ASEAN Roundup ประจำวันที่ 12-18 มกราคม 2568
เวียดนามเร่งตั้งศูนย์กลางการเงิน 2 แห่งโฮจิมินห์กับดานัง

แม้แนวคิดการตั้งศูนย์กลางการเงินจะไม่ใช่เรื่องใหม่ทั่วโลก แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและถือเป็นความท้าทายสำหรับเวียดนาม เหงียน จิ ดุงกล่าว โดยเน้นย้ำถึงโอกาสอันยิ่งใหญ่จะมาพร้อมกับความท้าทาย
HCM City centre ศูนย์กลางการเงินโฮ จิมินห์จะตั้งอยู่ในเขต 1 และเขตเมืองใหม่ทูเทียม(Thu Thiem) ขณะที่ย่านการเงินของดานังจะประกอบด้วยโซนหลักขนาด 6 เฮกตาร์ ซึ่งสามารถขยายเป็นศูนย์กลางการทางการเงินขนาด 62 เฮกตาร์ภายในเขตนิคมอุตสาหกรรมดานัง และยังมีพื้นที่ 9.7 เฮกตาร์สำหรับศูนย์เทคโนโลยีทางการเงิน
ภายในโซนทางพื้นที่ที่กำหนด กลไกและนโยบายพิเศษจะถูกนำไปใช้เพื่อดึงดูดสถาบันการเงิน รวมถึงธนาคาร กองทุนรวมเพื่อการลงทุน และบริษัทที่ให้บริการทางการเงิน ศูนย์จะจัดตั้งแพลตฟอร์มการซื้อขายหลักทรัพย์ สกุลเงิน และสินค้าโภคภัณฑ์ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคการเงินใหม่ๆ เช่น ฟินเทค ให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติระหว่างประเทศ
เวียดนาม ศูนย์กลางทางการเงินที่เกิดขึ้นใหม่ กำลังคว้าโอกาสทอง ที่จะกลายเป็นผู้เล่นที่แข่งขันได้ในเวทีการเงินระหว่างประเทศ ด้วยกรอบกฎหมายที่ก้าวหน้าและความคิดริเริ่มที่โดดเด่น รัฐมนตรีกระทรวงการวางแผนและการลงทุน เหงียน จิ ดุง กล่าว
การพัฒนาศูนย์กลางทางการเงินระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ ถือว่าเป็นความก้าวหน้าทางสถาบันที่สำคัญโดยพรรค รัฐ สมัชชาแห่งชาติ และรัฐบาล เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนรูปแบบการเติบโตควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและความได้เปรียบทางการแข่งขัน ช่วยขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่ยุคใหม่ ที่เป็นความเจริญรุ่งเรืองของชาติ
รัฐมนตรีกล่าวว่า การพัฒนาที่ประสบความสำเร็จของศูนย์จะมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงเวียดนามกับตลาดการเงินโลก ขณะเดียวกันก็ดึงดูดสถาบันการเงินต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการสร้างทรัพยากรการลงทุนใหม่และใช้ประโยชน์จากที่มีอยู่ ขณะเดียวกันก็จะให้บริการทางการเงินคุณภาพสูงเพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ
ความคิดริเริ่มดังกล่าวจะสร้างการก้าวกระโดดเชิงคุณภาพในการพัฒนาตลาดการเงินของเวียดนามในรูปแบบที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เหงียน จิ ดุงกล่าวและว่า ความคิดริเริ่มนี้จะช่วยให้เวียดนามบูรณาการเข้ากับห่วงโซ่คุณค่าระดับโลกได้มากขึ้น ยกระดับบทบาท ศักดิ์ศรี และอิทธิพลของประเทศในเวทีระหว่างประเทศและสร้างชื่อเสียงในฐานะเศรษฐกิจที่มีพลวัตและยั่งยืนทั่วโลก ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างการป้องกันประเทศและความมั่นคงโดยเฉพาะในภาคการเงินทั้งในระยะเริ่มต้นและจากระยะยาว
กระทรวงได้เสนอการพัฒนาศูนย์กลางการเงินด้วยแนวทาง “ไฮบริด” โดยพิจารณาเลือกใช้ส่วนที่ประสบความสำเร็จจากศูนย์กลางทางการเงินระดับโลก ขณะเดียวกันก็ปรับให้เข้ากับบริบทเฉพาะของเวียดนาม
ดุงกล่าวว่า กระทรวง ภาคส่วน และหน่วยงานต่างๆ ควรร่วมมือกับกระทรวงการวางแผนและการลงทุน และท้องถิ่นต่างๆ เพื่อสรุปมาตรการสำคัญสำหรับปี 2568 เพื่อจัดทำร่างข้อมติของสมัชชาแห่งชาติเกี่ยวกับการพัฒนาศูนย์กลางการเงินในเร็วๆ นี้
นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้มีการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน ทรัพยากรบุคคล กรอบการทำงานของสถาบัน และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจโดยทันที ขณะเดียวกันก็เน้นย้ำถึงความสำคัญของการดึงดูดนักลงทุนเชิงยุทธศาสตร์และสถาบันการเงินมาที่ศูนย์กลางการเงิน
อีกทั้งกำลังแสวงหาพันธมิตรระหว่างประเทศ มาถ่ายทอดความเชี่ยวชาญและการสนับสนุนในการพัฒนาและดำเนินการสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมถึงข้อเสนอแนะด้านนโยบายและการระดมทรัพยากร เหงียน จิ ดุงคาดหวังว่าศูนย์กลางทางการเงินในเมืองโฮจิมินห์และดานังจะไม่เพียงแต่เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรืองของเวียดนามเท่านั้น แต่ยังมีส่วนสนับสนุนเชิงบวกต่อเสถียรภาพและการพัฒนาระบบการเงินโลกอีกด้วย
เวียดนามเตรียมเก็บ VAT จากสินค้านำเข้ามูลค่าต่ำกว่า 40 ดอลลาร์

รองนายกรัฐมนตรี โฮ ดึ๊ก ฟ็อก ลงนามในคำสั่งฉบับที่ 01/2025 เมื่อวันที่ 3 มกราคม ยกเลิกการยกเว้นภาษีสำหรับสินค้านำเข้าด่วนที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1 ล้านด่องที่ได้ใช้มาตั้งแต่ปี 2010 อย่างเป็นทางการ
สาเหตุหลักประการหนึ่งสำหรับการปรับเปลี่ยนนี้ คือเพื่อให้แน่ใจว่ามีการแข่งขันที่เป็นธรรมระหว่างสินค้านำเข้าและผลิตภัณฑ์ในประเทศ ก่อนหน้านี้ สินค้านำเข้ามูลค่าต่ำได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ขณะที่สินค้าที่ผลิตในประเทศที่คล้ายกันยังคงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ความแตกต่างนี้ส่งผลให้ราคาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ก่อให้เกิดความท้าทายสำหรับธุรกิจในประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
การยกเลิกการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มคาดว่าจะช่วยยกระดับการแข่งขัน ช่วยให้ผู้ผลิตในท้องถิ่นสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคสนับสนุนสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่น ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคภายในประเทศ
คำสั่งฉบับก่อนหน้าที่ 78/2010/QĐ-TTg ซึ่งออกเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2010 ยกเว้นทั้งภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มให้สินค้านำเข้าผ่านช่องทางเร่งด่วนที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1 ล้านด่อง ในขณะนั้น ระบบพิธีการศุลกากรเป็นการดำเนินการแบบต้องใช้แรงคน และการยกเว้นนี้ช่วยปรับปรุงขั้นตอนการบริหารจัดการ ลดเวลาการประมวลผลของศุลกากร และลดงานด้านเอกสารสำหรับการนำเข้าที่มีมูลค่าต่ำ
อย่างไรก็ตาม ด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วของอีคอมเมิร์ซทั่วโลกและในเวียดนาม การยกเว้นนี้จึงล้าสมัย ประมาณการชี้ให้เห็นว่าพัสดุขนาดเล็กมากถึง 5 ล้านชิ้นถูกจัดส่งทุกวันจากจีนไปยังเวียดนามผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ขนาดและความถี่ของการจัดส่งดังกล่าวเน้นย้ำถึงความจำเป็นของนโยบายภาษีที่เท่าเทียมกันมากขึ้น
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เวียดนามได้ปรับปรุงกระบวนการศุลกากรให้ทันสมัย โดยมีการใช้ระบบอัตโนมัติของเวียดนามสำหรับการจัดการศุลกากรท่าเรือ(Vietnam Automated System for Seaport Customs Management)ที่ท่าเรือ คลังสินค้า และศูนย์โลจิสติกส์ ระบบนี้ช่วยให้กระบวนการศุลกากรง่ายขึ้นอย่างมาก ลดความแออัดและเร่งการเคลียร์สินค้า
เวียดนามสั่ง Agoda-Airbnb-Booking-PayPal จดทะเบียนภาษี

กรมสรรพากร ภายใต้กระทรวงการคลังได้ขอให้ธนาคารและตัวกลางการชำระเงิน 100 แห่งยื่นแบบภาษี หัก ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษีในนามของธุรกรรมที่ดำเนินการกับ Agoda, Airbnb, Booking และ PayPal
Agoda, Airbnb, Booking และ PayPal ไม่มีสำนักงานประจำในเวียดนาม แต่สร้างรายได้จากการให้บริการผู้บริโภคชาวเวียดนาม ด้วยเหตุนี้ ผู้ให้บริการเหล่านี้จึงจัดอยู่ในประเภทคู่สัญญาในต่างประเทศ และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้
สำนักภาษีนิติบุคคลขนาดใหญ่ของกรมสรรพากรระบุว่า ผู้ให้บริการเหล่านี้ดำเนินงานในเวียดนามมาหลายปีแล้ว Agoda และ Booking คือตัวแทนการท่องเที่ยวออนไลน์ที่ให้บริการต่างๆ เช่น การจองโรงแรม เที่ยวบิน ทัวร์ และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ส่วน PayPal ให้บริการชำระเงินออนไลน์และอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ ขณะที่ Airbnb เชื่อมโยงผู้เช่ากับเจ้าของทรัพย์สิน
กรมสรรพากรรายงานว่า ณ ปี 2567 ผู้ให้บริการต่างชาติ 123 รายได้จดทะเบียน ยื่นแบบภาษี และชำระภาษี โดยภาษีที่ยื่นและชำระผ่านพอร์ทัลอิเล็กทรอนิกส์ของซัพพลายเออร์ต่างประเทศมีมูลค่ารวม 8.687 ล้านล้านด่องหรือ 377.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 26% เมื่อเทียบกับปี 2566 และสูงกว่าการคาดการณ์ถึง 74% ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 เมื่อมีการเปิดตัวพอร์ทัลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้ให้บริการต่างประเทศ องค์กรต่างชาติได้จ่ายภาษี 20.261 ล้านล้านด่อง ในจำนวนนี้ มีบริษัทต่างๆ เช่น Meta, Google, Microsoft, TikTok, Netflix และ Apple รวมคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 90% ของรายได้จากบริการอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนในเวียดนาม
รองอธิบดีกรมสรรพากร มาย เซิน กล่าวว่า หนึ่งในวัตถุประสงค์หลักในปี 2568 คือการเร่งการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดการภาษี โดยเฉพาะในกิจกรรมอีคอมเมิร์ซและผู้ให้บริการจากต่างประเทศ ผู้ให้บริการจากต่างประเทศที่สร้างรายได้ในเวียดนาม แต่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีหรือรายงานรายได้ที่ต่ำกว่าปกติจะต้องถูกตรวจสอบและใช้มาตรการที่เหมาะสมโดยหน่วยงานด้านภาษี
ในทางปฏิบัติ ความพยายามในการควบคุมภาษีไม่ได้มีการกำกับดูแลโดยกระทรวงการคลังเท่านั้น กระทรวงอื่นๆ กำลังทำงานเพื่อควบคุมแพลตฟอร์มข้ามพรมแดนที่ดำเนินงานในเวียดนาม
ตัวอย่างเช่น กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ได้ดำเนินการมาเป็นขั้นตอน เช่น ระงับการดำเนินงานของแพลตฟอร์มข้ามพรมแดน Temu จนกว่าเอกสารใบอนุญาตที่จำเป็นจะเสร็จสมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังได้ทบทวนกระบวนการทางกฎหมายสำหรับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนอื่นๆ ด้วย
เล ฮวาง อวนห์ อธิบดีกรมอีคอมเมิร์ซและเศรษฐกิจดิจิทัล(Department of E-commerce and Digital Economy)ภายใต้ MoIT กล่าวว่า แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนที่ไม่มีใบอนุญาต กระทรวงฯได้ออกคำสั่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในกระทรวงเพื่อปรับปรุงมาตรการกำกับดูแล ซึ่งรวมถึงความร่วมมือกับหน่วยงานการตรวตสอบตลาดทั่วไป( General Department of Market Surveillance )และกรมศุลกากรทั่วไปในการติดตาม ตรวจสอบ แยกแยะ และจัดการคลังสินค้าหรือจุดรับ (ถ้ามี) ที่เชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มที่ไม่ได้ลงทะเบียน
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความท้าทาย ตามที่เจ้าหน้าที่ระบุ แม้คำสั่งของรัฐบาลหมายเลข 85/2021/NĐ-CP จะกำหนดเงื่อนไขสำหรับผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนที่เข้าสู่ตลาดเวียดนาม แต่กฎระเบียบดังกล่าวยังไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างเต็มที่ เป็นผลให้หลายแพลตฟอร์มเข้าสู่ตลาดโดยไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายที่จำเป็นให้เสร็จสิ้น ในปี 2568 กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า วางแผนที่จะเสนอการพัฒนากฎหมายอีคอมเมิร์ซเพื่อปรับแนวทางของพรรคให้เป็นกรอบปฏิบัตื และให้สอดคล้องกับโยบายของรัฐ และสร้างกรอบทางกฎหมายที่สอดคล้องกันสำหรับอีคอมเมิร์ซที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่น ๆ เพื่อให้มั่นใจว่ามีความสอดคล้องภายในระบบกฎหมาย
ในทำนองเดียวกัน กระทรวงสารสนเทศและการสื่อสาร ยังคงดำเนินการให้มีแพลตฟอร์มข้ามพรมแดน ลบเนื้อหาที่ละเมิดกฎหมายเวียดนาม เป็นผลให้ Facebook บล็อกหรือลบเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย 8,981 ชิ้น บรรลุการปฏิบัติตาม 94% ส่วน Google ลบไป 6,043 ชิ้น หรือ 91% และ TikTok ลบไป 971 ชิ้น หรือ 93%
ในปี 2568 กระทรวงสารสนเทศและการสื่อสาร จะยังคงทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มข้ามพรมแดน เช่น Google, Facebook และ TikTok รวมถึงเครือข่ายโฆษณา เพื่อให้มั่นใจว่าสอดคล้องกับกฎหมายที่ควบคุมการจัดหาเนื้อหา บริการโฆษณา และการเก็บภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศและการสื่อสาร เหงียน มานห์ ฮุง กล่าวก่อนหน้านี้ว่าแพลตฟอร์มดิจิทัลทั่วโลกจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายเวียดนาม และการไม่ปฏิบัติตามอาจเจอมาตรการที่เข้มงวดยิ่งขึ้นจากรัฐบาล
เวียดนามอนุมัติแผนพัฒนาท่าเรือปี 2564-2573

กลุ่มแรกประกอบด้วยท่าเรือ 5 แห่งที่ตั้งอยู่ใน ไฮฟอง, กว๋างนิญ , ท้ายบิ่ญ, นามดิ่ญ และ นิญบิ่ญ ทางตอนเหนือของเวียดนาม รัฐบาลตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารที่ท่าเรือเหล่านี้เป็น 322-384 ล้านตันและ 281,000-302,000 ล้านตันตามลำดับภายในปี 2573
กลุ่มที่สองประกอบด้วยท่าเรือ 6 แห่งในจังหวัดทางตอนกลาง ได้แก่ ทัญฮว้า, เหงะอาน, ห่าติ๋ญ, กว๋างบิ่ญ , กว๋างจิ และ เถื่อเทียนเว้ โดยรัฐบาลตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารที่ท่าเรือเหล่านี้เป็น 182-251 ล้านตันและ 374,000-401,000 ล้านตัน ตามลำดับภายในปี 2573
กลุ่มที่สามประกอบด้วยท่าเรือ 8 แห่งในดานัง กว๋างนาม, กว๋างหงาย, บิ่ญดิ่ญ, ฟู้เอียน, คั้ญฮว่า, นิญถ่วน, และ บิ่ญถ่วน ซึ่งรัฐบาลตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารที่ท่าเรือเหล่านี้เป็น 160-187 ล้านตันและ 3.4-3.9 ล้านตันตามลำดับภายในสิ้นทศวรรษนี้
กลุ่มที่สี่ประกอบด้วยท่าเรือ 5 แห่งในนครโฮจิมินห์ ด่งนาย บ่าเสี่ยะ – หวุงเต่า บิ่ญเซือง และล็องอาน รัฐบาลตั้งเป้าที่จะเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารที่ท่าเรือเหล่านี้เป็น 500-564 ล้านตัน และ 2.8-3.1 ล้านตัน ตามลำดับ ภายในสิ้นทศวรรษนี้
กลุ่มที่ห้าประกอบด้วยท่าเรือ 12 แห่งในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ได้แก่ เกิ่นเทอ, เตี่ยนซาง , เบ๊นแจ, ด่งท้าบ, อานซาง, เหิ่วซาง,หวิญล็อง, งจ่าวิญ,ซ็อกจัง, บากเลียว, ก่าเมา และ เกียนซาง รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารที่ท่าเรือเหล่านี้เป็น 86-108 ล้านตัน และ 10.5-11.2 ล้านตัน ตามลำดับ ภายในปี 2573
รัฐบาลคาดการณ์ว่าการลงทุนทั้งหมดสำหรับการพัฒนาระบบท่าเรือจะมีมูลค่าประมาณ 351,500 พันล้านเวียดนามดองนับจากนี้จนถึงปี 2573
จีนยังคงเป็น FDI ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา

ตัวเลขจาก CDC แสดงให้เห็นว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) จาก จีนมีมูลค่า 3.425 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 49.83% ของเงินลงทุนจดทะเบียนทั้งหมด 6.9 พันล้านดอลลาร์ แต่ลดลง 16.2% จาก 3.23 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 66% ของมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศรวม 4.9 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2566
แม้การลงทุนจากจีนจะลดลง แต่งบประมาณการลงทุนโดยรวมจากประเทศจีนก็ยังแข็งแกร่ง โดยเพิ่มขึ้น 200 ล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญอย่างต่อเนื่องในภูมิทัศน์การลงทุนของกัมพูชา
นักลงทุนในประเทศอยู่ในอันดับที่สองมีสัดส่วนการลงทุน 33.81% และเวียดนามอยู่ในอันดับที่สามโดยมีสัดส่วนการลงทุนใน FDI 8.11% แซงหน้าสิงคโปร์ ที่มีสัดส่วน 3.8%
นักลงทุนรายอื่นๆ ได้แก่ เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ไทย แคนาดา และสหราชอาณาจักร
ข้อตกลงการค้าเสรีกัมพูชา-จีน (CCFTA) และ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership :RCEP) มีส่วนผลักดันนการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและจีนมากขึ้น ซึ่งดึงดูดการลงทุนใหม่ นายลิม เฮงร องประธานหอการค้ากัมพูชา กล่าว
“ภายใต้เขตการค้าเสรีกัมพูชา-จีนและ RCEP นักลงทุนชาวจีนและนักลงทุนต่างชาติอื่นๆ มองว่ากัมพูชาเป็นศูนย์กลางการลงทุนเพื่อการส่งออกที่มีศักยภาพ”
รายงานระบุว่า โครงการลงทุนที่หลากหลายนั้น ครอบคลุมภาคส่วนต่างๆ รวมถึงการผลิต อสังหาริมทรัพย์ การท่องเที่ยว และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
เมื่อเร็วๆ นี้ นายซุน จันทอล รองนายกรัฐมนตรีและรองประธานคนแรกของ CDC กล่าวว่า ความสงบ เสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจมหภาครวดเร็ว กรอบกฎหมายและกฎระเบียบที่ดีขึ้น และการเติบโตของเศรษฐกิจกัมพูชา คือ ปัจจัยที่ทำให้FDI เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
รัฐบาลกัมพูชาดำเนินการเชิงรุกในการจัดการกับความยากลำบากและความท้าทายของภาคเอกชนสำหรับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
“กฎหมายการลงทุน แรงงานมีทักษะ โปรแกรมสิทธิพิเศษทางการค้า และระบบการอนุมัติการลงทุนที่เพิ่งเปิดตัว ซึ่งช่วยให้การอนุมัติโครงการลงทุนในเพียงคลิกเดียว และทำให้กระบวนการเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับนักลงทุน ล้วนเป็นตัวเร่งในการดึงดูดการลงทุนใหม่” นายซุน จันทอล อธิบาย
จากข้อมูลที่เผยแพร่โดย คณะกรรมการส่งเสริมกรลงทุน(Cambodian Investment Board :CIB) CDC ได้สร้างสถิติประจำปีใหม่ในปีที่แล้ว ด้วยการอนุมัติโครงการลงทุนทั้งหมด 414 โครงการ ซึ่งรวมถึงโครงการใหม่ 387 โครงการ และโครงการขยายการผลิต 27 โครงการ ด้วยเงินทุนรวม 6.9 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งสร้างงานเกือบ 320,000 ตำแหน่งในหลายภาคส่วน
ในบรรดาโครงการที่ได้รับอนุมัติทั้งหมด 264 โครงการตั้งอยู่นอกเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) โดยมุ่งเน้นไปที่ภูมิภาคและอุตสาหกรรมที่หลากหลายทั่วประเทศ ขณะที่ 150 โครงการที่เหลือตั้งอยู่ในพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์ภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานและสิทธิประโยชน์จูงใจสำหรับการเติบโตของอุตสาหกรรม
โดยรวมแล้ว การอนุมัติโครงการเพิ่มขึ้น 146 โครงการ โดยมีเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้นเกือบ 2 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเกือบ 40% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 โดยเฉพาะจำนวนโครงการขยายการผลิตก็เพิ่มขึ้นจาก 21 โครงการเป็น 27 โครงการ
ภาคอุตสาหกรรมยังคงเป็นภาคที่โดดเด่นที่สุด โดยดึงดูดโครงการได้ 394 โครงการ ซึ่งคิดเป็น 95% ของโครงการทั้งหมดในปีที่แล้ว เฉพาะเงินลงทุนในภาคนี้มีมูลค่าถึง 4.8 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็น 69% ของเงินทุนทั้งหมด เพิ่มขึ้น 110% เมื่อเทียบกับปี 2566
ภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรมีจำนวน 8 โครงการ โดยมีงบประมาณรวมกว่า 121 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 2% ภาคการท่องเที่ยวมี 4 โครงการที่มีเงินลงทุน 738 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 11%
ในขณะเดียวกัน โครงสร้างพื้นฐานและภาคส่วนอื่นๆ มี 8 โครงการ โดยมีเงินลงทุนรวมกันประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 18% ของเงินทุนทั้งหมด
ท่าเรือของสิงคโปร์สร้างสถิติใหม่ทั้งจำนวนเรือ-ตู้คอนเทนเนอร์ปี 2567

น้ำหนักเรือที่เข้าเทียบท่าต่อปี หรือปริมาตรภายในของเรือทุกลำที่มาถึงในหนึ่งปี รวมถึงห้องเครื่องยนต์และพื้นที่ปลอดสินค้า เป็นการวัดปริมาณการจราจรทางเรือที่เข้าเทียบท่าเรือของอุตสาหกรรมทางทะเลทั่วไป
ในปี 2567 ท่าเรือสิงคโปร์รับตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้า TEU จำนวน 41.12 ล้าน ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ หน่วยงานทางทะเลและการท่าเรือแห่งสิงคโปร์ (MPA) เปิดเผยเมื่อวันที่ 15 มกราคม สิถิติในปี 2567 สูงกว่าปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ ที่ 39.01 ล้าน TEU(TEU หรือ twenty-foot equivalent units หรือ หน่วยนับสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งมีขนาดความยาว 20 ฟุต) ในปี 2566
MPA เปิดเผยตัวเลขเหล่านี้ที่งาน Singapore Maritime Foundation (SMF) New Year Conversations ซึ่งเป็นงานอุตสาหกรรมทางทะเลประจำปี
นอกจากเป็นท่าเรือคอนเทนเนอร์ที่คึกคักเป็นอันดับสองของโลกรองจากเซี่ยงไฮ้ ท่าเรือของสิงคโปร์ยังสร้างสถิติใหม่ในประเภทอื่นๆ รวมถึงการขายน้ำมันเตา (bunker fuels)และเชื้อเพลิงชีวภาพผสม ตลอดจนน้ำหนักรวมของเรือที่จดทะเบียนในสิงคโปร์
MPA กล่าวอีกว่า งานปรับปรุงพื้นที่ระยะที่สองของท่าเรือขนาดใหญ่ทูอัส(Tuas) นั้นเสร็จสิ้นแล้วประมาณ 75% โดยขณะนี้ท่าเทียบเรือ 11 ท่าเปิดดำเนินการแล้ว ท่าเทียบเรืออีก 7 แห่งจะเปิดให้บริการภายในปี 2570
ท่าเรือ Tuas ได้รับการพัฒนาออกเป็น 4 ระยะ และจะเป็นท่าเรืออัตโนมัติเต็มรูปแบบที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อสร้างเสร็จในปี 2583
ภายในปี 2570 การดำเนินงานที่ท่าเรือ Tanjong Pagar, Keppel และ Brani จะถูกย้ายไปยังท่าเรือขนาดใหญ่มูลค่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ ท่าเรือ Pasir Panjang จะยังคงเปิดให้บริการจนกว่าการดำเนินงานจะรวมเข้าใน Tuas ภายในปี 2583
ในปี 2567 ท่าเรือของสิงคโปร์จัดการสินค้าได้ทั้งหมด 622.67 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 592.01 ล้านตันในปี 2023 อย่างไรก็ตาม สินค้าที่ท่าเรือจัดการในปี 2567 ยังคงต่ำกว่าตัวเลขก่อนเกิดโรคระบาดที่ 626.52 ล้านตันในปี 2562
ในบรรดาสถิติใหม่อื่นๆ ที่ทำไว้คือยอดขายน้ำมันเตารวม 54.92 ล้านตันในปี 2567 เพิ่มขึ้น 6% จาก 51.82 ล้านตันในปี 2566 การขายน้ำมันเตาเป็นกระบวนการารเติมน้ำมันเรือ (Bunkering)
MPA ระบุว่า การเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขยายเส้นทางการเดินเรือระหว่างเอเชียและยุโรป หลังจากการหยุดชะงักในทะเลแดง ซึ่งอยู่ระหว่างเอเชียและแอฟริกา
โดยระบุว่าสิงคโปร์มี “ความก้าวหน้าอย่างมั่นคง” ในฐานะท่าเรือที่เติมเชื้อเพลิงให้แก่เรือ (Bunker Port)ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยจัดหาเชื้อเพลิงมากกว่า 1 ใน 6 ของการขนส่งทั่วโลกที่ใช้ในปี 2567
หน่วยงานกล่าวถึงความแออัดของท่าเรือที่เกิดจากวิกฤติทะเลแดงในช่วงกลางปี 2567 ว่า ได้ทำงานร่วมกับ PSA Singapore และสหภาพแรงงานเพื่อแก้ไขปัญหานี้โดยการใช้ท่าเทียบเรือใหม่ที่ท่าเรือ Tuas และเปิดใช้งานท่าเทียบเรือและพื้นที่ลานจอดรถที่ Keppel Terminal อีกครั้ง
นอกจากนี้ยังเพิ่มขีดความสามารถด้านแรงงาน ทำงานร่วมกับสายการเดินเรือและ ท่าเรือย่อย(feedder line) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพตารางการดำเนินงาน และอนุญาตให้มีการปฏิบัติการลากจูงกลางคืนสำหรับเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์เข้าและออกจากท่าเรือ Pasir Panjang เป็นครั้งแรก ท่าเรือย่อยจะถ่ายโอนสินค้าจากท่าเรือขนาดเล็กไปยังท่าเรือที่ใหญ่กว่า
เรือต่างๆ ใช้เส้นทางที่ยาวกว่าทั่วแอฟริกาใต้เพื่อหลีกเลี่ยงการโจมตีจากกลุ่มกบฏฮูตีในทะเลแดงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566 ส่งผลให้ตารางเดินเรือหยุดชะงัก เนื่องจากพลาดตารางเดินเรือและมีท่าเรือน้อยลง
อีกหนึ่งสถิติใหม่ของท่าเรือของสิงคโปร์ในปี 2567 คือการขายเชื้อเพลิงทางเลือก ซึ่งสูงถึง 1.34 ล้านตันในปี 2567
MPA ระบุว่าการขายเชื้อเพลิงชีวภาพผสมซึ่งรวมเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตจากชีวมวล เช่น ขยะชีวภาพทางการเกษตร กับเชื้อเพลิงทางทะเลทั่วไป เพิ่มขึ้นจาก 520,000 ตันในปี 2566 เป็น 880,000 ตันในปี 2567
การขายก๊าซธรรมชาติเหลวก็เพิ่มขึ้นจาก 110,000 ตันในปี 2566 เป็น 460,000 ตันในปี 2567
รายงานระบุอีกว่า แอมโมเนีย 9.74 ตันมีการเติมให้กับเรือเป็นครั้งแรกทั่วโลกในการทดลองที่ท่าเรือของสิงคโปร์ ขณะที่เมทานอล 1,626 ตันถูกจำหน่ายเชิงพาณิชย์ในสิงคโปร์
นับเป็นครั้งแรกที่น้ำหนักรวมของเรือที่จดทะเบียนในสิงคโปร์เกิน 100 ล้านตัน(gross tonจำนวนตันรวมของเรือ) โดยทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 108 ล้านตันในปี 2567 เพิ่มขึ้นจาก 99.6 ล้านตันในปี 2566
บริษัทการเดินเรือหลักๆ ที่กำกับดูแลโดย MPA ใช้จ่ายไปทั้งสิ้น 5.2 พันล้านดอลลาร์ในปี 2567 เพิ่มขึ้นจาก 4.8 พันล้านดอลลาร์ในปี 2566
บริษัทการเดินเรือมากกว่า 30 แห่ง ในด้านต่างๆ เช่น การขนส่ง การประกันภัย และเทคโนโลยีทางทะเล ได้ก่อตั้งหรือขยายการดำเนินงานในสิงคโปร์ในปี 2567
ส่วนในด้านการพัฒนาด้านความยั่งยืน MPA กล่าวว่า คาดวาจะประกาศผู้พัฒนาหลักสำหรับโซลูชันการผลิตไฟฟ้าและเติมเชื้อเพลิงแอมโมเนียคาร์บอนต่ำหรือเป็นศูนย์บนเกาะจูร่ง ในปี 2568
โครงการนี้เปิดตัวในเดือนธันวาคม 2565 โดยจะอำนวยความสะดวกในการกักเก็บแอมโมเนียด้วยกำลังการผลิตอย่างน้อย 100,000 ตันต่อปี โดยเริ่มด้วยการเติมเชื้อเพลิงจากฝั่งสู่เรือ ตามด้วยการเติมเชื้อเพลิงจากเรือสู่เรือ
MPA ร่วมกับหน่วยงานการค้า Enterprise Singapore และฝ่ายอื่นๆ ยังได้พัฒนาข้อมูลอ้างอิงทางเทคนิคหรือแนวปฏิบัติสำหรับการชาร์จเรือไฟฟ้าและระบบสลับแบตเตอรี่ในสิงคโปร์ ซึ่งจะประกาศในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ในปี 2568 นี้ MPA คาดการณ์ว่าภาคการเดินเรือของสิงคโปร์จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าแนวโน้มอุตสาหกรรมในวงกว้างในปีนี้มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากพลวัตทางภูมิรัฐศาสตร์และรูปแบบการค้าที่เปลี่ยนไป โดยคาดว่า จะมีการเปลี่ยนเส้นทางการค้าบางส่วน และส่วนการขนส่งหลักๆ เช่น เรือคอนเทนเนอร์และเรือบรรทุกน้ำมัน จะยังคงมีประสิทธิภาพดีกว่าในช่วงก่อนเกิดโรคระบาด และยังชี้ว่า ห่วงโซ่อุปทานระดับภูมิภาคกำลังปรับตัวตามความต้องการและการผลิตที่เพิ่มขึ้นในเอเชีย ซึ่งสนับสนุนการเติบโตของท่าเรือในเอเชีย
หน่วยงานดังกล่าวเสริมว่า จะยังคงขยายขีดความสามารถในอุตสาหกรรมใหม่ๆ เช่น อวกาศ โดรนทางอากาศ และไซเบอร์สเปซ เพื่อสนับสนุนธุรกิจทางทะเล
นายมูราลี พิลไล รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมและกฎหมาย กล่าวในงาน SMF ที่โรงแรมออร์ชาร์ด เมื่อวันที่ 15 มกราคม ว่า เจ้าหน้าที่ทางทะเล 430 คนได้เสร็จสิ้นการฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกอบรมพลังงานทางทะเลแล้ว นับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อเดือนเมษายน 2567 ซึ่งเป็นเตรียมทักษะให้กับคนงานทางทะเล เพื่อจัดการกับเชื้อเพลิงทางทะเลที่สะอาด
นายมูราลียังกล่าวอีกว่า การทดลองใช้ปัญญาประดิษฐ์(AI)ในการออกใบรับรองการประกันภัยสำหรับเรือที่จดทะเบียนในสิงคโปร์เพิ่งเริ่มต้นขึ้นสำหรับบริษัทขนส่งเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง การใช้เครื่องมือเหล่านี้จะขยายไปสู่อุตสาหกรรมทั้งหมดภายในครึ่งหลังของปี 2568
ปัจจุบัน กระบวนการนี้ใช้เวลาสองสามวันสำหรับคำขอใหม่และ 15 นาทีสำหรับการต่ออายุ กระบวนการใหม่จะลดขั้นตอนสำหรับการส่งทั้งสองประเภทลงเหลือภายใน 3 นาที
สำหรับแนวโน้มภาคการเดินเรือของสิงคโปร์ในปี 2568 นายมูราลีคาดว่าความไม่แน่นอนบางประการเนื่องจากสภาพแวดล้อมโลกที่ท้าทายมากขึ้น เช่น พลวัตทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงไปท่ามกลางความตึงเครียดที่ยังคงมีอยู่ การกลับมาของนโยบายกีดกันทางการค้า กระแสการค้าที่เปลี่ยนแปลง และการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นกับท่าเรือในภูมิภาค
แต่ก็มั่นใจว่าภาคส่วนนี้จะเติบโตต่อไปด้วยการสนับสนุนที่แข็งแกร่งจากอุตสาหกรรมและสหภาพแรงงาน ตลอดจนพันธมิตรจากองค์กรระหว่างประเทศและรัฐบาล
รองศาสตราจารย์ แยป เว่ย อิม หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการทางทะเลแห่งมหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์แห่งสิงคโปร์ คาดการณ์ว่าความตึงเครียดทางการค้าที่ทวีความรุนแรงขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และจีนจะทำให้เกิดความไม่แน่นอนในการค้าโลกในปี 2568 ซึ่งอาจเป็นการวางรากฐานสำหรับสภาพแวดล้อมทางทะเลที่ท้าทายด้วยอัตราภาษีที่สูงขึ้น ซึ่งอาจบั่นทอนความต้องการในการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ในสิงคโปร์