ThaiPublica > คอลัมน์ > Future Literacy…วิธีคิดที่ทำให้เห็นโลกจากดวงจันทร์

Future Literacy…วิธีคิดที่ทำให้เห็นโลกจากดวงจันทร์

6 สิงหาคม 2022


ดร.สุทธิ สุนทรานุรักษ์


ว่ากันว่าอาชีพหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก คือ อาชีพโหร หรือหมอดู ในทุกสังคมล้วนมีหมอดูที่คอยทำนายทายทักดวงชะตา

อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในทุกด้านได้ทำให้ความเชื่อมั่นของมนุษย์ที่มองเห็นด้วย “ตาเปล่า” มั่นใจวิทยาศาสตร์มากกว่าโหราศาสตร์

…เหตุการณ์สำคัญที่เปลี่ยนทัศนคติมนุษย์เราเกิดขึ้นเมื่อปี 1969 ในวันที่ นีล อาร์มสตรอง ขึ้นยานอะพอลโล 11 พร้อมนักบินอวกาศอีก 2 คน ไปปักธงชาติสหรัฐฯ บนดวงจันทร์

หลังจากวันนั้นเป็นต้นมา หลายคนพูดว่า “ทำไมเรายังงมงายกันอยู่ เพราะมนุษย์ขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์ สำรวจดาวอังคารกันแล้ว”

…โดยส่วนตัวผู้เขียนเอง รู้สึกเฉยๆ กับคำกล่าวนี้ เพราะเชื่อว่า มีอีกหลายเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้จากตาเปล่า แต่ต้องอาศัยเรื่องญาณทัศนะมาอธิบาย

มนุษย์พยายามอธิบายทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นระบบ สร้างระเบียบวิธีคิด ซึ่งศาสตร์หนึ่งที่น่าสนใจในโลกยุคใหม่ คือ “อนาคตศาสตร์” หรือ future studies

future studies เป็นมากกว่าความสามารถในการทำนายอย่างมีเหตุผล หากแต่เป็นการออกแบบอนาคตอย่างที่เราอยากเห็น

มหาวิทยาลัย Turku ในประเทศฟินแลนด์มีการจัดตั้งศูนย์การวิจัยด้านอนาคตศาสตร์อย่างเป็นระบบ ที่มาภาพ : https://www.utu.fi/sites/default/files/inline-images/FFRC_Logo_EN-web.png

future studies ถูกนำมาใช้ประโยชน์ครั้งแรกช่วงศตวรรษที่ 70 โดยครั้งนั้น บริษัท Royal Shell บริษัทน้ำมันชั้นนำของโลก ศึกษาข้อมูล ทำนายอนาคต ออกแบบอนาคตเพื่อรับมือกับวิกฤติการณ์น้ำมันฃเมื่อปี 1963…จนทำให้ Shell รอดพ้นวิกฤติครั้งนั้น

สิ่งที่ Shell เริ่มต้น ได้พัฒนาการศึกษาเรื่อง foresight อย่างจริงจริงในเวลาต่อมา โดยตั้งคำถามแบบง่ายๆ แต่ทรงพลังว่า what if ……

เมื่อเราตั้งคำถามกับตัวเอง กับองค์กรและกับโลกของเราว่า what if หรือ จะเกิดอะไรขึ้น ถ้า…

แน่นอนว่า เราพยายามหาคำตอบ ซึ่งไม่ได้มีแค่คำตอบเดียว เราจัดระเบียบคำตอบของอนาคตอย่างเป็นระบบ มีทิศทาง

โลกศตวรรษที่ 21 ผ่านมาแล้ว 20 ปี เราเริ่มมองเห็นแล้วว่า โลกของเราเต็มไปด้วยเรื่องไม่แน่นอน ภาษาวิชาการเรียกว่า VUCA มาจาก volatile, uncertainty, complexities และ ambiguity

หลังปี 2020 วิกฤติการณ์ระบาดโควิด-19 ทั่วโลก พร้อมด้วยปัจจัยเร้าจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน เมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ทำให้หลายประเทศกำลังเผชิญ triple F crisis หรือ food, fuel และ financial

…หนังตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้ว คือ การจลาจลที่ศรีลังกา และกำลังลุกลามตามมาถึงหลายประเทศในกลุ่ม emerging market เช่น เอลซัลวาดอร์ กายอานา อียิปต์ ตูนีเซีย และปากีสถาน

future literacy คือ ความรู้ความเข้าใจในการอ่านอนาคตอย่างเป็นระบบ เป็นทักษะที่คนรุ่นนี้พัฒนาขึ้น เพื่อส่งมอบให้คนรุ่นถัดไป…

ปัจจุบันมีนักวิชาการด้าน future studies ที่บุกเบิกงานนี้มาตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 80 เช่น Professor Riel Miller และ Joseph Voros

future literacy ครอบคลุมตั้งแต่ การวิเคราะห์สแกนสถานการณ์รอบข้างภายใต้เครื่องมืออย่าง STEEP หรือ social, technology, economic, ecological และ political การใช้ simulation จำลองภาพอนาคตที่อยู่ไกลออกไปอย่างน้อย 5-10 ปี… การออกแบบอนาคตที่เรียกว่า building scenario เพราะอนาคตไม่ได้มีแค่เหตุการณ์ใด เหตุการณ์เดียว หากแต่มี multiple future scenarios

น่าสนใจว่า วันที่เราเห็นนีล อาร์มสตรอง เหยียบดวงจันทร์ มันทำให้เรามองเห็นโลกทั้งใบของเราจากดวงจันทร์ด้วยสายตาที่แจ่มชัดขึ้น

ภาพถ่ายโลกจากดวงจันทร์ ที่มาภาพ : https://www.nasa.gov/apollo11-gallery

…Project Apollo 11 ได้ถ่ายภาพโลกของเราให้เห็นเป็นครั้งแรก และเป็นภาพถ่ายประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ