ThaiPublica > เกาะกระแส > “สุวิทย์ เมษินทรีย์” แนะผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลงกับการขับเคลื่อน The Second Great Reform

“สุวิทย์ เมษินทรีย์” แนะผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลงกับการขับเคลื่อน The Second Great Reform

10 พฤษภาคม 2022


ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์

ในการสัมมนาหลักสูตรผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง (Leadership for Change) ของมูลนิธิสัมมาชีพเมื่อเร็วๆ นี้ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ได้บรรยายหัวข้อ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการขับเคลื่อน The Second Great Reform และให้ผู้ร่วมสัมมนาร่วมกันตอบคำถามว่า จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องร่วมกันผลักดัน The Second Great Reform พบว่า 82.8% คิดว่าจำเป็นอย่างยิ่ง และ 17.2% คิดว่าค่อนข้างจำเป็น เป็นที่มาของบทสรุปว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องร่วมกันผลักดันและขับเคลื่อน The Second Great Reform โดยการบรรยายมีรายละเอียดดังนี้

เมื่อโลกไม่ใช่ใบเดิม

ปัจจุบันโลกไม่ได้มุ่งพัฒนาไปสู่ความทันสมัยอีกต่อไป แต่กำลังมุ่งพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนและความเท่าเทียม เรากำลังอยู่ในประชาคมโลกที่เชื่อมต่อกันอย่างสนิท โดยด้านหนึ่งของเหรียญเป็น “One World, One Economy” หรือหนึ่งโลกหนึ่งเศรษฐกิจร่วม และอีกด้านหนึ่งเป็น “One World, One Destiny” หรือหนึ่งโลกหนึ่งชะตากรรมร่วม

นอกจากนี้ เรากำลังอยู่ในช่วงที่อารยธรรมมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เป็นการเปลี่ยนความเชื่อจาก ego-centric มาเป็น eco-centric mindset คือเปลี่ยนจากที่เคยมุ่งแต่เอาชนะธรรมชาติและเอาชนะคนอื่น มาสู่ความเชื่อที่ว่า เราจะอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างกลมกลืนและจะอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุขได้อย่างไร ขณะเดียวกัน กระบวนทัศน์ในการพัฒนาของโลกก็เปลี่ยนไปใน 2 ทิศทาง คือ จากการมุ่งสู่ความทันสมัย มาเป็นการมุ่งสู่ความยั่งยืน และเปลี่ยนจากที่เน้นทางวัตถุ ไปสู่การเน้นความเป็นมนุษย์ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในโครงสร้างอำนาจ ที่ผู้คนจะมีอิสระมากขึ้น และเมื่อมีอิสระมากขึ้น ก็ยิ่งต้องพึ่งพิงอิงอาศัยกันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ต้องเผชิญกับ global commons อย่างวิกฤตโควิด-19 หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ในอนาคตจะรุนแรงและน่ากลัวมากขึ้น

ฉะนั้น ความเป็นปกติสุขของประชาคมโลกจากนี้ไป จะขึ้นอยู่กับความสมดุลของความมั่งคั่ง ความเท่าเทียม และความยั่งยืน คือเรายังต้องการความมั่งคั่ง แต่เป็นความมั่งคั่งร่วมกันที่ทำให้เกิดความเท่าเทียม และต้องตั้งอยู่บนฐานของความยั่งยืนอีกด้วย

Extractive Political Economy

ในขณะที่ประชาคมโลกกำลังเผชิญกับ “หนึ่งโลก หนึ่งชะตากรรมร่วม” โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากโควิด-19, ภัยพิบัติทางสภาพอากาศ, ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และภัยคุกคามทางไซเบอร์) พร้อมๆ กับ “หนึ่งโลก หนึ่งชะตากรรมร่วม” ในส่วนของประเทศไทยกำลังเผชิญกับ “หลากทศวรรษแห่งความสูญเปล่า” สะท้อนผ่านอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับต่ำมาก มีความเหลื่อมล้ำสูงขึ้น มีความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้น รวมถึงมีศักยภาพและขีดความสามารถของประเทศที่ถดถอย

โดยแก่นแท้ของปัญหามาจาก “วงจรอุบาทว์เชิงซ้อน” ที่ก่อให้เกิดโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเมืองแบบ “extractive political economy” หรือโครงสร้างที่มีการกระจุกตัวของความมั่งคั่ง อำนาจ โอกาส รวมถึงมีระบบการกีดกันและเอารัดเอาเปรียบคนส่วนใหญ่ของประเทศ สะท้อนผ่าน 1. ระบอบประชาธิปไตยเทียม 2. ระบบทุนนิยมพวกพ้อง 3. ระบบเศรษฐกิจปรสิต และ 4. สังคมที่ต้องพึ่งพิงอิงอาศัยรัฐ ยังมีเรื่องโครงสร้างอำนาจภายใต้ extractive political economy เป็นอำนาจเบ็ดเสร็จรวมศูนย์ เกิดความย้อนแย้งระหว่างอำนาจที่แท้จริงและอำนาจทางการ โดยที่ประชาชนเป็นผู้ถูกปกครอง มีผู้ปกครองคือรัฐ ทั้งที่จริงแล้วรัฐต้องเป็นผู้รับใช้ประชาชน ในสังคมไทยจึงมีความย้อนแย้งระหว่างอำนาจที่ควรจะเป็นเชิงนิตินัยกับอำนาจที่มีอยู่จริงเชิงพฤตินัย extractive political economy ก่อให้เกิดความบกพร่องในระบบธรรมาภิบาล ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ไม่ clean & clear ไม่ free & fair และไม่ care & share ไม่มี “รัฐบาลที่น่าเชื่อถือ” ซึ่งหมายถึงรัฐบาลที่มาด้วยความชอบธรรม มีความซื่อสัตย์ มีคุณธรรมจริยธรรม และมีความรู้ความสามารถในการบริหารประเทศ ที่สำคัญ extractive political economy ทำให้สังคมไทยเต็มไปด้วยพลเมืองที่เฉื่อยชา คือพลเมืองที่เป็น “anomic individuals” หรือพลเมืองที่ง่วนอยู่แต่ตัวเอง ไม่มีวินัย ไม่สนใจใคร ไม่ค่อยมีจิตสาธารณะ ไม่ใส่ใจส่วนรวม

  • “สุวิทย์ เมษินทรีย์” ชี้ประเทศไทยถึงเวลาต้องขับเคลื่อน The Second Great Reform ภารกิจที่ No Pain, No Gain
  • “สุวิทย์ เมษินทรีย์” ชี้ปรากฏการณ์ “หนึ่งโลก หนึ่งชะตากรรมร่วม” ตั้งคำถามระบบราชการ “เข้าใจ-มองทะลุ-ขยับ” อย่างไร
  • ทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลว่า ทำไมประเทศไทยจึงต้องมี “The Second Great Reform” ที่เป็นการปรับโครงสร้างและเปลี่ยนพฤติกรรมครั้งใหญ่ เพื่อก้าวออกจาก extractive political economy ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไปสู่ “inclusive political economy” หรือโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเมืองที่ประชาชนโดยส่วนใหญ่มีโอกาสเข้าร่วม เป็นโครงสร้างที่มีการกระจายโอกาส อำนาจ และความมั่งคั่ง เพื่อให้สอดรับกับพลวัตโลกในศตวรรษที่ 21

    การปฏิรูปขนาดใหญ่ครั้งนี้ จะแตกต่างจาก The First Great Reform ในสมัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 โดย The Second Great Reform มีเป้าหมายเพื่อมุ่งพัฒนาไปสู่ความเท่าเทียมและความยั่งยืน ยึดความหลากหลาย และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเป็นสำคัญ

    ทำไมการปฏิรูปที่ผ่านมาจึงไม่ประสบผล

    การปฏิรูปในห้วง 8 ปีที่ผ่านมาไม่ประสบผลเท่าที่ควร เพราะเป็นการปฏิรูปที่เน้น mandatory reform คือมีภาครัฐเป็นผู้นำ ขณะที่หัวใจสำคัญคือ ต้องทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม หรือเป็น participatory reform เมื่อขาด participatory reform จึงทำให้วาระการปฏิรูปส่วนใหญ่เป็น supply-side reform แทนที่จะเป็น demand-side reform รวมถึงการปฏิรูปส่วนใหญ่เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ เน้นประเด็นเล็กๆ เป็นเพียง functional reform หรือ incremental reform ทั้งที่จริงๆ แล้ว มีความจำเป็นต้องปฏิรูปเชิงโครงสร้างและพฤติกรรมควบคู่ไปด้วยกัน

    ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายของการปฏิรูป คือ จะต้องตอบคำถามให้ได้ว่า “คนจนมีโอกาสที่จะมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นไหม” มิเช่นนั้นจะเกิดสังคมแห่งความสิ้นหวัง และเมื่อผู้คนสิ้นหวังจะนำมาซึ่งผลกระทบตามมามากมาย ในขณะเดียวกันจะต้องตอบคำถามที่ว่า “คนรวยจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างไร” หากคนรวยหรือคนมีโอกาสตระหนักและเข้ามาช่วยลดความเหลื่อมล้ำอย่างจริงจัง ก็จะทำให้เกิด positive sum game แทนที่จะเป็น zero sum game อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และหากปล่อยทิ้งไว้อาจจะแปรเปลี่ยนไปเป็น negative sum game ได้ ดังนั้นโจทย์ใหญ่คือ จะทำอย่างไรที่จะเพิ่มขนาดของพายผ่านการเติบโตทางเศรษฐกิจ และเพิ่มส่วนแบ่งของพายให้กับคนจนและคนด้อยโอกาสด้วยในขณะเดียวกัน

    แนวทางการขับเคลื่อน The Second Great Reform

    จากประเด็นคำถามข้างต้น นำมาสู่ Guiding Principles ของ The Second Great Reform ทั้งหมด 7 ข้อ คือ

    1. No Pain No Gain: ต้องปฏิรูปอย่างไม่เกรงใจใคร ต้องสร้างความตระหนักว่าจะเปลี่ยนเองหรือจะถูกเปลี่ยน อยากเปลี่ยนอย่างสงบหรือเปลี่ยนด้วยความรุนแรง

    2. People Engaged Reform: ต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูป พยายามให้ทุกภาคส่วนหันหน้าเข้าหากันแทนการเผชิญหน้ากัน ที่สำคัญ ต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

    3. Double Learning Loop: ต้องมีการทบทวนไปจนถึงระดับฐานคิดหรือสมมติฐาน ที่ส่งผลให้การปฏิรูปไม่ประสบผลอย่างที่คาดไว้

    4. Development Reorientation: ต้องเปลี่ยนแปลงความคิดในการปฏิรูปใหม่ จาก “The Bigger, The Better” เป็น “The Better, The Bigger” จาก “The More, The Better” เป็น “The Better, The More” และจาก “The Faster, The Better” เป็น “The Better, The Faster”

    5. Thriving in Balance: ต้องมีความสมดุล ความพอดี ความลงตัว เช่น ทุกคนต้องมีอิสระ ในขณะเดียวกันยังต้องการพึ่งพาอาศัยกัน หรือทุกคนต้องมองผลประโยชน์ของชาติ ในขณะเดียวกันต้องมองประโยชน์สุขของโลกด้วยในเวลาเดียวกัน

    6. Connect the Dots: การปฏิรูปไม่จำเป็นต้องเริ่มจากศูนย์ แต่ต้องมีภาพใหญ่เพื่อเชื่อมโยงร้อยเรียงประเด็นหรือวาระปฏิรูปต่างๆ ที่มีอยู่แล้วเข้าด้วยกัน

    7. Integrated Reform: ต้องเป็นการปฏิรูปที่มีการผสมผสานอย่างลงตัว ตัวอย่างเช่น ในการปฏิรูปบางเรื่องจำเป็นต้องเด็ดขาดแบบ mandatory reform แต่บางเรื่องจำเป็นต้องเป็นแบบ participatory reform หรือการปฏิรูปบางเรื่องจำเป็นต้องเป็น functional reform หรือ incremental reform ขณะที่บางเรื่องจำเป็นต้องเป็น structural reform หรือ behavioral reform

    จากสังคมจารีตสู่สังคมสมัยใหม่

    คนไทยโดยส่วนใหญ่ยังคงถูกครอบงำด้วยระบบอุปถัมภ์นิยม อำนาจนิยม และอภิสิทธิ์นิยม ทำให้พลเมืองส่วนใหญ่เป็นพลเมืองที่เฉื่อยชา ไร้ซึ่งอุดมการณ์และขาดสำนึกต่อส่วนรวม นำไปสู่การพึ่งพิงภาครัฐที่มากขึ้น เป็นรัฐควบคุมสังคมอยู่ตลอดเวลา และยิ่งเมื่อรัฐควบคุมสังคมมากเท่าไร พลเมืองก็จะยิ่งเฉื่อยชามากเท่านั้น

    หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของ The Second Great Reform คือการปรับเปลี่ยนจากสังคมจารีตไปสู่สังคมสมัยใหม่ เป็นสังคมที่ clean & clear, free & fair และ care & share ซึ่งจะนำไปสู่การปลดปล่อยศักยภาพและพลังของประชาชน ไปสู่การเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ ที่มีอุดมการณ์และมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม นำไปสู่ความเข้มแข็งของภาคประชาชน ทำให้การพึ่งพิงรัฐน้อยลง ส่งผลให้เกิดเป็นสังคมควบคุมกันเอง และในที่สุดจะเกิดเป็นสังคมควบคุมรัฐ

    ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนจากสังคมจารีตสู่สังคมสมัยใหม่ ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์สำคัญ คือ
    1) Realigning System of Governance
    2) Reorienting Our Value & Culture
    3) Empowering Our People

    ยุทธศาสตร์แรก Realigning System of Governance: เราจะเปลี่ยนไปสู่สังคมที่ clean & clear, free & fair และ care & share ได้อย่างไร

    สังคม clean & clear จะเกิดได้ ต้องเปลี่ยนจาก “rule by law” ซึ่งเป็นการเขียนกฎตามความต้องการของคนบางกลุ่ม ไปเป็น “rule of law” คือกฎที่ทุกคนยอมรับและยินดีที่จะยึดถือปฏิบัติ เมื่อสังคมเกิด clean & Clear แล้วก็จะทำให้เกิดสังคมที่ free & fair ที่ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการเข้าถึงทรัพยากรแบบ open access และเมื่อสังคม clean & clear และ free & fair แล้ว สังคมที่ care & share จะเกิดขึ้นตามมา โดยสังคม care & share เป็นสังคมที่มีพลัง สามารถปลุกและปลดปล่อยศักยภาพของประชาชนออกมา ก่อเกิดเป็นพลังความร่วมมือทางสังคม เป็นสังคมรัฐสวัสดิการอย่างแท้จริง

    หากทำสิ่งเหล่านี้ได้สำเร็จ ก็จะนำมาสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง ไปจนถึงระบบทุนนิยมแบบครอบคลุม ระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันกันอย่างยุติธรรม และสังคมที่ทุกคนผนึกกำลังกัน ที่ไม่ต้องพึ่งพิงภาครัฐและนโยบายประชานิยมอีกต่อไป

    ยุทธศาสตร์ต่อมา Reorienting Our Value & Culture: เราจะเปลี่ยนพลเมืองที่เฉื่อยชาไปเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ได้อย่างไร

    หัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลง คือการปรับเปลี่ยนคุณค่าและวัฒนธรรม ในปัจจุบันสังคมไทยเป็นสังคมแบบต่างคนต่างอยู่ ตัวใครตัวมัน พวกใครพวกมัน ที่เรียกว่าเป็น “me-society” หรือสังคมของพวกกู แทนที่จะเป็น “we-society” หรือสังคมของพวกเรา โดยการปรับเปลี่ยน

    • Anomic Individualism เป็น Orientated Individualism
    • Parochial Collectivism เป็น Unrestricted Collectivism
    • Vertical Culture เป็น Civic Culture
    • Ignorant Culture เป็น Sufficient Culture

    การจะเปลี่ยนพลเมืองที่เฉื่อยชาไปเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ได้ จะต้องเปลี่ยนคนไทยจากการเป็น anomic individualism ให้เป็น orientated Individualism ที่มี eco-centric แทนที่จะเป็น ego-centric mindset มี growth mindset แทนที่จะเป็น fixed mindset รวมถึงเป็นพลเมืองที่อิสระ ในขณะเดียวกันก็พึ่งพาอาศัยกันร่วมกับคนอื่น รวมถึงเปลี่ยน parochial collectivism ให้เป็น unrestricted collectivism ที่คนในสังคมมีความสัมพันธ์ภายในกลุ่มอย่างแนบแน่น พร้อมๆ กับมีความสัมพันธ์กับกลุ่มอื่นๆ ในระดับที่สูงด้วย

    ในทำนองเดียวกันจะต้องเปลี่ยน vertical culture (อุปถัมภ์นิยม อำนาจนิยม และอภิสิทธิ์นิยม) ให้เป็น civic culture ที่ทุกคนเคารพคุณค่าของกันและกันบนความหลากหลาย ความครอบคลุม และความเท่าเทียม นำไปสู่การเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ ควบคู่ไปกับการเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดรับชอบต่อสังคม และเมื่อเป็นทั้งพลเมืองที่ตื่นรู้และมีความรับผิดรับชอบ จึงจะสามารถเรียกได้ว่าเป็น “พลเมืองที่สมบูรณ์” คือพลเมืองที่มีความสมดุลระหว่างความเป็น independent และ interdependent นั่นเอง สุดท้ายคือ จะต้องเปลี่ยน ignorant culture ให้เป็น sufficient culture เพื่อที่จะหลุดออกมาจากกับดักของวัตถุนิยม บริโภคนิยม และสุขนิยม ไปสู่วัฒนธรรมพอเพียง ที่เมื่อไม่พอต้องรู้จักเติม เมื่อพอต้องรู้จักหยุด และเมื่อเกินต้องรู้จักปัน

    ยุทธศาสตร์สุดท้าย Empowering Our People: เราจะเติมเต็มพลังให้กับประชาชนได้อย่างไร

    เมื่อสังคมเกิด clean & clear, free & fair และ care & share พร้อม ๆ กับการปรับเปลี่ยน value & culture ของผู้คนแล้ว จะต้องมีการปลดล็อกข้อจำกัดและปลดปล่อยศักยภาพของภาคประชาชน ผ่าน 3 ยุทธศาสตร์สำคัญ

      1) การกระจายอำนาจ กระจายโอกาส กระจายความมั่งคั่ง
      2) เปลี่ยนภาระเป็นพลัง
      3) ขับเคลื่อนด้วยโมเดลผนึกกำลังกันหลากภาคส่วน

    ปัจจุบันผู้มีอำนาจยังคงติดอยู่กับวงจรความเชื่อที่ว่าชุมชนหรือท้องถิ่นยังไม่พร้อม ทำให้ไม่ยอมกระจายอำนาจ ท้องถิ่นและชุมชนจึงไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ เมื่อไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ จึงยิ่งทำให้ไม่พร้อมมากขึ้น แทนที่จะเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นและชุมชนได้พัฒนาขีดความสามารถจนสามารถปกครองตนเองได้ จึงต้องเปลี่ยนจากการรวมศูนย์อำนาจ ที่ถูกครอบงำโดยระบบอุปถัมภ์นิยม อำนาจนิยม และอภิสิทธิ์ชน มาเป็นการกระจายอำนาจ รวมถึงการกระจายโอกาส (ผ่านการเข้าถึงทรัพยากรประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรเศรษฐกิจ ทรัพยากรสังคม และทรัพยากรการเมือง) ตลอดจนการกระจายความมั่งคั่งผ่าน property pre-distribution ที่ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันในการสร้างความมั่งคั่งตั้งแต่ต้น มากกว่า income redistribution ที่ให้โอกาสกับคนบางกลุ่มสร้างความมั่งคั่ง แล้วค่อยกระจายให้กับคนกลุ่มอื่นๆ ที่เหลือ

    ขณะเดียวกัน จะต้องเปลี่ยนภาระมาเป็นพลัง ทำให้พลเมืองที่ตื่นรู้และมีความรับผิดรับชอบ สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของตนให้ดีขึ้นได้ โดยการขยับจากยากจนข้นแค้น ไปสู่พอประทังชีวิต ไปสู่พอเพียง และไปสู่ยั่งยืนในที่สุด ผ่าน “กลไกการลื่นไหลทางสังคม” (social mobility) โดยคนที่ได้โอกาสคอยช่วยดึงคนด้อยโอกาสขึ้นมา และขณะเดียวกันคนด้อยโอกาสก็ต้องมีความเพียรพยายามเติมเต็มความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่

    นอกจากนี้ โมเดลในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้จะมีเพียงภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมเหมือนเดิมไม่ได้ จำเป็นต้องใช้โมเดลผนึกกำลังหลากภาคส่วน โดยสร้างความร่วมมือกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ เช่น ภาครัฐจับมือกับภาคเอกชนในรูปแบบ public-private partnership (PPP) ภาครัฐจับมือกับภาคประชาชนในรูปแบบ third sector หรือภาคเอกชนจับมือกับภาคประชาชนในรูปแบบ social enterprise

    Thailand 4.0 กับกลไกขับเคลื่อนชุดใหม่

    โครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเมืองแบบ extractive political economy ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถปรับเปลี่ยนไปสู่ Thailand 4.0 ได้ ภาคเกษตรของไทยยังคงเป็นเกษตรแบบดั้งเดิมล้าหลัง ภาคอุตสาหกรรมก็ยังคงเป็นแบบรับจ้างผลิตและไม่มีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง ในขณะที่ภาคบริการมีมูลค่าเพิ่มต่ำมาก

    ทั้งนี้ extractive political economy เป็นอุปสรรคต่อการสร้างสังคมผู้ประกอบการ อย่าง SMEs, startup หรือ local enterprise ทำให้สังคมผู้ประกอบการเหล่านี้ไม่สามารถเกิดและเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนไปสู่ Thailand 4.0 ผ่าน 3 Growth Engine สำคัญ

    ตัวแรกคือ Human Growth Engine เป็นการสร้างสภาวะแวดล้อมที่สามารถปลดปล่อยศักยภาพของมนุษย์ โดยมีนโยบาย Growth for People เพื่อสร้างกำลังคนที่จะไปขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ (People for Growth) ต่อไป

    ตัวที่ 2 คือ Inclusive Growth Engine เป็นการเพิ่มขนาดของพาย (Size of Pie) ผ่าน Growth และ Productivity พร้อมกันกับเพิ่มส่วนแบ่งของพาย (Share of Pie) ให้กับคนด้อยโอกาสและคนส่วนใหญ่ของประเทศ ผ่านการสร้าง Opportunities และการเติมเต็มด้วย Capacity Building ให้กับผู้ประกอบการ อย่าง SMEs หรือ Startup พร้อมๆ กับการเปลี่ยนนโยบายประชานิยมให้กลายเป็นรัฐสวัสดิการ

    และตัวที่ 3 คือ Sustainable Growth Engine เป็นการทำให้เกิดความรับผิดรับชอบในส่วนของการผลิต (Responsible Mode of Production) ควบคู่ไปกับความรับผิดรับชอบในส่วนของการบริโภค (Responsible Mode of Consumption) โดยมี 3 วาระสำคัญที่ทุกคนต้องร่วมมือกัน คือ Climate Agenda, Circular Economy และ Common Reinvention โดยผ่านแนวคิด Circular Economy, Green Growth Industries, Dematerialization และ Decarbonization ซึ่งถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของ BCG Economy Model

    สุดท้ายนี้ ประเทศไทยจำเป็นต้องมีจุดยืนที่ชัดเจนบนเวทีโลก เริ่มจากการสร้างความเข้มแข็งจากภายในด้วยการสร้างความภาคภูมิใจของคนในชาติ (Dignity of the Nation) ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราสามารถปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศให้เป็นแบบ Inclusive Political Economy เมื่อมีความเข้มแข็งจากภายในแล้ว จึงจะไปสู่การเชื่อมประเทศไทยสู่ประชาคมโลก โดยการวางจุดยืนบนเวทีโลก รวมถึงการใช้ Soft Power ซึ่งก็คือ BCG เพื่อชูการสร้าง Prosperity ผ่าน Sustainability และ Equality ของประเทศไทยในประชาคมโลก

    รัฐที่น่าเชื่อถือ

    โดยรัฐที่น่าเชื่อถือ จะต้องมาด้วยความชอบธรรม (Legitimacy) พร้อมด้วยมีความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรมจริยธรรม (Integrity) และมีความรู้ความสามารถในการบริหารประเทศ (Capability)

    จอห์น เอฟ เคนเนดี อดีตประธานาธิบดีอเมริกา เคยกล่าวไว้ว่า การเป็น “ผู้บริหารประเทศที่ดี” นั้น ต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้ 4 ข้อ คือ

      1) Am I a Man of Integrity?
      2) Am I a Man of Courage?
      3) Am I a Man of Judgment?
      4) Am I a Man of Dedication?

    ขณะที่ ลีกวนยู อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศสิงคโปร์ กล่าวไว้ว่า “Once you have weaker people on top, the whole system slowly goes down. It’s inevitable” หมายถึง ลีกวนยูยอมไม่ได้ที่จะให้มี “รัฐมนตรีกระจอก” มาบริหารประเทศ เพราะหากทำเช่นนั้น ถือว่าเป็นการทรยศหักหลังประเทศ

    ขณะเดียวกัน อีกหนึ่งในภารกิจสำคัญของ The Second Great Reform คือ การสร้างรัฐที่น่าเชื่อถือ ควบคู่ไปกับการสร้างพลเมืองที่ตื่นรู้และร่วมรับผิดรับชอบ ทั้ง 2 ปัจจัยเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะเปลี่ยนประเทศไทยจาก Extractive Political Economy อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไปสู่ Inclusive Political Economy อย่างที่พวกเราต้อ