ThaiPublica > สู่อาเซียน > ASEAN Roundup เวียดนาม-ลาวขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

ASEAN Roundup เวียดนาม-ลาวขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

19 มิถุนายน 2022


ASEAN Roundup ประจำวันที่ 12-18 มิถุนายน 2565

  • เวียดนามขึ้นค่าจ้างระดับภูมิภาคขั้นต่ำ 6% เริ่ม 1 ก.ค.
  • ลาวขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มค่าครองชีพ
  • เวียดนามมีสินค้ายอดส่งออกทะลุ 1 พันล้านดอลล์ 27 รายการ
  • เวียดนามห้ามบริษัทประกันภัยลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
  • สิงคโปร์ขีดความสามารถแข่งขันอันดับ 3 ของโลก
  • เวียดนามขึ้นค่าจ้างระดับภูมิภาคขั้นต่ำ 6% เริ่ม 1 ก.ค.

    ที่มาภาพ : http://hanoitimes.vn/covid-19-may-hurt-up-to-5-million-workers-in-vietnam-in-q3-313661.html

    รองนายกรัฐมนตรี ฟาม บิ่ง มินห์ ได้รับการอนุมัติกฎหมายฉบับใหม่ที่ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในระดับภูมิภาค 6%สำหรับผู้ที่ใช้แรงงาน โดยกฎระเบียบใหม่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม

    ค่าแรงขั้นต่ำจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 7.76 -11.20 ดอลลาร์สหรัฐฯขึ้นอยู่กับภูมิภาค อีกทั้งค่าจ้างรายชั่วโมงขั้นต่ำจะอยู่ในช่วง 0.70-1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งขึ้นอยู่กับภูมิภาคด้วย

    การแบ่งพื้นที่ตามภูมิภาคจะพิจารณาจากสถานประกอบการของนายจ้าง

    ภูมิภาค 1 ครอบคลุมพื้นที่เขตเมืองของกรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ ภูมิภาค 2 ครอบคลุมพื้นที่ชนบทของฮานอยและ HCM City ตลอดจนเขตเมืองสำคัญในประเทศ เช่น เกิ่นเทอ ดานัง และไฮฟอง ภาค 3 ครอบคลุมเมืองในจังหวัดและอำเภอของจังหวัดบั๊กนิญ บักซาง และไฮเดือง และภาค 4 ประกอบด้วยส่วนอื่นๆ ของประเทศ

    การปรับค่าจางขั้นต่ำนี้มีผลบังคับใช้กับคนงานและนายจ้างภายใต้สัญญาจ้างงานตามประมวลกฎหมายแรงงาน

    ลาวขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มค่าครองชีพ

    โรงงานสิ่งทอในสปป.ลาว ที่มาภาพ: https://laotiantimes.com/2022/01/28/laos-to-raise-minimum-wage-by-march-this-year/
    ฐบาลลาวได้ให้ความเห็นชอบที่จะ เพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำรายเดือนจาก 1,100,000 กีบ (ประมาณ 72 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เป็น 1,300,000 กีบ (ประมาณ 86 ดอลลาร์สหรัฐฯ) สำหรับพนักงานภาคเอกชน เพื่อให้ทันกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น

    ค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นนี้จะมีผลบังคับใช้ในเดือนสิงหาคม ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้คนนับล้านที่ต้องดิ้นรนเอาชีวิตรอดในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลให้ราคาพุ่งสูงขึ้น

    เวียงจันทน์ไทมส์หนังสือพิมพ์ในประเทศรายงานเมื่อวันศุกร์(17 มิ.ย.)ว่า เมื่อจันทร์(13 มิ.ย.)สำนักนายกรัฐมนตรีได้ประกาศการปรับขึ้นค่าจ้างตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ แต่การปรับขึ้นค่าจ้างไม่มีผลกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับค่าจ้างในระดับเงินเดือนที่แตกต่างกัน

    ประกาศดังกล่าวแนะนำให้เจ้าของเสื้อผ้าสำเร็จรูปและโรงงานอื่นๆ ในลาวนำค่าแรงขั้นต่ำใหม่ไปปฏิบัติ นายจ้างจะถูกดำเนินคดีหากไม่จ่ายค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับใหม่ให้กับพนักงาน

    สำนักนายกรัฐมนตรีระบุว่า เป็นความรับผิดชอบของสหพันธ์แรงงานลาวที่จะทำงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อเจรจาเรื่องสัญญาจ้างงานบุคคลหรือจ้างแบบเหมารวม ค่าจ้าง นโยบายและผลประโยชน์

    เจ้าหน้าที่อาวุโสจากกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมกล่าวว่า นายจ้างควรเห็นอกเห็นใจคนงานและช่วยให้พวกเขามีสถานการณ์ที่ขึ้นเนื่องจากพวกเขาเป็นผู้ที่ทำให้นายจ้างสามารถทำกำไรได้

    การขึ้นค่าจ้างถือเป็นสิ่งจำเป็นในการป้องกันไม่ให้ผู้คนตกสู่ความยากจนและประสบความทุกข์ยากท่ามกลางค่าครองชีพที่ทวีความรุนแรงขึ้น

    เวียดนามมีสินค้ายอดส่งออกทะลุ 1 พันล้านดอลล์ 27 รายการ

    ที่มาภาพ: https://en.vietnamplus.vn/27-export-items-listed-in-onebillionusd-club-in-five-months/231278.vnp
    นายโด ทัง ไห่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 16 มิถุนายนว่า สินค้าส่งออกของเวียดนาม 27 รายการมีมูลค่าส่งออกทะลุมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เมื่อเทียบกับเพียง 23 รายการในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

    รายได้จากการส่งออกของเวียดนามในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้น 18.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้มูลค่ารวม 5 เดือนสูงขึ้น 16.7%

    มูลค่าการส่งออกในภาคเศรษฐกิจภายในประเทศขยายตัว 21.3% สูงกว่าภาคการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (15.1% รวมทั้งน้ำมันดิบ) ซึ่งนายไห่กล่าวว่า สะท้อนการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของบริษัทในประเทศและการกลับมาของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก

    อย่างไรก็ตาม นายไห่ชี้ว่า สถานประกอบการประสบปัญหามากมาย เนื่องจากต้นทุนการผลิตพุ่งสูงขึ้น ซึ่งรวมถึงการขนส่งและคลังสินค้า และราคาวัสดุ

    นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจ FDI เช่น Samsung และอิเล็กคทรอนิกส์ได้ลดขนาดการผลิตสินค้าบางรายการ จากความต้องการที่ลดลงและมาตรการล็อกดาวน์ของจีนก็ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการส่งออกของเวียดนามด้วยเช่นกัน

    กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าจะทำงานมากขึ้นเพื่อช่วยให้ธุรกิจใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่เวียดนามได้ลงนามเพื่อเร่งการส่งออกและเพิ่มการบริโภคภายในประเทศ คงการติดต่อกับจีนและประสานงานกับกระทรวงหน่วยงานและท้องถิ่นอื่น ๆ เพื่อให้การผ่านด่านศุลกากรที่ชายแดนมีความต่อเนื่อง

    นอกจากนี้ยังจะทบทวนและเสนอมาตรการลดภาษีและค่าธรรมเนียม หรือแนวทางแก้ไขเพื่อสนับสนุนบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าบางประเภทที่พุ่งสูงขึ้น

    เวียดนามห้ามบริษัทประกันภัยลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

    ที่มาภาพ: https://e.vnexpress.net/news/economy/vietnam-to-ban-insurance-companies-from-real-estate-investment-4476795.html

    บริษัทประกันภัยจะไม่ได้รับอนุญาตให้ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม เป็นผลจากการแก้ไขฎหมายประกันภัยล่าสุดตามที่สมาชิกสภานิติบัญญัติได้ลงมติด้วยคะแนนเกือบ 92.5% ในเช้าวันพฤหัสบดี(16 มิ.ย.)

    อย่างไรก็ตาม กฎหมายอนุญาตให้บริษัทประกันภัยสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสำนักงานใหญ่ หรือสำนักงานเพื่อดำเนินการ หรือให้เช่าพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ของอสังหาริมทรัพย์ของตน

    กฎหมายระบุว่า บริษัทประกันภัยสามารถซื้อขายหุ้นของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ แต่รัฐบาลจะต้องกำหนดเพดานการลงทุนนี้เพื่อลดความเสี่ยง

    บริษัทประกันภัยจะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เงินประกันของพลเมืองเวียดนามเพื่อชดเชยความสูญเสียหรือการขาดแคลนเงินสดของธุรกิจต่างประเทศของบริษัท

    กฎหมายที่แก้ไขแล้วยังยกเลิกกองทุนที่มีไว้เพื่อปกป้องลูกค้าประกันภัยเนื่องจากกองทุนนี้ไม่เคยมีการใช้นับตั้งแต่ก่อตั้งมานาน 12 ปี

    SSI Research คาดการณ์ว่ารายรับจากเบี้ยประกันจะเพิ่มขึ้น 18% เป็น 256 ล้านล้านด่องในปีนี้ โดยได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของอุปสงค์และการประกันภัยออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นและการร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีประกันภัย

    สิงคโปร์ขีดความสามารถแข่งขันอันดับ 3 ของโลก

    ที่มาภาพ: https://www.bworldonline.com/top-stories/2022/06/15/455047/phl-competitiveness-ranking-improves/
    International Institute for Management Development หรือ IMD สวิตเซอร์แลนด์ประกาศผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน World Competitiveness Center ประจำปี 2022 เมื่อวันพุธ (15 มิถุนายน)

    โดยสิงคโปร์ไต่ขึ้น 2 อันดับ หลังจากร่วงจากที่หนึ่งมาอยู่อันดับ 5 ในปีที่แล้วมาเป็นเศรษฐกิจที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงเป็นอันดับสามของโลก รองจากเดนมาร์กและสวิตเซอร์แลนด์

    IMD ตั้งอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์และสิงคโปร์ สิงคโปร์ ซึ่งครองตำแหน่งสูงสุดในปี 2019 และ 2020 เป็นเศรษฐกิจที่มีขีดความสามารถอันดับต้นๆ ของเอเชียแปซิฟิกในปีนี้ ตามมาด้วยฮ่องกง ไต้หวัน และจีน ซึ่งครองอันดับที่ 5, 7 และ 17 ระดับโลก

    IMD กล่าวว่าการกลับมาติดอันดับของสิงคโปร์เกิดจากการที่เศรษฐกิจในประเทศดีขึ้นอย่างมาก โดยขยับจากอันดับที่ 15 มาอยู่ที่ 1, การจ้างงานเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 18 มาอยู่ที่อันดับสาม, การเงินสาธารณะจากอันดับที่ 12 มาอยู่ที่อันดับที่ 6, และประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มขึ้นจากอันดับ 14 มาอยู่ที่อันดับ 9

    สิงคโปร์ครองตำแหน่งสูงสุดทั้งในการค้าระหว่างประเทศและโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี ติดอันดับสองในด้านกฎหมายธุรกิจ แต่สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 14 สำหรับแนวปฏิบัติด้านการจัดการ อันดับที่ 16 สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และอันดับที่ 25 สำหรับด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

    ด้านฟิลิปปินส์ไต่ขึ้น 4 อันดับ มาอยู่ในอันดับที่ 48จากทั้งหมด 63 ประเทศ จากอันดับที่ 52 ในการจัดอันดับขีดความสามารถทั้งหมด 64 ประเทศในปี 2021 ซึ่งเป็นอันดับสูงสุดของฟิลิปปินส์ในรอบสองปีหรือนับตั้งแต่ติดอันดับที่ 45 ในปี 2020

    อย่างไรก็ตาม ฟิลิปปินส์ยังคงตามหลังประเทศเพื่อนบ้าน โดยรั้งอันดับที่ 13 ในกลุ่มเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกทั้ง 14 ประเทศ เป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน

    มาเลเซียติดอันดับที่ 32 ลดลง 7 อันดับจากอันดับที่ 25 ในปี 2021 ประเทศไทย ติดอันดับ 33 ตกลงจากอันดับ จาก 28 อินโดนีเซีย ติดอันดับ 44 ถอยลงจาก 37 เพราะเปิดเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ช้าเมื่อเทียบกับสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา