ThaiPublica > ข่าวประชาสัมพันธ์ (archive) > GCNT จัด “Virtual Leaders Summit 2021” : A New Era of Action…Start Now

GCNT จัด “Virtual Leaders Summit 2021” : A New Era of Action…Start Now

3 มิถุนายน 2021


ข่าวประชาสัมพันธ์

สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (Global Compact Network Thailand: GCNT) เครือข่ายท้องถิ่น (Local Network) ของโครงการสำคัญระดับโลกขององค์การสหประชาชาติ เตรียมจัดฟอรั่มใหญ่ระดับโลก “Virtual Leaders Summit 2021” ระดมทัพสุดยอดผู้นำจากทั่วโลก รับมือกับความท้าทายของวิกฤติโควิด-19 และความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รวดเร็ว ทั้งผู้กำหนดนโยบาย ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาควิชาการและภาคประชาสังคม กว่า 1,000 คน อาทิ อันโตนิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ฮาลีมะฮ์ ยากอบ ประธานาธิบดีสิงคโปร์ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีไทย ไนเจล ท้อปปิ้ง High-Level Climate Champions for Climate Action COP26 เจมส์ ควินซีย์ ซีอีโอ โคคา-โคลา จูลี่ สวีท ซีอีโอ เอคเซนเซอร์

พร้อมด้วยนักธุรกิจจากประเทศไทย นายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ศุภชัย เจียรวนนท์ ได้รับเกียรติในการร่วมเสวนาบนเวทีระดับโลก และซีอีโอองค์กรชั้นนำ ซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กฯ บมจ. เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ บมจ. ไทยวา องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ร่วมระดมความคิด ผนึกกำลังปรับเป้าหมายทางธุรกิจ เพื่อจัดการกับวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มาบรรจบการระบาดของโควิด-19 ความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม เศรษฐกิจที่เลวร้ายลง และการคอร์รัปชันที่ไม่ถูกตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแผนงานเพื่อการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน

พร้อมเปิดประชุมทางไกลสร้างเครือข่าย Online Networking ตลอด 26 ชั่วโมง ในวันที่ 15-16 มิถุนายนนี้ สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียนล่วงหน้าได้แล้ววันนี้ที่ https://globalcompact-th.com/UNGCLeadersSummit2021


เกี่ยวกับ GCNT

สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ( Global Compact Network Thailand: GCNT) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2559 โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งในไทย 15 บริษัท ปัจจุบันมีสมาชิก 70 บริษัท โดย GCNT ถือเป็นหนึ่งในเครือข่ายท้องถิ่น (Local Network) ของโครงการสำคัญในระดับโลกขององค์การสหประชาชาติ UN Global Compact เครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งรณรงค์ให้บริษัททั่วโลกวางกลยุทธ์และยึดหลักการทำงานที่สร้างเศรษฐกิจยั่งยืนครอบคลุมการดำเนินงานใน 4 ด้าน ได้แก่ สิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงานสิ่งแวดล้อม การต่อต้านทุจริต ตลอดจนดำเนินกิจกรรมที่ช่วยผลักดันเป้าหมายของสังคมในวงกว้าง ภายใต้หลักสากล 10 ประการของ UN Global Compact เพื่อบรรลุเป้าหมายของสหประชาชาติ อาทิ เป้าหมายสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) รวมไปถึงข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Paris Agreement)