ThaiPublica > สู่อาเซียน > ราคาน้ำมันไทยเทียบสมาชิกอาเซียน

ราคาน้ำมันไทยเทียบสมาชิกอาเซียน

18 กุมภาพันธ์ 2022


นับตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของ 2564 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจนทะลุระดับ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลล์ในเดือนตุลาคม ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน และมีการเรียกร้องให้รัฐบาลตรึงราคาน้ำมันเพื่อช่วยบรรเทาต้นทุนของผู้ประกอบการ และมักเปรียบเทียบราคาน้ำมันที่จำหน่ายในประเทศกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันว่า ราคาน้ำมันไทยแพงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน

ราคาน้ำมันในกลุ่มอาเซียนที่สูงต่ำไม่เท่ากัน เป็นผลจากนโยบายพลังงานของแต่ละประเทศ โครงสร้างของราคาน้ำมันที่จำหน่ายในประเทศ ที่แตกต่างกัน โดยโครงสร้างราคาน้ำมันของไทย ต้นทุนหลักๆ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรก ต้นทุนของเนื้อน้ำมันที่ซื้อมาจากโรงกลั่น หรือที่เรียกว่า “ราคา ณ โรงกลั่น” ซึ่งอ้างอิงมาจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ เคลื่อนไหวขึ้น-ลง ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก

ส่วนที่ 2 เป็นค่าภาษี และเงินนำส่งกองทุนต่าง ๆ ที่รัฐบาลเรียกเก็บมีสัดส่วนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 32% ของราคาน้ำมัน ค่าภาษีของกระทรวงการคลัง ประกอบไปด้วย ภาษีสรรพสามิต , ภาษีเทศบาล หรือ “ภาษีบำรุงท้องถิ่น” และภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนของกระทรวงพลังงานก็จะมีการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมัน และยังมีการจัดเก็บเงินเข้า “กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน” เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ต้นทุนส่วนที่ 3 เป็นค่าการตลาดของผู้ประกอบการ หรือ ปั๊มน้ำมัน มีสัดส่วนเฉลี่ยอยู่ที่ 6% ซึ่งเป็นรายได้จากการขายน้ำมันที่หน้าหน้าปั๊ม ซึ่งยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายใดๆ”

นี่คือ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศไทยแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน

แล้วประเทศไหนบ้างในเอเชียตะวันอกเฉียงใต้ที่เก็บภาษีน้ำมัน พบว่า มีเพียง 3 ประเทศที่ไม่จัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมัน คือ อินโดนีเซีย มาเลเซียและบรูไน ซึ่งต่างเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่

คราวนี้เรามาดูกันว่า ราคาน้ำไทยแพงกว่าประเทศสมาชิกอาเซียนหรือไม่


จากภาพจะเห็นได้ว่าราคาน้ำมันของไทย ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 โดยอิงจากราคาน้ำมันแก้สโซฮอล์ 95 E10 ซึงมิสัดส่วนการใช้มากที่สุด(โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนกลาง ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 )อยู่ในระดับกลางๆ เนื่องจากแต่ละประเทศสมาชิกมีมาตรการภาษี และระบบการเก็บเงินเข้ากองทุนหรืออุดหนนราคาพลังงานที่แตกต่างกัน และหลายประเทศเพื่อนบ้านยังมีการอุดหนุนราคาอยู่

ไทยสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้การอุดหนุนราคาโดยกองทุนน้ำมันฯ จึงทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโชฮอลถูกกว่าเบนซิน

ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ The Strait Times รายงานว่า ราคาน้ำมันขายปลีกตามปั้มในสิงคโปร์เพิ่มขึ้นในอัตราเลขสองหลัก โดยราคาน้ำมันดีเซลของปั๊มคาลเท็กซืและเชลล์ขายในราคา 2.36 สิงคโปร์ดอลลาร์ต่อลิตร ส่วนเอสโซ่ ซิโนเปก และเอสพีซีขายในราคา 2.31 สิงคโปร์ดอลลาร์ต่อลิตร

ส่วนราคาน้ำมันแก้สโซฮอล์ 95 ที่นิยมใช้กันมากเพิ่มขึ้นมาที่ 2.78 สิงคโปร์ดอลลาร์ต่อลิตรที่ปั๊มคาลเท็กซ์และเชลล์ ส่วนเอสโซ่และซิโนเปกราคาอยู่ที่ 2.76 สิงคโปร์ดอลลาร์ต่อลิตร และเอสพีซีจำหน่ายที่ 2.75 สิงคโปร์ดอลลาร์ต่อลิตร

ในฟิลิปปินส์ช่วง 7 สัปดาห์ที่ผ่านมาตั้งแต่ต้นปี 2565 ราคาน้ำมันปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยราคาน้ำมันเบนซินได้พุ่งสูงถึง 8.00 เปโซต่อลิตร ขณะที่ราคาดีเซลได้เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 11.00 เปโซต่อลิตร

ราคาขายปลีกปั๊มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่มีผลกระทบต่อผู้ขับขี่ลำบากอยู่แล้ว ดูเหมือนว่าจะไม่ใช่ปัญหาเดียวที่ประเทศจะเผชิญในอนาคตอันใกล้นี้ จากข้อมูลของกระทรวงพลังงาน (DOE) อุปทานเชื้อเพลิงอาจชะงักในไม่กี่เดือนข้างหน้า หมายความว่าฟิลิปปินส์อาจประสบปัญหาการขาดแคลนเชื้อเพลิงอีกครั้ง

กระทรวงพลังาน เพื่อรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นนี้ DOE ประกาศว่า กำลังจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อจัดทำแผนฉุกเฉินเพื่อรับมือกับปัญหาการขาดแคลนเชิ้อเพลิง ที่จัดหาทั้งจากภายในและภายนอก

ที่ กัมพูชารัฐบาลได้ปรับขึ้นราคาน้ำมันขายปลีกเป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 2 เดือนติดต่อกัน หลังจากที่ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นแตะ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในกัมพูชาตั้งแต่วันที่ 16-28 กุมภาพันธ์ อยู่ที่ 4,700 เรียล หรือ 1.16 ดอลลาร์ต่อลิตรสำหรับน้ำมัน EA92 ส่วนน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 4,450 เรียล หรือ 1.09 ดอลลาร์ต่อลิตร จากประกาศของกระทรวงพาณิชย์ที่แสดงไว้ในสองสกุลเงิน

ในช่วงวันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ราคาน้ำมัน EA92 อยุ่ที่ 4,500 เรียล (1.11 ดอลลาร์) ส่วนน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 4,250 เรียล (1.05 ดอลลาร์) ต่อลิตรเพิ่มขึ้นจาก 4,350 เรียล (1.07 ดอลลาร์) และ 4,050 เรียล (0.99 ดอลลาร์) ตามลำดับในวันที่ 16-31 มกราคม

ส่วนที่ เวียดนามในเวลาเพียงเดือนของปี 2022 ราคาน้ำมันขายปลีกปรับขึ้น 3 ครั้งติดต่อกัน โดยล่าสุดในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ปรับขึ้นไปเกือบ 1,000 ด่อง ส่งผลให้ราคาขายปลีกแก้สโซฮอลล์ RON95 เพิ่มขึ้น 962 ด่องไปที่ 25,322 ด่อง(1.12 ดอลลาร์)ต่อลิตร ส่วนน้ำมัน E5RON92 เพิ่มขึ้น 976 ด่องไปที่ 24,571 ด่องต่อลิตร และราคาดีเซลเพิ่มขึ้น 0.05S และน้ำมันก๊าด เพิ่มขึ้น 962 ด่อง 958 ด่องตามลำดับ