ThaiPublica > Native Ad > ‘เอไอเอส-วิศวะ จุฬา’ แซนบล็อก 5G ภาคการศึกษาแห่งแรกของไทย “AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE”

‘เอไอเอส-วิศวะ จุฬา’ แซนบล็อก 5G ภาคการศึกษาแห่งแรกของไทย “AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE”

27 สิงหาคม 2022


แซนบล็อก 5G ภาคการศึกษาแห่งแรกของไทย “AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE” จากความร่วมมืออย่างต่อเนื่องของ เอไอเอส และ วิศวะ จุฬาฯ

นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการนำตั้งศูนย์ 5G R&D ได้ถูกนำมาใช้กับภาคการศึกษา ที่ติดตั้ง LIVE Private Network ด้วยสถานีฐาน 5G กับ 2 คลื่นความถี่ 2600 MHzและ 26 GHz (mmWave) จากความร่วมมือระหว่าง AIS และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีเป้าหมายเพื่อการส่งเสริมการวิจัยนวัตกรรม 5G ให้นิสิตและคณาจารย์ หนุนภาคอุตสาหกรรม ด้วยการเปิดตัว “AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE”

AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE ตั้งอยู่ที่ อาคาร 100 ปี วิศวะ จุฬา ติดตั้ง LIVE Private Network ด้วยสถานีฐาน 5G กับ 2 คลื่นความถี่คือคลื่น 2600 MHz และ 26 GHz (mmWave)

นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส อธิบายว่า “AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE” มีเป้าหมายเพื่อเป็นพื้นที่ทดลอง ทดสอบ 5G บนสภาพแวดล้อมจริงด้วย และเป็นการสร้าง 5G Ecosystem ในด้านพื้นที่ศึกษาผ่านเทคโนโลยีต่างๆ ทั้ง AI, ML, VR, AR, MR, IoT, Metaverse, Robotic, ฯลฯ โดยเลือกคลื่นความถี่ที่เหมาะกับการพัฒนา use case คือคลื่น 2600 MHz และ คลื่น 26 GHz (mmWave) เพราะช่วงความถี่อย่าง 26 GHz มีปริมาณ Bandwidth มหาศาลและความหน่วงต่ำมาก (Low Latency)

อีกความโดดเด่นของศูนย์ R&D แห่งนี้คือการเป็นสถานที่องค์ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างการทำงานของเทคโนโลยี 5G พร้อมทั้งการสัมมนา workshop จาก Guest Speaker หลากหลายวงการ เพื่อพัฒนาความรู้ ความชำนาญในทางเทคนิค ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill รวมไปถึงการเชิญชวนร่วม Co-Develop บริการต้นแบบบน 5G

เอไอเอสและคณะวิศวะ จุฬาฯ จึงแสดงให้เห็นว่า 5G ไม่ใช่แค่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์เท่านั้น แต่ยังสามารถต่อยอดกับภาคการศึกษา ด้วยการผสมผสานองค์ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส

นายวสิษฐ์กล่าวว่า “ประโยชน์ของ 5G ยังจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคพื้นฐานของประชาชน โดยเฉพาะในส่วนของ Digital Transformation ที่จะพลิกโฉม Business Model ของทุกภาคส่วนให้พร้อมกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจาก Digital Disruption และการเกิดขึ้นของโควิด”

“การทำงานร่วมกับภาคการศึกษา เพื่อค้นคว้า วิจัย ทดลอง ทดสอบ เป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญสูงสุดเสมอมา ดังเช่น ความร่วมมือกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบัน ที่ยังทำงานกันมาอย่างต่อเนื่องผ่าน use case ต่างๆ ทั้งที่เป็นผลงานวิจัยของคณาจารย์ หรือ โครงการของนิสิต ที่ล้วนแต่มีเป้าหมายเดียวกันคือ นวัตกรรมเพื่อประเทศ” นายวสิษฐ์กล่าว

ปัจจุบัน สัญญาณโครงข่าย 5G ของเอไอเอสครอบคลุมทั่วประเทศกว่า 80% และครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และอีอีซีแล้ว 100% ดังนั้นก้าวต่อไปของเอไอเอสต้องขยายความร่วมมือและสร้างความตระหนักไปยังทุกภาคส่วน ดังที่เห็นได้จากความร่วมมือกับภาคการศึกษาในครั้งนี้

“5G คือเทคโนโลยีที่จะช่วยยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะร่วมขับเคลื่อนประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากคุณสมบัติ 3 ส่วน คือ ความเร็วที่เพิ่มขึ้น ขยายขีดความสามารถการเชื่อมต่อของ IoT และ ทำให้เครือข่ายตอบสนองได้รวดเร็วและเสถียรที่สุด”

ในอนาคตเอไอเอสจึงมีโอกาสขยายความร่วมมือ 5G โดยทำงานร่วมกับกลุ่มลูกค้าองค์กรในอุตสาหกรรมใหม่ๆ เพื่อต่อยอดความเป็นไปได้ในทุกอุตสาหกรรมตั้งแต่การศึกษา สาธารณสุข การเกษตร การคมนาคม หรือการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ และทำให้ 5G เป็น next wave ของประเทศอย่างแท้จริง