ThaiPublica > Native Ad > บทความร่วมมือ > สังคมไทยไร้แร่ใยหิน (2) : วัตถุอันตราย “แอมฟิโบล 4 ชนิด” ยกเลิกการใช้ แต่ยังนำเข้าอยู่

สังคมไทยไร้แร่ใยหิน (2) : วัตถุอันตราย “แอมฟิโบล 4 ชนิด” ยกเลิกการใช้ แต่ยังนำเข้าอยู่

18 มิถุนายน 2014


ตามที่กล่าวไปใน ตอนที่ 1ประเทศไทยมีการนำเข้าแร่ใยหินมาตั้งแต่ พ.ศ. 2518 เฉลี่ยปริมาณกว่า 100,000 ตันต่อปี เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบผลิตสินค้าประเภทต่างๆ เมื่อระดับสากลยอมรับว่าแร่ใยหินทุกชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และองค์การอนามัยโลก (WHO) จึงประกาศจุดยืนมาตรการกำจัดโรคจากแร่ใยหิน และรณรงค์ให้ประเทศสมาชิกทั่วโลกยกเลิกการใช้แร่ใยหินทุกชนิด โดยใน พ.ศ. 2553 มีประเทศที่ยกเลิกการใช้แร่ใยหินแล้ว 57 ประเทศ

สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้าได้ตรวจสอบข้อมูลของกรมศุลกากร(การนำเข้าแร่ใยหินทุกประเภทจากประเทศต่างๆ ในปี 2545-2556) พบว่า ประเทศไทยนำเข้าแร่ใยหินและผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินประกอบมาจากประเทศรัสเซียมากที่สุด รองลงมาคือ บราซิล แคนาดา ซิมบับเว คาซัคสถาน สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งปัจจุบันปริมาณการนำเข้าแร่ใยหินจากประเทศต่างค่อยๆ ลดลง ยกเว้นการนำเข้าจาก “จีน” ที่ปริมาณค่อยๆ สูงขึ้น(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)

การนำเข้าแร่ใยหินของไทย

การนำเข้าแร่ใยหินของไทย-1

การนำเข้าแร่ใยหินของไ

การนำเข้าแร่ใยหินของไทย-2

แร่ใยหินแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแอมฟิโบล มี 4 ชนิด คือ ครอซิโดไลท์ (Crocidolite) อะโมไซท์ (Amosite) ทรีโมไลท์ (Tremolite) แอนโทฟิลไลท์ (Anthophyllite) และแอคทิโนไลท์ (Actinolite) อีกกลุ่มคือเซอร์แพนไทน์ มี 1 ชนิดคือ ไครโซไทล์ (Chrysotile)

แร่ใยหินดังกล่าวทั้ง 5 ชนิด ปัจจุบันถือเป็นวัตถุอันตรายตามมาตรา 4 (5) วัตถุที่ทำให้เกิดโรค โดยตามมาตรา 18 ไครโซไทล์จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 คือ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง ต้องได้รับใบอนุญาต

ส่วนอีก 4 ชนิดใน “กลุ่มแอมฟิโบล” จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 คือ วัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง นั่นคือ ยกเลิกการใช้ จากการตรวจสอบการนำเข้าพบว่า ครอซิโดไลท์ ซึ่งยกเลิกการใช้ในปี 2538 แต่จากข้อมูลของกรมศุลกากรปรากฏว่ายังมีการนำเข้าแร่ใยหินชนิดนี้อยู่ในปี 2544-2545 และปี 2550-2551 รวมกว่า 6,500 ตัน โดยนำเข้าจากประเทศแคนาดามากที่สุดกว่า 6,000 ตัน ที่เหลือนำเข้าจากประเทศจีน ญี่ปุ่น รัสเซีย และซิมบับเว

เช่นเดียวกัน อะโมไซท์ที่ยกเลิกการใช้ในปี 2544 แต่ก็ยังพบการนำเข้าในปี 2550-2551 โดยมาจากประเทศซิมบับเวมากที่สุด รองลงมาคือรัสเซีย บราซิล และแคนาดา(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)

Web

ต่อมาในปี 2552 จึงได้ยกเลิกการใช้ทรีโมไลท์ แอนโทฟิลไลท์ และแอคทิโนไลท์ ในประเทศไทย แต่ปัจจุบันก็ยังพบว่ามีการนำเข้าแร่ใยหินประเภทนี้อยู่ ซึ่งมาจากประเทศรัสเซียและจีน ล่าสุดในปี 2556 นำเข้าจากรัสเซียกว่า 20,000 ตัน และจากจีนกว่า 1,000 ตัน

ทั้งนี้ตามหลักการดำเนินงานของกรมศุลกากรจะอนุญาตให้สามารถขนสินค้าออกจากท่าเรือได้ก็ต่อเมื่อสินค้านั้นมีใบอนุญาตนำเข้ามาจากหน่วยงานราชการต้นสังกัดผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ ซึ่งในกรณีของแร่ใยหินคือ กระทรวงอุตสาหกรรม ที่มีอำนาจออกคำสั่ง “ยกเลิก” หรือ “อนุญาต” การใช้แร่ใยหินในประเทศไทยของสถานประกอบการทุกแห่ง

สำหรับไครโซไทล์ที่ประเทศไทยยังอนุญาตให้ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นมีการนำเข้าอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปี 2545 -2549 จริง

ประเทศไทยนำเข้าไครโซไทล์กว่า 150,000 ตันต่อปี เฉลี่ยมูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท แต่หลังจากปี 2550 เป็นต้นมาการนำเข้าไครโซไทล์ลดลงเหลือเพียง 40,000-50,000 ตันต่อปี มูลค่าเฉลี่ยประมาณ 500 ล้านบาท สาเหตุที่ประเทศไทยนำเข้าน้อยนั่นเพราะบริษัทยักษ์ใหญ่ 2 แห่งยกเลิกการใช้แร่ใยหิน คือ บริษัท มหพันธ์ไฟเบอร์ซีเมนต์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทปูนซีเมนต์ไทย (เอสซีจี)

ประเทศไทยนำเข้าแร่ใยหินไครโซไทล์จากรัสเซียมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60-75 ของการนำเข้าไครโซไทล์ทั้งหมดในแต่ละปี ล่าสุดข้อมูลจากกรมศุลกากรเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2557 พบการนำเข้าแร่ใยหินจากรัสเซียแล้ว 5,130 ตัน มูลค่า 75.10 ล้านบาท และจากประเทศบราซิล 640 ตัน มูลค่า 14.29 ล้านบาท โดยเฉลี่ยแล้วราคาไครโซไทล์ในปี 2557 ของรัสเซียอยู่ที่กิโลกรัมละ 14.6 บาท ในขณะที่ไครโซไทล์จากแคนาดาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.3 บาท

สำหรับราคาไครโซไทล์ ในช่วงที่ผ่านมา ราคาของประเทศรัสเซียถูกที่สุด จากปี 2550 ราคาเฉลี่ย 10.3 บาทต่อกิโลกรัม ขึ้นเป็น 11.2 บาทต่อกิโลกรัมในปีต่อมา หลังจากนั้นก็คงที่ที่ราคา 12-13 บาทต่อกิโลกรัมถึงปัจจุบัน

ในขณะที่ประเทศแคนาดา นำเข้าเป็นอันดับ 2 ราคาเฉลี่ย 13.5 บาทต่อกิโลกรัม ในปี 2550 ปีต่อมาขึ้นเป็น 15.1 บาทต่อกิโลกรัม และขึ้นมาเรื่อยเป็น 15.9 บาทต่อกิโลกรัมในปี 2554 และหลังจากนั้นไม่มีนำเข้ามาในประเทศไทยอีกเลย

ส่วนประเทศบราซิลที่นำเข้ามากเป็นอันดับ 3 และปัจจุบันกลายเป็น 1 ใน 2 ประเทศที่ไทยนำเข้าไครโซไทล์มากสุด ราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกปีจากปี 2550-2557 (มกราคม-กุมพันธ์) ดังนี้ 10.9, 13.0, 16.3, 15.6, 16.5, 19.2, 20.9 และ 22.3 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ

ดูข้อมูลเพิ่มเติมการนำเข้าแร่ใยหินชนิดอื่นๆ