ThaiPublica > ThaiPublica Channel > ThaiPublica Podcast > Thaipublica Podcast We Shift World Change NRF เดินหน้าสู่ Carbon Negative ด้วยโครงการ Decarbonization

Thaipublica Podcast We Shift World Change NRF เดินหน้าสู่ Carbon Negative ด้วยโครงการ Decarbonization

17 พฤศจิกายน 2023


เราปรับ โลกเปลี่ยน We Shift, World Change เป็นรายงานพิเศษด้วยความร่วมมือระหว่างสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand)กับไทยพับลิก้า เพื่อนำเสนอ วิสัยทัศน์ นโยบาย และกลยุทธ์ในการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ความยั่งยืน ในบริบทของธุรกิจขององค์กร การมีส่วนร่วมพัฒนาและสนับสนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร เช่น คู่ค้า ลูกค้า ในห่วงโซ่อุปทาน ในการปรับตัว และการมีส่วนร่วมยกระดับชุมชนและสังคม ให้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน

บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ NRF สมาชิกที่โดดเด่นของ สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ได้ตั้งเป้าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี 2030 และก้าวสู่การเป็น บริษัทแห่งแรกที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นลบหรือ Carbon Negative Company บริษัทยั่งยืนแห่งศตวรรษที่ 22

นายแดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร NRF บอกกับไทยพับลิก้าถึงแนวทางที่บริษัทจะบรรลุถึงเป้าหมายว่า มี 2 องค์ประกอบด้วยกัน องค์ประกอบแรก คือ นำเทคโนโลยีมาใช้ องค์ประกอบที่สองร่วมมือกับพันธมิตร ได้แก่ เกษตรกร ซึ่งจะทำให้เข้าสู่ Net zero อย่างแท้จริง

NRF เริ่มโครงการนำร่องกับเกษตรกร 20 ราย ด้วยการจ้างเกษตรกรเก็บรวบรวมซังข้าวโพดหลังเก็บเกี่ยว แทนที่จะเผาโดยตรง ซึ่งมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมา

เมื่อได้ซังข้าวโพดจากเกษตรกรแล้ว ก็แล้วนำมาเผาในเตาพิเศษที่บริษัทผลิตโดยใช้เทคโนโลยีของยุโรป ที่ออกแบบให้เป็นเตาเผาที่เผาแล้วไม่ปล่อยมลพิษและก๊าซเรือน กระจก เป็นการเผาในระบบสุญญากาศ เผาออกมาแล้วจะได้วัสดุเหมือนถ่าน เป็น Bio Char (ไบโอชาร์) ซึ่งเรียกว่าไบโอคาร์บอน ที่ดักจับและกักเก็บคาร์บอน

ไบโอชาร์ที่ได้จะนำไปฝังในไร่ อยู่ในดินถาวร ซึ่งสามารถเป็นวัตถุดิบชั้นดีในการฟื้นฟูหน้าดินให้มีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ดินสามารถกักเก็บและอุ้มน้ำได้ดียิ่งขึ้น จึงกลายเป็นแทนที่จะปล่อยคาร์บอน กลับเป็นได้ เครดิตคาร์บอน คืนมา

อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ NRF เดินหน้าสู่ Carbon Negative ด้วยโครงการ Decarbonization ใช้เทคโนโลยีดักจับคาร์บอน ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า

อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง

  • Youtube
  • Soundcloud
  • Apple Podcast
  • Google Podcast
  • Spotify