รายงานโดย ก้องภพ ภู่สุวรรณ กุศล จันทร์แสงศรี ปราณี จิระกิตติเจริญ
ภาคเหนือเป็นอีกหนึ่ง gateway สำคัญเชื่อมโยงการค้าระหว่างไทยกับจีนตอนใต้ผ่านโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงทั้งทางบกทางถนนผ่านสปป.ลาว (R3A) และเมียนมา (R3B) รวมทั้งทางแม่น้ำโขง โดยตั้งแต่ปี 2535 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภาคลุ่มน้้าโขง (Greater Mekong Sub-region: GMS) ท้าให้การค้าและการท่องเที่ยวเติบโตสูงต่อเนื่อง (รูปที่ 1) ล่าสุดมีการเปิดให้บริการรถไฟจีน-ลาว เมื่อ 3 ธ.ค. 2564 ที่ผ่านมา จะเป็นโอกาสของสินค้าภาคเหนืออย่างไร1 บทความนี้จึงได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเส้นทาง อาทิ ต้นทุน ระยะเวลา ความเสี่ยง และความสะดวกในการขนส่ง เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของเส้นทางขนส่งสินค้าเดิมเปรียบเทียบกับเส้นทางใหม่ สำนักเศรษฐกิจภูมิภาค ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยชวนค้นหาคำตอบเพิ่มเติม หลังจากที่นำเสนอบทความเกี่ยวกับรถไฟจีน-ลาวไปแล้วก่อนหน้านี้ในหัวข้อ คว้าโอกาสให้การค้าไทย จากรถไฟจีน-ลาว
รถไฟจีน-ลาวเพิ่มทางเลือกจากเส้นทางขนส่งเดิมเพิ่มโอกาสการค้า
เดิมการขนส่งสินค้าระหว่างภาคเหนือกับจีนตอนใต้ มี 3 เส้นทาง เรือแม่น้ำโขง R3A และ R3B (รูปที่ 2) การเลือกเส้นทางขึ้นกับชนิดของสินค้า และตลาดลูกค้าปลายทาง ส่วนใหญ่ใช้ทางถนน R3A การเปิดเดินรถไฟจีน-ลาว ช่วยเพิ่มทางเลือกในการขนส่ง เป็นโอกาสที่จะขยายการค้ากับจีนตอนใต้เพิ่มขึ้น (รูปที่ 3)
1.ทางเรือแม่น้าโขง (ด่านเชียงแสน-ท่าเรือสบหลวย (เมียนมา)-สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน)
2.ถนน R3A (ด่านเชียงของ-สปป.ลาว-คุนหมิง)
<
3.ถนน R3B (ด่านแม่สาย-เชียงตุง-คุนหมิง )
เส้นทางใหม่ รถไฟจีน-ลาว เพิ่มโอกาสการค้าภาคเหนือ-จีนตอนใต้
รถไฟจีน ลาว เส้นทางขนส่งสินค้าที่ดีกว่าเส้นทางเดิมของภาคเหนือในอนาคต
รถไฟจีน-ลาว จะช่วยลดต้นทุน ลดเวลา ลดความเสี่ยง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการค้าระหว่างภาคเหนือกับจีนตอนใต้ให้คล่องตัวยิ่งขึ้น
ในระยาว ช่วยเพิ่มโอกาสการค้าผ่านจีนไปยังเอเชียกลางและยุโรป
โอกาสของสินค้าภาคเหนือในการส่งออกทางรถไฟ
การค้ากับจีนจะมีโอกาสและสะดวกมากขึ้น จากข้อตกลง RCEP ที่มีผลตั้งแต่ 1 ม.ค. 2565 สินค้าไทยมีโอกาสทางตลาดในจีนมากขึ้นในกลุ่มสินค้าเกษตรอาหาร และอุตสาหกรรมบางรายการ จากการตรวจปล่อยสินค้าที่รวดเร็วขึ้น สินค้าเน่าเสียง่ายภายใน 6 ชั่วโมง และสินค้าปกติภายใน 48 ชั่วโมงและจากงานศึกษา ”“คว้าโอกาสให้การค้าไทย จากรถไฟจีน-ลาว9 ซึ่งพิจารณาจากอัตราการเติบโตตลาดและการขยายตัวของส่วนแบ่งสินค้าไทยในจีน ระหว่างปี 2559-2563 พบว่าภาคเหนือมีสินค้าดาวเด่น ที่มีศักยภาพในการส่งออกทางรถไฟไปจีนตอนใต้ ได้แก่
อย่างไรก็ตาม การขนส่งสินค้าทางรถไฟมีการตรวจสอบสินค้าเข้มงวด ทั้งด้านสุขอนามัยและมาตรฐานสินค้า ผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อมรองรับ เพราะหากมีการตรวจพบเชื้อและสารตกค้างจะถูกทาลายสินค้าทิ้ง หรืออาจถูกยึดใบอนุญาตนำเข้า ตามที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปลายปี 252564 ที่จีนระงับการนำเข้าลำไยจากไทย เนื่องจากตรวจพบเพลี้ยแป้ง รวมถึงช่วงปลายปี 2564-ต้นปี 2565 จีนทำลายผลไม้นำเข้าจากไทย อาทิ ลำไยและทุเรียน จากการตรวจพบเชื้อ COVID 19
รถไฟมาพร้อมโอกาสจะขึ้นรถไฟอย่างไรไม่ให้ตกขบวน?
สินค้าดาวเด่นของภาคเหนือที่มีโอกาสส่งออกโดยรถไฟจีน-ลาว ไปจีนตอนใต้เพิ่มขึ้น มีเงื่อนไขที่เกษตรกรและผู้ประกอบการควรทราบ ดังนี้
สินค้าเกษตร : เงื่อนไข เช่น
• ผลิตได้ตามมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices)
• มีใบรับรองสุขอนามัยพืช เช่น ปริมาณสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างในลำไยสด
• ต้องขออนุญาตนำเข้าจีน เช่น ผักผลไม้และยางพารา
• ปลอดเชื้อ COVID-19
สินค้าแปรรูป : เงื่อนไข เช่น
• ผ่านการตรวจสอบจากกระทรวงพาณิชย์จีน กรมศุลกากรจีนและสำนักงานควบคุมคุณภาพตรวจสอบ และกักกันโรคแห่งประเทศจีน (AQSIQ)
• สินค้าต้องห้ามของจีน เช่น สินค้ามีลิขสิทธิ์ที่ผลิตในจีนอยู่แล้ว
• ควรนำตู้คอนเทนเนอร์ไปจดทะเบียนขนส่งทางรถไฟจีน
สรุปและข้อเสนอแนะ
การเปิดให้บริการรถไฟจีน-ลาว จะสร้างโอกาสทางการค้าระหว่างภาคเหนือกับจีนตอนใต้ เป็นประโยชน์ทั้งผู้ส่งออกสินค้า ผู้ประกอบการผลิต และเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกพืชผลเกษตร โดยเฉพาะผลไม้สำคัญของภาคเหนือ เช่น ลำไย ทุเรียน มะขาม และมะม่วง อย่างไรก็ตาม ในช่วงทดลองให้บริการขนส่งสินค้ายังมีข้อจำกัดหลายประการ แต่หากสามารถปลดล็อคข้อจำกัดด้านต่าง ๆ ได้ เช่น ข้อตกลงพิธีสารด้านการขนส่ง ไทย-สปป.ลาว และระบบตรวจสอบสินค้าของจีนแล้วเสร็จ เส้นทางรถไฟจีน-ลาว จะมีศักยภาพในการขนส่งสินค้า กับจีนตอนใต้มากขึ้น เนื่องจากเป็นเส้นทางที่ประหยัดต้นทุน สะดวกรวดเร็วขึ้น และมีความเสี่ยงต่ำกว่าการขนส่งทางถนน R3A และทางเรือ แม่น้าโขง อย่างไรก็ตาม เกษตรกรต้องยกระดับมาตรฐานสินค้าให้สูงขึ้น และมีความเข้มงวดด้านสุขอนามัย เพื่อให้สามารถขนส่งผลไม้ทางรถไฟ จีน-ลาวได้ ขณะที่ผู้ประกอบการผลิตจำเป็นต้องนำสินค้าไปตรวจสอบคุณภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของจีนก่อน รวมทั้งควรนำตู้คอนเทนเนอร์ ไปจดทะเบียนขนส่งทางรถไฟจีน เพื่อให้สามารถขนส่งได้ต่อเนื่องโดยไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายตู้
มองไปข้างหน้า หากการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน บริเวณชายแดนไทย-ลาว-จีนตอนใต้ ทั้งทางด่วนบ่อเต็น-ห้วยทรายใน สปป.ลาว และเส้นทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงของ แล้วเสร็จ จะพลิกโฉมการขนส่งของภาคเหนือ ผู้ประกอบการจะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นอีกจากการเชื่อมโยงขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation) ไปเชื่อมต่อกับรถไฟจีน-ลาว จะทำให้สามารถกระจายสินค้าภาคเหนือไปทั่วประเทศจีนได้สะดวก ยิ่งขึ้น ใช้เวลาขนส่งสั้นลง และลดต้นทุนค่าขนส่งได้มากกว่าที่ประเมินขั้นต้น
ดังนั้นการศึกษาเส้นทางการขนส่งรูปแบบต่าง ๆ จะช่วยให้การตัดสินใจเลือกรูปแบบการขนส่งสินค้าได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ การยกระดับมาตรฐานสินค้า และปฎิบัติตามข้อกำหนดของประเทศคู่ค้า รวมทั้งรับรู้สินค้าของภาคเหนือที่มีศักยภาพในจีนจะช่วยให้ผู้ประกอบการ ภาคเหนือสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสที่ติดมากับขบวนรถไฟจีน-ลาว ได้มากยิ่งขึ้น
ประเด็นพิเศษ : ปัจจัยสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว-จีนตอนใต้ รองรับการค้าที่มีโอกาสเติบโต
ปัจจุบันพื้นที่เชียงของมีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำคัญรองรับการเชื่อมโยงรถไฟจีน-ลาวและถนน R3A ดังนี้
1. ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ รองรับการเปลี่ยนหัวลาก-หางพ่วงระหว่าง รถบรรทุกไทยกับรถบรรทุกต่างประเทศ และการเปลี่ยนถ่ายสินค้าจากทางถนนสู่ทางราง (Modal Shift) กับรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงของ คาดว่าก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2568
2. รถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงของ (รูปที่ 7) รองรับการขนส่งสินค้าและช่วยลดต้นทุนการขนส่ง คาดว่าเริ่มทยอยก่อสร้างกลางปี 2565 และแล้วเสร็จในปี 2571
นอกจากนี้ สปป.ลาว มีโครงการทางด่วนบ่อเต็น – ห้วยทราย ซึ่งจะช่วยร่นระยะทางบนเส้น R3A จาก 228.3 กม. เหลือเพียง 176.3 กม. และลดระยะเวลาการขนส่งจาก 5 ชั่วโมง เหลือเพียง 1.30 ชั่วโมง คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2570
อ้างอิง
1.เนื่องจากนักท่องเที่ยวจีนยังไม่สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้จึงขอโฟกัสเฉพาะการค้า
2.กรมศุลกากร, อัตราเติบโตเฉลี่ยปี 2561-64 คานวณโดยผู้ศึกษา
3.เป็นข้อมูลล่าสุดและก่อนการระบาดโควิด
4.กรมศุลกากรและการแลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้ประกอบการค้าชายแดน คานวณโดยผู้ศึกษา
5.กรมศุลกากร, ปี 2561-62 มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 91% คานวณโดยผู้ศึกษา
6. การแลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้ประกอบการภาคเหนือ
7. การแลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้ประกอบการค้าชายแดน คานวณโดยผู้ศึกษา
8.การแลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้ประกอบการค้าชายแดน และ Yunnan International Railway Service and Trading Co., Ltd คานวนโดยผู้ศึกษา
9.อ้างอิงงานศึกษา“คว้าโอกาสให้การค้าไทย จากรถไฟจีน-ลาว”โดยส่วนเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จาเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย