ThaiPublica > เกาะกระแส > องค์การอนามัยโลกเปิดรายงาน “ดื้อยา” ประกาศยาปฏิชีวนะไม่สามารถรักษาโรคได้อีกต่อไป – ระบุ 7 โรคเสี่ยง

องค์การอนามัยโลกเปิดรายงาน “ดื้อยา” ประกาศยาปฏิชีวนะไม่สามารถรักษาโรคได้อีกต่อไป – ระบุ 7 โรคเสี่ยง

6 พฤษภาคม 2014


รายงานขององค์การอนามัยโลกฉบับใหม่ประกาศว่ายาปฏิชีวนะไม่สามารถรักษาโรคได้อีกต่อไป จากข้อมูลของ 114 ประเทศทั่วโลก เปิดเผยว่าไม่สามารถใช้ยาปฏิชีวนะได้อีกแล้วในอนาคต เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นทั่วทุกภูมิภาคของโลก ทุกวัย และทุกประเทศ

ดร.เคอิจิ ฟุกุดะ (Keiji Fukuda) ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า จากการประสานงานระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โลกกำลังมุ่งไปทิศทางยุคหลังยาปฏิชีวนะ (Post-antibiotic era) ซึ่งเป็นยุคที่การติดเชื้อและอันตรายอื่นๆ ที่เคยรักษาได้มานานหลายทศวรรษนั้นสามารถกลับมาฆ่าเราได้อีกครั้ง

ยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพนั้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เรามีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น อยู่อย่างสุขภาพดี และได้รับประโยชน์จากการแพทย์สมัยใหม่ ถ้าเราไม่เห็นความสำคัญของการปรับปรุงความพยายามที่จะป้องกันโรคและเปลี่ยนวิธีการสร้าง การกำหนด และการใช้ยาปฏิชีวนะแล้ว โลกก็จะสูญเสียสินค้าสุขภาพและสิ่งที่เกี่ยวข้องก็จะเสียหายไปด้วย

ในรายงาน “การดื้อยา: รายงานจากการเฝ้าระวังทั่วโลก” (Antimicrobial resistance: global report on surveillance) ระบุว่าการดื้อยานั้นเกิดในโรคต่างๆ มากมาย แต่ในรายงานจะมุ่งศึกษาการดื้อยาในแบคทีเรียทั่วไป 7 ชนิด เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) โรคท้องร่วง (Diarrhea) โรคปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infections) และโรคหนองใน (Gonorrhoea) ผลที่ได้พบว่ามีการดื้อยาทั้งหมดในทุกภูมิภาคของโลก

ที่มาภาพ : http://www.microbioncorp.com/wp-content/uploads/2014/05/AMR.jpg
ที่มาภาพ: http://www.microbioncorp.com/wp-content/uploads/2014/05/AMR.jpg

ประเด็นสำคัญของรายงานฉบับนี้

เชื้อแบคทีเรียเคล็บเซียลลานิวโมเนีย (Klebsiella Pneumoniae) ที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคปอดอักเสบ ดื้อยาปฏิชีวนะกลุ่มคาร์บาพีเน็ม (Carbapenem) แล้วทั่วโลก ซึ่งเชื้อเคล็บเซียลลานิวโมเนียนี้เป็นสาเหตุหลักของโรคที่เกิดจากการติดเชื้อในโรงพยาบาล เช่น โรคปอดอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อของเด็กแรกเกิด และการติดเชื้อของผู้ป่วยวิกฤต ในบางประเทศการดื้อยาปฏิชีวนะกลุ่มคาร์บาพีเน็ม ทำให้ยาไม่สามารถใช้ได้อีกแล้วกับคนที่ติดเชื้อเคลบเซลลา นิวโมเนีย

การดื้อต่อฤทธิ์ของ อี. โคไล-ฟลูออโรควิโนโลนส์ (E. coli–fluoroquinolones) ซึ่งเป็นยาที่ใช้บ่อยที่สุดในการรักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบนั้นแพร่กระจายมาก ยาตัวนี้ถูกผลิตขึ้นในทศวรรษ 1980 ดูเหมือนแทบจะไม่มีการดื้อยา แต่ทุกวันนี้มีหลายประเทศในหลายส่วนของโลกที่ยาตัวนี้ไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบแล้ว

มีการยืนยันแล้วว่าการรักษาโรคหนองในล้มเหลว จากการดื้อยาในกลุ่มเซฟาโลสปอรินส์ รุ่นที่ 3 (Cephalosporins) ในประเทศออสเตรีย ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น นอร์เวย์ สโลเวเนีย แอฟริกาใต้ สวีเดน และสหราชอาณาจักร ในทุกๆ วันมีผู้ติดเชื้อโรคหนองในมากกว่าหนึ่งล้านคนทั่วโลก

การดื้อยาทำให้คนมีอาการป่วยนานขึ้น และมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตมากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น การดื้อยาเมทิซิลิน (Methicillin) ของคนที่ติดเชื้อสตาฟีโลคอกคัสออเรียส (Staphylococcus aureus) หรือโรคที่เกิดจากสัตว์สู่คน ประมาณ 64 เปอร์เซ็นต์มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนที่ไม่ดื้อยา การดื้อยายังทำให้ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มสูงข้ึน ระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาลยาวนานขึ้น และความเข้มงวดของการดูแลเพิ่มขึ้นด้วย

แนวทางการต่อสู้การดื้อยา

รายงานระบุว่าในหลายประเทศยังมีช่องว่างหรือยังไม่มีการเริ่มติดตามหรือรับฟังปัญหา ซึ่งถือระบบระบบพื้นฐานที่สุด ในขณะที่บางประเทศมีท่าทีในการแสดงออกที่เห็นความสำคัญของปัญหา ซึ่งแต่ละประเทศล้วนมีความต้องการเฉพาะของตัวเอง

ก้าวย่างที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการป้องกันการติดเชื้อขั้นต้น เช่น การรักษาความสะอาดที่มากขึ้น การได้เข้าถึงน้ำสะอาด การมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ควบคุมการติดเชื้อ และการมีวัคซีนป้องกันโรค องค์การอนามัยโลกกำลังเรียกร้องให้มีการพัฒนาสำหรับโรคใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งเครื่องมือที่สามารถให้ผู้เชี่ยวชาญพร้อมสำหรับการเตือนภัยการดื้อยาที่เกิดขึ้นด้วย

รายงานฉบับนี้กระตุ้นให้โลกได้สนใจประเด็นการดื้อยา รวมถึงการพัฒนาเครื่องมือ มาตรฐาน และการร่วมมือกันจากทั่วโลกเพื่อสู้กับการดื้อยา เพื่อประมาณค่าทางสุขภาพและผลกระทบทางเศรษฐกิจ พร้อมทั้งออกแบบแนวทางการแก้ปัญหาด้วย

จะสู้กับการดื้อยาอย่างไร

ประชาชนสามารถช่วยสู้การดื้อยาโดย

● ใช้ยาปฏิชีวนะเมื่อแพทย์สั่งเท่านั้น
● ใช้ยาปฏิชีวนะต่อเนื่องถึงแม้อาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม
● ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับผู้อื่นหรือใช้ยาปฏิชีวนะที่เหลือจากการสั่งยาครั้งก่อน

เจ้าที่สาธารณสุขและเภสัชกรสามารถช่วยสู้การดื้อยาโดยส่งเสริมการป้องกันและควบคุมโรค

● สั่งยาและจ่ายยาเมื่อผู้ป่วยมีความต้องการจริงๆ เท่านั้น
● สั่งยาและจ่ายยาปฏิชีวนะที่ถูกต้องกับโรค

ผู้กำหนดนโยบายสามารถช่วยสู้การดื้อยาโดย

● เพิ่มระยะการสู้และความสามารถในการทดลอง
● ควบคุมและสนับสนุนการใช้ยาที่เหมาะสม

ผู้กำหนดนโยบายและอุตสาหกรรมสามารช่วยสู้การดื้อยาได้โดย

● ส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ๆ การวิจัย และการพัฒนาของเครื่องมือ
● สนับสนุนความร่วมมือและการแบ่งปันข้อมูลระหว่างผู้เกี่ยวข้อง
● รายงานนี้ยังรวมถึงข้อมูลของการดื้อยาของโรคอื่นๆ ซึ่งให้ภาพที่ครอบคลุมที่สุด เช่น โรคเอดส์ (HIV) โรคมาลาเรีย (Malaria) วัณโรค (Tuberculosis) และไข้หวัดใหญ่ (Influenza) จาก 114 ประเทศอีกด้วย