ThaiPublica > คอลัมน์ > Smart City โอกาสของใครที่ฉลาด

Smart City โอกาสของใครที่ฉลาด

12 กันยายน 2021


จรัล งามวิโรจน์เจริญ Director (CEO Office) Carabao Group

ในช่วงหลายปีนี้ Smart City เป็น Trend หนึ่งที่คนพูดถึง ความเป็นเมืองนอกเหนือจะเป็นศูนย์กลางกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แหล่งงาน ที่อยู่อาศัยแล้วการทำให้เมืองมีความฉลาดขึ้นโดยการนำเทคโนโลยีด้าน IoT sensor, CCTV, และระบบเครือข่าย นำมาเก็บข้อมูลมีความสำคัญ(แนวคิด – ของกายภาพถ้าวัดได้แปลงได้เป็น Digital ก็เป็นข้อมูลได้ )เพื่อทำให้การบริหารจัดการพื้นที่ สาธารณูปโภค สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย การอำนวยความสะดวกให้ประชาชน ตัวอย่างการใช้และประโยชน์ของเมืองต่างๆ (New York, Stockholm, Singapore) ที่เอา Smart City Concept นี้มาใช้

  • ระบบการจัดการการใช้พลังงานและน้ำในตึกและพื้นที่ต่างๆ ช่วยลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์
  • การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดงานการก่อสร้างที่ไม่จำเป็น
  • ระบบการให้บริการแนะนำการใช้เส้นทางการเดินทางสาธารณะต่างแบบ real-time เพื่อทำให้การเดินทางสะดวกรวดเร็วขึ้น
  • การประสานงานและการเปิด Open Data ต่างๆเพื่อทำให้หน่วยงานต่างๆทั้งรัฐและเอกชนสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจทั้งในการทำงานปกติ และยามฉุกเฉินได้

ประโยชน์ที่กล่าวมาต้องพึ่งข้อมูลต่างๆจากภาคส่วนต่างๆ ที่มีการทำภาครวมของข้อมูล (Aggregate Data) ที่ไม่ได้ลงเป็นรายบุคคล

  • ข้อมูลระดับภาครวม ของลูกค้าในพื้นที่ การใช้ ระบบเครือข่าย ข้อมูลเหล่านี้สามารถช่วยให้เห็นความหนาแน่น การเคลื่อนไหวของประชากรในพื้นที่
  • ภาพถ่ายดาวเทียมของพื้นที่ ทำให้เห็นลักษณะการใช้งานของพื้นที่เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการใช้พื้นที่
  • ข้อมูลจากสารธารณูปโภคต่างๆ การใช้น้ำ การใช้ไฟ การใช้ระบบขนส่ง เพื่ิอให้การใช้บริการและปริมาณ เพื่อนำไปใช้การจัดการการให้บริการภาพรวมและโครงสร้างพื้นฐานในอนาคต
  • ข้อมูลระดับภาครวมการใช้ Social Media หรือ ธุรกรรมทางการเงิน เพื่อให้เห็นภาพรวมพฤติกรรมของประชากรในพื้นที่

ข้อมูลเหล่านี้เมื่อประกอบกันกับข้อมูลต่างๆของเมือง (งบประมาณรายพื้นที่ การเข้าถึงและคุณภาพของบริการภาครัฐ โครงสร้างพื้นฐาน) จะช่วยทำให้การบริหารจัดการพื้นที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะข้อมูลที่ทันเวลาจะให้ feedback กับหน่วยงานต่างๆในการปฎิบัติตอบสนองอย่างรวดเร็ว

World Economic Forum ประเมินว่าประชากรกว่า 50% อาศัยอยู่ในเมือง มีการคาดการณ์จากรายงานของ GSMA ว่าภายในปี 2050 ประชากรของเมืองในทวีปเอเชียและแอฟริกาจะเพิ่มขึ้นอีก 2 พันล้านคน คิดเป็น 2 ใน 3 ของประชากรโลก การเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองกับการใช้เทคโนโลยีจะนำมาซึ่งความท้าทายของการจัดการเมือง

เราจะเห็นว่าประโยชน์ของ Smart City นั้นมีหลากหลาย แต่ในขณะเดียวกัน การได้มาซึ่งความอัจฉริยะนี้ควรคำนึงถึงกลุ่มคนที่จะได้รับประโยชน์ให้ทั่วถึง ทำให้ประชาชนฉลาดขึ้น (Smart Citizens) เพื่อไม่ทำให้เกิดช่องว่างของความไม่เท่าเทียม

เทคโนโลยีหากนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ร่วม (Inclusive) กับประชาชนหลากหลายกลุ่ม รวมทั้งผู้มีรายได้น้อย ผู้มีรายได้ปานกลาง ผู้ด้อยโอการ ผู้พิการ ก็จะทำให้สังคมดีขึ้น แต่หากถูกใช้เป็นเครื่องมือในการหาประโยชน์ของนายทุน (ยิ่งรวยยิ่งได้ ยิ่งจนก็จนต่อไป The rich get richer. The poor get poorer.) หรือเป็นเครื่องมือของรัฐในการปกครองอย่างไม่เป็นธรรม นอกเหนือจากสร้างความเจริญของเมือง ก็จะนำไปสู่ความเลื่อมล้ำปัญหาทางสังคม

สิ่งสำคัญของการสร้างเมืองอัจฉริยะให้ประชาชนฉลาดขึ้นอยู่ที่การสร้างโอกาสให้องค์กรต่างๆนำ Open Data ไปใช้ต่อยอดเพื่อทำให้เกิดธรรมาภิบาล สร้างนโยบายที่โปร่งใส มีจริยธรรม มีความรับผิดชอบในการบริหารจัดการพื้นที่ ร่วมกันทั้งฝ่ายรัฐและประชาชน ถ้าเราทำได้ Smart City ก็จะทำให้สังคมฉลาดอยู่มากขึ้น

References:

https://www.weforum.org/agenda/2020/11/global-continent-urban-population-urbanisation-percent

https://www.gsma.com/mobilefordevelopment/resources/innovative-data-for-urban-planning-the-opportunities-and-challenges-of-public-private-data-partnerships/

https://www.academia.edu/23495929/A_THEORY_OF_SMART_CITIES