ThaiPublica > คอลัมน์ > From Pitch to Profit: The Economic Evolution of Football (1950-2020) Episode 3-สืบสาแหรก School of Football สมัยใหม่ (ตอนที่ 1)

From Pitch to Profit: The Economic Evolution of Football (1950-2020) Episode 3-สืบสาแหรก School of Football สมัยใหม่ (ตอนที่ 1)

9 กรกฎาคม 2023


สุทธิ สุนทรานุรักษ์

ฟุตบอลหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองกลายเป็น “มรดกทางวัฒนธรรม” ที่ผู้คนจากทั่วโลกมารวมตัวกัน เพื่อคุยภาษาเดียวกันที่เรียกว่า “ภาษาฟุตบอล”

ผู้เขียนเพิ่งอ่านบทความของ Bill Connelly คอลัมนิสต์ฟุตบอลจาก ESPN เรื่อง Soccer’s Coaching Tree: Modern games root go beyond Cruyff

…ผู้เขียนขอขอบคุณอาจารย์ปกป้อง จันวิทย์ จาก 101 OpenWorld ที่แชร์เรื่องนี้มาให้อ่าน

ผู้สนใจแวะไปอ่านได้ตามลิงก์นี้ครับ

เสน่ห์ของเกมฟุตบอลมีทั้งในและนอกสนาม…ใน Episode ที่แล้ว ผู้เขียนกล่าวถึงความสำเร็จของ Manchester City ภายใต้การนำของ Pep Guardiola โดยมีกลุ่มทุน Abu Dhabi Group อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ

ในสนามแข่ง อาชีพผู้จัดการทีมหรือโค้ชฟุตบอลมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จของสโมสรฟุตบอล

ฟุตบอลสมัยใหม่เริ่มกล่าวถึงบทบาทผู้จัดการทีมมาตั้งแต่ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเฉพาะการวางแทคติค การเลือกตัวผู้เล่น ไปจนถึงปรัชญาการเล่นฟุตบอล

ฟุตบอลสหราชอาณาจักร ยุค 50-70 ยอดผู้จัดการทีมต้องยกให้กับ Sir Matt Busby จาก Manchester United , Bill Shankly จาก Liverpool, Jog Stien จาก Celtic รวมถึง Sir Alf Ramsey ผู้จัดการทีมชาติอังกฤษที่พาสิงโตคำรามครองแชมป์บอลโลกเมื่อปี 1966

อย่างไรก็ดี ฟุตบอลนอกสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะฟุตบอลบนแผ่นดินยุโรปนั้นมียอดโค้ช มีตำนานผู้จัดการทีมเก่ง ๆ เกิดขึ้นมากมาย

…หากสืบสาแหรกกันแล้ว เราสามารถแบ่งออกได้ชัดเจนตั้งแต่ยุค 60 เป็นต้นมา เริ่มจาก Catenacio football ของอิตาลีที่พางูใหญ่ Inter Milan ประสบความสำเร็จ

Catenacio football มาจากมันสมองของยอดโค้ชชาวอาเจนไตน์ นามว่า Helenio Herrera และมาสร้างชื่อในฟุตบอลอิตาลี

Helenio Herrera ที่มาภาพ : https://www.si.com/soccer/2019/08/07/helenio-herrera-innovator-who-single-handedly-changed-beautiful-game
Catenacio tactic ของ Herrera อีกหนึ่ง School of football ที่มาภาพ :https://www.si.com/soccer/2019/08/07/helenio-herrera-innovator-who-single-handedly-changed-beautiful-game

สาแหรกฟุตบอลตระกูลอิตาเลียน ใช้ภาษาง่าย ๆ เรียกว่า “ตีหัวเข้าบ้าน” เน้นเกมรับแข็งแกร่ง คำว่า Catenacio เป็นภาษาอิตาเลียน แปลเป็นอังกฤษไว้ว่า Door bolt หมายถึง โซ่คล้องประตู

บอล Catenacio เน้นตั้งรับลึกจากนั้นจึงรอโต้กลับ พอยิงประตูนำได้ รีบกลับไปตั้งรับให้แน่น

… เล่นแบบนี้ ทีมคู่แข่งรอแพ้ได้เลย เพราะทีมที่เล่นแบบนี้จะเน้นเกมอุดเป็นหลัก

ต่อมาฟุตบอลดัตช์ยุค Flying Dutchman ของ Rinus Mitchell ได้สถาปนาปรัชญา Total football ขึ้น โดยมี Johan Cruyff นักเตะที่เล่นฟุตบอลได้ “ดุจเทวดา” เป็นแกนหลักของทีม

ฟุตบอลของ Mitchell และจอมทัพอย่าง Cruyff นำพาให้ทั้ง Ajax Amsterdam และทีมชาติเนเธอร์แลนด์กลายเป็น “อัศวินสีส้ม” ที่สร้างปรากฏการณ์ Total Football วางรากฐานปรัชญาการทำทีมมาจนถึงวันนี้

เรื่องราวของ Rinus Mitchell ต้นตำรับของ Total Football http://news.bbc.co.uk/sport2/hi/football/internationals/4314191.stm

สไตล์ฟุตบอลแบบ Cruyff ถูกส่งผ่านมายังสำนักฟุตบอลในสเปนอย่าง Barcelona ยอดทีมแห่งเมืองบาสก์ที่ทำให้ Barca เป็นมากกว่าสโมสรฟุตบอล

Camp Nou เป็นสังเวียนแข้งอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวแคว้นบาสก์ที่มองว่า “ฟุตบอล” คือ เครื่องต่อกรกับอำนาจรัฐบาลสเปนยุคเผด็จการนายพล Franco

…แน่นอนว่าศึกระหว่าง Barca และ Real Madrid คือ El Classico ที่มากกว่าเกมฟุตบอล

Cruyff ส่งต่อความคิดในการสร้างปรัชญาลูกหนังที่เน้น Pressing พอ ๆ กับ Possessioning และต่อบอลสวยงาม

มรดกฟุตบอลของ Cruyff ถูกถ่ายทอดมาถึงสานุศิษย์ผู้ศรัทธาในวิถีทางของเขา

…สานุศิษย์คนสำคัญ คือ Louis Van Gal (LVG) หรือ ‘จารย์หลุยส์ อีกหนึ่งดัตช์แมน

LVG คือ ยอดผู้จัดการทีมที่เคยคุมทัพทั้ง Barca Bayern Munich และ Manchester United รวมทั้งเป็นกุนซือทีมชาติเนเธอร์แลนด์

ศิษย์เอกของ Johan Cruyff อีกคนที่กลายมาเป็นยอดโค้ชในปัจจุบัน คือ Pep Guardiola ผู้จัดการทีมฟุตบอล Manchester City

Pep ศรัทธาใน Cruyff มาก ตั้งแต่สมัยเป็นนักเตะจนกระทั่งก้าวมาเป็นโค้ช

Pep เคยกล่าวถึง Cruyff ไว้อย่างชื่นชมว่า

“Cruyff built the cathedral; our job is to maintain it and renovate it.”

เรื่องราวความเป็นตำนานของ Cruyff อ่านได้ในบทความเรื่องThe inventor of Modern Football ของ Simon Kuper

ปรัชญา Totall football แตกแขนงแยกย่อยไปตามวิธีการเล่นที่ผู้จัดการทีมแต่ละคนจะหยิบมาปรับใช้

ศตวรรษที่ 80-90 การขับเคี่ยวของลีกฟุตบอลที่หินที่สุดในโลกอยู่ Calcio Serie A ในอิตาลี

…ยอดโค้ชและยอดนักเตะต่างรวมตัวกันที่ลีกนี้

ฟุตบอลอิตาลีกลับมาบูมอีกครั้ง หลังจากที่ทีมชาติอิตาลีครองแชมป์บอลโลกปี 1982

ในยุคนั้น ฟุตบอลอิตาลีผลิตยอดโค้ชสมองใสจำนวนมาก ทั้งหมดกลายเป็นตำนานของฟุตบอลอิตาเลียน

เริ่มจาก Arrigo Sacchi จาก AC Milan ที่สร้างทีมยุคสามทหารเสือ Flying Dutchman ; Gullit, Rijkaard และ Van Basten

Sacchi ส่งต่อความสำเร็จให้กับ Fabio Capello อีกตำนานฟุตบอลอิตาเลียน

นอกจากนี้ยังมี Giovanni Trapttoni ที่เคยคุมทั้ง AC Milan Inter Milan และ Juventus สามสโมรสรใหญ่ใน Series A

เช่นเดียวกับ Marcello Lippi ที่คุมทั้ง Juventus และ Inter Milan

ทั้ง Sacchi, Trapttoni และ Lippi การันตีด้วยมันสมองยอดแทคติคที่หาตัวจับได้ยาก

ครั้งหนึ่ง Arrico Sacchi เคยเขียนถึงปรัชญาการสร้างทีมฟุตบอลของเขาไว้ว่า

“I knew his battered legs weren’t ideal for getting up and down the touchline, but you play football with your brain, not your feet.”
…จากหนังสือ The Immortals: The Season My Milan Team Reinvented Football

แน่นอนว่า ฟุตบอลไม่ได้เล่นแค่เท้าอย่างเดียว หากแต่ต้องใช้มันสมองในการเล่น

อันที่จริงแล้วฟุตบอลของ Arrigo Sacchi เองได้รับอิทธิพลทางความคิดจากตำนานนักเตะสวีเดนและ AC Milan นามว่า Nils Liedholm

Liedholm เป็นขุนพลสำคัญของทีมชาติสวีเดนยุค 50 ที่ขึ้นมาต่อกรกับทีมชั้นนำในยุโรป และเคยปะทะแข้งกับ Pele ราชาลูกหนังโลกในศึก World Cup ปี 1958

นอกจากนี้ Liedholm ยังกลายเป็นตำนานให้ AC Milan ยุคนั้นด้วย จนกระทั่งเขาได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้จัดการทีม AC Milan ช่วงปลายทศวรรษ 70 และกลับมาคุมปีศาจแดงดำอีกครั้งในปี 1984-1987

Nils Liedholm ตำนานลูกหนังสวีเดนและยอดผู้จัดการทีม AC Milan ที่มาภาพ :https://en.wikipedia.org/wiki/Nils_Liedholm#/media/File:Nils_Liedholm-1959.jpg

สวีเดนนับเป็นอีกหนึ่งชาติที่มีผู้จัดการทีม ยอดโค้ชเก่ง ๆ ซึ่งในเวลาต่อมาชื่อของ Sven Goran Eriksson ได้สร้างปรากฏการณ์ Lazio effect ขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 21

Lazio ของ Eriksson กลายมาเป็นอีกหนึ่งของ School of football ที่ถ่ายทอดความคิดและปรัชญาลูกหนังสมัยใหม่ในเวลาต่อมา

(โปรดติดตาม Episode 3 -สืบสาแหรก School of football ตอนจบ)