ThaiPublica > คอลัมน์ > ดราม่า เรื่อง PM2.5 ตอน 7 : จะฉีดโปรยน้ำไปทำไม

ดราม่า เรื่อง PM2.5 ตอน 7 : จะฉีดโปรยน้ำไปทำไม

7 กุมภาพันธ์ 2019


รองศาสตราจารย์ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล และ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์

ต่อจากตอนที่6

เมื่อต้นปีก่อน(ปี 2561) เราได้เขียนบทความเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไข PM2.5 ไว้ 6 ตอน คิดว่าจะจบลงได้ด้วยตัวมันเองแล้ว แต่เวลาผ่านไป 1 ปี สถานการณ์ฝุ่นจิ๋วไม่ได้ดีขึ้น และดราม่าต่างๆก็กลับมาอีกครั้ง เราจึงเห็นว่า เรื่องยังไม่จบและเห็นเป็นความจำเป็นที่จะต้องยกเรื่องนี้ขึ้นมาถกอีกหน เป็นตอนที่ 7 (ซึ่งอาจไม่หมดเพียงแค่นี้หาก ดราม่ายังมีมาอย่างต่อเนื่อง) และคราวนี้เราขอพูดถึงดราม่าที่เกี่ยวกับการทำกึ่งๆเสมือนฝนเทียมของหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร(กทม.) ว่าได้ผลหรือไม่

ในบทความของเราตอนที่ 5 ในซีรีส์ชุดบทความนี้ ที่ได้เขียนไว้ตั้งแต่ วันที่ 6 เดือน เมษายน พ.ศ. 2561 นั้น เราได้กล่าวไว้ค่อนข้างชัดเจนว่า การฉีดน้ำขึ้นฟ้าไม่ได้ช่วยลดปัญหาฝุ่นจิ๋ว PM2.5 นี้ ทว่าเราได้กล่าวไว้แบบลอยๆ โดยไม่ได้มีเอกสารอ้างอิงเพราะเราต้องการให้เป็นบทความสำหรับประชาชนทั่วไปที่จะทำความ เข้าใจกับมันได้โดยไม่ยากลำบากนัก แต่เมื่อภาครัฐยังคิดว่ามันช่วยลด PM2.5 ได้ และยังคงมีปฏิบัติการเรื่องนี้ต่อไป อย่างไม่ลดละ รวมถึงไปบอกกล่าวให้ภาคเอกชนบางแห่งที่มีอาคารสูง ช่วยกันทำ “ฝนเสมือน” นี้ตามยอดอาคารเพื่อ ช่วยลดปัญหาฝุ่นจิ๋ว เราก็เลยจะขอทำให้มันขึงขังขึ้น โดยขออ้างอิงจากภาคการศึกษาว่า เขาสรุปว่าฝนเสมือนนี้ไม่ได้ ช่วยลดปัญหาฝุ่นจิ๋ว PM2.5 นี้ได้มากนักดัง ลิงค์นี้

  • ดราม่า เรื่อง PM2.5 ตอน 1: ความเข้าใจพื้นฐาน
  • ดราม่า เรื่อง PM2.5 ตอน 2 : มาตรฐานที่ต่างกัน
  • ดราม่า เรื่อง PM2.5 (ตอน 3): สถานการณ์ของ กทม.
  • ดราม่า เรื่อง PM2.5 ตอน 4: รู้ให้ไว ไหวให้ทัน
  • ดราม่า เรื่อง PM2.5 (ตอน 5) : ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
  • ดราม่า เรื่อง PM2.5 (ตอน 6) : PM2.5 กับ AQI
  • สเปรย์เช่นที่ทําอยู่นี้ไม่สามารถแก้ปัญหาใดๆได้เลย ที่มา : FB Thongchai Panswad 31 January 2019

    มีข้อสังเกตว่าหากเป็นฝุ่นขนาดใหญ่ เช่น ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน (Total Suspended Particles:TSP) หรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (Coarse Particulate Matter, Particulate Matter less than 10 micron : PM10) ตัวเม็ดละอองลอยหรือละอองน้ำอาจช่วยลดลงได้มากกว่าการลดฝุ่นจิ๋ว PM2.5 และถ้าพากันสเปรย์ กันขนานใหญ่ ให้ฝนเสมือนนี้ทำตัวเป็นเหมือนฝนห่าใหญ่แบบนี้ก็อาจลดฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ได้

    แต่เราทำฝนเสมือนให้เป็นฝนห่าใหญ่ได้จริงหรือ ถ้าไม่ได้จริงตามนั้นมันจะได้ผลหรือ และถ้าไม่ได้ผลแล้วเราจะทำไปทำไม ในเมื่อเราก ำลังเผชิญปัญหาหนักหน่วงที่ต้องได้รับการแก้ไขที่มีผลได้จริงและชัดเจน และเราก็กำลังขาด แคลนไปแทบทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือทางเทคโนโลยี เครื่องมือทางนโยบาย เครื่องมือทางการเมือง รวมไปถึง งบประมาณ สู้เราเอาเวลาและงบประมาณรวมทั้งสิ่งอื่นๆที่มีอยู่อย่างจ ำกัดนั้น ไปทุ่มเทให้กับมาตรการที่แก้ไข ปัญหาได้จริง จะไม่เป็นการสมเหตุสมผลกว่าหรือ

    “จะไม่ให้ทำอะไรเลยหรือ” ผู้ว่าการกรุงเทพมหานครได้ออกสื่อไว้เช่นนี้ “มีอะไรทำได้ ก็ต้องทำ ดีกว่านั่งอยู่เฉยๆ” อันนี้จริง เห็นด้วยกับผู้ว่าฯ และก็เห็นใจด้วยที่ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้เบ็ดเสร็จด้วยตัวเอง ด้วยหน่วยงานของตัวเองเพราะอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่มันไม่ได้อำนวยให้ทำได้เช่นนั้น แต่เราก็ยังอยากให้หน่วยงานราชการกลับไปดูข้อสังเกต ที่เพิ่งกล่าวมาอยู่ดีว่า ถ้าทำไปแล้วไม่ได้ผลจะทำไปทำไม

    เอาละสมมุติว่ามันได้ผล คือฝนเสมือนนี้แม้จะเป็นแค่ละอองฝอยเล็กๆ ไม่เหมือนฝนห่าใหญ่ แต่สามารถลดฝุ่น จิ๋ว PM2.5 ได้จริง แล้วไง? มันสามารถลดฝุ่นไปได้ไกลเท่าไรจากศูนย์กลางของการปฏิบัติการนี้ 30 เมตร? 200 เมตร? 500 เมตร? ในขณะที่เรากำลังพูดถึงพื้นที่ที่มีปัญหากว่า 1,600 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,600,000,000 หรือหนึ่งพันหกร้อยล้านตารางเมตร นี่พูดถึงเฉพาะพื้นที่กทม.เท่านั้นนะ ยังไม่รวมปริมณฑล ซึ่งก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน

    ตั้งสติให้ดี ใช้เวลาคิดกับมันนิดหน่อยก็คงเห็นคำตอบได้เองว่า มันไม่เวิร์ค

    ที่มา : รศ.ดร.อํานาจ ชิดไธสง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

    สมมุติต่ออีก สมมุติเรามีเครื่องทำฝนเสมือนนี้ ที่สามารถกำจัดฝุ่นจิ๋วได้ในรัศมี 100 เมตร หรือเส้นผ่านศูนย์กลาง 200 เมตร แต่ละเครื่องจะครอบคลุมพื้นที่ได้ประมาณ 200 x 200 = 40,000 ตารางเมตร ซึ่งนั่นหมายความว่า เราต้องมีอุปกรณ์นี้ 1,600,000,000 หารด้วย 40,000 คือ 40,000 (สี่หมื่น) เครื่อง ถามว่าเรามีหรือ ก็คงไม่มี

    เอาละสมมุติต่ออีกให้สุดขั้ว สมมุติว่าเราสามารถจัดหาเครื่องทำฝนเสมือนนี้ ไม่ว่าจะเป็นโดรน เครื่องบิน สเปรย์จากยอดอาคาร เครื่องพ่นฉีดละอองฝอยจากพื้นดิน (ที่เอามาออกทีวีบ่อยๆ) ได้จำนวน 40,000 เครื่องดังว่าแล้ว มันทำงานต่อเนื่องได้ 24 ชั่วโมง โดรนและเครื่องบินบินกัน 24 ชั่วโมงเช่นกัน เพราะถ้าไม่บินต่อเนื่อง ไม่สเปรย์ ตลอดเวลา หยุดปฏิบัติการเมื่อไร ฝุ่นจิ๋วที่มีอยู่ปริมาณมหาศาลครอบคลุมทั้ง 1,600 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,600,000,000 ตารางเมตรนี้ และอยู่สูงขึ้นไปในบรรยากาศอีก 1 กิโลเมตร รวมเป็นปริมาตร 1,600,000,000 x 1,000 หรือ 1,600,000,000,000 ลูกบาศก์เมตร ก็จะเคลื่อนตัวกลับมาสู่และมาแทนที่บริเวณที่กำจัดฝุ่นจิ๋วนั้นไปหยกๆ ค่าฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ที่วัดได้ ก็จะเหมือนเดิม ไม่มีผลเป็นอย่างอื่นไปได้ แล้วจะทำไปทำไม

    เครื่องสเปรย์แบบนี้เขาใช้สำหรับดักจับฝุ่นใหญ่ในสถานที่ก่อสร้างหรือในเหมือง ไม่สามารถกำจัดฝุ่นจิ๋วได้อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล

    ขอแถมอีกนิด การวัดค่าฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ด้วยเครื่องมือถือราคาพันสองพันนี่ เขาใช้หลักการเอาแสงส่องเข้าไป ในมวลอากาศที่ถูกดูดเข้ามาในเครื่อง แล้วดูว่าแสงกระเจิงไปมากน้อยเท่าใด ถ้าฝุ่นมากก็กระเจิงมาก ฝุ่นน้อยก็กระเจิง น้อย แล้วแปลงมาเป็นค่า PM ซึ่งละอองลอยของเม็ดน้ำขนาดเล็กก็สามารถกระเจิงแสงได้เช่นกัน ค่าที่อ่านได้จาก เครื่องมือถือนี้จึงจะมากกว่าที่เป็นจริง ดังนั้น ไม่ว่าจะมองไปทางไหน ในมุมใด จึงไม่น่าจะเอาวิธีการฉีดโปรยน้ำมาใช้ ทั้งสิ้น

    ประเทศไทยจะก้าวไปสู่ ไทยแลนด์ 4.0 แล้ว เราคงต้องใช้ความรู้และปัญญามาช่วยกันจัดการปัญหา เราถึงจะ แข่งกับคนอื่นเขาได้อยากจะบอกว่าที่เขียนมาทั้งหมดนี่ไม่ได้ต้องการต่อว่าใคร แต่กำลังจะบอกเน้นย้ำว่าเอาเวลา เอา งบประมาณ เอาสมองไปทำอย่างอื่นที่มันใช้งานได้จริง คงน่าจะดีกว่า