ThaiPublica > เกาะกระแส > พญ.เชิดชู ชนะคดีนพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ฟ้องหมิ่นประมาท กรณีน่าสงสัยว่า ไทยพีบีเอส-สสส. ต่างมีผลประโยชน์ตอบแทนหรือไม่

พญ.เชิดชู ชนะคดีนพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ฟ้องหมิ่นประมาท กรณีน่าสงสัยว่า ไทยพีบีเอส-สสส. ต่างมีผลประโยชน์ตอบแทนหรือไม่

22 พฤษภาคม 2021


พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา

หลังจากการต่อสู้คดีมาเกือบ 5 ปี ในที่สุดศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาคดีที่นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ อดีตประธานมูลนิธิไทยพีบีเอส เป็นโจทก์ฟ้องแพทย์หญิงเชิดชู อริยศรีวัฒนา จำเลย ข้อหาหมิ่นประมาทว่าใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สามและสาธารณชนโดยการโฆษณาผ่านเฟซบุ๊กในชื่อเพจของจำเลยว่า Churdchoo Ariyasriwatanaเป็นการนำข้อมูลสู่ระบบคอมพิวเตอร์เป็นเท็จ โดยฟ้องเมื่อปี 2559 ในครั้งนั้นในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ประทับรับฟ้องศาล ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์ กำหนดให้ชดใช้ทางแพ่ง 1 ล้านบาท (ฟ้องเรียกค่าเสียหาย 3 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5% ต่อปี และลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวัน 6 ฉบับ 7 วัน) จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้อง โจทก์ได้ฎีกาต่อ

โดยในคำพิพากษาศาลฎีกา ได้ระบุว่า …ศาลฎีกาตรวจสำนวน ประชุมที่ปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า ในเวลา สถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยพิมพ์ข้อความเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ผ่าน เฟซบุ๊ก ชื่อเพจ churdchoo Ariyasriwatana (เชิดชู อริยศรีวัฒนา) ความว่า ” จึงต้องมาดูความเกี่ยวข้องระหว่างไทยพีบีเอส และ สสส.บ้าง ก็จะพบว่ามีกรรมการบอร์ด สสส. คนหนึ่งที่ถูกปลดออกจากตำแหน่ง โดยคำสั่งที่ 1/2559 ของมาตรา 44 คือนายยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ซึ่งในขณะเดียวกันก็มีตำแหน่งเป็นประธานมูลนิธิไทยพีบีเอส และได้รับเงินจากสสส.ไปรวมแล้ว 284,794,540 บาท จึงน่าสงสัยว่า ไทยพีบีเอส และสสส. ต่างก็มีผลประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ เช่น สสส. อนุมัติเงินให้มูลนิธิไทยพีบีเอส ทางไทยพีบีเอสก็เลยตอบแทนผู้จัดการ สสส.(ในเวลายากลำบาก) ด้วยการมอบตำแหน่งผู้อำนวยการไทยพีบีเอสให้”

“และนพ.ยงยุทธ เองก็บอกว่าไม่เคยทุจริต นพ.ยงยุทธเองได้รับเงินจาก สสส.หลายร้อยล้านบาท อาจจะเป็นการ “ประพฤติมิชอบ” โดยการมีผลประโยชน์ส่วนตนจากเงินงบประมาณ สสส. โดยการที่นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ จะได้งบประมาณจาก สสส. มาทำโครงการมากมายเกือบ 300 ล้านบาทคนเดียวนั้น นอกจากจะเป็นเพราะตัวเองเป็น กรรมการ สสส.แล้ว ยังอาจจะเป็นเพราะมี connection ส่วนตัวกับนพ. กฤษฎา เรืองอารีรัชต์ อดีตผู้จัดการ สสส. อีกก็เป็นได้ จึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่า กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ก็คือผู้เป็นเครือข่ายไทยพีบีเอสที่รับเงิน สสส. เข้าสู่มูลนิธิไทยพีบีเอส และตอนนี้ไทยพีบีเอสก็เลือกอดีตผู้จัดการ สสส. นพ.กฤษฎา เรืองอารีรัชต์ มาเป็นผู้อำนวยการไทยพีบีเอส ทั้งๆที่มีข้อครหาว่าเป็นผู้บริหาร สสส. ที่ร่วมกับบอร์ด สสส. ในการอนุมัติเงินงบประมาณโครงการให้แก่มูลนิธิของกรรมการ สสส.เอง ซึ่งกำลังถูกตรวจสอบอยู่อย่างเข้มข้นในขณะนี้ จึงไม่น่าจะมีคุณสมบัติ ในการเป็นผู้บริหารที่ดีขององค์กรขนาดใหญ่”

ศาลฎีการะบุว่า…แต่การที่จะพิจารณาว่าข้อความใดเป็นการใส่ความผู้อื่นด้วยการโฆษณาหรือไม่ จำต้องพิจารณาข้อความนั้นทั้งหมดมิใช่เพียงบางส่วนบางตอนเท่านั้น …จากที่โจทก์อ้าง จำเลยใช้ชื่อหัวข้อว่า “จากอดีตผู้จัดการ สสส. กับตำแหน่งใหม่ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ไปจนถึงการเปลี่ยนสังคมจากแนวดิ่งเป็นแนวราบ” มีรายละเอียดสรุปใจความว่า…ทพ.กฤษฎา เรืองอารีรัชต์ ผู้จัดการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเริมสุขภาพ (สสส.) ลาออกจากตำแหน่ง แล้วได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส) แม้จะมีปัญหาว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฏหมายหรือไม่ และน่าสงสัยว่าสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กับสสส.ต่างมีผลประโยชน์ตอบแทนกันหรือไม่ เช่น สสส.อนุมัติเงินให้มูลนิธิไทยพีบีเอส ทางไทยพีบีเอสตอบแทนอดีตผู้จัดการ สสส.ด้วยการมอบตำแหน่งผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสให้

นอกจากนี้องค์กรมหาชนเกี่ยวกับการแพทย์และสาธารณสุขหลายองค์กร มีกรรมการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็น ใช้เงินขององค์กรไปในทางสร้างภาพ รั่วไหล และส่งคนขององค์กรไปควบคุมสื่อสารมวลชนเพื่อทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้องค์กร แต่สงสัยว่านายกรัฐมนตรีจะตรวจสอบสสส.และองค์กรมหาชน รัฐวิสาหกิจดังกล่าว ต่อไปหรือไม่ และการแก้กฏหมายขององค์กรต่างๆดังกล่าว อันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของสสส.ที่มีรายได้จากเงินบำรุงจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฏหมายว่าด้วยสุราและกฏหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละ 2 ของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพในประชากรทุกวัย ตามพ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ.2544 มาตรา 11 และมาตรา 5

  • “ประยุทธ์” ใช้ ม.44 พักงาน จนท.รัฐ 59 คน – ปลดบอร์ด สสส. 7 คน “นพ.วิชัย โชควิวัฒน” โดนด้วย – รวม 3 ล็อต 175 คน
  • “ประยุทธ์” ย้ำอยากมี ส.ว.สรรหา 5 ปีช่วงเปลี่ยนผ่าน คุม “แก้ รธน.-ยุทธศาสตร์ชาติ” ครม. ทั้งบอร์ด สสส. ใหม่ ย้ายเลขาฯ ปปง.
  • ประธานบอร์ด สสส. ลงนามประกาศ แก้ปมประโยชน์ทับซ้อนแล้ว – คตร. จ่อชงนายกฯ ปลดล็อกแช่แข็งงบ 1.9 พันล้าน
  • บอร์ดสสส.เลือก “สุปรีดา อดุลยานนท์” เป็นผู้จัดการคนใหม่ – ตั้งคณะกรรมการสรรหา 7 ผู้ทรงคุณวุฒิแทนคนที่ถูก ม.44 ปลด
  • สสส. ส่งเอกสารแจง 5 ประเด็น ระบุรายงานประเมินผลสอบสตง. “ยังไม่ถือเป็นที่สุด”
  • ผลสอบ สตง. ประเมิน สสส. ปี 2557 (ตอนที่1) : สั่งเรียกเงินคืนจากผู้บริหารยันพนักงาน เบิกซ้ำซ้อน – ไม่มีเอกสารยืนยันไปตปท.รวมกว่า 8 ล้านบาท
  • ผลสอบ สตง. ประเมิน สสส. ปี 2557 (ตอนที่2) : ทำงบขาดดุลหวั่นขาดสภาพคล่อง – จ่ายเงินโครงการงวดแรก 50-100% ทั้งที่ยังไม่เริ่มงาน
  • แม้จะมีข้อความกล่าวถึงโจทก์ดังข้อความที่โจทก์บรรยายฟ้อง ทำนองว่า โจทก์เป็นกรรมการสสส.และประธานมูลนิธิไทยพีบีเอส ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนทำโครงการถึง 284,797,540 บาท จึงน่าสงสัยว่าไทยพีบีเอสกับสสส.จะมีผลประโยชน์ตอบแทนกันหรือไม่ เนื่องจาก สสส.อนุมัติเงินให้มูลนิธิไทยพีบีเอส ซึ่งมีโจทก์เป็นกรรมการ สสส. และมีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับทพ.กฤษฎา ทางไทยพีบีเอส ตอบแทนอดีตผู้จัดการกองทุนสสส. ด้วยการมอบตำแหน่งผู้อำนวยการไทยพีบีเอส ก็เป็นได้

    ข้อความดังกล่าวเป็นเพียงการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาเป็นตัวอย่างสนับสนุนข้ออ้างของจำเลย แล้วนำมาตั้งเป็นข้อสังเกต ข้อสงสัยและคาดการณ์ว่าอาจจะเป็นเช่นนั้นก็เป็นได้ จึงอาจไม่ถือได้ว่าเป็นการใส่ความ หรือเป็นการหมิ่นประมาทให้โจทก์ (นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์)ได้รับความเสียหาย แต่เป็นการกล่าวติชมด้วยความเป็นธรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา

    จำเลยไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ (โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหาย 3 ล้านบาทและคิดดอกเบี้ยร้อยละ7.5นับแต่วันฟ้อง และต้องโฆษณาคำพิพากษาในเพจของจำเลย 30 วัน และลงโฆษณาในนสพ.มติชนรายวัน ข่าวสด ไทยรัฐ เดลินิวส์ ผู้จัดการรายวัน คมชัดลึก(ปัจจุบันคมชัดลึกปิดนสพ.แล้ว) เป็นเวลา 7 วัน ) และที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 328 และยกคำขอในส่วนแพ่งมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้อง ฎีกาของโจทก์จึงฟังไม่ขึ้น