ThaiPublica > Sustainability > Global Issues > เปิดรายงาน MRC ผลกระทบการพัฒนาเขื่อนไฟฟ้าพลังนํ้าในแม่นํ้าโขง ชุมชน ประมง เกษตรกรรมระเบียงแม่นํ้าโขงแบกรับต้นทุน

เปิดรายงาน MRC ผลกระทบการพัฒนาเขื่อนไฟฟ้าพลังนํ้าในแม่นํ้าโขง ชุมชน ประมง เกษตรกรรมระเบียงแม่นํ้าโขงแบกรับต้นทุน

23 สิงหาคม 2019


ในเดือนกรกฎาคม 2562 แม่น้ำโขงลดลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ทำให้บางจุดของแม่น้ำถึงขั้นแห้งขอด โขดหินโผล่ การเดินเรือในแม่น้ำหยุดชะงัก เรือข้ามฟากเรือด่วน ทั้งในไทยและลาวไม่สามารถสัญจรได้ โดยเฉพาะช่วงกลางเดือนที่น้ำลดลงมากอย่างมากเป็นประวัติการณ์ ส่วนหนึ่งมาจากฝนที่ตกน้อยกว่าปกติ แต่อีกส่วนหนึ่งมาจากการลดระดับการระบายน้ำของจีน เพื่อบำรุงรักษาสายส่งไฟฟ้าโรงผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ อีกทั้งมาจากการทดสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของเขื่อนไซยะบุรีของ สปป. ลาว

ปีนี้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีความผันผวนอย่างมาก ขึ้นลงอย่างไม่เป็นธรรมชาติ เพราะการสร้างเขื่อนกั้นน้ำแม่นำ้โขงในประเทศจีนที่มากกว่า 11 แห่ง ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่พึ่งพาแม่นำโขงอย่างมาก

ไทยพับลิก้าจึงนำรายงาน สิ่งแลกเปลี่ยนอันน่าผิดหวัง ของรายงาน Council Study จากคณะกรรมาธิการแม่นํ้าโขงต่อผลกระทบของการพัฒนาเขื่อนไฟฟ้าพลังนํ้าในแม่นํ้าโขง หรือ Tragic Trade-Offs: The MRC Council Study and the Impacts of Hydropower Development on the Mekong ที่สรุปข้อมูลเบื้องต้นจากการศึกษาเรื่อง Study on the Sustainable Development and Management of the Mekong River, including Impacts of Mainstream Hydropower Projects ของคณะกรรมาธิการแม่นํ้าโขง หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า Council Study โดย International Rivers และได้เผยแพร่ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2562 มานำเสนอ

รายงาน Council Study จากคณะกรรมาธิการแม่นํ้าโขงต่อผลกระทบของการพัฒนาเขื่อนไฟฟ้าพลังนํ้าในแม่นํ้าโขง ได้ทำการศึกษานี้ระหว่างปี 2555-2560 ใช้เวลาหกปี

รายงานสิ่งแลกเปลี่ยนอันน่าผิดหวัง ของรายงาน Council Study จากคณะกรรมาธิการแม่นํ้าโขงต่อผลกระทบของการพัฒนาเขื่อนไฟฟ้าพลังนํ้าในแม่นํ้าโขง มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

รายงาน Council Study คืออะไร?
การศึกษาการบริหารจัดการและพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน รวมถึง ผลกระทบจากการพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังนํ้าในแม่นํ้าโขงสายประธาน หรือที่เรียกว่า รายงาน Council Study เป็นผลงานของ คณะกรรมาธิการแม่นํ้าโขง (MRC) ที่จัดทำขึ้นระหว่างปี 2555-2560 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์โดยรวม เพื่อช่วยให้คณะกรรมาธิการ แม่นํ้าโขง ให้คำปรึกษาต่อประเทศสมาชิกทั้งกัมพูชา สปป.ลาว ไทยและเวียดนาม เกี่ยวกับผลกระทบด้านบวกและลบจากการพัฒนาทรัพยากรนํ้าในลุ่มนํ้าโขง

การศึกษาครั้งนี้มีเป้าหมาย เพื่อแสวงหาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจจากการพัฒนาแม่นํ้าโขง โดยมีเป้าหมายเพื่อใช้ข้อมูลเหล่านี้สนับสนุนกระบวนการวางแผน การสร้างศักยภาพของประเทศสมาชิก และการกำหนดแนวทางที่ดีขึ้นเพื่อป้องกัน บรรเทาผลกระทบ หรือชดเชยให้กับประเทศที่ได้รับผลกระทบด้านลบ

การจัดทำรายงาน Council Study เริ่มต้นอย่างไร?
ในระหว่างกระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้าของคณะกรรมาธิการแม่นํ้าโขงกรณีเขื่อนไซยะบุรี รัฐบาลเวียดนามเรียกร้องให้ชะลอการสร้างเขื่อนเป็นเวลา 10 ปี เพื่อให้มีการศึกษาเพิ่มเติมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น หลังจากนั้นจึงมีข้อเสนอแนะให้จัดทำการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวด ล้อมเชิงยุทธศาสตร์โดยคณะกรรมาธิการแม่นํ้าโขง ทั้งนี้ เพื่อประเมินโครงการไฟฟ้าพลังนํ้าโดยพิจารณาถึงความเสี่ยงเชิงสะสมและโอกาสในปี 2554 คณะกรรมาธิการแม่นํ้าโขงเห็นชอบให้จัดทำรายงาน Council Study เพื่อประเมินผลกระทบสะสมในระดับลุ่มนํ้าของโครงการเขื่อนต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจของแต่ละเขื่อน ทั้งนี้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติเรื่องการแจ้ง การปรึกษาหารือล่วงหน้า และข้อตกลง (Procedures for Notification, Prior Consultation, and Agreement – PNPCA) โดยตั้งเป้าหมายว่า การศึกษาครั้งนี้จะช่วยอุดช่องว่างด้านองค์ความรู้ สนับสนุนการตัดสินใจและสนับสนุนการวางแผนในระดับลุ่มนํ้า

หุ้นส่วนการพัฒนาของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงเป็นผู้ให้ทุนสนับสนุนการศึกษาครั้งนี้จำนวน 4.7 ล้านเหรียญ รวมทั้งออสเตรเลีย เบลเยี่ยมสหภาพยุโรป ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา และธนาคารโลก รวมทั้งการสนับสนุนจากประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่นํ้าโขง

รายงาน Council Study มุ่งศึกษาอะไร?
รายงาน Council Study วิเคราะห์การสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังนํ้าในลุ่มนํ้าโขง รวมทั้งแง่มุมสำคัญอื่น ๆ ของการพัฒนาทรัพยากรนํ้ารวมทั้งด้านการชลประทาน การเกษตรและการใช้ที่ดิน การขนส่งการใช้นํ้าของครัวเรือนและอุตสาหกรรมการป้องกันนํ้าท่วม และการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ ข้อเขียนนี้มุ่งเน้นที่ข้อค้นพบของการศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังนํ้า

แม้ว่ารายงาน Council Study จะพิจารณาผลกระทบต่อลุ่มนํ้าโขงทั้งหมด แต่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อผลกระทบของการพัฒนาทรัพยากรน้ำในระเบียงแม่น้ำโขงหลัก รวมทั้งพื้นที่ชายฝั่ง โดยแบ่งออกเป็นสี่โซน ได้แก่
1) ระเบียง 15 กม.ทั้งสองข้างของแม่นํ้าโขงสายประธานจากพรมแดนจีนถึงจังหวัดกระแจะ (กัมพูชา)
2) ที่ราบนํ้าท่วมถึงในกัมพูชา ทั้งในแม่นํ้าโตนเลสาบและใน GreatLake
3) สามเหลี่ยมปากแม่นํ้าโขงในกัมพูชา และเวียดนาม
4) พื้นที่ชายฝั่งที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากแม่นํ้าโขง

รายงาน Council Study ประเมินสภาพการณ์หลักสามประการ เนื่องจากการพัฒนาทรัพยากรนํ้าในลุ่มนํ้าดังนี้
1) สภาพการณ์พัฒนาเบื้องต้น (Early Development Scenario)รวมทั้งการพัฒนาที่เกิดขึ้นจนถึงปี 2550
2) สภาพการณ์ในระยะสั้น (Definite Future Scenario) รวมทั้งโครงการพัฒนาทรัพยากรนํ้าที่มีอยู่แล้ว อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และมีเจตจำนงอย่างชัดเจนที่จะก่อสร้างภายในปี 2563
3)สภาพการณ์ตามแผนการพัฒนา รวมทั้งโครงการพัฒนาทรัพยากรนํ้าที่มีอยู่แล้ว อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และมีแผนจะก่อสร้างภายในปี 2583 หากดำเนินการจนแล้วเสร็จหมด ทั้งนี้รวมถึงโครงการเขื่อนทั้งหมดในแม่นํ้าสายประธาน

ในระหว่างที่คณะกรรมาธิการแม่นํ้าโขงทบทวนแผนการพัฒนาระหว่างปี2563-2583 มีการคำนึงถึงสภาพภูมิอากาศที่จะอุ่น ขึ้นและเปียกชื้นมากขึ้น และคาดว่า จะมีการอพยพของประชาชนไปอยู่ในที่ราบน้ำท่วมถึงมากขึ้น

ที่มาภาพ : https://vietnamnews.vn/society/424857/forum-slams-mekong-dam-construction-warns-livelihoods-at-stake.html#iWewjXfacu20u3AR.97

รายงาน Council Study: ข้อค้นพบสำคัญ
การศึกษาชี้ให้เห็นว่า เขื่อนผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ 11 โครงการตอนล่างของแม่นํ้าโขงสายประธาน และเขื่อนในลำนํ้าสาขา120 โครงการที่มีแผนก่อสร้างจนถึงปี 2583 คุกคามอย่างร้ายแรงต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจในภูมิภาค รวมทั้งการเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าอย่างเพียงพอของประชาชนในท้องถิ่น

คาดว่าการพัฒนาทรัพยากรนํ้าจนถึงปี 2583 จะส่งผลให้เกิด “การสูญเสียอย่างสำคัญของนํ้าและอาหารเพื่อแลกกับพลังงาน” หากจับปลาได้น้อยลงและผลผลิตด้านเกษตรน้อยลง ย่อมทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารและราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ประชาชนในภูมิภาคยาก
จนลง และพื้นที่ส่วนใหญ่ของลุ่มนํ้าโขงตอนล่างจะเสี่ยงภัยมากขึ้นจากปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ

ศักยภาพการเติบโตของ ประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่นํ้าโขงทุกประเทศ ล้วนพึ่งพาต้นทุนทางธรรมชาติ โดยเฉพาะดิน ป่าไม้ และสัตว์นํ้า คาดว่าต้นทุนทางธรรมชาติที่ลดลงในระยะกลาง (2563) เนื่องจากแผนการพัฒนาจะทำให้เกิดการสูญเสียคิดเป็นเกือบ 40% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ของลุ่มน้ำโขงตอนล่างของปี 20607

โดยภาพรวมแล้ว “แผนการพัฒนาทั้งหมดตั้งแต่ปี 2563-2583จะส่งผลให้ความเข้มแข็งอดทนของชุมชนในลุ่มนํ้าโขงตอนล่างลดลง เกิดความเสี่ยงมากขึ้น และลดความยั่งยืน ครัวเรือน ที่ยากจนเป็นผู้เสียเปรียบมากที่สุด

ประเด็นสำคัญของรายงาน Council Study ที่เกี่ยวกับ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาทรัพยากรนํ้าในแม่นํ้าโขง มีดังนี้

  • ตะกอน
    แผนการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังนํ้าในปัจจุบัน ส่งผลให้ปริมาณ ตะกอนที่ไหลไปจนถึงสามเหลี่ยมปากแม่นํ้าโขงลดลงมากถึง 97%

    ตะกอนช่วยเพิ่มคุณค่าและทดแทนสารอาหารของทั้งลุ่มนํ้า มีบทบาท สำคัญมากต่อระบบนิเวศ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรรม การประมงพืชและสัตว์ที่อยู่ในนํ้า และคุณภาพนํ้า ซึ่งมีส่วนสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศในลุ่มนํ้า

    การลดลงของตะกอนและสารอาหารที่ถูกพัดพามา อันเป็นผลมาจากการสร้างเขื่อนเหนือนํ้า จะส่งผลให้ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ผลิตภาพของข้าวและการประมงลดลงอย่างมาก10 การศึกษาระบุว่า “การลดลงของผลผลิตด้านประมงและการปลูกข้าวในเวลาเดียวกัน จะส่งผลให้เกิดสภาพการขาดสารอาหารเพิ่มขึ้นของครัวเรือน”

    ประชากรในชนบททั่วทั้งลุ่มน้ำโขง ซึ่งดำรงชีพโดยพึ่งพาแม่น้ำทั้งในแง่การชลประทาน แร่ธาตุในดิน การทำประมง หรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากนํ้าอื่น ๆ จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการสูญเสียตะกอนอันเป็นผลมาจากการสร้างเขื่อนเหนือนํ้า พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากสุดได้แก่บริเวณที่ราบนํ้าท่วมถึง และระบบนิเวศของโตนเลสาบในกัมพูชา และสามเหลี่ยมปากแม่นํ้าโขงในเวียดนาม

    คาดว่าจะเกิดการกัดเซาะตลิ่งและท้องนํ้าเพิ่มขึ้นมาก อันเป็นผลมาจากการลดลงของตะกอนและความผันผวนของระดับน้ำในลุ่มน้ำตอนล่างโดยเฉพาะในสามเหลี่ยมปากแม่นํ้าโขงในเวียดนาม และพื้นที่บางส่วนริมฝั่งแม่นํ้าโขงจากเวียงจันทน์ถึงสตึงเตร็ง

  • สำรวจเขื่อนแม่น้ำโขง (ตอน 1) เมื่อแม่น้ำถูกทำร้าย ชะตาคนพื้นที่แม่โขงเดลตา 20 ล้านชีวิตของเวียดนามจะจมทะเลหรือไม่

     

  • ผลกระทบต่อระบบนิเวศ
    คาดว่าผลกระทบข้ามพรมแดนของการพัฒนาทรัพยากรนํ้าจนถึงปี 2583 จะรวมถึง “ความอ่อนแอลงอย่างมากของระบบนิเวศโดยรวม”

    ผลกระทบที่เชื่อมโยงกันด้านต่าง ๆ เนื่องจากเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังนํ้าในแม่นํ้าโขงสายประธาน รวมทั้งการหยุดนิ่งของตะกอน จะทำให้รูปแบบการอพยพของสัตว์นํ้าและการไหลของนํ้าเปลี่ยนแปลงไป“ส่งผลกระทบที่สำคัญและกว้างขวาง ถือว่าร้ายแรงกว่าผลกระทบด้านอื่น ๆ ของการพัฒนาทรัพยากรนํ้าในลุ่มนํ้าโขงตอนล่างทั้งหมด”

    โครงการไฟฟ้า พลังน้ำในลุ่มน้ำโขงจะลดการไหลของน้ำช่วงฤดูฝน และเพิ่มปริมาณนํ้าในฤดูแล้งภายใต้การเดินเครื่องเขื่อนตามปรกติ (ยกเว้นกรณีที่มีสภาพภูมิอากาศวิปริต) ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายจากนํ้าท่วม แต่ส่งผลกระทบด้านลบต่อระบบนิเวศของลุ่มน้ำส่ง ผลกระทบต่อความยั่งยืน และการเข้าถึงปริมาณสัตว์นํ้าที่เพียงพอต่อการดำรงชีพของตนเองและครอบครัวของประชาชนในท้องถิ่นคาดว่าจะเกิดผลกระทบด้านลบเป็นวงกว้างต่อระบบนิเวศ เนื่องจากการเกิดขึ้นของอ่างเก็บนํ้าจากโครงการไฟฟ้าพลังนํ้าในแม่นํ้าสายประธาน การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อป้องกันนํ้าท่วม และการสร้างสิ่งกีดขวางการอพยพของสัตว์นํ้า

    คาดว่าจะเกิดอ่างเก็บนํ้าที่ใช้ผันนํ้าจำนวนมากจากแม่นํ้าโขงในอำเภอเชียงแสนของไทย ไปยังจังหวัดกระแจะในกัมพูชา ซึ่งมีลักษณะเป็นทะเลสาบลึกและเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นํ้า ยกเว้นบริเวณจากเวียงจันทน์ถึงปากเซในสปป.ลาวที่ไม่มีการกักนํ้าไว้ จะส่งผลให้ที่อยู่อาศัยเหล่านี้ ไม่เหมาะสมกับพันธุ์สัตว์นํ้าจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในแม่นํ้าโขง แต่เป็นสภาพที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อย่างเช่น หอยกาบคู่ กบ และหอยทาก

    การกัดเซาะของตลิ่งข้ามพรมแดนจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อการสร้างเขื่อนในลุ่มนํ้าโขงตอนล่างแล้วเสร็จ การกัดเซาะจะเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในทุกพื้นที่ของลุ่มนํ้าโขงตอนล่าง โดยเฉพาะสามเหลี่ยมปากแม่นํ้าโขง

    จำเป็นต้องมีการใช้งบประมาณมากถึง 6 พันล้านเหรียญ เพื่อป้องกันการกัดเซาะของตลิ่งที่มีความเสี่ยงมากสุด ทั้งยังจะทำให้เกิดความเสี่ยงด้านอาหาร และความเสียหายต่อทรัพย์สินซึ่งจะเพิ่มขึ้นถึงห้าหรือสิบเท่า เนื่องจากทรัพย์สินต่าง ๆ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นในประเทศที่อยู่ระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะพื้นที่เขตเมืองที่มีความเสี่ยงมากกว่า

  • สำรวจเขื่อนแม่น้ำโขง (ตอน 2) เสนอไทย-เวียดนามร่วมวางอนาคตแม่น้ำโขง ชี้แม่โขงเดลตากับลุ่มเจ้าพระยาเจอปัญหาเดียวกัน

     

    แม้ว่าการสร้างเขื่อนโดยมีการควบคุมกำกับ อาจเพิ่มผลิตภาพด้านการเกษตร โดยลดความเสี่ยงที่จะเกิดนํ้าท่วมและภัยแล้งซํ้าซาก แต่
    การลดลงของปริมาณการไหลของแม่นํ้าโขง และระดับนํ้าทะเลที่สูงขึ้นจะส่งผลให้เกิดสภาพนํ้าทะเลหนุน และส่งผลให้การผลิตข้าวในสามเหลี่ยมปากแม่นํ้าโขงลดลง

  • ผลกระทบด้านประมงและความมั่นคงด้านอาหาร
    การสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังนํ้าจนถึงปี 2583 จะส่งผลให้ปริมาณสัตว์นํ้าลดลงอย่างมาก โดยคาดว่าชีวมวลสัตว์นํ้าจะลดลงมากถึง35-40% ภายในปี 2563 และ 40-80% ภายในปี 2583

    แต่ละประเทศจะมีอัตราการสูญเสียผลผลิตด้านประมงดังนี้ ไทย 55% สปป.ลาว 50% กัมพูชา 35% และเวียดนาม 30%

    การสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้า พลังน้ำจนถึงปี 2583 จะทำลายพันธุ์ปลาอพยพในพื้นที่ส่วนใหญ่ของแม่นํ้าโขง จะไม่มีพันธุ์ปลาอพยพในแม่นํ้าโขงที่รอดชีวิตอยู่ได้ในอ่างเก็บนํ้าของเขื่อนที่มีแผนการก่อสร้างภายในปี 2563 และ 2583

    เมื่อเกิดอ่างเก็บนํ้าขึ้น จะส่งผลให้ไข่และตัวอ่อนไม่ลอยไปด้านท้ายนํ้าส่งผลกระทบรุนแรงต่อวงจรการสืบพันธุ์ของสัตว์นํ้าอพยพ ในขณะเดียวกัน สัตว์นํ้าในวัยที่โตเต็มที่ซึ่งอพยพไปด้านท้ายนํ้า จะเกิดอาการบาดเจ็บและล้มตายมากขึ้นเนื่องจากต้องว่ายนํ้าผ่านกังหันเขื่อน การศึกษาระบุว่า “สัตว์นํ้าพันธุ์อพยพขนาดใหญ่อาจสูญพันธุ์ไป และอาจมีการลดลงของชีวมวลมากถึง 60% ภายในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนขั้นบันได”

    การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศรวมทั้งการสูญเสียด้านประมงอาจส่งผลให้เกิด “การขาดความมั่นคงด้านอาหารอย่างรุนแรงตามชุมชนต่าง ๆ ในสปป. ลาวและกัมพูชา”

  • สำรวจเขื่อนแม่น้ำโขง (ตอนจบ) ใช้โมเดล OTOP ไทยช่วยเกษตรเวียดนาม – วิจัยพันธุ์ปลาแม่น้ำโขงหวังสร้างแหล่งอาหารในอนาคต

  • ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
    จากข้อมูลในรายงาน Council Study “แผนการพัฒนาในปัจจุบันที่เน้นการลงทุนในภาคเกษตรและไฟฟ้าพลังนํ้าจนมากเกินไป จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหาร แผนการลงทุนเหล่านี้เสี่ยงที่จะทำให้การเติบโตของ GDP ในประเทศในลุ่มนํ้าโขงตอนล่างลดลง

    การสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังนํ้า ทำให้เกิดผลประโยชน์และความสูญเสียไม่เท่ากันตลอดทั่วลุ่มนํ้าโขงตอนล่าง และไม่จำเป็นต้องเกิดผลกระทบเฉพาะประเทศซึ่งเป็นที่ตั้งของเขื่อนเท่านั้นกำไรจากไฟฟ้าพลังนํ้าส่วนใหญ่จะตกเป็นของบริษัทและธนาคารต่างชาติ

    เขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังนํ้าให้ประโยชน์กับประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงสี่ประเทศแตกต่างกัน โดยไทยจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์มากสุดจากการสร้างเขื่อนในแม่นํ้าสายประธานในลาว ในขณะที่เวียดนามจะได้รับประโยชน์มากสุดจากการสร้างเขื่อนในแม่นํ้าสายประธานในกัมพูชา เนื่องจากมีแผนส่งออกพลังงานเหล่านี้

    จากมุมมองเศรษฐศาสตร์มหภาค ผู้ได้รับประโยชน์ด้านเศรษฐกิจส่วนใหญ่จากการสร้างเขื่อนในแม่น้ำสายประธาน ได้แก่ ประเทศผู้ลงทุนที่ไม่ได้อยู่ในลุ่มนํ้าโขงตอนล่าง เช่น จีน มาเลเซีย และเกาหลีใต้ โดยคาดว่าผู้ที่ต้องแบกรับต้นทุนของโครงการเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ชุมชน ประมงและเกษตรกรรมตามระเบียงแม่นํ้าโขง

  • การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ
    ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศและจากการพัฒนาทรัพยากรนํ้า มีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด เป็นความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนอย่างมาก และจำเป็นต้องได้รับการวิเคราะห์จากมุมมองสหวิชาชีพ ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศที่เน้นในรายงาน Council Study รวมถึงระดับนํ้าทะเลที่เพิ่มขึ้น ความเสี่ยงที่จะเกิดนํ้าท่วม และนํ้าทะเลหนุนในสามเหลี่ยมปากแม่นํ้าในเวียดนามและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของชุมชนริมฝั่งนํ้าบางส่วน

    การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ จะยิ่งทำให้ผลกระทบด้านลบจากการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังนํ้าเลวร้ายยิ่งขึ้น การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามอย่างร้ายแรงต่อความมั่นคงด้านอาหารและการเติบโตด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดสภาพที่แห้งแล้งมากขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้

    จากข้อมูลในรายงาน Council Study สภาพภูมิอากาศที่แห้งแล้งมากขึ้น จะทำให้ประโยชน์จากไฟฟ้าพลังนํ้าลดลงคิดเป็นเม็ดเงินถึง2.2 พันล้านเหรียญตามมูลค่าในปัจจุบัน และจะยิ่งทำให้ผลผลิตด้านประมงลดลงประมาณ 15% การลงทุนที่มากเกินไปในภาคเกษตรและไฟฟ้าพลังนํ้า ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศอย่างร้ายแรง จะทำลายโอกาสที่ประเทศในลุ่มนํ้าโขงตอนล่างสามารถเข้าถึงหรือรักษาสถานะการเป็นประเทศรายได้ตํ่าหรือปานกลางได้

    เขื่อนกันการกัดเซาะตลิ่งแม่น้ำส่งเตียนจังหวัดเตี่ยนยาง ในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เวียดนาม

  • ช่องว่างในการวิเคราะห์และข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการค้นพบ
    หลังการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ และข้อเสนอแนะในปี 2553 ให้มีการประเมินผลกระทบในเชิงลึกมากขึ้น รายงาน Council Study ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงผลกระทบที่รุนแรงของเขื่อนต่าง ๆ ต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจของประเทศในแม่นํ้าโขง

    ยังมีคำถามสำคัญเกี่ยวกับวิธีการที่ใช้ในการศึกษา และวิธีการพิจารณาและนำข้อเสนอแนะไปปฏิบัติของรัฐบาลประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่นํ้าโขง ยกตัวอย่างเช่น ยังมีความลักลั่นด้านข้อมูลอยู่มากระหว่างข้อค้นพบสำคัญในรายงาน Council Study กับ Thematic reportsของคณะกรรมาธิการแม่นํ้าโขง และยังไม่มีการประเมินความสูญเสียด้านตะกอนที่เกิดขึ้นเป็นมูลค่าของเงิน เนื่องจากข้อจำกัดเหล่านี้ถือได้ว่าการศึกษาครั้งนี้เป็นการประเมินที่ตํ่าเกินไปในแง่ผลกระทบของโครงการไฟฟ้าพลังนํ้าที่มีต่อประชากรและเศรษฐกิจในลุ่มนํ้าโขงตอนล่าง

  • การขาดข้อมูลผลกระทบต่อผู้หญิง
    แม่นํ้าโขงเป็นแหล่งโปรตีนสำหรับประชากรเกือบ 80% ในภูมิภาคผู้หญิงมักมีหน้าที่สำคัญในการหาเลี้ยงครอบครัว และการหาแหล่งนํ้าเพื่อบริโภคในครัวเรือน นอกจากนั้น รายงาน Council Studyตั้งข้อสังเกตว่า “เพศสภาพเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรน้ำ เนื่องจากผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่า ผู้ชายในขณะที่เกิดภาวะนํ้าท่วมและนํ้าแล้ง เพราะต้องพึ่งพากับทรัพยากรธรรมชาติมากกว่า และยังมีอุปสรรคทางสังคมที่ปิดกั้นความสามารถในการปรับตัวของผู้หญิง”

    ถึงอย่างนั้น รายงาน Council Study ไม่ได้ให้ข้อมูลว่า การพัฒนาไฟฟ้าพลังนํ้าและการพัฒนาทรัพยากรนํ้าด้านอื่น ๆจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อผู้หญิงเป็นการเฉพาะ และส่งผลกระทบต่อความสามารถของผู้หญิงในการเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าอย่างเพียงพอสำหรับครอบครัวอย่างไร มีข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ว่าคณะกรรมาธิการแม่นํ้าโขงควรศึกษาในประเด็นเพศสภาพเพื่ออุดช่องว่างเนื่องจากการขาดข้อมูลที่สำคัญด้านนี้

  • ให้แนวปฏิบัติไม่มากนักเกี่ยวกับการลดผลกระทบต่อชนพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์
    รายงาน Council Study ให้แนวปฏิบัติไม่มากนักเกี่ยวกับการประเมินการพิจารณา การหลีกเลี่ยง และการบรรเทาผลกระทบเป็นการเฉพาะต่อชนพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำในลุ่มน้ำโขง ชนพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์เป็นกลุ่มที่เสียเปรียบอย่างมากอยู่แล้ว โดยเฉพาะในภาวะที่มีความยากจนรุนแรง การขาดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การขาดการศึกษา สาธารณสุข โอกาสด้านเศรษฐกิจ และการมีส่วนร่วมทางการเมือง นอกจากนั้น คนกลุ่มนี้ยังพึ่งพาอย่างยิ่งต่อการเข้าถึงทรัพยากร
    ธรรมชาติเพื่อความอยู่รอด ทั้งยังมีโอกาสที่จำกัดในการหางานทำ และการมีรายได้34 ส่งผลให้ชนพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์จะได้รับผลกระทบมากกว่า กลุ่มอื่น เมื่อเกิดการสูญเสียด้านการประมงซึ่งเป็นเหตุให้ไม่มีสัตว์นํ้าเพื่อการบริโภค

  • ไม่มีกระบวนการนำข้อเสนอแนะจากการศึกษาไปปฏิบัติ
    ปฏิญญาจากที่ประชุมสุดยอดคณะกรรมาธิการแม่นํ้าโขงปี 2561ครอบคลุมถึงปฏิบัติการเร่งด่วนเพื่อพิจารณาผลการศึกษาจากรายงานCouncil Study โดยให้ถือเป็น “ข้อมูลอ้างอิงเพื่อการวางแผนและการนำแผนและโครงการระดับชาติไปปฏิบัติ และการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมาธิการแม่นํ้าโขง” ถึงอย่างนั้น รัฐบาลประเทศแม่นํ้าโขงยังไม่สามารถอธิบายว่า จะนำข้อมูลจากการศึกษานี้ไปใช้ในกระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้า และการตัดสินใจเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนในแม่นํ้าโขงอย่างไร

    การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในลุ่มนํ้าโขงตอนล่าง ต้องพึ่งพาต้นทุนทางธรรมชาติและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดินที่อุดมสมบูรณ์ ป่าต้นนํ้าและป่าในบริเวณลุ่มนํ้ารวมทั้งการไหลของนํ้าตามฤดูกาล เพื่อการอยู่รอดของแหล่งประมงนํ้าจืดใหญ่สุดของโลก แผนการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ในปัจจุบัน มีแนวโน้มจะทำลายความเข้มแข็ง เพิ่มความเสี่ยง และลดความยั่งยืนในแต่ละประเทศในลุ่มนํ้าโขงตอนล่าง

    ทางเลือกอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการพลังงานระดับภูมิภาคอาทิเช่น การศึกษาที่ผ่านมาชี้ว่า พลังงานแสงแดดและการจ่ายไฟฟ้าผ่านโครงข่ายสายไฟฟ้า (โดยการจ่ายพลังงานไฟฟ้าที่เหลือใช้จากภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนมายังไทยและเวียดนาม) จะมีต้นทุนถูกกว่าการสร้างโครงการไฟฟ้าพลังนํ้าในแม่นํ้าสายประธานมากขึ้น

    เนื่องจากรายงาน Council Study ให้ข้อมูลถึงผลกระทบในเชิงลบอย่างร้ายแรง ทั้งการขาดความมั่นคงด้านอาหาร ระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมลงและการสูญเสียความยั่งยืน จึงเป็นเรื่องน่าประหลาดใจที่การศึกษาครั้งนี้ดูเหมือนจะยอมรับให้มีการสร้างโครงการไฟฟ้าพลังนํ้าในแม่นํ้าสายประธานมากขึ้น และมีข้อเสนอแนะให้เก็บภาษีจากกำไรจากไฟฟ้าพลังนํ้า ซึ่งอาจเป็นข้อเสนอที่ผู้พัฒนาโครงการยอมรับได้

    เหตุใดจึงยังเดินหน้าโครงการไฟฟ้าพลังนํ้าขนาดใหญ่ในแม่นํ้าโขงสายประธานต่อไป? เหตุใดรัฐบาล สปป.ลาว จึงประกาศเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าจะเดินหน้าโครงการเขื่อนปากลาย หลายเดือนหลังการเผยแพร่รายงาน Council Study?

    รายงาน Council Study ตั้งข้อสังเกตว่า การผลิตโดยภาพรวมเพียงพอที่จะช่วยให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารทั้ง 100% ในลุ่มน้ำโขงอย่างไรก็ดี ประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่นํ้าโขงจำเป็นต้องร่วมมือกันและสร้างเครือข่า ยการกระจายอาหารที่เป็นผล เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดประชากรที่ขาดสารอาหารมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของนิเวศวิทยาในลุ่มนํ้าโขงรัฐบาลประเทศแม่นํ้าโขงยังไม่ได้ระบุว่าจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร

    สืบเนื่องจากผลกระทบและความสูญเสียที่รุนแรง รายงาน CouncilStudy เสนอแนะให้รัฐบาลพิจารณาอย่างจริงจังถึงการใช้พลังงานหมุนเวียน แทนที่จะสร้างเขื่อนที่เป็นอันตรายต่อแม่นํ้าโขง แต่ในรายงานไม่ได้ให้ข้อมูลว่า จะดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร และรัฐบาลประเทศแม่นํ้าโขงจะนำข้อค้นพบสำคัญและข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปใช้ในกระบวนการตัดสินใจอย่างไร

  • การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ความโปร่งใสและการตรวจสอบได้
    แม้จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความมั่นคงด้านอาหารและการดำรงชีพในภูมิภาค แต่กระบวนการวางแผนและการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการไฟฟ้าพลังนํ้าจนถึงปัจจุบัน ยังขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ความโปร่งใส และการตรวจสอบได้ ที่ผ่านมายังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับโครงการเขื่อนในแม่นํ้าโขงสายประธานต่อสาธารณะ แม้จะมีคำร้องขอหลายครั้งจากชุมชน ภาคประชาสังคม หุ้นส่วนการพัฒนา และประเทศด้านท้ายนํ้า ที่ผ่านมายังไม่มีการปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่จะเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะทั้งนี้รวมถึงรายละเอียดการออกแบบและการประเมินโครงการ เพื่อสะท้อนให้เห็นว่ามาตรการเหล่านี้ รวมทั้งการสร้างเส้นทางให้ปลาว่ายผ่าน จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการทำลายแหล่งประมงในลุ่มนํ้าโขงอย่างไร และจะช่วยป้องกันผลกระทบด้านลบต่อระบบนิเวศของแม่นํ้าอย่างไร

  • อนาคตที่ยั่งยืนของแม่นํ้าโขง?
    จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่นํ้าโขงได้ตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการไฟฟ้าพลังนํ้า โดยเป็นการตัดสินใจแยกเป็นแต่ละโครงการ ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบระดับลุ่มนํ้าอย่างเพียงพอรัฐบาลประเทศแม่นํ้าโขงตอนล่างจะต้องประกันว่า ข้อค้นพบในรายงานCouncil Study นี้ ซึ่งเป็นการประเมินความสูญเสียและผลกระทบเชิงสะสมในระดับลุ่มน้ำของโครงการเหล่านี้ จะมีอิทธิพลอย่างจริงจังต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการในอนาคต

    ข้อเสนอแนะสำคัญจากรายงาน Council Study ครั้งนี้คือ ประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่นํ้าโขงควรพิจารณาเทคโนโลยีพลังงานใหม่ๆ รวมทั้งพลังงานแสงแดดและลม เพื่อเป็นทางเลือกออกจากไฟฟ้าพลังนํ้า การประเมินเทคโนโลยีเหล่านี้ รวมทั้งการใช้การจัดการด้านอุปสงค์ และมาตรการเพิ่มระสิทธิภาพการใช้พลังงานอื่น ๆ ย่อมทำให้ “เกิดองค์ความรู้สำคัญต่อการจัดการนํ้า พลังงาน และความมั่นคงด้านอาหารในลุ่มนํ้าโขงตอนล่างที่มีความเชื่อมโยงกัน”ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดต้องมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการตัดสินใจเพื่อให้การเจรจาบรรลุผลและได้ทางออกที่ช่วยคุ้มครองความรุ่มรวยทางสิ่งแวดล้อมของแม่นํ้าโขง พร้อม ๆ กับสนับสนุนการดำรงชีพของชุมชนริมฝั่งนํ้าและเศรษฐกิจระดับประเทศ