ThaiPublica > Native Ad > AIS ขยายผล ‘อุ่นใจไซเบอร์’ ผนึก สธ.- ศธ.- มท. และมจธ. สร้างหลักสูตรยกระดับ ‘พลเมืองดิจิทัล’

AIS ขยายผล ‘อุ่นใจไซเบอร์’ ผนึก สธ.- ศธ.- มท. และมจธ. สร้างหลักสูตรยกระดับ ‘พลเมืองดิจิทัล’

24 กันยายน 2022


AIS ขยายผลโครงการ ‘อุ่นใจไซเบอร์’ สู่การสร้างหลักสูตรเสริมทักษะดิจิทัล ผนึก สธ.- ศธ.- มท. และมจธ. ยกระดับ ‘พลเมืองดิจิทัล’ ครั้งแรกในไทย

นับเป็นเวลากว่า 3 ปีนับตั้งแต่ปี 2562 ที่เอไอเอสสร้างสิ่งดีๆ สู่สังคมไทยผ่านโครงการ “อุ่นใจไซเบอร์” กับจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้กลุ่มเด็กและเยาวชนไทยรู้เท่าทันภัยเสี่ยงบนโลกออนไลน์ ผ่านการยกระดับและพัฒนาทักษะและความฉลาดทางดิจิทัล จนมีเด็กและเยาวชนจำนวนมากที่ได้รับประโยชน์จากโครงการอุ่นใจไซเบอร์อย่างเป็นรูปธรรม

ความสำเร็จของโครงการสะท้อนถึงการสร้างสังคมดิจิทัลอย่างยั่งยืน แต่เมื่อโลกดิจิทัลยังคงมีความท้าทายใหม่ๆ เข้ามาทุกวัน ทำให้ภารกิจของเอไอเอสไม่หยุดแค่การสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนเท่านั้น

ต้นเดือนกันยายน ปี 2565 เอไอเอส ได้ขยายผลโครงการดังกล่าว โดยพัฒนาเป็น “หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์” เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้นและยกระดับองค์ความรู้ในฐานะพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) และนำเสนอเป็น 4 Professional Skill Module หรือ ‘4P4ป’ ที่ครอบคลุมทักษะดิจิทัล ดังนี้

  • Practice: ปลูกฝังให้มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกต้องและเหมาะสม
  • Personality: แนะนำการปกป้องความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์
  • Protection: เรียนรู้การป้องกันภัยไซเบอร์บนโลกออนไลน์
  • Participation: รู้จักการปฏิสัมพันธ์ด้วยทักษะและพฤติกรรมการสื่อสารบนออนไลน์อย่างเหมาะสม
  • ที่สำคัญถือเป็นครั้งแรกของการสร้างหลักสูตรที่ผนึกกำลังร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย ส่วนภาคการศึกษาคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

    โดยตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 เอไอเอสและพันธมิตรได้ทดลองหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ไปให้ครู นักเรียนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้เรียนรู้ และสอบผ่านไปแล้วกว่า 160,000 คน และในอนาคตตั้งเป้าว่าจะมีผู้เรียนในหลักสูตร 5 ล้านคน

    นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS

    นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวว่า โครงการอุ่นใจไซเบอร์ เป็นการสร้างเครือข่ายจากทุกภาคส่วนให้เข้ามาร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงในทางบวกให้กับสังคมดิจิทัลของไทย ทั้งในมุมของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือ และในมุมของการสร้างภูมิปัญญา

    “วันนี้ AIS ยังคงเดินหน้าตามเจตนารมณ์ดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยร่วมมือกับ 3 กระทรวงหลักของประเทศ สร้างสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลในชื่อ หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ซึ่งมีกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสุขภาพจิต ที่พัฒนาเนื้อหาหลักสูตร ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ออกแบบให้อยู่ในลักษณะขอกราฟิกหรือแอนิเมชัน และมีกระทรวงศึกษาธิการ โดย สพฐ. ที่ช่วยรับรองให้เป็นไปตามมาตรฐานของหลักสูตรด้านการศึกษา ที่พร้อมให้นักเรียนสามารถเข้ามาเรียนได้ เช่นเดียวกับกระทรวงมหาดไทยที่ส่งต่อไปยังโรงเรียนในสังกัดเช่นกัน” นายสมชัยกล่าว

    องค์ประกอบในการสร้างสังคมดิจิทัลที่ยั่งยืน มาจากบทบาทของ 5 หน่วยงานที่ใช้ขีดความสามารถในการทำงานร่วมกัน โดยแบ่งการทำงานออกเป็นสามกลุ่มหลัก รายละเอียด ดังนี้


    ผู้สร้างความร่วมมือและให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับหลักสูตร

    AIS เป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อและสร้างภาคีเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล และนำเครื่องมือทางเทคโนโลยี Online Learning Platform โดย AIS Academy อย่าง LearnDi มาเป็นแพลตฟอร์มให้ผู้ใช้งานเข้ามาเรียนรู้ได้ทั้งบนเว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน อุ่นใจ CYBER

    ผู้พัฒนาหลักสูตร

    กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข หน้าที่จัดทำเนื้อหาหรือคอนเทนต์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สื่อออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ รวมถึงบทเรียนที่เสริมสร้างวิธีการรับมือภัยบนโลกออนไลน์ และการใช้สื่อดิจิทัลเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้องเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของคนไทย และเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ

    พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ เป็นการสะท้อนนโยบายที่เป็นรูปธรรม โดยกรมสุขภาพจิตได้ทำหน้าที่จัดทำเนื้อหาที่เหมาะสมกับประชาชนทุกกลุ่ม ทุกวัย ในลักษณะของการ กระตุ้นเตือน แนะนำ ให้สามารถใช้ชีวิต รับมือกับความท้าทายยุคดิจิทัล สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข

    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พัฒนาสื่อการสอนในรูปแบบดิจิทัล ในรูปแบบของ VDO, Motion Graphic และ Animation รวมถึงการจัดทำแบบทดสอบเพื่อวัดและประเมินผล

    รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มจธ. กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตรเป็นความร่วมมือของคณะอาจารย์ บุคลากรจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สอดคล้องกับเป้าหมายในการทำงานเพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ รวมถึงยังการจัดทำแบบทดสอบเพื่อวัดและประเมินผลว่าผู้เรียนมีทักทักษะและเข้าใจหน้าที่พลเมืองดิจิทัล

    “เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การเรียนรู้ในหลักสูตรนี้จะช่วยให้ทุกคนที่ปรับตัวในการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล เป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพและใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์อย่างปลอดภัย” รศ.ดร.สุวิทย์กล่าว

    ผู้รับรองและขยายผล

    กระทรวงศึกษาธิการ รับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ให้เป็นหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสายงานสอน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สามารถนำผลการนับชั่วโมงการพัฒนาเพื่อประกอบการขอมี/เลื่อนวิทยฐานะ ตามหลักที่ ก.ค.ศ. กำหนด

    นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ผ่านการรับรองมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาหรือ ก.ค.ศ. ให้เป็นหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสายงานสอน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สามารถนำผลการนับชั่วโมงการพัฒนาเพื่อประกอบการขอเลื่อนวิทยฐานะ ตามหลักที่ ก.ค.ศ. กำหนด

    นางสาวตรีนุช กล่าวต่อว่า ปัจจุบันสถานศึกษาทั่วประเทศ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการนำหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ไปใช้เป็นสื่อประกอบการเรียน การสอนกับนักเรียนไทยทั่วประเทศ ทั้งโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ส.ช.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (ก.ศ.น.) และตั้งเป้าขยายไปโรงเรียนต่างๆ ถึง 30,000 แห่งทั่วประเทศ

    กระทรวงมหาดไทย หน้าที่สนับสนุนให้ครู และบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนจากสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    ขณะที่ ดร.ทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า “กระทรวงมหาดไทยมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาเมืองและโครงสร้างพื้นฐานด้วยการทำให้ประชาชนใช้ชีวิตอยู่กับโลกออนไลน์ได้อย่างมีความสุขและปลอดภัย ผ่านการมีทักษะรับมือกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในยุคดิจิทัลได้อย่างดี เราจึงสนับสนุนให้ครู และบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงนักเรียนจากสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมกว่า 700,000 คน ได้เรียนรู้ในหลักสูตร “อุ่นใจไซเบอร์” ซึ่งเชื่อว่าก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการใช้ชีวิตอย่างแน่นอน”

    ทั้งนี้ ประชาชนทั่วไปสามารถเรียนรู้และสร้างทักษะทางดิจิทัลของทุกคนได้ที่ https://learndiaunjaicyber.ais.co.th/ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย