ThaiPublica > Native Ad > ‘AIS’ สานต่ออุ่นใจไซเบอร์ ผลิตละครสะท้อนสังคม ตีแผ่ภัยไซเบอร์ สร้างความตระหนักรู้เท่าทัน ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน

‘AIS’ สานต่ออุ่นใจไซเบอร์ ผลิตละครสะท้อนสังคม ตีแผ่ภัยไซเบอร์ สร้างความตระหนักรู้เท่าทัน ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน

27 พฤศจิกายน 2023


นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS และพลตำรวจตรี อรรถสิทธิ์ สุดสงวน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (สอท.)

แก๊งคอลเซ็นเตอร์ – พัสดุตกค้าง – ถูกแอบอ้างชื่อในการทำผิดกฎหมาย – หลอกติดตั้งโปรแกรมอัตโนมัติ – หลอกให้ลงทุน – หลอกให้กู้เงิน และอื่นๆ อีกมากมาย

เหตุการณ์เหล่านี้คือภัยไซเบอร์ที่เป็นอันตรายทั้งโลกออฟไลน์และออนไลน์ จนทำให้เกิดความเสียหายมากกว่า 30,000 ล้านบาทต่อปี โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 – 21 มีนาคม 2566 มีคดีความออนไลน์กว่า 247,753 เรื่อง
ปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้ “เอไอเอส” ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคม เล็งเห็นถึงความสำคัญของภัยไซเบอร์ จึงได้สานต่อภารกิจ “อุ่นใจไซเบอร์” เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้กับคนไทย ผ่านการพัฒนาเครื่องมือป้องกันภัยไซเบอร์ด้วยเทคโนโลยีและบริการดิจิทัล ควบคู่ไปกับสร้างองค์ความรู้ ปลูกจิตสำนึก ส่งเสริมทักษะดิจิทัล

อย่างไรก็ตาม โครงการ “อุ่นใจไซเบอร์” ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2562 และดำเนินการต่อเนื่องมาแล้วกว่า 4 ปี พร้อมทั้งออกโครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แพลตฟอร์ม LearnDi หลักสูตรพลเมืองดิจิทัลหลักสูตรไซเบอร์บูลลี่ ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย (TCWI) กระทั่งการส่งต่อหลักสูตรความรู้เท่าทันในดิจิทัลให้กับโรงเรียนในสังกัด กทม. และล่าสุดเอไอเอส ผลิตละครคุณธรรม 12 เรื่อง เพื่อกระตุกต่อมคิดคนไทย โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางให้รู้ทันภัยไซเบอร์ พร้อมแนะวิธีการรับมือ ในรูปแบบละครสะท้อนสังคมที่กำลังได้รับความนิยม สนุกเข้าใจง่ายและสามารถเข้าถึงคนไทยในทุกช่วงวัย

“เราเห็นปัญหาภัยไซเบอร์ที่ยังมีผู้ไม่รู้เท่าทันตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงวัย จากผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย หรือ Thailand Cyber Wellness Index (TCWI) พบว่า กลุ่มดังกล่าวมีความเสี่ยงต่อภัยไซเบอร์สูงสุด” นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการสานต่อภารกิจ AIS อุ่นใจ CYBER ในมิติของการรู้เท่าทันภัยไซเบอร์

นางสายชล กล่าวต่อว่า เอไอเอสพยายามคิดค้นและมองหาวิธีการสื่อสารใหม่ๆ เพื่อทำให้คนไทยมีทักษะดิจิทัล เข้าใจ รู้เท่าทันทุกภัยไซเบอร์ ที่สำคัญคือ การพัฒนาเครื่องมือที่ทำให้กลุ่มผู้สูงวัยสามารถเข้าถึงได้ จึงกลายมาเป็น ‘ละครคุณธรรม’ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมบนโลกออนไลน์ และเป็นที่ถูกใจของกลุ่มผู้สูงวัย เนื่องด้วยวิธีการเล่าแบบตรงไปตรงมา สนุก และสอดแทรกสาระ

สำหรับการสื่อสารด้านภัยไซเบอร์ในครั้งนี้ เอไอเอส ได้รับร่วมมือจากตำรวจไซเบอร์ (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) และ 3 ค่ายละครโซเชียล ได้แก่ กุลิฟิล์ม ทีแก๊งค์ และทีมสร้างฝัน โดยนำคดีจากภัยไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจริง อาทิ หลอกติดตั้งแอปดูดเงิน หลอกลงทุน ซื้อของจากร้านค้าปลอม และใช้ภาพโปรไฟล์คนอื่นและสวมรอยเพื่อหลอกยืมเงิน ทั้งหมด 12 ตอนมาถ่ายทอดในรูปแบบของละครคุณธรรม หรือละครสั้นสะท้อนสังคม และปิดท้ายด้วยวิธีการรับมือจากตำรวจไซเบอร์

ตัวอย่างพล็อตละครคุณธรรม ดังนี้

เรื่อง ‘ภาพหลุด’ ผลิตโดย KULI FILMS โดยเรื่องย่อคือ แก้ม เน็ตไอดอล ได้รับข่าวว่ามีรูปของตัวเองหลุดไปในโลกออนไลน์ ทำให้เจ้าตัวรีบไปแจ้งความ และสุดท้ายตามจับคนร้ายมาดำเนินคดีจนได้ แต่เมื่อถามสาเหตุจึงพบว่า แก้มได้รับลิงค์แปลกปลอมหลอกให้กดเพื่ออัพเดทแอปฯ ทำให้มิจฉาชีพอาศัยจังหวะนี้เข้ามาควบคุมโทรศัพท์ขโมยข้อมูลส่วนตัว

เรื่อง ‘หลอกซื้อสินค้าออนไลน์’ ผลิตโดย TGANG STUDIO โดยเรื่องย่อคือ ถิง ได้ติดต่อซื้อกระเป๋าจากเพจที่ธันวาแนะนำ และถูกมิจฉาชีพไปหลอกเอาข้อมูลสินค้า แล้วทำทีเป็นแอดมินเพจติดต่อไปหาถิง เพื่อหลอกล่อเสนอขาย ให้ถิงโอนเงินไปเข้าบัญชีของร้าน จากนั้นมิจฉาชีพได้ส่งสลิปการโอนเงินของถิงไปให้ทางร้านแล้วให้ส่งสินค้าให้กับตนเองแทน ส่วนถิงก็ได้รอกระเป๋ามาส่ง แต่ไร้วี่แววจนแน่ใจว่าถูกหลอก

เรื่อง ‘ราคาถูกใจความปลอดภัยถูกลืม’ ผลิตโดย ทีมสร้างฝัน โดยเรื่องย่อคือ อายกับเกตกดโทรศัพท์มือถือช็อปปิ้งซื้อของลดราคา อายสนใจของที่ลดราคา เกตเลยเตือนว่าให้ระวัง แต่อายไม่ฟัง วันต่อมาเกตเอาของที่สั่งมาให้ดูและบอกว่าแพ็กเกจดีมาก ส่วนอายยังไม่ได้รับของเลย วันต่อมาของมาส่งที่บ้านอาย แต่กลายเป็นสินค้าอื่นที่ไม่ใช่สินค้าที่ตัวเองสั่งไว้ และเพจที่ขายสินค้าก็ปิดหนีไป

นอกจากนี้ เอไอเอส ยังพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยป้องกันภัยไซเบอร์อย่างสายด่วน 1185 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน AIS Spam Report Center โดยให้ลูกค้าแจ้งข้อมูลเบอร์โทรและ SMS มิจฉาชีพได้ฟรี รวมถึงการมีหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ หลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ที่จะช่วยเติมเต็มองค์ความรู้ และสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้กับคนไทย

ด้าน พลตำรวจตรี อรรถสิทธิ์ สุดสงวน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (สอท.) กล่าวว่า ปัจจุบันมิจฉาชีพมีการออกกลโกงในรูปแบบใหม่ๆ จนทำให้ประชาชนหลงเชื่อ และถูกหลอกให้เสียทรัพย์ได้ในที่สุด แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์ ไม่ใช่แค่ในมิติเรื่องของการปราบปรามอย่างเดียว แต่ต้องให้ความสำคัญในเชิงป้องกัน

ทั้งเอไอเอสและตำรวจไซเบอร์ ต่างนำจุดแข็งของหน่วยงานตนเองมาช่วยกันยกระดับการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยจุดแข็งของเอไอเอสคือเทคโนโลยี ขณะที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงานก็ได้เก็บข้อมูลสถานการณ์จริง และส่งต่อไปยังค่ายผู้ผลิตละคร จึงนับว่าความร่วมมือครั้งนี้คือ การแก้ไขปัญหาจากต้นเหตุ เพราะเป็นการสร้างความรู้เท่าทันถึงภัยออนไลน์ทุกรูปแบบและเตือนภัยประชาชนให้ไม่ตกเป็นเหยื่ออีกต่อไป

พลตำรวจตรี อรรถสิทธิ์ ได้รูปแบบกลโกงที่มิจฉาชีพมักใช้หลอกเหยื่อ ดังนี้

(1) การหลอกลวงซื้อสินค้าออนไลน์แต่ไม่ได้สินค้า โดยคนร้ายจะสร้างเพจปลอมให้เหมือนหรือใกล้เคียงกับเพจจริง แล้วนำสินค้า ผลิตภัณฑ์/บริการจากเพจจริงมาโพสต์ขาย ลอกล่อให้ลูกค้าหรือผู้เสียหายหลงเชื่อและซื้อสินค้า/บริการ โดยให้โอนเงินไปยังบัญชีรับประโยชน์ของคนอื่น(บัญชีม้า) สุดท้ายผู้ซื้อไม่ได้รับของหรือได้รับของไม่ตกปก

(2) หลอกให้ติดตั้งโปรแกรม ตัวอย่างเช่น คนร้ายมักจะอ้างว่าตัวเองเป็นหน่วยงานรัฐ เช่น กระทรวงการคลัง กรมที่ดิน หรือการไฟฟ้า จากนั้นขอแอดไลน์ผู้เสียหาย แล้วหลอกลวงให้ผู้เสียหายคลิกลิงก์ เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ของหน่วยงานดังกล่าว ซึ่งเป็นเว็บไซต์ปลอม แล้วให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นปลอม เมื่อผู้เสียหายกดดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นดังกล่าว คนร้ายจะให้ผู้สียหาย กรอกข้อมูลส่วนตัว ชื่อสกุล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด หมายเลขโทรศัพท์ รวมไปถึง ให้ตั้งค่ารหัส PIN เพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชั่น และให้ผู้เสียหายกดปลดล็อกหน้าจอ ทำให้สามารถดูดเงินออกจากแอปพลิเคชั่นธนาคารได้

(3) หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งคนร้ายมักจะชูการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีและแอดไลน์ไปคุย เชิญชวนให้เปิดพอร์ตแบบระยะสั้น ให้ทำการโอนเงินครั้งแรกจำนวนน้อยๆ คือ 2,220 บาท ต้องเทรดทั้งหมดจำนวน 9 รอบ ในแต่ละรอบก็ให้โอนเงินเติมเข้าพอร์ตการลงทุนจากหลักพันบาทในครั้งแรก จากนั้นคนร้ายจะค่อยๆ สั่งให้ผู้เสียหายเพิ่มจำนวนเงินไปเรื่อยๆ จนถึงหลักแสนบาท

(4) คดีปลอมโปรไฟล์เพื่อหลอกยืมเงิน โดยโทรมาอ้างว่าเป็นคนรู้จัก หลอกให้ทายชื่อ ให้เราเผลอพูดชื่อคนรู้จักไป แล้วสวมรอยเป็นคนนั้น บอกว่าโทรศัพท์หายเปลี่ยนเบอร์ใหม่ ให้เมมชื่อไว้ หลังจากนั้นโทรมาวันหลังขอยืมเงิน

(5) คดีหลอกให้กู้เงินแต่ไม่ได้เงิน โดยกลุ่มคนร้ายไจะให้ผู้เสียหายเพิ่มเพื่อนไนไลน์ เพื่อสนทนากับเจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อ จากนั้น กลุ่มคนร้ายได้หลอกให้ผู้เสียหายกดลิงก์ เพื่อโหลดแอปพลิเคชั่น และสมัครใช้งาน โดยการทำขั้นตอนเพื่อยืนยันตัวตน เช่น ให้ส่งภาพใบหน้าพร้อมบัตรประชาชน ชื่อสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรฯ เมื่อทำรายการในระบบของคนร้ายเสร็จสิ้น กลุ่มคนร้ายจะอ้างว่า ผู้เสียหาย กรอกข้อมูลบัญชีผิด หรือ กดหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนผิด ต้องทำการโอนเงินก่อนเพื่อปลดล็อกระบบ แล้วยอดเงินที่โอนจะคืนให้หลังจากอนุมัติสินเชื่อ

ดังนั้น หนึ่งในวิธีป้องกันเบื้องต้นคือ การสร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนมีความรู้ที่ถูกต้องในการใช้งานบนโลกดิจิทัลอย่างปลอดภัย
“เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับเอไอเอส และได้สร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนผ่านรูปแบบของละครคุณธรรม เพื่อให้ประชาชนมีสติ รู้เท่าทัน ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน และไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพที่แฝงตัวมาให้รูปแบบต่างๆ นอกจากนี้ประชาชนยังสามารถปรึกษา แจ้งเบาะแส ขอความช่วยเหลือด้านภัยไซเบอร์ได้ที่สายด่วน 1141” พลตำรวจตรี อรรถสิทธิ์ กล่าว

ทั้งนี้ สามารถติดตามชมละครคุณธรรม ทั้ง 12 ตอน ซึ่งสอดแทรกการเตือนภัยกลโกงของมิจฉาชีพพร้อมวิธีการรับมือ ได้ผ่านช่องทาง Social Media ของทั้ง 3 ค่ายละครคุณธรรม และช่องทาง LearnDi ได้ที่ https://learndiaunjaicyber.ais.co.th/learning-path/105/

#AISxCCIBxละครคุณธรรม #AISอุ่นใจCYBER #มีความรู้ก็อยู่รอด