ThaiPublica > Sustainability > Social Change/Project > เอไอเอส เปิดตัว “เครื่องมือ-แนวคิด” สร้างเกราะท่องโลกออนไลน์ “ถ้าเราทุกคน คือเครือข่าย” ยกระดับสังคม Digital อย่างยั่งยืน

เอไอเอส เปิดตัว “เครื่องมือ-แนวคิด” สร้างเกราะท่องโลกออนไลน์ “ถ้าเราทุกคน คือเครือข่าย” ยกระดับสังคม Digital อย่างยั่งยืน

20 มิถุนายน 2019


ด้วยความกังวลใจของพ่อแม่หรือคนในครอบครัวที่มีต่อโลกยุคดิจิตัล เพราะเมื่อไหร่ที่ลูกมีสมาร์ทโฟน หรือเครื่องมือสื่อสารใดๆที่เชื่อมโลกได้อยู่ในมือของเขา นั่นหมายถึงว่าโลกจะอยู่ในอุ้งมือของลูก/ของเขา ที่จะสามารถทะลุทลวงไปได้ทุกที่ทั้งที่สว่างและที่มืดได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ในยุคสังคมก้มหน้า มองหน้าจอมากกว่ามองหน้าจริง ทุกคนไม่สามารถหลีกหนีเทคโนโลยี่ได้ ซึ่งเทคโนโลยี่มีทั้งประโยชน์ที่ช่วยให้ชีวิตก้าวหน้าและไร้ประโยชน์ที่นำพาไปในทางเสื่อมถอยของชีวิตได้ ดังนั้นทุกคนมีส่วนช่วยเหลาและหลอมให้ “ทุกคน” ในโลกดิจิตัล “ใช้ให้เป็น”

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2562 เอไอเอส เดินหน้าผลักดันการสร้างสังคม Digital อย่างยั่งยืน ผ่านแนวคิด “ถ้าเราทุกคน คือเครือข่าย” ประกาศภารกิจยิ่งใหญ่ “อุ่นใจไซเบอร์” สำหรับเยาวชน

โดยแนวคิด “ถ้าเราทุกคน คือเครือข่าย” ผนึกกำลัง เชิญชวนทุกภาคส่วน ร่วมสร้างภูมิคุ้มกัน รณรงค์ปลูกจิตสำนึกการใช้ชีวิตในโลก Digital อย่างยั่งยืน ด้วย

  • การยกระดับมาตรฐานความรู้เท่าทัน Digital ด้วย DQ (Digital Quotient)
  • การพัฒนาระบบคัดกรอง Online Content ที่ไม่เหมาะสม ด้วยระบบ “AIS Secure Net (Beta Phase)” และ “Google Family Link” ที่เกิดจากความร่วมมือกับ Google

โครงการ “อุ่นใจไซเบอร์” มีเป้าหมายในการสร้างภูมิคุ้มกัน รณรงค์ ปลูกจิตสำนึก และสร้างเครื่องมือคัดกรอง Content ที่ไม่เหมาะสมจากโลก Digital โดยเน้นใน 2 ด้าน คือ มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างทักษะทาง Digital (Educator) เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะเพื่อให้ใช้ดิจิทัลอย่างรู้เท่าทัน และป้องกัน (Protector) ความเสี่ยงจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน Digital Solutions

1.การยกระดับมาตรฐานความรู้เท่าทัน Digital ด้วย DQ (Digital Quotient)

เอไอเอสได้ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะทางดิจิทัล (Digital Educator) เป็นรายแรกและรายเดียวในไทยที่ได้นำเข้า DQ ชุดการเรียนรู้ 360 องศา เพื่อพัฒนาทักษะและความฉลาดทางดิจิทัล DQ (Digital Quotient) ครบทั้ง 8 ทักษะ ให้กับเด็กๆ สร้างภูมิคุ้มกันในการก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์อย่างมีไหวพริบ รู้จักวางตัวอย่างเหมาะสมกับคนแปลกหน้า และใช้มือถือ แท็บเล็ต อย่างฉลาด ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งชุดการเรียนรู้นี้ได้รับการยอมรับและมีการนำไปฝึกทักษะให้กับเด็กๆ มากกว่า 110 ประเทศทั่วโลก แปลถึง 21 ภาษา จาก 100 พาร์ทเนอร์

ขณะนี้ได้เริ่มขยายผลการสร้างทักษะความฉลาดทางดิจิทัล DQ (Digital Quotation) ไปสู่ภาคการศึกษาทั่วประเทศ รวมถึงเปิด Portal ศูนย์กลางการเรียนรู้สำหรับคนไทยทุกคน ที่โรงเรียน หรือ สถาบันที่ทำงานเพื่อพัฒนาเยาวชนต่างๆ สามารถเข้ามาใช้งานได้แล้วที่ www.ais.co.th/dq

2.การพัฒนาระบบคัดกรอง Online Content ที่ไม่เหมาะสม

เอไอเอสเป็นผู้ให้บริการและพัฒนาเครือข่ายที่ป้องกันความเสี่ยง (network protector) จาก Content ที่ไม่เหมาะสม

  • เปิดตัว AIS Secure Net (Beta) ที่จะช่วยป้องกันและคัดกรองเนื้อหาบนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเว็บ, ข้อความ รูปภาพ หรือวิดีโอที่ไม่เหมาะสม จากบุตรหลาน ในช่วงแรกนี้ เอไอเอสจะเปิดให้ลูกค้าได้ทดลองใช้บริการเป็น Beta Phase เชิญชวนลูกค้าเอไอเอสที่สนใจอยากใช้บริการ เข้ามาลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บไซต์ เพื่อร่วมเป็น Pioneer ในการทดลองใช้บริการก่อนใคร จำนวน 10,000 คนแรก สามารถเข้ามาลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2562 และลูกค้ากลุ่มนี้จะได้ทดลองใช้บริการ AIS Secure Net ได้ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2562 เป็นต้นไป
  • ร่วมมือกับ Google ในการนำบริการ Parental Control ผ่านแอปพลิเคชัน Google Family Link มาขยายผลสู่กลุ่มผู้ปกครองคนไทย (ใช้ได้ทุกเครือข่าย) ที่จะสามารถให้คำแนะนำดูแลการใช้งานโทรศัพท์ รวมถึงดูแลความปลอดภัยจากพิกัดปัจจุบันของบุตรหลานได้ง่ายๆ โดยเอไอเอส มอบอินเทอร์เน็ต on-top สำหรับการใช้งานให้ลูกค้าเอไอเอสสามารถดูแลบุตรหลานของท่านได้อย่างสบายใจ

เด็ก 8-12 ปี ใช้อินเทอร์เน็ต 35ชม./สัปดาห์

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า “ในฐานะ Digital Life Service Provider ที่มุ่งมั่นพัฒนา Digital Infrastructure เพื่อประเทศ นอกเหนือจากการทำหน้าที่พัฒนาบริการเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าอย่างดีที่สุดแล้ว เรายังให้ความสำคัญกับการร่วมสร้างการเติบโตและพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อทำให้ทุกภาคส่วน (Stakeholder) เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง”

การมาถึงของเทคโนโลยี Digital ก่อให้เกิดผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่วิถีการดำเนินชีวิต รูปแบบการทำธุรกิจ ตลอดจนระบบเศรษฐกิจในระดับมหภาค ซึ่งแน่นอนว่าย่อมนำมาทั้งประโยชน์มหาศาล ในขณะเดียวกันหากนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสมก็สามารถส่งผลในทางลบกับสังคมได้เช่นกัน ทั้งนี้รวมไปถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มาจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ (e-waste) ที่หากไม่ได้รับการปลูกฝัง หรือให้ข้อมูลการบริหารจัดการอย่างถูกวิธี ย่อมส่งผลร้ายแรงมาสู่ชีวิตทุกคนในโลก

โดยปรากฎการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นเด่นชัดผ่านงานวิจัยหลากหลายสำนักที่ระบุว่า ในปี 2561 เยาวชนไทยอายุระหว่าง 8 – 12 ปี มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงถึง 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 3 ชั่วโมง อีกทั้งยังค้นพบว่าเด็กไทยขาดทักษะในการใช้งานดิจิทัลอย่างชาญฉลาดทำให้เสี่ยงได้รับภัยอันตรายที่แฝงมากับอินเทอร์เน็ตใน 4 รูปแบบ คือ การถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ (Cyberbullying) การเข้าถึงสื่อลามก การติดเกม และการถูกหลอกให้พบกับคนแปลกหน้า

นายสมชัยกล่าวต่อว่าอีกปัญหาที่ประเทศไทยกำลังได้รับผลกระทบจากการมาของเทคโนโลยีคือ ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2561 มีรายงานว่า คนไทยทิ้งขยะอันตรายทั้งสิ้น 638,000 ตัน ซึ่งขยะส่วนใหญ่เป็นซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สูงถึง 65% อีกทั้งของเสียอันตรายจากชุมชนเหล่านี้ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธีเพียง 83,000 ตันเท่านั้น

“ในฐานะผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรม Digital โดยตรง เราจึงมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเป็นแกนกลางเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาความรู้แก่เยาวชน อันจะนำมาซึ่งการเติบโตของสังคม Digital อย่างยั่งยืน รวมถึงยังมีเจตนารมณ์อย่างแรงกล้า ที่จะอุทิศตนเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมให้มีความสุขจากสภาพแวดล้อมที่ดี อันจะนำมาซึ่งความแข็งแกร่ง และเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศชาติ ผ่าน Digital Platform ที่จะเป็น Digital Platform ของคนไทยทุกคน ผ่านแนวคิด ถ้าเราทุกคน คือ เครือข่าย นั่นเอง”

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส

โครงการอุ่นใจไซเบอร์

1.ด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะทางดิจิทัล (Educator)

    DQ Program
  • ชุดการเรียนรู้ 360 องศา เพื่อพัฒนาทักษะและความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Quotient : DQ) ครบทั้ง 8 ทักษะ สำหรับเด็กวัย 8-12 ปี จัดทำโดยทีมงานนักวิชาการจาก Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งปัจจุบันได้รับความเชื่อถือและถูกนำไปใช้สอนเยาวชนในทุกทวีปทั่วโลก โดยในประเทศไทย เอไอเอสเป็นรายแรกและรายเดียวที่นำเข้ามาให้บริการแก่คนไทยทุกคน
  • หลักสูตร DQ จะช่วยปลูกจิตสำนึกและเตรียมความพร้อมให้เด็กวัยนี้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตและสื่อออนไลน์อย่างชาญฉลาด เด็กๆ จะได้ฝึกทักษะการใช้เหตุผล คิดวิเคราะห์ และควบคุมอารมณ์ตนเองก่อนจะเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนมากหน้าหลายตาทั่วโลก
  • หลักสูตร DQ ประกอบด้วย 8 ทักษะดิจิทัลสำคัญ ได้แก่ 1.Digital Identity (อัตลักษณ์ออนไลน์), 2.Digital Use (ยับยั้งชั่งใจ), 3. Digital Safety (เมื่อถูกรังแกออนไลน์), 4. Digital Security (ท่องเน็ตอย่างปลอดภัย), 5. Digital Emotional Intelligence (ใจเขา-ใจเรา), 6. Digital Communication (รู้ถึงผลที่จะตามมา), 7. Digital Literacy (คิดเป็น), และ 8. Digital Rights (รู้สิทธิและความเป็นส่วนตัว)
  • หลักสูตร DQ จะมีโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง 2 ส่วน ส่วนแรกคือ DQTest.org เป็นแบบสอบถามพฤติกรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต ส่วนที่ 2 คือ DQWorld.net เป็นสาระความรู้เพื่อเพิ่มทักษะและความฉลาดด้านดิจิทัล มีวิธีการทำงาน ดังนี้
    • 1)ผู้ใช้งานจะต้องลงทะเบียนที่เว็บไซต์ www.dqtest.org เพื่อทำแบบสอบถามออนไลน์จำนวน 55 ข้อ ใช้เวลาทำประมาณ 30 นาที

      2)คำตอบของผู้ใช้งานจะถูกส่งออนไลน์ไปวิเคราะห์โดยระบบ DQTest ที่สิงคโปร์ ผลวิเคราะห์จะถูกส่งกลับมาให้ผู้ปกครอง/ โรงเรียน ซึ่งจะชี้ให้เห็นว่าผู้ใช้งานหรือนักเรียนคนนั้นมีจุดอ่อนอะไรใน 8 ทักษะ เพื่อเสริมทักษะและความรู้ในด้านนั้น

      3)เมื่อผ่านการทำ Pretest แล้ว ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปทำแบบฝึกหัดในเว็บไซต์ DQWorld.net โดยจะได้สนุกกับการเล่นเกมผ่านด่านต่างๆ แต่ละด่านเป็นการทดสอบ digital skill ด้านต่างๆ ทั้งหมด 8 ด้าน

      4)ผู้ใช้งานทำแบบฝึกหัด (เล่นเกม) วันละ 1 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 3-4 วัน จะสามารถเรียนจบคอร์สภายใน 2 สัปดาห์ (82 learning missions covering eight digital skills) ผู้ใช้งานสามารถทำแบบฝึกหัดด้วยตัวเองที่บ้าน โดยผู้ปกครองหรือคุณครูสามารถเข้าไปดูในระบบได้ว่าบุตรหลาน หรือนักเรียนได้ทำแบบฝึกหัดแล้วหรือไม่ รวมถึงสามารถบอกให้บุตรหลานหรือนักเรียนคนนั้นให้เร่งมือทำ

      5)เมื่อผู้ใช้งานเล่นครบทุกด่านแล้ว ระบบ DQ World จะให้คะแนนทักษะด้านดิจิทัลทั้ง 8 ด้าน แล้วส่งใบคะแนนมาให้ผู้ปกครองหรือคุณครูดูผลคะแนน เพื่อเปรียบเทียบคะแนนของนักเรียนคนนั้นกับค่าเฉลี่ยของนักเรียนไทยทั้งประเทศและของนักเรียนทั่วโลก โดยเกณฑ์เฉลี่ยอยู่ที่ 100 คะแนน

      6)ในกรณีเด็กติดเกมหรือเคยโพสต์ข้อความรุนแรงกลั่นแกล้งผู้อื่นทางสื่อโซเชียล สถาบัน DQ จะแนะนำเด็กคนนั้นให้ไปพบจิตแพทย์เพื่อเข้าโปรแกรมบำบัดรักษาก่อนจะกลับมาทำประเมินอีกครั้ง

  • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  • สำหรับนักเรียน

      1) ฝึกนิสัยการใช้อินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์สมาร์ทโฟนอย่างสร้างสรรค์ เป็น user ที่ฉลาดใช้ ไม่ติดเกมออนไลน์ โซเชียลมีเดีย หรือโทรศัพท์มือถือจนเสียสุขภาพ “Be the master of technology, not slave.”

      2) เป็นพลเมืองดีออนไลน์ คิดก่อนโพสต์ รู้จักคิดวิเคราะห์ว่าข่าวใดเชื่อถือได้และข่าวไหนเป็นข่าวลือ รู้จักป้องกันตัวไม่ให้ถูกหลอกลวงง่าย ทั้งคนแปลกหน้าและซื้อสินค้าออนไลน์

    สำหรับโรงเรียน

      1) หลักสูตร DQ ช่วยปลูกจิตสำนึกนักเรียนในการใช้อินเทอร์เน็ตและเข้าสังคมออนไลน์ ฝึกเด็กให้มีวินัยและควบคุมตัวเองได้ ช่วยลดปัญหาการกลั่นแกล้งออนไลน์และใช้โซเชียลมีเดียในทางที่ไม่เหมาะสม ช่วยให้คุณครูมีเวลาถ่ายทอดวิชาความรู้ได้มากขึ้น

      2) DQ เป็นมาตรวัดทักษะและความฉลาดด้านดิจิทัลที่ได้มาตรฐานโลก ได้รับการสนับสนุนจาก WEF, OECD, IEEE และทุกทวีปทั่วโลก คุณครูสามารถนำผลคะแนน DQ ไปใช้เปรียบเทียบทักษะด้านดิจิทัลกับนักเรียนของโรงเรียนอื่น (คล้ายกับคำแนน IQ)
      สำหรับผู้ปกครอง(1) ลดความตึงเครียดจากการดุว่าลูก พอใจที่เห็นลูกมีพัฒนาการการใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์อย่างมีวินัยมากขึ้น(2) ช่วยปูพื้นฐานให้ลูกฝึกทักษะที่สำคัญด้านดิจิทัล (eight-digital skills) รู้จักระมัดระวังคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์ รวมถึงการซื้อไอเทมในเกมและซื้อสินค้าออนไลน์ และรู้ความเหมาะสมในการโพสต์ข้อความหรือรูปภาพในโซเชียลมีเดีย (3) ช่วยเตรียมความพร้อมให้ลูกเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีวินัยและรับผิดชอบในสังคมออนไลน์ เคารพกฎกติกา มารยาท และกฎหมาย สามารถดูแลตัวเองได้ในโลกออนไลน์

      Google Family Link
  • บริการ Parental Control ผ่านแอปพลิเคชัน Google Family Link สำหรับลูกค้าทุกเครือข่าย ให้ผู้ปกครองสามารถให้คำแนะนำ ดูแลการใช้งานโทรศัพท์ รวมถึงดูแลความปลอดภัยจากพิกัดปัจจุบันของบุตรหลานได้ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในการใช้อินเทอร์เน็ตภายในครอบครัว
  • ผู้ปกครองสามารถกำหนดการใช้งานโทรศัพท์ของบุตรหลานได้ผ่าน Google Account ที่บุตรหลานใช้งานอยู่ โดยสามารถดูแลการใช้งานจากหลากหลายฟีเจอร์ ดังนี้
    • 1)กำหนดระยะเวลาการใช้งานบนหน้าจอของบุตรหลาน และลดการใช้งานในเวลาพักผ่อน
      2)กำหนดการใช้งานแอปพลิเคชันบนมือถือของบุตรหลานได้ เช่น เกม, โซเชียล เป็นต้น
      3)ดูแลการติดตั้งแอปพลิเคชันใหม่ๆ ในโทรศัพท์ โดยหากมีการโหลดแอปพลิเคชันที่ไม่เหมาะสม แอปพลิเคชันนั้นๆ จะไม่ถูกติดตั้งในเครื่องของบุตรหลาน
      4)กำหนดการเข้าถึงเว็บไซต์อย่างเหมาะสมบน Google Chrome รวมถึงจำกัดการเข้าใช้งานพวกเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม เช่น เว็บเกม, การพนัน, สื่อลามก เป็นต้น
      5)กำหนดระดับความเหมาะสมของคอนเทนท์ที่เด็กสามารถรับชมบน YouTube และ YouTube Kids ได้
      6)ดูแลการใช้งานแอปพลิเคชัน และระยะเวลาที่ใช้งานของบุตรหลานได้จากรายงาน Usage Report ซึ่งดูได้แบบรายวัน, รายสัปดาห์, รายเดือน
      7)ติดตามพิกัดตำแหน่งที่บุตรหลานอยู่ ณ ปัจจุบัน
  • สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าเอไอเอส รับอินเทอร์เน็ต on-top สำหรับการใช้งานเพื่อดูแลบุตรหลานของท่านได้อย่างสบายใจ

  • 2.ด้านการป้องกันความเสี่ยงจากการใช้อินเทอร์เน็ต (Protector)

      AIS Secure Net (Beta Version)
  • บริการช่วยป้องกันและคัดกรองเนื้อหาบนโลกออนไลน์ให้แก่บุตรหลาน ไม่ว่าจะเป็นเว็บ, ข้อความ, รูปภาพ หรือวิดีโอที่ไม่เหมาะสม ให้บริการสำหรับลูกค้าเอไอเอส ตอบโจทย์การใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ใช้งานง่ายและสะดวกโดยที่ลูกค้าไม่จำเป็นต้องติดตั้งแอปพลิเคชั่นใดๆ เพิ่มเติม
  • ในช่วงแรกนี้ เอไอเอสจะเปิดให้ลูกค้าได้ทดลองใช้บริการ เป็นเบต้า เฟส เชิญชวนลูกค้าเอไอเอสที่สนใจอยากใช้บริการ เข้ามาลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บไซต์ เพื่อร่วมเป็น Pioneer ในการทดลองใช้บริการก่อนใคร จำนวน 10,000 คนแรก ลูกค้าที่สนใจสามารถเข้ามาลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2562 เป็นต้นไป และลูกค้ากลุ่มนี้ ก็จะได้ทดลองใช้บริการ AIS Secure Net ได้ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2562 เป็นต้นไป