ThaiPublica > เกาะกระแส > “ภัทร” ปรับจีดีพีปีนี้จาก 1.4% ติดลบ 0.4% เข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคจากพิษโควิด-19

“ภัทร” ปรับจีดีพีปีนี้จาก 1.4% ติดลบ 0.4% เข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคจากพิษโควิด-19

13 มีนาคม 2020


เจ้าหน้าที่ฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อสะพานริอัลโต้ เมืองเวนิซ อิตาลี ที่มาภาพ : https://www.cnbc.com/2020/03/11/coronavirus-live-updates.html

บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ปรับประมาณการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยลงอีกครั้งจาก 1.4% เป็นติดลบ 0.4% หลังการที่การะบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่หรือโควิด-19 ที่ระบาดในภูมิภาคหนึ่ง ได้กลายเป็นการระบาดครั้งใหญ่ของโลกหรือ Pandemic

ในบทวิเคราะห์ประจำวันที่ 11 มีนาคม 2562 บล.ภัทรประเมินว่า ในกรณีฐาน มาตรการกักกันและการสกัดการระบาดจะมีผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศเศรษฐกิจหลัก ในไตรมาสสองและไตรมาสสามของปีนี้ แต่ผลกระทบต่อไทยนั้นจะรุนแรง เพราะเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวอย่างมาก

ประเด็นหลักที่มีผลต่อการประเมินการเติบโตของเศรษฐกิจได้แก่ การท่องเที่ยวซึ่งมีสัดส่วน 12% ในจีดีพีของประเทศในปี 2019 ซึ่งบล.ภัทรคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาจะลดลง 50% ในไตรมาสแรกและไตรมาสสองของปีนี้ ก่อนที่จะฟื้นตัวอย่างช้าๆในครึ่งหลังของปี ตลอดทั้งปีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาจะลดลง 25% ซึ่งจะมีผลต่อแนวโน้มศรษฐกิจมากกว่าที่คาดไว้ในช่วงก่อนหน้า ขณะที่เครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวอื่นจะยังไม่เติบโตนัก จากความท้าทายที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ส่วนราคาน้ำมันดิบที่ลดลงอาจจะให้ทางบวกเล็กน้อยต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ

การท่องเที่ยวจะยังคงย่ำแย่ในไตรมาสสอง ดังนั้นการคาดการณ์ในกรณีฐานจึงประเมินว่า เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค ซึ่งหมายถึงการหดตัวสองไตรมาสติดต่อกัน อีกทั้งคาดการฟื้นตัวจะอยู่ในรูปตัวยู(U Shape) ขณะที่กิจกรรมทางการท่องเที่ยวและกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะค่อยๆกลับสู่ภาวะปกติในครึ่งหลังของปี

จากเศรษฐกิจที่ตกต่ำและจากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯจะลดลงดอกเบี้ยลงที่ระดับ 0% บล.ภัทรมองว่าจะมีแรงกดดันต่อคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ของไทยให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% ลงไปที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.75% ในการประชุมครั้งต่อไปวันที่ 25 มีนาคม 2563 หลังจากการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯหนึ่งสัปดาห์

การที่กนง.ดำเนินนโยบายอย่างระมัดระวัง ยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด บล.ภัทรจึงไม่คาดว่า กนง.จะลดดอกเบี้ยหลังจากนี้ แต่มีมุมมองว่าการใช้มาตรการให้ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อแบบเฉพาะกลุ่มและการเสริมสภาพคล่องเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสภาพคล่องที่อาจนำไปสู่ปัญหาการล้มละลายมีความสำคัญ นอกจากนี้ยังคาดว่าจะมีมาตรการทางการคลังแบบตรงเป้าหมายมากขึ้น เพื่อบรรเทาผลกระทบและกระตุ้นเศรษฐกิจ

  • กรุงไทยประเมินจีดีพีปีนี้โต 1.5% หากไวรัสโควิด-19 กินเวลา 6 เดือนเต็ม
  • วิจัยกรุงศรีปรับจีดีพีปี’63 เหลือ 1.5% – บล.ภัทรลดมาอยู่ที่ 1.4%
  • จับตาพิษ COVID-19 ขวิดการค้าและห่วงโซ่การผลิตไทยเสียหาย 2.4 แสนล้านบาท
  • COVID-19 ทำเศรษฐกิจโคม่า เจาะลึกทำไมไทยกระทบหนักสุดในภูมิภาค เปราะบางจากธุรกิจถึงรากหญ้า
  • ภายใต้การประเมินว่าเศรษฐกิจโลกจะถดถอยเล็กน้อย การเติบโตจะลดลงมาที่ 1.4% ส่วนเศรษฐกิจไทยจะลดลง 2% ในปี 2020 เพราะคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยว การส่งออก ซึ่งผลต่อเนื่องไปยังภาคเศรษฐกิจอื่นๆและความเชื่อมั่นในประเทศ ทั้งนี้คาดว่าทั้งปีการท่องเที่ยวจะหดตัว 40%(นักท่องเที่ยวที่เดินทางเขาจำนวนลดลง 16 ล้านราย) เพราะความเชื่อมั่นยังไม่ดีขึ้น บล.ภัทรคาดว่า กนง.จะลดดอกเบี้ยลงสองครั้ง ในครั้งละ0.25% ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย สิ้นปีอยู่ 0.50%

    แม้จะได้ปรับลดคาดการณ์ลง ก็ยังคงมีความเสี่ยงด้านต่ำ เพราะยังไม่ได้นำการระบาดของไวรัสในประเทศมาร่วมประเมินด้วย ซึ่งก็มีความเป็นได้ หากดูจากตัวอย่างในประเทศอื่นๆ และหากเป็นเช่นนั้นจริง การบริโภคในประเทศจะยังลดลงต่อเนื่อง แต่ยังมีโอกาสดีขึ้นหากมาตรการกักกันและการคิดค้นยาได้ผล ก็จะช่วยลดความกังวลของประชาชนและทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัว

    อนึ่งก่อนหน้านี้ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) บริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ได้ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของ GDP ไทยปี 2563 ลงเหลือ 1.4% (จากเดิมที่คาดไว้ 2.2%)