ThaiPublica > Native Ad > AIS-พันธมิตร เปิดตัว “ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index” ฉบับแรกของไทย

AIS-พันธมิตร เปิดตัว “ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index” ฉบับแรกของไทย

23 มิถุนายน 2023


AIS เปิดตัว “ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index” ฉบับแรกของไทย สานต่อภารกิจ อุ่นใจ CYBER ด้วยปัจจุบัน ‘เทคโนโลยี’ เสมือนอวัยวะที่ 33 ของมนุษย์ เพราะไม่ว่าจะทำอะไรเทคโนโลยีดิจิทัลก็ล้วนเข้ามามีบทบาทสำคัญแทบทุกมิติ แต่ขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็ไม่ต่างจากดาบสองคมที่มีทั้งคุณและโทษ และหากนำไปใช้ผิดวิธีย่อมสร้างความเสียหายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ดังนั้นโทษของเทคโนโลยีจึงกลายเป็นภัยคุกคามที่ทั้งโลกให้ความสำคัญและยกให้เป็นวาระที่ต้องแก้ไข

ด้วยความเสี่ยงที่อาจสร้างอันตรายและความเสียหายอย่างคาดไม่ถึงทำให้ผู้ให้บริการดิจิทัลในประเทศไทยอย่าง “AIS” ขออาสาสร้างความตระหนักรู้ถึงอันตรายและผลกระทบจากการใช้งานดิจิทัล โดยร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและนักวิชาการทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ ด้านสื่อสารมวลชน ด้านการศึกษาและด้านการวัดประเมินผล

“ปัญหาภัยไซเบอร์กลายเป็นวาระที่ทั้งโลกหันมาให้ความสำคัญ เพราะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ส่งผลกระทบตั้งแต่ระดับบุคคลทั้งเรื่องการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล การล่อลวงผ่านช่องทางออนไลน์ และการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์จนถึงระดับประเทศหรือองค์กรในเรื่องของความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์” นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวถึงปัญหาภัยไซเบอร์

นายสมชัย กล่าวต่อว่า ตลอดเวลากว่า 4 ปี นับตั้งแต่ช่วงปี 2562 เอไอเอสได้ทำโครงการ “AIS อุ่นใจ CYBER” มีการดำเนินงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการติดปีกทักษะดิจิทัลให้คนไทย สร้างแพลตฟอร์มแห่งองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมความฉลาดและทักษะของพลเมืองดิจิทัล ตลอดจนพัฒนาโซลูชันและบริการดิจิทัลเพื่อปกป้องและส่งเสริมการใช้งานอย่างปลอดภัย

อย่างไรก็ตาม เอไอเอสดำเนินการภายใต้ความเชื่อเรื่อง ‘ความยั่งยืน’ และการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล
สอดคล้องกับแนวทาง SDGs (Sustainable Development Goals) ของสหประชาชาติ และทำให้ AIS ได้รับคัดเลือกให้อยู่ในรายชื่อ Thailand Sustainability Investment (THSI) หรือหุ้นยั่งยืนอีกด้วย

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS

โครงการ AIS อุ่นใจ CYBER จึงเป็นหนึ่งในโครงการด้านความยั่งยืนในด้าน ‘การเข้าถึงดิจิทัลให้ทุกคนในสังคม’ ส่วนอีก 2 ด้านคือ การขับเคลื่อนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและการยืนหยัดเพื่อสิ่งแวดล้อมโครงการ AIS อุ่นใจ CYBER ได้สร้างอิมแพคต่อสังคมไทยนานัปการโดยมีผลงาน ดังนี้

หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์

หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการเสริมทักษะดิจิทัลหลักสูตรแรกของไทยที่ได้รับมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีเป้าหมายเพื่อให้ครู-นักเรียนและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้ปลูกฝังทักษะดิจิทัลและใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย และมีการส่งมอบหลักสูตรให้โรงเรียนในสังกัด สพฐ. กว่า 29,000 แห่งแคมเปญ มีความรู้ก็อยู่รอดเพื่อย้ำเตือนว่าความรู้จะทำให้อยู่รอดจากภัยไซเบอร์ทุกรูปแบบ

แคมเปญ Let’s Level up ฝ่าภารกิจอัปเลเวล ความรู้ สู่สุขภาวะดิจิทัลที่ดีโดยร่วมมือกับแพลตฟอร์มนิยาย “จอยลดา (Joylada)”
สร้างเนื้อหาที่บอกเล่าถึงภัยไซเบอร์ในรูปแบบนิยายแชท 7 เรื่อง สะท้อนถึง 7 ทักษะหลักที่คนไทยควรรู้ในยุคไซเบอร์ แคมเปญ โปรดเรียกฉันด้วยหรือฉัน (Please Call Me by My Name) ชวนคนไทยให้ความสำคัญกับการเรียกชื่อจริง หยุดการกลั่นแกล้งด้วยคำพูดล้อเลียนเพื่อรณรงค์

จากภารกิจหลักของ AIS อุ่นใจ CYBER ที่มุ่งสร้างทักษะด้านดิจิทัลรวมถึงการพัฒนาบริการดิจิทัล คัดสรรโซลูชันและเครื่องมือป้องกันภัยไซเบอร์ให้กับคนไทยมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเดือนมิถุนายน 2566 ได้ยกระดับการทำงานขึ้นไปอีกขั้นด้วยการสร้างมาตรวัดทักษะทางดิจิทัลขึ้นเป็นฉบับแรกของไทยกับ “ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index (TCWI)” ซึ่งจะเป็นมาตรฐานใหม่ในการสร้างพลเมืองดิจิทัลและสังคมการใช้งานดิจิทัลที่ดียิ่งขึ้น

เจตนารมณ์ของ AIS และดัชนี ชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index ยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ขององค์กรสหประชาชาติ โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 4 ด้านการสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม
และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากดัชนีดังกล่าวเป็นการต่อยอดจากหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ช่วยยกระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัลให้กับคนไทย

นายสมชัย กล่าวต่อว่า ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index ได้รับความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และนักวิชาการทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ ด้านสื่อสารมวลชน ด้านการศึกษา และด้านการวัดประเมินผล ที่ระดมความคิดในการออกแบบกรอบการศึกษาขั้นตอนและวิธีการเก็บผล กลุ่มตัวอย่าง รวมถึงการวิเคราะห์และสรุปผลการศึกษา จนออกมาเป็นดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย ที่เป็นไปตามมาตรฐาน แม่นยำและถูกต้องตรงกลุ่มเป้าหมาย

โดยดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index ชี้ให้เห็นถึงทักษะดิจิทัล ครอบคลุมพฤติกรรมการใช้งานดิจิทัลของคนไทย 7 ด้าน ดังนี้

  • ทักษะการใช้ดิจิทัล (Digital Use)
  • ทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy)
  • ทักษะด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล (Digital Communication and Collaboration)
  • ทักษะด้านสิทธิทางดิจิทัล (Digital Rights)
  • ทักษะด้านความมั่นคงความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security and Safety)
  • ทักษะด้านการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (Cyberbullying)
  • ทักษะด้านความสัมพันธ์ทางดิจิทัล (Digital Relationship)
  • จากผลการศึกษาพบว่าภาพรวมของคนไทยมีสุขภาวะทางดิจิทัลอยู่ในระดับพื้นฐาน ขณะเดียวกันก็ยังมีถึง 44.04% ที่ยังอยู่ในระดับต้องพัฒนาแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้ดิจิทัลให้กับประชาชนเพิ่มขึ้น

    ผศ.ดร.พงศ์ยุทธ์ จั่นทอง รองคณบดี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม (ซ้าย)และเทคโนโลยี มจธ., นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์(กลาง) และนางสายชล ทรัพย์มากอุดม (ขวา)

    ด้าน รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีหรือ มจธ. กล่าวว่า เราทำงานร่วมกับ AIS มาอย่างต่อเนื่องในการสร้างองค์ความรู้จัดทำหลักสูตร ‘อุ่นใจไซเบอร์’ เพื่อสร้างทักษะดิจิทัลให้แก่คนไทย และรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index

    รศ.ดร.สุวิทย์ ให้ข้อมูลว่่า ดัชนีดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานการวิจัยมีความถูกต้อง แม่นยำ เชื่อถือได้โดยมีวิธีการเก็บผลสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างที่มีความหลากหลายทั้งช่วงอายุและกลุ่มอาชีพจากทุกจังหวัด ทั่วประเทศกว่า 21,862 คน และทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านเครือข่ายความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ ด้านสื่อสารมวลชน ด้านการศึกษา และการวัดประเมินผล ในการออกแบบระเบียบวิธีวิจัย กรอบแนวคิด จนสามารถพัฒนาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทยออกมาได้ 3 ระดับ ตั้งแต่ระดับ Advanced ระดับ Basic และระดับ Improvement

    ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index นับเป็นความยั่งยืนที่จับต้องได้จริง เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำเครื่องมือและองค์ความรู้ส่งมอบให้กับคนไทยได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย พร้อมกันนี้ยังเดินหน้าผสานกำลังส่งมอบดัชนีนี้ไปยังเครือข่ายความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อร่วมกันนำองค์ความรู้ไปเสริมสร้างความเข้าใจในการใช้งานดิจิทัลให้แก่คนไทยทุกกลุ่มต่อไป

    ท้ายที่สุด AISพร้อมด้วยพันธมิตรจะเดินหน้าผลักดันและส่งเสริมทักษะดิจิทัลให้คนไทย ผ่านภารกิจAIS อุ่นใจ CYBERและแสดงให้เห็นว่าโครงการดังกล่าวเป็นเหมือนเข็มทิศในการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับคนไทยได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพและเกิดควายั่งยืนอย่างแท้จริงทั้งนี้ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทยเพิ่มเติมที่ https://sustainability.ais.co.th/storage/update/report/advanc-ebook-thailand-cyber-wellness-th.pdf