ThaiPublica > เกาะกระแส > กนง.ออกเสียง 5 ต่อ 2 ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เป็น 1.75% ในรอบ 7 ปี ระบุประสิทธิภาพนโยบายการเงินทั่วโลกลดลง

กนง.ออกเสียง 5 ต่อ 2 ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เป็น 1.75% ในรอบ 7 ปี ระบุประสิทธิภาพนโยบายการเงินทั่วโลกลดลง

19 ธันวาคม 2018


นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2561 นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงข่าวภายหลังการประชุม กนง. ครั้งที่ 8/2561 กนง.มีมติ 5 ต่อ 2 เสียงให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปีจาก 1.50% เป็น 1.75% ต่อปีโดยให้มีผลทันที ขณะที่ 2 เสียงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ต่อปี ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 7 ปี และในรอบ 3 ปีครึ่งภายหลังจากคงดอกเบี้ยไว้ครั้งล่าสุด

โดยในการตัดสินนโยบาย กนง.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องตามแรงส่งของอุปสงค์ในประเทศ แม้อุปสงค์ต่างประ เทศชะลอลง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพระบบการเงินโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ต้องติดตามความเสี่ยงที่อาจสะสมความเปราะบางในระบบการเงินได้ในอนาคต กนง.เห็นว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่่าต่อเนื่องเป็นเวลานานในช่วงที่ผ่านมามีส่วนช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวในระดับที่สอดคล้องกับศักยภาพและกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ

กรรมการส่วนใหญ่จึงเห็นว่าความจ่าเป็นในการพึ่งพานโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากในระดับที่ผ่านมาลดน้อยลง และเห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงิน รวมทั้งเพื่อสร้างขีดความสามารถในการด่าเนินนโยบายการเงิน (policy space) ส่าหรับอนาคต กรรมการส่วนใหญ่เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับที่ 1.75% ยังเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่วนกรรมการ 2 ท่านเห็นว่า ปัจจัยเสี่ยงและความไม่แน่นอนจากต่างประเทศปรับสูงขึ้นและอาจส่งผลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป จึงควรรอประเมินความชัดเจนของผลกระทบจากปัจจัยภายนอกและความยั่งยืนของแรงส่งจากปัจจัยเศรษฐกิจในประเทศไปอีกระยะหนึ่ง ประกอบกับมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินที่ด่าเนินการไปได้ดูแลความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินในบางจุดไปบ้างแล้ว

  • กนง. 6:1 คงดอกเบี้ย 1.5% ต่อเนื่อง 26 ครั้ง ระบุ”ความจำเป็นของการผ่อนคลายนโยบายการเงินในระดับปัจจุบันจะน้อยลงเรื่อยๆ”
  • กนง. คงดอกเบี้ย 1.5% เสียงแตก 5:2 ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย ชี้ความจำเป็นลดลงเรื่อยๆ – รับกังวล “สงครามการค้า” ไม่รู้ออกหัวออกก้อย
  • กนง. คงดอกเบี้ย 1.5% แม้เสียงแตกมากขึ้นเป็น 4:3 รับกังวลความเสี่ยงสงครามการค้า – ชี้เศรษฐกิจเข้มแข็งต่อเนื่อง ส่งสัญญาณเร่งสะสม “พื้นที่นโยบาย” รับมือความเสี่ยงอนาคต
  • นอกจากนี้ กนง.ยังได้ปรับจีดีพีในปี 2561 ลดลงจาก 4.4% เหลือเพียง 4.2% และในปี 2562 จาก 4.2% เหลือเพียง 4% โดยมีกาปรับขึ้นเพียงการบริโภคของเอกชนที่ปรับขึ้นจาก 4.2% เป็น 4.7% ในปี 2561 และเพิ่มขึ้นจาก 3.7% เป็น 4% ในปี 2562 โดยมีปัจจัยหลักจากรายได้นอกภาคเกษตรที่ดีและกระจายตัวมากขึ้น ขณะที่ตัวแปรอื่นๆต่างปรับลดลง โดยเฉพาะภาคต่างประเทศอย่างการส่งออกที่ลดลงจา 9% เหลือ 7% ในปี 2561 และจาก 4.3% เหลือ 3.8% ในปี 2562  โดยมีเหตุผลจากการชะลอตัวของการค้าโลกและเศรษฐกิจคู่ค้าที่ได้รับผลกระทบจากมาตราการกีดกันทางการค้า อย่างไรก็ตาม ไทยเริ่มเห็นผลดีจากการย้ายคำสั่งซื้อและการย้ายฐานการผลิตจากจีนมาไทยจะเป็นปัจจัยสนับสนุนในระยะต่อไป

    “ที่เห็นว่าเศรษฐกิจจีดีพีปรับลดลงแต่ปรับดอกเบี้ยขึ้น หากมองย้อนกลับไปจะเห็นว่าในช่วงวิกฤตการเงินโลกดอกเบี้ยไทยอยู่ที่ 1.25% ส่วนตอนนี้อยู่ที่ 1.5% ซึ่งถือว่าต่ำมากและหากดูจีดีพีในช่วง 3 ปีที่คงดอกเบี้ยไว้ 1.5% ช่วงแรกจีดีพีเราเติบโตไม่มาก แต่ตอนนี้จีดีพีไทยกลับมาเติบโตตามศักยภาพที่ประมาณ 4% ติดต่อกันมา 3 ปีรวมถึงปีนี้ ดังนั้นความจำเป็นของการคงดอกเบี้ยไว้ต่ำมากก็ลดลง และหากเปรียบกับการขับรถ 1.75% ก็เหมือนยังแตะคันเร่งอยู่ แต่เบากว่าเดิมจากช่วงที่ 1.5% แต่การให้น้ำหนักในเหุตผลของการขึ้นดอกเบี้ยอันใดมากกว่ากันคงตอบยาก เพราะกรรมการแต่ละคนมีมุมมองที่แตกต่างกันไปโดยเฉพาะเรื่องของจังหวะเวลา เช่นกรรมการ 2 คนก็อยากรอดูความชัดเจนของความเสี่ยงอีกระยะ แต่ว่าเรื่องเสถียรภาพระบบการเงินก็เห็นตรงกันว่าต้องระมัดระวัง”

    สำหรับผลกระทบต่อตลาดการเงินและประชาชนคาดว่าจะไม่มีผลกระทบมาก เนื่องจากกนง.ขึ้นดอกเบี้ยไม่มากและยังอยู่ในภาวะผ่อนคลายอยู่ ขณะที่สินเชื่อของครัวเรือนมีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่มีอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวตามดอกเบี้ยตลาด ส่วนที่เหลือเช่นสินเชื่อบ้านจะเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่อยู่แล้ว สุดท้ายประสิทธิผลของนโยบายการเงินในการส่งผ่านไปยังธนาคารพาณิชย์หรือตลาดการเงินจะลดลงหรือไม่ คงต้องติดตามต่อไปว่าจะปรับตัวอย่างไรทั้งระบบการเงิน แต่โดยรวมนโยบายการเงินในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทั่วโลกมีประสิทธิภาพลดลง เนื่องจากโลกาภิวัตน์ที่เกิดขึ้นในตลาดการเงินโลก แต่การปรับครั้งนี้ก็ปรับเพียง 0.25% และในรอบนี้การตัดสินใจในอนาคตยังต้องติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด หรือ data dependent ซึ่งอาจจะแตกต่างจากในอดีตที่ผ่านมาที่จะขึ้นอย่างต่อเนื่อง การใช้รูปแบบการขึ้นดอกเบี้ยที่ผ่านมาของกนง.อาจจะใช้ไม่ได้ในครั้งนี้” นายทิตนันทิ์ กล่าว

    เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในระดับที่สอดคล้องกับศักยภาพแม้การส่งออกสินค้าได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอลงและมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ขณะที่การท่องเที่ยวชะลอลงโดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวจีน แต่เริ่มมีสัญญาณปรับดีขึ้นแรงส่งของอุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวต่อเนื่อง การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวตามรายได้ครัวเรือนนอกภาคเกษตรที่ปรับดีขึ้นและกระจายตัวมากขึ้น รวมทั้งได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐเพิ่มเติมแม้รายได้ครัวเรือนภาคเกษตรลดลงบ้างและยังมีแรงกดดันจากหนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง

    ส่าหรับการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวตามการย้ายฐานการผลิตมายังไทย และโครงการร่วมลงทุนของรัฐและเอกชนในโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวชะลอลงกว่าที่ประเมินไว้เดิมจากความล่าช้าในการลงทุนของรัฐวิสาหกิจบางแห่ง กนง.จะติดตามความเสี่ยงจากมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่อาจจะกระทบต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไปอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปียังมีแนวโน้มทรงตัว แต่มีความเสี่ยงด้านต่่าจากความผันผวนของราคาพลังงานและราคาอาหารสด

    อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ที่ปรับสูงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ กนง.เห็นว่าการเปลี่ยน แปลงเชิงโครงสร้าง อาทิ ผลกระทบจากการขยายตัวของธุรกิจ e-commerce การแข่งขันด้านราคาที่สูงขึ้น รวมถึงพัฒนาการของเทคโน โลยีที่ท่าให้ต้นทุนการผลิตลดลง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้ช้ากว่าในอดีตภาวะการเงินที่ผ่านมาอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ สภาพคล่องในระบบการเงินอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ในระดับต่่า ท่าให้ภาคเอกชนสามารถระดมทุนได้ต่อเนื่อง

    โดยสินเชื่อขยายตัวทั้งสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่และสินเชื่ออุปโภคบริโภค กนง.ประเมินว่าแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับขึ้นร้อยละ 0.25 ภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ด้านอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. มีเสถียรภาพเมื่อเทียบกับเงินสกุลภูมิภาค ในระยะข้างหน้า อัตราแลกเปลี่ยนยังมีแนวโน้มผันผวน กนง.จึงเห็นควรให้ติดตามสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนและผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดต่อไป

    ระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ แต่ยังต้องติดตามความเสี่ยงที่อาจสร้างความเปราะบางให้เสถียรภาพระบบการเงินได้ในอนาคต โดยเฉพาะพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield)ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่่าเป็นเวลานาน ซึ่งอาจน่าไปสู่การประเมินความเสี่ยงต่่ากว่าที่ควร (underpricing of risks)กนง.เห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้จะช่วยลดการสะสมความเปราะบางในระบบการเงินควบคู่กับมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินที่ได้ด่าเนินการไป

    มองไปข้างหน้าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แม้แรงส่งจากอุปสงค์ต่างประเทศชะลอลง กนง.เห็นว่า นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายจะยังมีความเหมาะสมในระยะข้างหน้า โดยจะติดตามพัฒนาการของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อประกอบการด่าเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมในระยะต่อไป

    ก่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ คณะกรรมการกนง.ได้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ตลอดการประชุม 28 ครั้ง โดยการประชุมครั้งสุดท้ายที่มีการคงอัตราดอกเบี้ยคือ การประชุมวันที่ 14 พฤศจิกายน 2561

    อนึ่งคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เริ่มส่งสัญญานที่จะสร้างขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (Policy Space) มาตั้งแต่การประชุมวันที่ 20 มิถุนายน 2561 แม้มีมติ 5 ต่อ 1 เสียงให้คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% ต่อมาการประชุมในวันที่ 8 สิงหาคม 2561 คณะกรรมการนโยบายการเงิน กนง.ส่งสัญญานว่า ความจำเป็นของการผ่อนคลายนโยบายการเงินในระดับปัจจุบันจะน้อยลงเรื่อยๆ แม้มีมติ 6 ต่อ 1 เสียงให้คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% เป็นครั้งที่ 26 ติดต่อกันนับตั้งแต่การประชุมครั้งที่ 3/2558 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2558

    ต่อมาการประชุมวันที่ 19 กันยายน 2561 เป็นครั้งแรกในเอกสารแถลงข่าวที่ระบุว่าความจำเป็นของนโยบายการเงินอย่างผ่อนคลายที่ทยอยลดลงอย่างชัดเจน แม้คณะกรรมการกนง. มีมติ 5:2 เสียงคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% ต่อเนื่องกันเป็นครั้งที่ 27 และการประชุมวันที่ 14 พฤศจิกายน 2561 เป็นครั้งที่ 2 ในเอกสารแถลงข่าวที่ระบุว่าความจำเป็นของนโยบายการเงินอย่างผ่อนคลายทยอยลดลงอย่างชัดเจน