คนไทยเห็นประเทศไทยเป็นอย่างไรผ่านแว่นตาสื่อ เราเห็นดราม่าเพราะสื่อขุดคุ้ยเรื่องที่จะทำให้เกิดกระแส แต่ถ้าสื่อช่วยกัน ประชาชนช่วยกัน นำข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ตรวจสอบได้ มาทำเป็น Campaign เหมือนในยุคหนึ่งที่กรุงเทพมหานครหรือกทม. ทำให้กทม. สะอาดด้วย Campaign “ตาวิเศษเห็นนะ”
ในทางเดียวกันสื่อกับประชาชนสามารถใช้แนวคิดนี้ มาทำ Citizen Watch สำหรับข้อมูลเปิด (Open Data) ตาวิเศษเห็นนะว่า คุณไม่มีข้อมูลงบแจกแจงการใช้จ่าย ที่ประชาชนเข้าถึงได้เพื่อความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ตาวิเศษเห็นนะ ว่าเราสามารถเก็บข้อมูล ผลงานของ ส.ส. ที่ช่วยประชาชนจริงๆในยุคที่ COVID-19 ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ เพราะในเวลาวิกฤติ เราจะได้เห็นธาตฺแท้ของคน ที่สามารถนำไปประกอบการพิจารณา การเลือกตั้งครั้งต่อๆไปว่า ส.ส. คนนี้เข้าทำอะไรเพื่อประชาชนมั้ย
แนวคิดนี้จะทำให้เราสามารถสร้างกระแสการทำข้อมูลเปิด (Open Data) เพื่อการตรวจสอบได้ และกระแสนี้จะทำให้เกิด Accountability ทั้งสายตั้งแต่หน่วยงานต้นสังกัดจนถึงหน่วยที่สนับสนุน เป็นสิทธิที่เราสามารถเรียกร้องได้ในฐานะผู้เสียภาษี ทำเป็น Dashboard Citizen Request for Open Data แล้วดูความคืบหน้าว่า ประชาชนอยากเห็นข้อมูลอะไรกับหน่วยงานอะไรเพื่ออะไร และมีการติดตามความคืบหน้าอย่างไร ตามมาตรฐานการจัดอันดับของ Global Open Data Index ประเทศไทยยังมีข้อมูลเปิดอีกหลายเรื่องที่ต้องดูแล เช่นข้อมูลที่ดิน
องค์กรข่าว เอาข้อมูลมากางให้ดู มีการทำ Data Journalism มีการใช้ข้อมูลจากต้นทาง ปัญหาอะไรที่เกิดซ้ำๆ แล้วไม่ได้รับการแก้ไข ให้สร้างกระบวนการเอาข้อมูลมาดู เพื่อให้เห็นการทำงานในเชิงบูรณาการ
ตอนนี้เราเริ่มมีโครงการเริ่มต้นที่ดีจาก Open Government Data of Thailand แต่ยังขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดี รวมทั้งความสำคัญของสื่อในการนำไปใช้เพื่อเสนอปัญหาที่เราเจอกันซ้ำๆ นี่คือ Data Journalism Wishlist ที่อยากเห็นเป็น Dashboard แต่ทั้งภาคสื่อและประชาชน รวมทั้งความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆของภาครัฐ ต้องสนับสนุน
ข้อมูลมลพิษ เพื่อมาตอบคำถามว่ามลพิษ (เช่น PM 2.5 ปัญหาน้ำเสียจากโรงงาน) เกิดขึ้นบริเวณไหน อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานไหน มีงบประมาณจัดสรร และเอาไปใช้ดูแลในปัญหานั้นๆอย่างไร มีผลลัพธ์ (Outcome) ที่ติดตามได้อย่างไร
ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง ที่ทำตามมาตรฐานสากล เช่น Open Contracting Data Standard (OCDS) เรามีข้อมูลพอที่จะำทำได้ มาตรฐานนี้จะช่วยให้ประชาชนเห็นข้อมูลตั้งแต่การวางแผน (ว่าหน่วยงานต้นสังกัด จุดประสงค์ ทำตอบสนองความจำเป็นในพื้นที่) การประมูล การรับมอบเซ็นสัญญา การปฏิบัติงาน มีการตรวจสอบ แม้กระทั่งสถานการณ์ COVID นี้เราสามารถที่จะดูได้ว่าการใช้งบประมาณของภาครัฐในการจัดการเป็นอย่างไร
ข้อมูลการใช้งบประมาณของภาคการศึกษา สิ่งที่คงค้างคาใจประชาชน ก็คงเป็นเรื่องของการใช้งบประมาณของการศึกษาไทย มีการกระจายอย่างเหมาะสมกับจำนวนนักเรียนในพื้นที่ ประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของนักเรียนที่เหมาะสม มีสัดส่วนของงบประมาณที่สูญเสียไปกับเอกสาร ระบบประเมินงานที่เป็นงานเพิ่มเกินความจำเป็นของครู ภาระหนี้ของครู งบประมาณบริหารต่อเงินเดือนครู
ข้อมูลน้ำท่วม เรามีหลาย App หลายแหล่งขัอมูล จากหลายกระทรวง ทบวง กรม แต่ถ้ามีเจ้าภาพสื่อกับประชาชน อาจจะทำให้เกิดภาพที่ชัดเจน ว่าน้ำท่วมเกิดขึ้นในบริเวณต่างๆมีการคาดการณ์ แจ้งล่วงหน้า อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (และที่ต้องประสานงาน)แล้ว เกิดขึ้นซ้ำๆ ลดลงอย่างไร
ข้อมูลที่ดิน ที่มีมาตรฐาน ราคาที่ดินเมืองไทยเป็นสิ่งที่ลึกลับไม่สามารถหาเกณฑ์ที่ชัดเจนในการคำนวณแล้วแต่ว่าจะเจอนายหน้าคนไหน ใครเป็นเจ้าของ ในต่างประเทศมีการเปิดให้เห็นว่ามีพื้นที่แต่ละพื้นที่มีการเสียภาษีพื้นที่เท่าไหร่เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และความเป็นธรรมของเจ้าของและผู้ใช้พื้นที่
ข้อมูลผลงานทั้งทางการเมือง กฏหมายของ ส.ส. ส.ว. เพื่อให้ประชาชนสามารถรู้ว่าผู้แทน สร้างผลงานที่มีประโยชน์ต่อประชาชนอย่างไร
ทุกคนมีบทบาทที่จะช่วยให้สังคมดีขึ้น ประชาชนมีส่วนร่วมในการที่จะเลือกเสพสื่อดีเอาข้อมูลมาใช้ (เหมือนยาบำรุงสมอง) หรือ เสพสื่อที่เน้นดราม่า (เหมือนยาเสพติดทำสมองเสื่อม)
สื่อมีบทบาทที่สำคัญในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม หรือสร้างความโปร่งใสได้ อย่างที่เคยเกิดขึ้นแล้วกับสื่อที่รวมตัวกันในนาม ICIJ ช่วยกันเปิดเผยการกระทำที่ผิดแปลกของผู้นำและผู้มีอำนาจจาก Panama Papers และ Pandora Papers
เราอยู่ในยุคที่ทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าถึงและโต้แย้งกันด้วยข้อมูลเป็น Data Driven Society ไม่ใช่ Drama Driven Society เพราะการสร้างดราม่าเป็นเรื่องของคนที่หาความจริงไม่ได้และทำให้สังคมเราอ่อนแอเพราะเราไม่ได้พูดคุยกันอยู่บนพื้นฐานของความจริงที่ตรวจสอบได้ แต่เป็นเรื่องที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำให้เกิดกระแส ถ้าเรายังสนุกกับการโหนกระแสที่ปราศจากข้อเท็จจริง แล้วประเทศนี้จะเปลี่ยนได้อย่างไร
สนับสนุนซี่รี่ส์ “สิ่งที่เห็นและอยากให้ ‘ประเทศไทย’ เป็น จะต้องทำอย่างไร? โดย…