ThaiPublica > เกาะกระแส > โฆษกรัฐบาลเผยคลังหั่น GDP ปี’66 เหลือแค่ 1.8%

โฆษกรัฐบาลเผยคลังหั่น GDP ปี’66 เหลือแค่ 1.8%

23 มกราคม 2024


“เศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี และเร่งตัวขึ้นเป็นร้อยละ 2.8 ต่อปีในปี 2567 จากภาคการส่งออกสินค้าและบริการที่ขยายตัวสูง และการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่องเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ อย่างไรก็ตี ยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์โลกที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด”

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 ว่า “เศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่จะขยายตัวที่ร้อยละ 1.8 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.6 ถึง 2.0) ชะลอลงจากปี 2565 ที่ขยายร้อยละ 2.6” โดยมีปัจจัยสำคัญจากการหตตัวของการผลิตภาคอุดสาหกรรม โดยเฉพาะสินค้าในหมวดยานยนต์ และคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งปี 2566 คาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ 1.5 (ช่วงคาดการณ์ที่รัอยละ -1.8 ถึง – 1.3) ซึ่งเป็นผลจากอุปสงค์ที่ชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ขณะที่มูลค่าการนำเข้าจะหดตัวที่ร้อยละ -1.9 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 22 ถึง -1.7)อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจไทยในปี 2566 มาจากภาคการท่องเที่ยวมีการขยายตัวสูง และการบริโภคภาคเอกชนเป็นสำคัญ

สำหรับในปี 2567 กระทรวงการคลังคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.8 ต่อปี(ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.3 ถึง 3.3) ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นจากปี 2566 และเป็นการขยายตัวที่มาจากทุกเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการส่งออกสินค้าและบริการที่ขยายตัวสูง่ ในภาคการท่องเที่ยวคาดว่าในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจำนวน 33.5 ล้านคน ขยายตัวที่ร้อยละ 19.5 ต่อปี เป็นการเพิ่มขึ้นจากนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนและมาเลเซียเป็นสำคัญ และมีรายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 1.48 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 ต่อปี ส่งผลดีต่อธุรกิจการท่องเที่ยวและสาขาที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น คาดว่าการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามอุปสงค์ในตลาดโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ขยายตัวต่อเนื่อง แม้จะชะลอตัวลงเล็กน้อย ทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.7 ถึง 4.7) และมูลคำการนำเข้าสินค้าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.5 ถึง 4.5)

สำหรับอุปสงค์ภายในประเทศคาดว่จะขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยการบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.3 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.8 ถึง 3.8) ตามการเพิ่มขึ้นของรายได้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ในประเทศ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าขยายตัวที่ร้อยละ 3.2 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.7 ถึง 3.7)

ในต้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาตว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่รัอยละ 1.0 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.5 ถึง 1.5) เร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าตามอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวดี ขณะที่เสถียรภาพภายนอกประเทศดุลบริการมีแนวโน้มจะกลับมาเกินดุลตามการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2567 มีแนวโน้มที่จะกลับมาเกินดุล 10.0 พันล้นดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.8 ของ GDP

ทั้งนี้ โดยโฆษกกระทรวงการคลังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า การพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพในระยะยาวนั้น ควรให้ความสำคัญใน 3 ประเด็น ดังนี้ 1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Development)เช่น การพัฒนาการใช้พลังงานที่ยั่งยืน การลงทุนในด้านติจิทัล และการพัฒนาต้านคมนาคมเชื่อมโยงภูมิภาคต่างๆจะช่วยสร้างโอกาสใหม่ ๆ และทำให้ประเทศไทยสามารถป็นศูนย์กลางในระตับภูมิภาคได้ 2) การพัฒนาทักษะ (Sklls Development การเตรียมแรงงานให้มีทักษะที่จำเป็นสำหรับเศรษฐกิจโลกมีความสำคัญและจะส่งเสริมความสำเร็จในระยะยาวได้ดี 3) การรักษาเสถียรภาพทางการคลัง (Fiscal Stability) มุ่งมั่นในการบริหารจัดการการคลังอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงการใช้จ่ายของรัฐและระดับหนี้สาธารณะอย่างรับผิดชอบ เพื่อรักษาความยั่งยืนทางการเงินในระยะยาวซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถเผชิญกับความสี่ยงและความท้าทายต่างๆ ในอนาคตได้

นอกจากนั้น ยังควรติดตามปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด อาทิ 1 ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลกในภูมิภาคต่าง ๆ ที่อาจรุนแรงมากขึ้น อาจเป็นข้อจำกัดและส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะถัดไป เช่น การแข่งขันชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ สถานการณ์สู้รบระหว่างอิสราเอลและฮามาสที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานให้ปรับตัวสูงขึ้น และความยึดเยื้อของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน 2) สถานการณ์การเลือกตั้งผู้นำของประเทศคู่คำสำคัญของไทย เช่น ประเทศสหรัฐอมริกา ประเทศรัสเชีย และประเทศอินเตีย เป็นต้น ที่อาจส่งผลต่อการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศของไทย 3) ความผันผวนของตลาดการเงินโลกจากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของประเทศคู่ค้าหลักและปัญหาสถาบันการเงินในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอมริกาและสหภาพยุโรป และ 4) สถานการณ์เศรษฐกิจของจีน ที่อาจส่งผลต่อการส่งออกและการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวของไทย

  • คลังคาด GDP ไทยปี 2566 โต 3.6% นักท่องเที่ยวเข้า 29.5 ล้านคนทำรายได้1.3 ล้านล้านบาท
  • สภาพัฒน์ฯปรับลด GDP ปี 2566 เหลือ 2.5 – 3.0% จับตาเงื่อนไขการเมืองอาจกระทบบรรยากาศเศรษฐกิจ