เอไอเอส ขับเคลื่อนความยั่งยืน ผลักดันการใช้งานดิจิทัลที่ถูกต้องผ่าน อุ่นใจ CYBER พร้อมเปิดผล ‘Thailand Cyber Wellness Index 2024’ ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล พร้อมเปิดตัวเครื่องมือเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้คนไทย
“ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของคนไทย การป้องกันภัยไซเบอร์กลายเป็นประเด็นที่ไม่สามารถมองข้ามได้ ซึ่งการทำงานของ AIS เราตั้งเป้าสร้างสังคมดิจิทัลที่ปลอดภัยและยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะและความรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้ลูกค้าและคนไทย เพื่อให้สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัยยิ่งทวีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น”
คำกล่าวข้างต้นของ นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS ว่าด้วยพันธกิจหลักของเอไอเอสในการดำเนินโครงการเพื่อสังคม
ในปี 2562 เอไอเอส ริเริ่มโครงการ ‘อุ่นใจไซเบอร์’ โดยเน้นการร่วมมือกับพันธมิตรภาครัฐ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา ภาคการศึกษา และขยายผลสู่กลุ่มเป้าหมายให้ความรู้และสร้างความตระหนักถึงการรับมือกับภัยไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยส่งเสริมทักษะความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Literacy) สร้างเสริมภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ และป้องกันความเสี่ยงจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต ดังต่อไปนี้
นางสายชล กล่าวต่อว่า โครงการอุ่นใจไซเบอร์ แบ่งเป็น 2 แกน คือ (1) แกนเทคโนโลยี (Technology) เน้นไปที่การใช้ขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีมาส่งมอบเครื่องมือปกป้องภัยไซเบอร์และมิจฉาชีพที่แฝงมากับการใช้งานออนไลน์ในรูปแบบต่างๆและ (2) แกนการสร้างภูมิปัญญา (Wisdom) โดยเฉพาะการสร้างความรู้และภูมิคุ้มกัน นำไปสู่การสร้างพลเมืองดิจิทัลที่มีความรู้เท่าทันภัยไซเบอร์
ในปี 2567 เอไอเอสยังไม่หยุดนิ่งและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผ่านการจัดทำดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย หรือ Thailand Cyber Wellness Index 2024 (TCWI) ในฐานะเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ และหนึ่งในโครงการด้านความยั่งยืนต่อองค์กรและประเทศไทย
แกนของการสร้างภูมิปัญญา หรือ Wisdom นำมาสู่ Thailand Cyber Wellness Index 2024 โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อ สะท้อนให้เห็นถึงระดับทักษะการรับรู้และความเข้าใจการใช้งานดิจิทัลในด้านต่างๆ ที่คนไทยต้องพัฒนาทักษะความรู้เพื่อรับมือกับภัยไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆ
Thailand Cyber Wellness Index 2024 ได้เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 50,965 คน แบ่งเป็นเพศชาย 34.78% และเพศหญิง 65.22 ตั้งแต่เดือนมกราคม – เมษายน 2567 ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า คนไทยกว่า 60% อยู่ในระดับที่ต้องพัฒนาภาพรวมทักษะทางดิจิทัล (improvement) ซึ่งอยู่ในระดับต่ำที่สุด ส่วนอันดับสองคือดิจิทัลระดับพื้นฐาน หรือ Basic และอันดับสูงสุดคือระดับสูง หรือ Advance
กลุ่มเสี่ยงสูงสุดมี 3 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มเด็กเล็กอายุ 10 – 12 ปี มีคะแนนเฉลี่ย 0.53 คะแนน (2) กลุ่มเยาวชนอายุ 13 – 15 ปี มีคะแนนเฉลี่ย 0.58 คะแนน และ (3) กลุ่มวัยเกษียณอายุมากกว่า 60 ปี มีคะแนนเฉลี่ย 0.59 คะแนน
“คนวัยเกษียณเป็นกลุ่มเสี่ยง สะท้อนว่าการมีประสบการณ์ในชีวิตไม่ได้เป็นเครื่องการันตีว่า คุณจะเอาตัวรอด เวลาอยู่บนโลกออนไลน์ เจอความกดดันมากมาย…ก็ไม่รอด” นางสายชล กล่าว
ทีมงานเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ทักษะดิจิทัลทั้ง 7 ด้าน แต่ละด้านมีคะแนนเต็ม 1 คะแนน พบคะแนนจากน้อยไปมาก ดังนี้ ด้านความมั่นคงและปลอดภัยทางไซเบอร์ได้คะแนนต่ำที่สุดที่ 0.61 คะแนน ด้านการใช้ดิจิทัล 0.66 คะแนน ด้านการแสดงความสัมพันธ์ทางดิจิทัล 0.67 คะแนน ด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล 0.70 คะแนน ด้านการรู้เท่าทันดิจิทัล 0.73 คะแนน ด้านการเข้าใจสิทธิทางดิจิทัล 0.77 คะแนน และด้านการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ 0.87 คะแนน
เมื่อแบ่งตามกลุ่มอาชีพ พบว่าทักษะของกลุ่มอาชีพต่างๆ อยู่ในระดับพื้นฐานเท่านั้น เรียงจากน้อยไปมาก ดังนี้
นางสายชล สรุปว่า แม้คนไทยกว่า 60% จะมีการพัฒนาความเข้าใจในการใช้งานบนโลกดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นจนผลในภาพรวมอยู่ในระดับพื้นฐาน แต่มีจุดที่น่ากังวล เพราะคนไทยเกินครึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security and Safety) โดยเฉพาะในประเด็นที่มีความเสี่ยงต่อภัยที่อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อการใช้งานของตนเองและองค์กร อาทิ การไม่มีความรู้ความเข้าใจการถูกโจมตีด้วยแรนซัมแวร์, การใช้ Wi-Fi สาธารณะในการทำธุรกรรมทางการเงิน, การใช้ วันเดือนปีเกิด มาตั้งเป็นรหัสผ่านซึ่งง่ายต่อการคาดเดา แม้แต่การไม่ทราบว่าการเข้าเว็บไซต์ที่ปลอดภัยลิงค์ URL ควรจะเป็น HTTPS เป็นต้น
ทั้งนี้ ปี 2567 นับเป็นปีที่ 2 ที่เอไอเอสจัดทำดัชนีดังกล่าว โดยสามารถอ่านรายละเอียดผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index 2024 ได้ที่ https://sustainability.ais.co.th/th/sustainability-projects/thailands-cyber-wellness-index
นอกจากนี้ เอไอเอสได้พัฒนาเครื่องมือเช็กภูมิคุ้มกันภัยทางไซเบอร์แบบรายบุคคล หรือ Digital Health Check เป็นครั้งแรกในไทยที่ทุกคนสามารถประเมินระดับความสามารถในการรับมือจากภัยไซเบอร์พร้อมศึกษาความรู้จากหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์เพื่อยกระดับทักษะดิจิทัลได้ด้วยตัวเอง
นางสายชล กล่าวต่อว่า เอไอเอสทำงานควบคู่กันทั้งการส่งเสริมทักษะความรู้ และพัฒนาเครื่องมือปกป้องการใช้งาน ทำให้พัฒนาเครื่องมือ “Digital Health Check” เพื่อให้คนไทยสามารถวิเคราะห์และประเมินทักษะด้านดิจิทัลของตนเอง พร้อมทั้งแนะนำช่องทางการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพื่อเสริมสร้างทักษะและองค์ความรู้ในการป้องกันภัยไซเบอร์ให้แก่ลูกค้าและคนไทย
“เครื่องมือ Digital Health Check เหมือนการตรวจสุขภาพ ก่อนหน้านั้นต้องเจาะเลือดให้รู้้ว่าสุขภาวะของเราเป็นอย่างไร เราสร้างเครื่องมือขึ้นมาและสามารถทำได้ง่ายๆ พอรู้ผลเหมือนหมอสั่งยา แล้วระบบจะแนะนำว่าคุณอ่อนด้อยด้านไหน และนำไปว่าต้องเพิ่มทักษะอะไรบ้าง….อุ่นใจไซเบอร์ จึงมีทั้งรูปแบบละครคุณธรรม การ์ตูน และอีกหลากหลายรูปแบบ” นางสายชล กล่าว
ทั้งนี้ สามารถตรวจเช็กสุขภาวะทางดิจิทัลของตัวเอง ได้ที่ https://digitalhealthcheck.ais.th
นางสายชล กล่าวต่อว่า AIS ได้นำเสนอเครื่องมือป้องกันภัยไซเบอร์ด้วยบริการ AIS Secure Net ซึ่งเพิ่มการปกป้องที่ครอบคลุมมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการกรองเว็บไซต์อันตรายทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้ลูกค้า AIS ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างอุ่นใจ ปลอดภัย ไร้กังวล และที่สำคัญลูกค้า AIS สามารถใช้บริการ AIS Secure Net ได้ฟรี เป็นระยะเวลา 12 เดือน
นางสายชล ให้ข้อมูลว่า ลูกค้าสามารถสมัครใช้งาน AIS Secure Net ได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เพียงกด *689*6# รวมถึงการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าด้วย บริการ Secure Net+ Protected by MSIG ชูจุดเด่นปกป้องภัยคุกคามทางไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นไวรัส มัลแวร์ เว็บไซต์ปลอมหลอกลวง พร้อมแถมประกันภัยเพอร์ซัลนัลไซเบอร์ จาก MSIG ที่มอบความคุ้มครอง อาทิ การโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล และโจรกรรมเงิน หรือการถูกหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ทางออนไลน์ ด้วยวงเงินคุ้มครองสูงสุด 50,000 บาท เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานออนไลน์ในโลกไซเบอร์ได้อย่างมั่นใจ ในราคาสุดคุ้มเดือนละ 39 บาทเท่านั้น หรือกด *689*10# โทรออก
“AIS มุ่งมั่นในการเสริมสร้างทักษะด้านดิจิทัลของคนไทย พร้อมเดินหน้าพัฒนาเครื่องมือเพื่อให้คนไทยสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย รวมถึงการสนับสนุนภาครัฐเพื่อแก้ปัญหาภัยไซเบอร์จากกลุ่มมิจฉาชีพที่แฝงมากับการใช้งาน ทั้งมาตรการยืนยันตัวตน การควบคุมสัญญาณบริเวณรอยต่อชายแดน หรือสนับสนุนการทำงานของำรวจโดยทีมวิศวกร ทั้งหมดเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ AIS เพื่อให้ภัยไซเบอร์หมดไปจากประเทศไทยอย่างยั่งยืน” นางสายชล กล่าว
เป้าหมายต่อไปของเอไอเอส คือการส่งต่อ Thailand Cyber Wellness Index 2024 ให้หน่วยงานเกี่ยวข้อง เพื่อต่อยอดในการเสริมสร้างทักษะดิจิทัลให้ได้ตรงกลุ่มอายุ อาชีพ หรือแม้แต่พื้นที่อย่างสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของแต่ละหน่วยงาน รวมถึงเส้นทางในการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับคนไทยได้ตรงกลุ่มเป้าหมายและสอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง
ที่ผ่านมา เอไอเอสได้พัฒนาโครงการด้านควมยั่งยืนอย่าง ‘อุ่นใจไซเบอร์’ และได้ส่งต่อให้หน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กรุงเทพมหานคร (กทม.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ตลอดจน กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
อีกทั้งล่าสุดจะส่งต่อและประสานความร่วมมือกับกองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือตำรวจไซเบอร์ เพื่อดำเนินงานช่วยเหลือคนไทยไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพทางออนไลน์อีกต่อไป
“เอไอเอส ขอประกาศว่าปีนี้และปีหน้า จะยกระดับการสร้างทักษะให้คนไทยในแกนความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Safety and Security) และความเสี่ยงในการใช้้งานบนโลกออนไลน์ ทั้งต่อตนเองและองค์กร องค์กร ครอบครัว ชุมชน” นางสายชล กล่าว
ดังนั้น ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย หรือ Thailand Cyber Wellness Index 2024 จึงตอกย้ำถึงความเป็นผู้นำของ AIS ในการระงับและบรรเทาความเสียหายจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ตลอดจนการส่งต่อข้อมูลเพื่อยกระดับความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตและสังคมออนไลน์อย่างแท้จริง