ThaiPublica > เกาะกระแส > เกาะกระแสเศรษฐกิจ > ADB คาดเศรษฐกิจไทยโต 2.6%-3% ปี 2567-68 ดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาลกระตุ้นบริโภคภาคเอกชนในระยะสั้น

ADB คาดเศรษฐกิจไทยโต 2.6%-3% ปี 2567-68 ดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาลกระตุ้นบริโภคภาคเอกชนในระยะสั้น

11 เมษายน 2024


เอดีบี(ADB)คาดการณ์เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 2.6 ในปี 2567 และร้อยละ 3.0 ในปี 2568 โดยโครงการดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาลอาจจะมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้างในระยะสั้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1 ปีนี้ และร้อยละ 1.5 ในปีหน้า เนื่องจากภาครัฐอาจจะยังคงดำเนินมาตรการเพื่อลดค่าครองชีพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง ส่วนความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการประมาณการณ์ทางเศรษฐกิจ หลักๆ จะมาจากปัจจัยภายนอกประเทศ ได้แก่ ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์และปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) หรือ เอดีบี เผยแพร่รายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย Asian Development Outlook (ADO) ฉบับเดือนเมษายน ประจำปี 2567 ในวันนี้

สำหรับประเทศไทย รายงานระบุว่า เศรษฐกิจขยายตัวชะลอลงในปี 2566 จากงบประมาณรัฐบาลที่ล่าช้าและปัจจัยภายนอกประเทศ ในระยะต่อไป การฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของภาคการท่องเที่ยว การเบิกจ่ายของภาครัฐที่สูงขึ้น และการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2567 และ 2568 ความเสี่ยงต่อประมาณการเศรษฐกิจโน้มไปทางด้านต่ำจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่รุนแรงมากขึ้นและปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง โครงการดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาลจะมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้าง การพัฒนาระบบนิเวศน์สาหรับการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียวถือเป็นความท้าทายเชิงนโยบายในระยะปานกลางที่สำคัญ

ภาวะเศรษฐกิจไทย

ในปี 2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 1.9 ชะลอจากร้อยละ 2.5 ในปี 2565 จากการหดตัวของการเบิกจ่ายภาครัฐ และการส่งออกสินค้าที่อ่อนแอ (ภาพที่ 2.30.1) โดยการส่งออกสินค้าหดตัวร้อยละ 2.8 การส่งออกชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ส่วนประกอบลดลงตามอุปสงค์ต่อโซลิดสเตตไดรฟ์ที่มากขึ้นแทนอุปสงค์ต่อฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ สำหรับสินค้าอื่น อาทิ เครื่องปรับอากาศ เหล็กและโลหะ เคมีภัณฑ์และ ปิโตรเคมีภัณฑ์หดตัวตามอุปสงค์โลกที่อ่อนแอ อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวจากความกังวลด้านความมั่นคงทางอาหารในหลายประเทศ นอกจากนี้ การส่งออกข้าวไทยยังได้รับอานิสงส์จากการห้ามการส่งออกข้าวของอินเดีย

การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องทำให้การส่งออกบริการเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้การส่งออกโดยรวมขยายตัวในปี 2566 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ที่ 28.2 ล้านคน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 11.1 ล้านคนในปี 2565 (ภาพที่ 2.30.2) โดย 5 อันดับแรกมาจากประเทศมาเลเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย และสหพันธรัฐรัสเซีย สำหรับจำนวนนักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย สหพันธรัฐรัสเซีย สาธารณรัฐเกาหลี และอินเดียกลับเข้าสู่ระดับก่อนเกิดการระบาดโควิด 19 แล้ว ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวจากสาธารณรัฐประชาชนจีนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ โดยมีจำนวนทั้งหมดเพียงร้อยละ 32 ของจำนวนนักท่องเที่ยวจากสาธารณรัฐประชาชนจีนทั้งหมดในปี 2562 โดยรวม การส่งออกสินค้าและบริการขยายตัว ร้อยละ 2.1

การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดีในปี 2566 โดยขยายตัวร้อยละ 7.1 โดยได้อานิสงส์จากกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะภาคบริการ อัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 1 ณ สิ้นปี 2565 มาอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ในปี 2566 นอกจากนี้ มาตรการรัฐที่ช่วยลดราคาพลังงานให้กับภาคครัวเรือนยังมีส่วนช่วยกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าไม่คงทน การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.2 จากการขยายการลงทุนก่อสร้างโรงงานและการลงทุนในภาคบริการ

การบริโภคภาครัฐหดตัวร้อยละ 4.6 ตามการเบิกจ่ายโครงการที่เกี่ยวข้องกับการระบาดโควิด 19 ที่หมดลง การลงทุนภาครัฐหดตัวที่ร้อยละ 4.6 เช่นกัน จากการเบิกจ่ายโครงการซ่อมสร้างถนนและสะพานที่ลดลง งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567(เริ่มต้นปี งบประมาณเมื่อเดือนตุลาคม 2566) ที่ล่าช้า รวมถึงการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะภาคพลังานและสาธารณูปโภคที่ลดลง ส่งผลให้การขาดดุลงบประมาณลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 3.5 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ในปี งบประมาณ 2565 มาสู่ร้อยละ 3.4 ในปีงบประมาณ 2566 (สิ้นสุด ณ กัน ยายน 2566)ภาคการคลังยังคงมีเสถียรภาพดี โดย ณ สิ้นปี งบประมาณ 2566 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีอยู่ที่ร้อยละ 62.4 ต่ำกว่าเพดานที่ร้อยละ 70(ภาพที่ 2.30.3)

การนำเข้าหดตัวร้อยละ 2.2 ตามการส่งออกสินค้าที่หดตัว การนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง โดยเฉพาะชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และแผงวงจรรวมซึ่งหดตัวตามการผลิตและการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์อุปกรณ์ต่อพ่วง และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ลดลง ในทางตรงข้าม การนำเข้า สินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวโดยเฉพาะการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า

สำหรับด้านอุปทาน ภาคบริการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจมากที่สุด กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยวขยายตัวต่อเนื่อง โดยภาคบริการขยายตัวร้อยละ 4.3 จากบริการที่พัก อาหาร และการขนส่งเป็นหลัก ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ (ภาพที่2.30.4)

ขณะเดียวกันภาคเกษตรกรรมขยายตัวร้อยละ 1.9 จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกในช่วงครึ่งแรกของปี แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัว โดยผลผลิตภาคเกษตรหลักเช่น ข้าว น้ำมันปาลม์ มันสำปะหลัง และสับปะรด ลดลงในช่วงครึ่งหลัง ของปี โดยได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้สินค้าเกษตรกรรมคงคลังลดลงเป็นอย่างมากเนื่องจากภาวะแล้ง ทำใหผลผลิตภาคเกษตรกรรมลดลงต่ำกว่าความต้องการของตลาด ผลผลิตจากภาคการผลิตหดตัวร้อยละ3.2 ตามการส่งออกสินค้าที่หดตัว ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหลายประเภท อาทิ ปิโตรเคมีภัณฑ์ และคอมพิวเตอร์ มีการลดลงของสินค้าคงคลังค่อนข้างมาก จากการผลิตที่ลดลง เพราะยอดคำสั่งซื้อเพื่อการส่งออกอ่อนแอ

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปขยายตัวร้อยละ 1.2 ในปี 2566 จากต้นทุนอาหารสดที่เพิ่มขึ้นและสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกสินค่าเกษตรบางประเภทขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 1.3 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงมากจากร้อยละ 6.1 ในปี 2566 จากมาตรการภาครัฐที่ช่วยลดค่าครองชีพ อาทิ การลดค่าไฟ และการจำกัดราคาก๊าซหุงต้ม และการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน นโยบายการเงินยังคงสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.5 ในช่วงต้นปีเนื่องจากเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวต่อเนื่อง (ภาพที่2.30.5) สำหรับเป้าหมายนโยบายการเงินนั้นกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย(ธนาคารกลาง) กำหนดอัตราเงินเฟ้อเป้กหมายร่วมกัน ที่ช่วงร้อยละ 1-3 ในปี 2567 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2566 จากการคาดการณ์ว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ น่าจะสิ้นสุดลงแล้ว

ประมาณการเศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทยในปี 2567 และ 2568 คาดว่าจะขยายตัวจากอุปสงค์ ในประเทศที่เข้มแข็งจากการฟื้นตัสอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้าที่คาดว่าจะฟื้นตัว โดยคาดว่าจะเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 2.6 ในปี 2567 และร้อยละ 3.0 ในปี 2568(ตารางที่ 2.30.1; ภาพที่ 2.30.6)

การส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.4 ปีนี้ และร้อยละ 4.1 ในปี 2568 โดยการส่งออกสินค้าจะค่อยๆทยอยฟื้นตัวในช่วงประมาณการ สินค้าส่งออกหลัก อาทิ อาหารและเครื่อ งดื่ม สินค้าเกษตร ยานยนต์และส่วนประกอบ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า จะฟื้นตัวตามปริมาณการค้าโลกที่เพิ่มสูงขึ้น และราคาสินค้าเกษตรที่สูงขึ้นจากผลผลิตที่ลดลงอันเนื่องมาจากปรากฏการณ์เอลนีโญ การส่งออกบริการจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องในปี 2567 และ 2568 การนาเข้าคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4 ในปีนี้ และร้อยละ 2.6 ในปีหน้า จากการนาเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบตามการลงทุนและการส่งออกสินค้าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวคาดว่าจะทาให้การส่งออกบริการเข้าใกล้ช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยคาดว่าจานวนนักท่องเที่ยวจากต่างชาติจะอยู่ที่ 34 ล้านคนในปี 2567 และ 38 ล้านคนในปี 2568

การบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะยังคงได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของกิจกรรมการท่องเที่ยว การฟื้นตัวของตลาดแรงงาน และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ดีขึ้น การบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5 ในปี 2567 และร้อยละ 3.4 ในปี 2568 โดยจะยังคงเป็นแรงสนับสนุนหลักต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ มาตรการภาครัฐระยะสั้น อาทิ มาตรการ Easy-E-Receipt ที่สามารถนาค่าใช้จ่ายสินค้าและบริการไม่เกิน 50,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2567 มาลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดาได้ และมาตรการลดค่าไฟและราคาพลังงานในช่วงครึ่งแรกของปีจะช่วยกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน

การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.3 ในปีนี้ และร้อยละ 3.5 ในปี 2568 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการเติบโตของภาคการท่องเที่ยว การบริโภคภาคเอกชน และนโยบายส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (อาทิ มาตรการสนับสนุนใช้รถยนต์ไฟฟ้า เฟส 2 ในปี 2567- 2570) และการได้อานิสงส์จากการลงทุนภาครัฐในโครงการใหม่ที่คาดว่าจะเริ่มมีการลงทุนในปลายปี 2567 การลงทุนในภาคการส่งออกคาดว่าจะค่อยๆเพิ่มขึ้นในครึ่งหลังของปี 2567 ตามภาวะการส่งออกสินค้า นอกจากนี้ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศคาดว่าจะสูงขึ้นในปีนี้และปีหน้า ส่วนหนึ่งสะท้อนจากยอดการขอส่งเสริมการลงทุนที่สูงสุดในรอบ 5 ปี ในปี 2566 โดยส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากสาธารณะประชาชนจีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และไทเป ในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ

หลังการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 งบประมาณประจำปีงบประมาณ 2567 ล่าช้า ซึ่งคาดว่ารัฐบาลจะเริ่มเบิกจ่ายได้ในครึ่งหลังของปีงบประมาณ 2567 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 อยู่ที่ 3.48 ล้านล้านบาท โดยรายจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 และงบประมาณขาดดุลลดลง 693 พันล้านบาท หรือร้อยละ 3.6 ของจีดีพี การบริโภคภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5 ในปี 2567 และร้อยละ 2.5 ในปี 2568 ในขณะเดียวกัน โครงการโครงสร้างพื้นฐานใหม่ เช่น โครงการขนส่งทางราง ทางด่วน และทางเชื่อมระหว่างเมือง คาดว่าจะเริ่มมีการก่อสร้างในปี 2567 ในด้านรายได้ เกณฑ์ภาษีใหม่ ที่จัดเก็บรายได้จากต่างประเทศซึ่งเริ่มจัดเก็บในปี 2567 โดยการนำเงินเข้ามาในประเทศไทยไม่ว่าจะนำเข้ามาในปีใดก็จะต้องนำมารวมเสียภาษีในประเทศไทยในปีนั้น น่าจะช่วยให้รายได้ภาครัฐเพิ่มขึ้นและช่วยลดการขาดดุลงบประมาณได้บ้าง การลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1 ในปี 2567 และร้อยละ 3.2 ในปี 2568

เอลนีโญจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตภาคเกษตรกรรมที่สำคัญ ทั้งนี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยมุ่งเน้นการลดการใช้น้ำในภาคเกษตร การปลูกพืชที่ไม่ใช้น้ำมาก และการเพิ่มความสามารถในการกักเก็บน้ำ นอกจากนี้ ยังมีการจัดสรรงบประมาณใหม่ โดยลดงบประมาณการลงทุนที่จะไม่ให้ผลตอบแทนในระยะสั้น เพื่อนำไปเพิ่มให้กับโครงการแก้ปัญหาภัยแล้ง ข้าว มัน ยาง อ้อย ยางพารา และน้ำมันปาล์ม จะได้รับผลกระทบอย่างมากจากการขาดแคลนน้ำ จึงคาดว่าผลผลิตจะลดลงในปีนี้ ผลผลิตภาคเกษตรกรรมในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 2 และค่อยๆขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 2.2 ในปีหน้า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมคาดว่าจะปรับดีขึ้นตามการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้า ภาคการท่องเที่ยวของไทยคาดว่าจะยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งทั้งในด้านจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ ดังนั้น ภาคบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.8 ในปี 2567 และร้อยละ 4.3 ในปี 2568

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากคาดว่าภาครัฐจะยังคงดาเนินมาตรการเพื่อลดค่าครองชีพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะขยายตัวร้อยละ 1 ปีนี้ และร้อยละ 1.5 ในปีหน้า อย่างไรก็ตาม การบริโภคภายในประเทศที่เข้มแข็งและราคาอาหารที่สูงขึ้นจากผลผลิตภาคเกษตรที่ลดลงอาจกดดันอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานได้

ความเสี่ยงต่อประมาณการโน้มไปทางด้านต่ำ โดยเศรษฐกิจไทยเผชิญกับความไม่แน่นอนจากปัจจัยภายนอกประเทศเป็นหลัก ทั้งจากสภาพอากาศภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงและปัญหาภูมิรัฐศาสตร์

สำหรับปัจจัยในประเทศ…

มาตรการดิจิทัลวอลเล็ต ที่เป็นมาตรการเติมเงิน 10,000 บาท ในกระเป๋าเงินดิจิตัลแก่ประชาชนไทยอายุ 16 ปีขึ้นไปและมีรายได้น้อยกว่า 70,000 บาทต่อเดือนหรือมีเงินฝากต่ำกว่า 500,000 บาท สามารถช่วยกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชนได้ในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้ใช้งบประมาณรัฐสูงที่ 5 แสนล้านบาท (ร้อยละ 2.6 ต่อจีดีพี)

ความท้าทายเชิงนโยบาย—การพัฒนาระบบนิเวศน์เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียว

ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงการแก้ไขปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงและการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียว โดยมีการดำเนินการไปแล้วทั้งการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งกำกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในทุกภาคส่วน นอกจากนี้ มีการแก้ไขแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการดำเนินงานด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมุ่งเน้น 6 ภาคส่วนคือ การจัดการทรัพยากรน้ำ เกษตรกรรม ความมั่นคงทางอาหาร การท่องเที่ยว สาธารณสุข การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์

ประเทศไทยยังดำเนินนโยบายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกภาคเศรษฐกิจอีกด้วย ทั้งมาตรการจูงใจด้านภาษีสำหรับการลงทุนในพลังงานหมุนเวียน แผนการพัฒนาระบบการขนส่งที่ยั่งยืน และแผนการจัดการขยะ ในภาคการเงิน การออกมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Thailand Taxonomy) ระยะที่ 1 ในปีที่แล้วถือเป็นก้าวที่สำคัญสาหรับการเข้าถึงการเงินที่ยั่งยืน เนื่องจากมีการกำหนดกรอบการดำเนินงาน และมาตรฐานสำหรับนักลงทุนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจำแนกโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเลี่ยงโครงการฟอกเขียว

นอกจากนี้ ยังมีการก่อตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อพัฒนาการจัดการสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง โดยประเทศไทยมีการจัดตั้งกรมใหม่ภายใต้กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดการกับปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ช่วงปลายปี 2566 ประเทศไทยออกกองทุน ThaiCl (Thai Climate initiative fund) เพื่อเป็นกลไกการเงินที่สนับสนุนการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการบรรลุเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2608

ตลาดคาร์บอนเครดิตถือเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญสาหรับภาคธุรกิจในการบรรลุเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ การจัดเก็บภาษีคาร์บอนคาดว่าจะมีการเริ่มบังคับใช้ในอนาคตอันใกล้ ส่วนตลาดคาร์บอนเครดิตมีการดำเนินการอยู่แล้วแต่อยู่ในระบบตามความสมัครใจ และตลาดยังคงมีขนาดเล็ก (ภาพที่ 2.30.8) ปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดเพดานปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเข้มงวด และการอนุญาตให้มีการซื้อขายสิทธิในการปล่อยคาร์บอนอย่างจริงจัง ทำให้ราคาการซื้อขายอยู่ในระดับต่ำ และมีความผันผวนสูง กลไกตลาดยังไม่เป็นไปตามอุปสงค์และอุปทาน นั่นหมายความว่าตลาดยังดำเนินไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพมากนักภายใต้ระบบปัจจุบัน

ยิ่งไปกว่านั้น ต้นทุนแรกเริ่มที่จะสามารถเข้าตลาดคาร์บอนสำหรับบางโครงการมีมูลค่าสูงและใช้เวลานานในการชำระคืน ซึ่งเป็นภาระทางการเงินอย่างมากต่อธุรกิจที่ต้องการจะพัฒนาโครงการเพื่อเข้าตลาดคาร์บอนเครดิต โดยตลาดคาร์บอนเครดิตของไทยในปัจจุบันอาจไม่เหมาะสมกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) นอกจากนี้ ผู้ประกอบการ SMEs มักเผชิญปัญหาด้านการเข้าถึงบริการทางการเงินและแหล่งเงินทุน ซึ่งทำให้ SMEs มีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียว ดังนั้น การพัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิตและการแก้ปัญหาด้านการเงินของ SMEs จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ดำเนินนโยบายควรเร่งดำเนินการเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียวที่เข้มแข็ง

การเพิ่มความสามารถในการพัฒนาทักษะแรงงานเป็นสิ่งจำเป็นในการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยสนับสนุนให้เป็นไปตามแผนงานด้านเศรษฐกิจสีเขียวที่ทางการกำหนดไว้ในอนาคต อุตสาหกรรมสีน้าตาล (อุตสาหกรรมที่มีอัตราการปล่อยคาร์บอนสูง) จะค่อยๆลดลง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการว่างงานสูงได้ โดยเฉพาะแรงงานทักษะต่ำ งานศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยระบุว่า แรงงานทักษะต่ำอย่างน้อย 8 ล้านคนที่ทำงานในอุตสาหกรรมที่มีอัตราการปล่อยคาร์บอนสูงจะต้องเปลี่ยนไปทางานในอุตสาหกรรมสีเขียวซึ่งต้องการทักษะที่สูงขึ้น โดยปัจจุบันแรงงานไทยยังคงขาดคุณสมบัติในการทำงานในอาชีพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น วิศวกรด้านทรัพยากรธรรมชาติ และผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานหมุนเวียน ดังนั้น รัฐบาลควรลงทุนด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะแรงงานด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียวเป็นไปอย่างราบรื่น