ThaiPublica > Native Ad > Advertorial > ศิลปะคุณค่าที่ไม่ควรมองข้าม จุดประกายความหวัง จุดพลังชีวิต

ศิลปะคุณค่าที่ไม่ควรมองข้าม จุดประกายความหวัง จุดพลังชีวิต

27 พฤษภาคม 2023


 

นายอมร ทองพยงค์

ศิลปะ หรือ ความคิดสร้างสรรค์ที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยมีเจตจำนงค์ในการถ่ายทอดทั้งความรู้สึก อารมณ์ ทัศนคติ ธรรมชาติ และ ความงดงาม หรือแม้กระทั่ง การริเริ่มไอเดียเพื่อเลียนแบบความงามของธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้ล้วนเต็มไปด้วยจินตนาการที่หลอมรวมจากจิตใจ จนนำไปสู่การถ่ายทอดออกมาเป็นเรื่องเล่าในทุกๆ ห้วงแห่งการใช้ชีวิต ตั้งแต่ อดีต ปัจจุบัน ไปจนถึงอนาคต ผ่านเสรีภาพทางศิลปะ จินตนาการความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนการเผยแพร่และแสดงออกทางวัฒนธรรมที่หลากหลายในวงกว้าง

ไม่เพียงเท่านี้ ศิลปะ สามารถรักษาชโลมจิตใจของผู้คนได้ ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นฟูรักษา หรือการปรับปรุงสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ เมื่อได้ลองเริ่มต้นใช้ หยิบจับ กระดาษ สี พู่กัน หรือแม้กระทั่งวัสดุทางธรรมชาติอื่นๆ มาประกอบกัน เกิดเป็นศิลปะในชีวิตที่ใช้เป็นสิ่งหลอมรวมและเชื่อมโยงให้ผู้คนที่ต้องการฟื้นฟูจิตใจ มีช่องทางความผ่อนคลายที่หลากหลายมากกว่าการแสดงออกแบบใช้คำพูด

นอกจากนี้ การมี ศิลปะ ในชีวิต เปรียบเหมือนการฝึกสมาธิบำบัด ทำให้ใจเราร่มเย็น สงบนิ่ง ใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่กำลังสร้างสรรค์ หรือ โฟกัสอยู่ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเสมอ และถ้าได้มีความคิดริเริ่มที่จะทำกิจกรรมศิลปะแล้วนั่น ศิลปะจะช่วยผ่อนคลายสภาวะร่างกายและจิตใจจากความเครียด ช่วยลดประสบการณ์ด้านลบ ส่งเสริมสภาวะอารมณ์ด้านพลังบวก เกิดความภาคภูมิใจในศิลปะของตนเอง ได้คิดได้ทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง และแน่นอน ศิลปะยังทำให้ผู้คนเหล่านั้นมองเห็นคุณค่าในตัวเอง

เฉกเช่นเดียวกับศิลปินจากเชียงใหม่ผู้บันทึกและบอกเล่าเรื่องราวการใช้ชีวิตในชุมชนผ่านศิลปะภาพพิมพ์สามมิติ “อมร ทองพยงค์” เขาคือศิลปินผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ภาควิชาทัศนศิลป์ สาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่หลงใหลในการทำงานศิลปะภาพพิมพ์เทคนิคเฉพาะ (ภาพพิมพ์โลหะเมซโซทินท์ : เป็นวิธีการทำภาพพิมพ์โลหะร่องลึก (Intaglio) ชนิดหนึ่ง ที่ถูกคิดค้นขึ้นโดยนายทหารชาวเยอรมันชื่อ ‘ลุดวิก วอน ซีเกน’ ในปี ค.ศ. 1642 โดยเทคนิคชนิดนี้ ศิลปินจะสร้างแม่พิมพ์ให้เป็นรอยหยาบทั่วกันทั้งแผ่นด้วยเครื่องมือโยกที่มีปลายเป็นรอยฟันเล็กๆ ที่เรียกว่า ‘Rocker’ เพื่อสร้างน้ำหนักดำบนแผ่นแม่พิมพ์ขัดเงา และใช้เครื่องมือพิเศษที่เรียกว่า ‘Burnisher’ ลบรอยหยาบบนแม่พิมพ์ เพื่อสร้างภาพด้วยการไล่น้ำหนักเข้มไปอ่อน ถ้ายังนึกภาพไม่ออก ให้จินตนาการถึงการเอายางลบค่อย ๆ ลบกระดาษที่ถูกฝนดินสอดำจนเต็มแผ่นออกทีละนิด หรือใช้ดินสอสีขาววาดรูปบนกระดาษสีดำ จนกลายเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา) ซึ่งการถ่ายทอดเรื่องราวของแต่ละบุคคลสามารถ เกิดความเข้าใจใหม่ๆ ในหลากหลายทิศทาง ผ่อนคลายเรื่องความเครียด มีความสุข ผ่านการทำศิลปะ และนอกจากนี้การนำศิลปะมาประยุกต์สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

โดย “อมร” ได้สร้างสรรค์ศิลปะภาพพิมพ์หลักร้อยชิ้นเพื่อจัดวางองค์ประกอบโดยมีมิติเหมือนบ้านไม้ขนาดจริงทั้งหลังแม้กระทั้งฟุตบาทและเสาไฟฟ้าก็เกิดจากศิลปะภาพพิมพ์ทั้งหมด ศิลปินได้บันทึกความเปลี่ยนผ่านของสภาพสังคมผ่านลายละเอียดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตู้โทรศัพท์ที่ปัจจุบันแทบไม่มีใครใช้งานแล้ว และพื้นที่บางส่วนยังถูกพ่นทับด้วยงานกราฟฟิตี้แสดงออกถึงความเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคสมัย การแสดงผลงานศิลปะภาพพิมพ์ในครั้งนี้มีแตกต่างออกไปจากการมองผลงานผ่านกรอบรูปศิลปินต้องการที่จะสร้างความรู้สึกร่วมกับผู้เข้าชม ทุกท่านสามารถที่จะเข้าไปสัมผัสจับต้องหรือแม้จะเดินขึ้นไปเหยียบฟุตบาทของผลงานชิ้นงานได้อย่างสบายใจเพื่อร่วมบันทึกช่วงเวลาในนิทรรศการที่มีชื่อว่า “ALONG THE WAY”

ALONG THE WAY

ประสบการณ์ความเชี่ยวชาญของเขายังได้รับรางวัลทั้งในและต่างประเทศมากมาย รวมถึงเป็นศิลปินไทยที่ได้รับเชิญไปจัดแสดงนิทรรศการนานาชาติ อาทิ ประเทศอินเดีย, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, เวียดนาม,จีน, สหรัฐอเมริกาโปแลนด์, ฝรั่งเศส, อิตาลี และสเปน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรางวัลสำคัญที่สุดในการประกวดศิลปะภาพพิมพ์นานาชาติ ได้รับรางวัลThe winners Prize for Full Correspondence of Technique and Imagery  Fifth International Mezzotint Festival 2019 ประเทศรัสเซีย โดย “อมร” ได้รับการคัดเลือกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลThe Forty-Four Candidates for the Queen Sonja Print Award 2020 ประเทศนอร์เวย์ โดยรางวัลนี้จะคัดเลือกศิลปินภาพพิมพ์จากทั่วโลกเพียงประมาณสี่สิบคนเท่านั้น นับเป็นการจัดแสดงผลงานที่น่าภาคภูมิใจฝีมือศิลปินไทยสู่สายตาคนทั่วโลกได้อย่างดียิ่ง

ภาพรางวัล ครั้งที่ 31
ภาพรางวัล ครั้งที่ 32

โดยหนึ่งในเวทีศิลปะที่เป็นจุดเริ่มต้นชีวิตศิลปินของ “อมร” นั้นก็คือ เวทีการประกวดศิลปกรรม ปตท. ที่เขาสามารถคว้า รางวัลดีเด่น จากการประกวดศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 31 ในหัวข้อ “พอเพียง..เพียงพอ ชีวิตที่ยั่งยืนบนแผ่นดินไทย” และตอกย้ำฝีมือศิลปินไทยฝีมือดีคนนี้กับ รางวัลยอดเยี่ยม  การประกวดศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 32 ในหัวข้อ “ก้าวตามรอยพระราชาสานต่อสิ่งที่พ่อทำ”

แน่นอนว่าในปีนี้ 2566 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ตั้งมั่นในการสานต่อความร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดการประกวดศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 38 ผ่านหัวข้อ “จุดประกายความหวัง จุดพลังชีวิต” เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้ร่วมถ่ายทอดบอกเล่าความรู้สึก เปรียบเสมือนเป็นจดหมายเหตุของประเทศในรูปแบบของงานศิลปะ ผ่านผลงานศิลปะทุกประเภท ทั้งด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และผลงานสร้างสรรค์ทางด้านทัศนศิลป์อื่นๆ เพื่อปลุกพลังกายและพลังใจให้ชีวิตต่อไป

กิจกรรมดีๆ ที่อยากเชิญชวนประชาชนคนไทย เยาวชน นักเรียน นิสิตนักศึกษา และบุคคลที่ชื่นชอบงานศิลป์ ร่วมกันเล่าเรื่องราวความรู้สึกผ่านงานศิลปะหลากหลายประเภท เริ่มสมัครและส่งผลงานได้ตั้งแต่วันที่ 5 – 21 มิถุนายน 2566 หรือ สอบถามเพิ่มเติมที่ฝ่ายกิจการเพื่อสังคม ปตท. โทร 0 2537 1388 และหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โทร 09 7242 9333 หากใครที่มีใจรักและอยากถ่ายทอดทั้งความรู้สึกและทัศนคติผ่านผลงานศิลปะให้ผู้อื่นได้รับรู้ในวงกว้าง ลองใช้เวทีศิลปกรรม ปตท. แห่งนี้เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นบนเส้นทางของคนรักศิลป์กันได้ ไม่แน่ว่าเวทีแห่งนี้อาจช่วยจุดประกายความฝันชีวิตศิลปะของผู้คนให้สืบสานต่อไปอย่างยั่งยืน