ThaiPublica > เกาะกระแส > ไทย ปิดล้อมเส้นทางอาชญากรรมลักลอบค้าตัวลิ่นข้ามชาติ

ไทย ปิดล้อมเส้นทางอาชญากรรมลักลอบค้าตัวลิ่นข้ามชาติ

23 กันยายน 2019


ผู้สื่อข่าวจากเอเชีย แอฟริกา และยุโรปจาก 14 สำนักข่าวใน 30 ประเทศได้ริเริ่มโครงการรายงานข่าวร่วมกันทั่วโลก Global Environmental Reporting Collective เกี่ยวกับความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตที่ใกล้จะสูญพันธ์ โดยโครงการแรกเป็นการรายงานข่าวเรื่องการลักลอบค้าตัวลิ่นหรือ Pangolin สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีการลักลอบค้ามากที่สุดในโลก ซึ่งสำนักข่าวไทยพับลิก้าเป็นสื่อจากไทยที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมโครงการ โดยรายงาน Trafficked to Extinction จะมีการเผยแพร่อย่างเป็นทางการในวันที่ 25 กันยายน 2562 นี้

“ไทยพับลิก้า” จึงนำเสนอข่าวการลักลอบค้าตัวลิ่นในประเทศไทยมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นการรวมจากรายงานข่าวที่ได้นำเสนอไปตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนทก่อนที่จะนำเสนอข้อมูลจากรายงาน Trafficked to Extinction ในสัปดาห์นี้

ทั้งนี้รายงานข่าวภาคภาษาอังกฤษอยู่ด้านล่างของรายงานข่าวนี้

ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการป้องกันและปราบปรามการลักลอบค้าตัวลิ่นมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประเทศไทยซึ่งเดิมเป็นประเทศเส้นทางหลักของการขนตัวลิ่นจากอินโดนีเซีย มายังมาเลเซีย เพื่อขนส่งทางรถเข้าไทย ก่อนข้ามแม่น้ำโขงออกไป กัมพูชา เวียดนาม กับจีน ซึ่งเป็นตลาดบริโภคหลัก ได้กลายเป็นประเทศที่มีการป้องกันปราบปรามอย่างเข้มแข็ง

นายสมเกียรติ สุนทรพิทักษ์กุล ผู้อำนวยการ กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพืชป่า เปิดเผยว่า การดำเนินการปราบปรามการลักลอบค้าตัวนิ่มในประเทศไทยถือว่าได้ผล เพราะการลักลอบค้าตัวนิ่มในไทยลดลง ทำให้ปริมาณการจับกุมลดลง

นายสมเกียรติ สุนทรพิทักษ์กุล

ปี 2560 จับกุมได้ 6 คดี มีจำนวนตัวลิ่น 184 ตัว ได้เกล็ดลิ่น 1 ตัน จับกุมได้ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ปี 2561 จับกุมได้ 4 คดี ที่จ.หนองคาย จ.กาญจนบุรี เชียงของ(จ.เชียงราย) จ.สงขลา รวม 156 ตัว ปี 2562 จับได้ที่ด่านสะเดาจำนวน 47 ตัว ที่ผ่านมาจับได้นับพันตัว

นายสมเกียรติกล่าวว่า ลิ่นมีชีวิตส่วนใหญ่ถูกจับ รวบรวม มาจากประเทศอินโดนีเซีย และลักลอบผ่านชายแดนใต้ไปภาคอีสาน เพื่อต่อไปลาว เวียดนาม และจีน ส่วนการลักลอบค้าจากแอฟริกาอยู่ในรูปเกล็ดลิ่น ส่งผ่านทางเครื่องบิน

ราคาตัวลิ่นมีชีวิตในช่วง 2-3 ปีก่อน การลักลอบเข้ามาที่กรุงเทพฯ ราคากิโลกรัมละ 5,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่เคยล่อซื้อในภัตตาคารจีน แต่ตอนนี้ปิดไปแล้ว ส่วนราคาหากผ่านไปลาวได้จะเพิ่มขึ้น

การขนส่งเดิมใช้รถใหญ่บรรทุกหรือใช้รถปิกอัพหนึ่งคันบรรทุกได้ 100 กว่าตัว แต่ปัจจุบันการลักลอบขนเป็นกองทัพมด มีการดัดแปลง ขนใส่รถยนต์ส่วนบุคคล ครั้งละ 10-20 ตัว เพื่อไม่ให้ตรวจ แต่รอดจากการจับกุยากเพราะตัวลิ่นกลิ่นแรง

ทางด้านแหล่งข่าวในพื้นที่ภาคใต้ให้ข้อมูลว่า การลักลอบนำตัวลิ่นผ่านด่านศุลกากรมาจากมาเลเซียซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ของตัวนิ่ม ส่วนใหญ่จะผ่านด่านศุลกากรในจังหวัดสงขลา ได้แก่ ด่านศุลกากรสะเดา ที่ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา ด่านศุลกากรปาดังเบซาร์ ที่ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดาเช่นกัน และด่านศุลกากรบ้านประกอบ อำเภอนาทวี

แหล่งข่าวให้ข้อมูลต่อว่า การลักลอบนำเข้าตัวนิ่มผ่านด่านชายแดนภาคใต้เป็นกระบวนการใหญ่ มีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ทั้งในฝั่งมาเลเซีย ฝั่งไทย ตั้งแต่เจ้าหน้าที่ตำรวจของทั้งสองประเทศ เจ้าหน้าที่กรมศุลกากร เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และมีเถ้าแก่หรือหุ้นส่วนฝั่งไทยเป็นผู้รับซื้อในกระบวนการ

การขนส่งส่วนใหญ่จะใส่ไว้ในท้ายรถยนต์ส่วนตัว และผู้ที่รับจ้างทำหน้าที่ขนก็จะขับรถยนต์แยกกันมาตามแต่ละด่าน เมื่อมาถึงฝั่งไทยจะมีเถ้าแก่มารับไปอีกทอดเพื่อส่งไปจีนตามที่ได้มีคำสั่งซื้อมา ในราคาประมาณ 3,000 บาทต่อ 1 กิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาในไทย แต่หากส่งถึงจีนราคาก็จะสูงขึ้นไปถึง 20,000 บาทต่อกิโลกรัม

นายสมเกียรติกล่าวว่า ในช่วงหลังเมื่อการปราบปรามเข้มแข็งมากขึ้น ปกป้องได้ดี การลักลอบขนก็เปลี่ยนเส้นทางขน ไม่ใช่ประเทศไทย เพราะการขนผ่านไทยก็จะถูกจับตลอด

“เราก็ไม่อาจจะพูดได้ว่าการลักลอบผ่านประเทศไม่มีเลย แต่เบาบางลงมาก และการลักลอบขนส่งอาจจะเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อน จับแต่ละครั้งได้ประมาณ 300-400 ตัว เปลี่ยนไปรูปกองทัพมดมาครั้งละ 4-5 ตัว ข้ามชายแดนมาแล้วรวบรวมแถวอีสานเพื่อส่งต่างประเทศ”

ในช่วง 3-4 ปีมีการจับกุมตัวลิ่นได้ที่จ.สุราษฏร์ธานี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากแม้ผ่านชายแดนใต้มาได้ แต่ก็ไม่สามารถผ่านด่านตรวจที่กองไซเตสที่ตั้งเป็นระยะๆ ได้ บางครั้งก็ดักจับปลายทางแถวอีสานเพื่อไปลาว ติดแม่น้ำโขง ลักลอบออกไปได้หมด ทั้งจังหวัดหนองคาย นครพนม

เพื่อการปราบปรามต่อเนื่องไทยจึงได้ใช้วิธีการสร้างความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามไทยกับลาวและ ไทยกับมาเลเซีย มีการประชุมหลายระดับ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมทั้งจัดการฝึกอบรมเสริมความรู้

“ในอาเซียนเราค่อนข้างจะเป็นผู้นำในเรื่องนี้ เราพยายามใช้อาเซียนเป็นเวทีการแก้ไขปัญหาทั้งหมด”นายสมเกียรติกล่าว

สำหรับ โทษของการลักลอบนำเข้าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มีโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท จำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่กฎหมายใหม่จะมีผลในเดือนพฤศจิกายนนี้ จะเพิ่มโทษปรับเป็น 1 ล้านบาทและโทษจำคุกเป็น 10 ปี

ด้านนายชัยยุทธ คำคูณ ที่ปรึกษาด้านศุลกากร กรมศุลกากร เปิดเผยว่า ประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศทางผ่านการลักลอบค้าตัวลิ่นและเกล็ดลิ่นแล้ว หลังจากที่กรมศุลกากรซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ต้องบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าและพันธุ์พืช หรือพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างเข้มงวดในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบค้าสัตว์ป่าและพันธุ์พืชและได้ร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการตามอนุสัญญาไซเตส ตามที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิก

นายชัยยุทธ คำคูณ ที่ปรึกษาด้านศุลกากร กรมศุลกากร

นายชัยยุทธกล่าวว่า ประเทศไทยไม่ใช่แหล่งบริโภคตัวลิ่น เป็นแค่ทางผ่าน เนื่องจากมีภูมิประเทศที่ตั้งอยู่ตรงกลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ใกล้กับประเทศปลายทาง ลาว เวียดนาม และจีน อยู่ระหว่างประเทศต้นทางกับประเทศปลายทาง

แหล่งบริโภคตัวลิ่นและเกล็ดลิ่นมาจากประเทศปลายทาง คือ กัมพูชา เวียดนาม จีน เพราะมีความเชื่อว่าเอาไปทำยาบำรุงร่างกายได้ ราคาเกล็ดลิ่นค่อนข้างสูง ราวกิโลกรัมละประมาณ 10,000-30,000 บาท เพราะตัวลิ่น 2-3 ตัวได้เกล็ด 1 กิโลกรัม

เมื่อมีการถูกปราบปรามทำให้การดำเนินการลักลอบน้อยลงตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557 จนถึง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2562 กรมศุลกากรจับตัวลิ่นได้ทั้งหมด 861 ตัว และเมื่อรวมกับการจับกุมเกล็ดลิ่นแล้ว น้ำหนักของการจับกุมทั้งหมดทั้งตัวลิ่น และเกล็ดลิ่นแห้งรวม 8,690 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 107.35 ล้านบาท

แนวโน้มการลักลอบค้าลดลงต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ 2557 จับกุมการลักลอบนำเข้าตัวลิ่นได้ 2 คดี ตัวลิ่นรวม 136 ตัว มูลค่า 0.46 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2558 จับกุมได้ 5 คดี ตัวลิ่นรวม 256 ตัวมูลค่า 2.85 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2559 จับกุมได้ 1 คดี เป็นเกล็ดลิ่นรวม 587 กิโลกรัมมูลค่า 1.76 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2560 จับกุมได้ 6 คดี ตัวลิ่นรวม 136 ตัวมูลค่า 85.69 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2561 จับกุมได้ 3 คดี ตัวลิ่นรวม 246 ตัวมูลค่า 16.45 ล้านบาท และรอบ 10 เดือนปีงบประมาณ 2562 จับกุมได้ 1 คดี ตัวลิ่นรวม 47 ตัวมูลค่า 0.12 ล้านบาท

การจับกุมการลักลอบทุกคดีในส่วนอนุสัญญาไซเตสที่ผ่านมาได้มีการส่งฟ้องทุกกรณีไม่มีการดำเนินการระงับคดีในชั้นศุลกากร สำหรับโทษของการลักลอบขนตัวลิ่นมีโทษเท่ากับการลักลอบตัวสัตว์หรือพันธุ์พืชประเภทอื่นตามกฎหมายศุลกากรกำหนด คือ ปรับ 4 เท่าของมูลค่าของอากร และจำคุกไม่เกิน 10 ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งปัจจุบันบทลงโทษมีอัตราสูงกว่าโทษที่บัญญัติในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าที่มีฐานความผิดต่ำกว่า


….

Thailand Tries to Contain Pangolin Trade

Thailand continues to be a trafficking hub of pangolins despite increased efforts by government officials to curb the trade along a major Southeast Asian smuggling route to China.

Live pangolin smuggling routes start in Indonesia, we have learned. A source familiar with the trade has told us that smugglers typically pass through three custom checkpoints in Songkhla province – Sadao, Padang Besar and Banparakob – from Malaysia.

Syndicates collaborate with corrupt customs and immigration and police officers on both sides of the border, the source said. The person also told us that smugglers have switched from lorries to passenger cars to avoid increased checks.

Syndicates pay drivers to take the animals from Songkhla at the Malaysian border through Suratthani and Prachuap Khirikhan up north to the regions bordering Laos.

In interviews, officials assert that smuggling through Thailand has been if not eradicated, then at least mostly suppressed. Officials say that their increased efforts, including better coordination among enforcement agencies, has forced syndicates to search for alternative routes and avoid the kingdom altogether.

“We have succeeded in prevention and suppression, but if our neighbouring countries are facing smuggling the problems continues to exist and will never be solved,” said Thailand’s top wildlife protection official, Somkiat Soontornpitakkool, in an interview with ThaiPublica.

Somkiat, the director of the division of wild fauna and flora protection at the Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, also said that the problem is far more complex.

The transnational nature of syndicates makes cracking down on them difficult, said Somkiat. The kingdom has increased efforts to working with its neighbours Malaysia and Laos, he said. The collaboration encompasses information sharing and training, “The prevention and suppression of pangolins smuggling cannot be done by any single country,” he said.

Somkiat said that restaurants in Bangkok offering pangolins had also been closed.

“We cannot say that there is no smuggling through the country at all,” he said. “But the seizures decreased significantly. In 2017, there were six cases, with 184 pangolins. In 2018, the seizure decreased to four cases, with 156 pangolins.”

Chaiyut Kumkun, a principal advisor of Thailand’s Department of Customs, also said that seizures of pangolins had fallen in recent years. The authorities have seized 861 live pangolins weighing 8,103 kilograms and 587 kilograms of scales between Oct 2014 and July 2019, according to data provided by Chaiyut. The estimated value of the pangolins and scales was over 100 million baht, or more than US $3.2 million.

Another attempt to curb the trade is the threat of harsher punishment for smugglers, officials say. Under the previous law dated from 1992, a conviction for illegal smuggling could lead to a fine of not more than 40,000 Baht and up to four years of imprisonment.

Under a law amendment that will take effect in November, penalties will be increased significantly, entailing up to 1 million Baht fines and prison sentences of up to 10 years.