ThaiPublica > เกาะกระแส > ‘อิศเรศ’ รองประธานสภาอุตฯ เสนอรัฐ ‘แก้ค่าไฟแพง’ จี้กกพ.-กพช. บริหารเชิงรุก-ไม่แทรกแซงกฟผ.

‘อิศเรศ’ รองประธานสภาอุตฯ เสนอรัฐ ‘แก้ค่าไฟแพง’ จี้กกพ.-กพช. บริหารเชิงรุก-ไม่แทรกแซงกฟผ.

16 มกราคม 2024


นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เสนอทางออกเพื่อแก้ปัญหาค่าไฟฟ้าของประเทศไทย โดยมีเป้าหมายค่าไฟฟ้าปี 2567 ไม่เกิน 3.60 บาท/หน่วย ระยะกลาง/ยาว ค่าไฟฟ้า ไม่เกิน 3.00 บาท/หน่วย ซึ่งมีแนวทางดังต่อไปนี้

1.เร่งแก้ปัญหาเร่งด่วน เพื่อลดภาระค่า Ft. เพื่อให้ค่าไฟฟ้า ปี 2567 ไม่เกิน 3.60 บาท/หน่วย

1.1 ขับเคลื่อนกลไกเชิงรุก: ข้อเสนอแนวทางการบริหารคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เชิงรุก โดยยึดประโยชน์ ค่าครองชีพของภาคประชาชน และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป็นที่ตั้ง

  • การช่วยภาคประชาสังคมเป็นสิ่งที่ดี แต่รัฐต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ อย่าเลือกวิธีที่ผลักภาระมาให้ภาคธุรกิจ ซึ่งจะเป็นการบั่นทอนขีดความสามารถในการแข่งขัน
  • คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) = ครม.เศรษฐกิจด้านพลังงาน
    • -ควรประสานทิศทางระหว่างกระทรวงและแนวทางการปรับลดค่าพลังงาน และค่าไฟฟ้าเพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับนโยบายไปดำเนินการเชิงรุก
      -ลดความตื่นตระหนก ลดความสับสน และตอบโจทย์ประชาชนได้ เช่น ในการประกาศ ค่า Ft.
  • สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)
    • -การพิจารณาค่า Ft. ขาดการปรับปรุงข้อมูลค่าพลังงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป (Up to Date / Dynamic ?)
      -ความถูกต้อง ความโปร่งใสของข้อมูลที่นำมาใช้พิจารณาค่า Ft. (ถูกต้อง เปิดเผย ตรวจสอบได้?)
      -ค่า Ft. เผื่อปลอดภัยไว้ก่อนจนแพงเกินควรหรือไม่ (Very Conservative ?)
      -การเปิดรับฟังความเห็น ค่า Ft เนื้อหาเข้าใจยาก ขาดการมีส่วนร่วมในวงกว้าง (ตั้งธงไว้แล้ว?)

    1.2 บทบาทรัฐวิสาหกิจ : ควรสร้างความเข้มแข็งให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ./EGAT) ซึ่งถือเป็นหน่วยงานของรัฐด้านความมั่นคงทางไฟฟ้าในทุกมิติ

      -ช่วยสภาพคล่องของกฟผ. เช่น การชะลอส่งเงินเข้ากระทรวงการคลัง หรือ หากจำเป็นก็ Re-Financing ออกพันธบัตรรัฐบาล
      -ให้ กฟผ. ดูแลหน่วยงาน System Operator (S.O.) เช่นเดิม
      -การสรรหา ผู้ว่าฯ กฟผ. ปราศจากการแทรกแซง

    1.3 Supply over Demand: ควรแก้ไขของเดิมและไม่ให้เกิดซ้ำในอนาคต และผลักดันให้เกิดส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด ลดการใช้พลังงาน ลดการนำเข้า Fossil

  • ค่า AP : ลด Margin ยืดเวลา
    • -สัญญาเดิม : ยืดหยุ่นค่า AP สำหรับ IPP
      -สัญญาใหม่ : ลดผลตอบแทนลง (Low risk, Low return )
  • ไม่เร่งการเพิ่ม Supply โดยทบทวนแผน NEP ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย Carbon Neutrality
  • เพิ่ม Demand การใช้ไฟฟ้า
    • -สนับสนุน EV Bus & EV Truck โดยจัดทำมาตรการส่งเสริมการผลิตและการใช้ เหมือนกับมาตรการ Subsidy ยานยนต์ไฟฟ้า ในปัจจุบัน
      -ส่งเสริมการใช้ Heat Pump ในโรงงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายการใช้ เชื้อเพลิง และบำรุงรักษาได้ง่าย

    1.4ส่งเสริม และปลดล็อคพลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ให้สะดวกและเป็นธรรม

      -สำหรับภาคครัวเรือน : ผลักดันมาตรการทาง การเงินและการคลัง เพื่อจะสนับสนุนคนติดตั้ง Solar Rooftop
      -สำหรับภาคธุรกิจ : เนื่องจาก ธุรกิจ (โรงงาน/โรงแรม/โรงพยาบาล ฯลฯ) ที่ติดตั้ง Solar Rooftop กำลังผลิตเกิน 1 เมกะวัตต์ จะต้องขอใบอนุญาต รง.4 ใหม่ จึงควรผลักดันให้เกิดการปลดล็อก รง.4 เพื่อให้สามารถ ติดตั้ง Solar Rooftop ได้ โดยพิจารณาเฉพาะความปลอดภัยและโครงสร้างอาคาร
      -สนับสนุนการทำ Net Billing ในราคาที่สมเหตุผล

    1.5ปรับโครงสร้าง NG : ลด Margin NG ของ SPP / ลดค่าผ่านท่อ NG ให้เป็นธรรม และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดหา NG/LNG

      -กำหนดราคาขายก๊าซผู้ผลิตไฟฟ้าทุกประเภท (IPP SPP IPS) ให้เป็นราคาเดียวกันกับ IPP
      -ทบทวนค่าผ่านท่อ NG ให้เป็นธรรม อัตราผลตอบแทนที่เหมาะสม โดยเฉพาะ ท่อ NG ที่คุ้มค่าการลงทุนแล้ว
      -นำเข้า LNG จากประเทศที่มีราคาถูกและเพิ่มการนำเข้า NG จากพม่าให้มากที่สุด
      -LNG นำเข้าจากประเทศใหม่: สนับสนุนเรื่องธุรกรรมการชำระเงินระหว่างประเทศและการจัดหาผู้รับประกันภัยสินค้าทางทะเล

    2.การแก้ไขปัญหาระยะกลางและยาว เพื่อค่าไฟฟ้า ไม่เกิน 3.00 บาท/หน่วย

    2.1เร่ง OCA (Overlapping Claims Area) ไทย & กัมพูชา โดยยึดหลักความมั่นคงทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับความมั่นคงเรื่องเขตแดน

      -ประโยชน์ทางเศรษฐกิจควรจะรวมเรื่องความมั่นคงทางพลังงานจากทรัพยากรใน OCA ด้วย
      -O&G (Oil and Gas) supply security ไม่ถูกกระทบจากปัญหาความขัดแย้งของ Geo-politics
      -Economic value added ที่จะช่วย offset ต้นทุนพลังงานของไทยในภาวะน้ำมันแพง
      -ต้องรีบนำขึ้นมาใช้ เพราะระยะยาว เมื่อมีการพัฒนา Alternative/renewable energy ได้เต็มที่ มูลค่าของ O&G จะลดลง/หายไป

    2.2เร่งเปิดระบบตลาดเสรี ทั้งไฟฟ้า และ ก๊าซธรรมชาติ และลดการผูกขาดใดๆ (Liberalization)
    -สำหรับการเปิดตลาดไฟฟ้าเสรี

    • ภาครัฐ ต้องมีระบบ Smart Grid & Smart Meter
    • เปิดให้มีการขายไฟฟ้าแบบ P2P และ Net Billing ในราคาที่เหมาะสม
    • ปิดให้มีการใช้โครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯ ให้บุคคลที่สาม (TPA) ในอัตรา Wheeling Charge ที่เหมาะสมและเป็นธรรม

    -TPA ท่อส่ง NG และ LNG Terminal

    • เงื่อนไขปัจจุบัน เหมาะกับผู้ใช้ NG รายใหญ่ (EGAT /IPP/SPP) ปริมาณมาก ทำให้ผู้ใช้ NG รายย่อยขาดโอกาส
    • TPA ยังไม่ครอบคลุมถึงท่อจัดจำหน่าย ทำให้ผู้ใช้ NG รายย่อย ภาคอุตสาหกรรม) ไม่สามารถซื้อ NG จาก Shipper รายใหม่ๆ ได้

    ข้อเสนอ

  • ปรับแก้ TPA code ให้ครอบคลุมถึงระบบท่อย่อย
  • ปรับแก้ Agreements ต่างๆ ระหว่างสถานี LNG ระบบท่อหลักและระบบท่อย่อยกับผู้นำเข้า ให้ยืดหยุ่น และสอดคล้องกับสถานการณ์