อหาจากหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ออกมาในรูปแบบ Gamification เพื่อให้เข้าถึงเด็กนักเรียนได้ง่าย ที่นอกจากจะมีความสนุกสนานแล้วยังสอดแทรกไปด้วยความรู้ในการใช้งาน และนำไปสู่การเข้าไปเรียนรู้บนแพลตฟอร์มต่อไป”

นางสายชล กล่าวต่อว่า กิจกรรม school tour นับเป็นจุดเริ่มต้นครั้งสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้กับเยาวชนไทย และเชื่อว่ากิจกรรมนี้จะทำให้ระดับสุขภาวะด้านดิจิทัลของนักเรียนใน กทม. ดียิ่งขึ้น จนนำไปสู่การแก้ไขและลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้งานออนไลน์ทุกรูปแบบ

“AIS อุ่นใจ CYBER พร้อมเป็นแกนกลางในการสร้างความตระหนักรู้เพราะเราเชื่อว่าจะเป็นการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาภัยไซเบอร์ได้อย่างยั่งยืน” นางสายชล กล่าว

เมื่อถามถึงการดำเนินโครงการอย่างยั่งยืน นางสายชล อธิบายว่า เอไอเอสใช้วิธีการจับมือกับภาครัฐ เพื่อให้โครงการดำเนินอย่างต่อเนื่อง เป็นประโยชน์ต่อทั้งนักเรียน ครู และครอบครัวของนักเรียน ดังนี้

  • ความร่วมมือกับ กทม. – นำหลักสูตรเข้าอุ่นใจไซเบอร์เข้าโรงเรียนในสังกัด กทม. จำนวน 437 แห่ง
  • กระทรวงศึกษาธิการ – นำหลักสูตรเข้าอุ่นใจไซเบอร์เข้าโรงเรียนในสังกัดสพฐ. ครอบคลุมเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 245 เขต รวมกว่า 29,000 โรงเรียนความร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
  • ความร่วมมือกับ กระทรวงมหาดไทย – ช่วยสนับสนุนให้ครู และบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนจากสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เข้าถึงหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์
  • ความร่วมมือกับ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข – จัดทำเนื้อหาและให้คำแนะนำ และการรับมือกับความท้าทายในยุคดิจิทัล บนหลักการแพทย์และวิทยาศาสตร์
  • ความร่วมมือกับคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี – ร่วมพัฒนาสื่อการสอนในรูปแบบดิจิทัล รวมถึงจัดทำแบบทดสอบเพื่อวัดและประเมินผลว่าผู้เรียนมีทักษะและเข้าใจหน้าที่พลเมืองดิจิทัล
  • แม้จะเป็นรูปแบบสื่อการสอนที่นักเรียนจะได้รับประโยชน์โดยตรง แต่คุณครูและครอบครัวของนักเรียนก็จะได้รับภูมิคุ้มกันด้านภัยไซเบอร์ไปด้วย เพราะเด็กจะบอกต่อไปถึงพ่อแม่ และผู้ปกครอง

    “การปลูกฝังในเด็กไม่ใช่แค่เด็ก เขากลับไปที่บ้านก็ไปบอกพ่อแม่ในครอบครัว ตายาย ปลูกฝังในเด็กเหมือนทำหนึ่งแล้วได้ทั้งครอบครัว”
    นางสายชล ย้ำว่า อุ่นใจไซเบอร์ยังมีบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และเปิดให้บุคคลทั่วไป นอกเหนือจากลูกค้าเอไอเอสสามารถเข้ามาเรียนได้อีกด้วย

    นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

    กทม. นำร่อง 4 โรงเรียน สร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ แบบออฟไลน์

    นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “กลุ่ม Gen Z หรือเด็กในที่อยู่ในช่วงประถม มัธยม เป็นกลุ่มที่เติบโตมาพร้อมกับโลกดิจิทัล ทำให้พวกเขามีความคุ้นเคยกับการใช้งานในรูปแบบต่างๆ แต่อีกแง่หนึ่งเด็กต้องใกล้ชิดกับภัยที่แฝงมากับการใช้งานอย่างไม่รู้ตัว”

    “ที่ผ่านมาเราให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการใช้งานดิจิทัลเพื่อให้เด็กและเยาวชนรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ สอดคล้องกับภารกิจด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานครในปีนี้ที่เราต้องการสร้างทักษะการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ หรือ Critical Thinking ให้กับเด็กๆ นักเรียน”

    นายศานนท์ กล่าวต่อว่า เอไอเอสได้ร่วมมือกับสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร จัดรูปแบบการส่งเสริมที่เหมาะสมโดยบูรณาการ การเรียนรู้หลักสูตร “อุ่นใจไซเบอร์” ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดของการเรียนการสอนที่สนับสนุนทักษะวิทยาการคำนวณ และการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) ควบคู่ไปกับกิจกรรม school tour และจะขยายผลให้แก่โรงเรียนในสังกัด กทม. ทั้ง 437 แห่ง

    “เราร่วมกันจัดกิจกรรมนำร่องใน 4 พื้นที่ โดยมีเป้าหมายสำคัญในการสร้างโรงเรียนต้นแบบที่ ครู นักเรียน และบุคลากร ผ่านการศึกษาหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ มีทักษะด้านดิจิทัลแบบครบถ้วน และเราต้องการที่จะทำงานร่วมกันไปอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะสร้างโรงเรียนอุ่นใจปลอดภัยไซเบอร์ 100% ในปีการศึกษา 2567 ในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา ให้นักเรียนและเยาวชนในพื้นที่ กทม. ใช้งานโลกออนไลน์อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และสร้างสรรค์” นายศานนท์ กล่าว

    ขณะที่โรงเรียนแรกในสังกัด กทม. ที่เอไอเอสเข้าไปจัดกิจกรรม AIS อุ่นใจ CYBER School Tour คือ โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์) โดยเด็กชายปิยพัทธ์ มีสำรี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้สัมภาษณ์ว่า หลังจบกิจกรรม ตนได้เรียนรู้เรื่องการรับมือกับภัยออนไลน์และการตั้งรหัสผ่านให้รัดกุมยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์เวลาที่เล่นโซเชียลมีเดีย

    เด็กชายปิยพัทธ์ ยังกล่าวถึงภัยไซเบอร์บูลลี่ว่า “เพื่อนเคยทักมาเรียกว่า ‘ไอเตี้ย’ บ่อยมาก เพราะเราเป็นคนตัวเล็ก ผมคิดว่าทำไมเขาต้องเรียกเราแบบนี้ด้วยทั้งที่เราก็เรียกชื่อเขา…ผมก็ได้เรียนรู้ว่าให้พูดกับเขาดีๆ ไม่จำเป็นต้องตอบโต้แรงๆ”

    “ปกติผมตั้งรหัสผ่านง่ายๆ เช่น หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า เจ็ด ข้ามไปหนึ่งตัว แต่มันก็เดาง่าย แล้วเคยมีเหตุการณ์โดนแฮคเข้าเฟซบุ๊ก…ผมเลยจะเอาการสอนครั้งนี้ไปตั้รหัสใหม่ให้ปลอดภัยมากขึ้น มิจฉาชีพหรือคนไม่รู้จักจะได้เข้ามาไม่ได้” เด็กชายปิยพัทธ์ กล่าว

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ได้ที่ https://sustainability.ais.co.th/th/sustainability-projects/thailands-cyber-wellness-index