ThaiPublica > สู่อาเซียน > ASEAN Roundup รัฐบาลเมียนมาเตรียมประกาศแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ASEAN Roundup รัฐบาลเมียนมาเตรียมประกาศแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ

12 ธันวาคม 2021


ASEAN Roundup ประจำวันที่ 5-11 ธันวาคม 2564

  • รัฐบาลเมียนมาเตรียมประกาศแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ
  • สิงคโปร์ทำข้อตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลกับสหราชอาณาจักร
  • กัมพูชาเปิดตัวโครงการ “Startup Cambodia”
  • เวียดนามใช้มาตรฐานมลพิษ Euro 5 ต้นปี 2565
  • รัฐบาลเมียนมาเตรียมประกาศแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ

    บรรยากาศในกรุงย่างกุ้งที่ร้างผู้คนจากการประท้วงเงียบของประชาชน ที่มาภาพ:https://www.myanmar-now.org/en/news/myanmar-defies-junta-rule-with-nationwide-silent-strike
    วันที่ 7 ธันวาคม 2564 รัฐบาลเมียนมาแถลงการณ์ว่า รัฐบาลได้ฟื้นฟูเสถียรภาพของประเทศส่วนใหญ่ได้แล้วหลังจากเหตุการณ์ความไม่สงบในช่วงที่ผ่านมา และขณะนี้กำลังมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มอัตราการฉีดวัคซีนเพื่อลดการติดเชื้อโควิด -19 รวมทั้งดึงดูดการลงทุนทั้งในและต่างประเทศเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและการสร้างงาน

    กระทรวงสารสนเทศ (MOI) และกระทรวงการลงทุนและต่างประเทศความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ (MIFER) ระบุใน แถลงการณ์ร่วมว่า รัฐบาลให้ความสำคัญสูงสุดกับการฟื้นฟูเสถียรภาพ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในขณะที่รัฐบาลเตรียมเลือกตั้งแบบหลายพรรคภายในเดือนสิงหาคม 2566

    คณะกรรมการการเลือกตั้ง( Union Election Commission) ได้ทบทวนจุดอ่อน การฉ้อโกง และการทุจริตต่อหน้าที่ในการเลือกตั้งวันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 พร้อมกับการหารือร่วมกับพรรคการเมือง 3 ครั้ง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤศจิกายน 2564 และจะมีการหารือครั้งที่ 4 ในเดือนนี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับการเลือกตั้งระบบสัดส่วน

    นอกจากนี้เพื่ออัพเดทข้อมูลและเพื่อป้องกันการฉ้อโกงของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทีมตรวจสอบร่วมนำโดยคณะกรรมการได้เริ่มการตรวจสอบสมาชิกภาพ เงินทุน สถานที่ การติดต่อทางธุรกิจ และค่าใช้จ่ายการเลือกตั้งของทุกพรรคการเมือง

    การเตรียมการเลือกตั้งจะมีขึ้นท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของการยื่นขอลงทุนภายในประเทศ เมื่อได้รับการอนุมัติการลงทุนในประเทศคาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ในปี 2564-2565 (พฤศจิกายน-ตุลาคม) เมื่อเทียบกับปี 2563-2564 รัฐบาลตระหนักถึงความกังวลของนักลงทุนต่างชาติและอยู่ระหว่างการจัดการปัญหาการเดินทางเพื่อธุรกิจ สุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน และแรงกดดันที่ชัดเจนจากบางส่วนของประชาคมระหว่างประเทศ

    ที่มาภาพ: https://www.myanmar.gov.mm/web/guest/news-media/news/-/asset_publisher/XsvJM68wX2w0/content/press-relea-6

    รัฐมนตรีทั้งสองกระทรวงในนามของรัฐบาลเมียนมา ประกาศว่า
    1)ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในปี 2563-2564 มีแนวโน้มหดตัวเป็นเลขหลักเดียว เลวร้ายน้อยกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศบางราย การหดตัวเพียงเลขหลักเดียวเกิดจากผลกระทบของโรคระบาดและความไม่สงบทางสังคม รัฐบาลเมียนมาคาด GDP ฟื้นตัวและเติบโตเป็นบวกใน ปี 2564-2565.

    2)การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเกิดจากหลายปัจจัยได้แก่ อัตราการการติดเชื้อที่ลดลงและการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้น การที่ประเทศกลับมามีเสถียรภาพ และมีการให้คำมั่นการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในประเทศ

    3)กระทรวงสาธารณสุขกำลังไวรัสควิดกลายพันธุ์สายใหม่ เช่น โอไมครอน ก่อนที่จะประกาศแนวปฏิบัติการเดินทางเพื่อธุรกิจ ที่รวมถึงช่องทางการเดินทางที่ได้รับวัคซีน(vaccinated travel lanes)

    4)กระทรวง MIFER คาดว่าการลงทุนในประเทศ หรือการลงทุนของพลเมืองเมียนมา (Myanmar Citizens Investments หรือ MCI) จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ในปี 2564-2565 เมื่อเทียบกับปี 2563-2564 และ MCI จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2565-2566 จากการประเมินใบยื่นขอที่ได้รับ และเพื่อเพิ่มการลงทุนโดยตรงของต่างชาติ (FDI) MIFER มีส่วนร่วมกับประชาคมธุรกิจนานาชาติอย่างแข็งขัน นอกจากนี้ยังจัดการประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในบางภาคส่วน เช่น การพัฒนาท่าเรือและโทรคมนาคม

    5) สำหรับพันธบัตรรัฐบาลเงา หรือ ‘National Unity Government (NUG) Bond’ ถือว่าผิดกฎหมายเพราะไม่ได้จดทะเบียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พลเมืองเมียนมาที่เกี่ยวข้องกับการโอนเงินเพื่อทำธุรกรรมด้วยจะถือว่าทำผิดกฎหมาย จากการตรวจสอบโดยหน่วยงานด้านการเงินของเมียนมา พบว่าพันธบัตรที่ดูเหมือนจะเป็นช่องทางการจัดหาเงินทุนของผู้ก่อการร้ายจากแหล่งภายนอกได้ความสนใจจากในประเทศน้อย

    สถานการณ์ความมั่นคงของประเทศ
    เหตุการณ์ความไม่สงบเมื่อต้นปีนี้ดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน วันที่ 1 กุมภาพันธ์2564 การประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นหลังการแก้ไขปัญหารายการฉ้อโกงผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งปี 2563 ไม่ประสบความสำเร็จ และส่งผลให้เลื่อนการประชุมรัฐสภาออกไป และวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 จึงได้มีการจัดตั้งสภาบริหารแห่งรัฐ

    MOI ระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 การก่อความไม่สงบและการก่อการร้ายที่ดำเนินการโดยกองกำลังพิทักษ์ประชาชน(People’s Defensive Force:PDF) ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายได้ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ธุรการ 198 คน จากหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลและหน่วยงานรัฐถูกฆ่าตายและบาดเจ็บอีก 148 คน; มีพระภิกษุสงฆ์เสียชีวิตอย่างน้อย 12 รูป สร้างความเสียหายหรือทำลายถนนและสะพาน 397 แห่ง, สำนักงานราชการ 565 แห่ง, เสาโทรคมนาคม 409 ต้น และโรงเรียนหรือวิทยาลัย 444 แห่ง ตลอดจนสร้างความเสียหายต่อสาขาหรือสำนักงานของธนาคารของรัฐ 26 แห่งและธนาคารเอกชน 41 แห่ง รวมทั้งอื่น ๆ

    อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ความไม่สงบลดลงอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน 2564 ชี้ชัดจากการโรงเรียนส่วนใหญ่กลับมาเปิดอีกครั้งและและมีการทำกิจกรรมเชิงพาณิชย์ตามปกติ อย่างไรก็ตาม กองกำลังรักษาความปลอดภัยยังคงเฝ้าระวังสถานการณ์

    ความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการกับอาชญากรรมและการก่อการร้าย
    เพื่อป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ข้ามพรมแดนและการก่อการร้ายที่เพิ่มขึ้น รัฐบาลเมียนมาได้ร่วมมือกับตำรวจและเจ้าหน้าที่ความมั่นคงสาธารณะจากประชาคมระหว่างประเทศมากขึ้น

    คณะผู้แทนเมียนมา นำโดย พล.ท. ตัน หล่าย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมการประชุมสมัชชา INTERPOL ที่เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกีช่วงวันที่ 23- 25 พฤศจิกายน 2564 คณะผู้แทนได้หารือกับนาย Kim JongYang ประธานคณะกรรมการบริหาร INTERPOL และนาย Jurgen Stock เลขาธิการ INTERPOL รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจอาวุโสหรือเจ้าหน้าที่ความมั่นคงสาธารณะ จากจีน รัสเซีย อินเดีย เวียดนาม และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

    แม้จะมีเหตุการณ์ไม่สงบก่อนหน้านี้ แต่สถานการณ์ในเมียนมาก็เสถียรภาพอย่างชัดเจนเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้เนื่องมาจากการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพและความปรารถนาร่วมกันของชาวเมียนมาส่วนใหญ่ ที่ต้องการสังคมและชีพจรเศรษฐกิจกลับสู่ภาวะปกติ พวกเขาเบื่อหน่ายกับการทำลายชีวิตและทรัพย์สินและการหยุดชะงักในด้านอื่น ๆ รัฐบาลเมียนมาให้คำมั่นที่จะจัดการเลือกตั้งแบบหลายพรรคในเดือนสิงหาคม 2566 ความมั่นคงของชาติเป็นความจำเป็นเบื้องต้นสำหรับเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญ” นายหม่อง หม่อง โอนห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศกล่าว

    อัพเดทสถานการณ์เศรษฐกิจและการลงทุน
    รัฐบาลเมียนมาประมาณการว่าในช่วง 23 เดือนที่ผ่านมา (ประจวบกับการระบาดของโควิด-19 ในประเทศ), 222 โรงงาน (หลายโรงงานเป็นโรงงานเสื้อผ้า) ได้ปิดกิจการชั่วคราว และมี 63 โรงงานปิดกิจการถาวร ขณะที่181 โรงงานต้องลดจำนวนพนักงาน ส่วนใหญ่เกิดจากการระบาดใหญ่

    โดยรวมคนงานตัดเย็บเสื้อผ้าประมาณ 185,324 คนคาดว่าจะตกงาน ส่วนใหญ่อยู่ในย่างกุ้ง พะโค และอิระวดี ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตเสื้อผ้ารองเท้าและกระเป๋าส่วนใหญ่

    เพื่อก้าวข้ามความท้าทายของโรคระบาด ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ และสถานการณ์ภายในประเทศ ปัญหาและเพื่อส่งเสริมการสร้างงาน รัฐบาลเมียนมาในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ได้ประกาศแผนกระตุ้นเศรษฐกิจหลายโครงการ รักษาเสถียรภาพของเงินจัต และ ช่วยเหลือภาคการเกษตรและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

    ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้ารัฐบาลจะประกาศแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจเมียนมา (Myanmar Economic Recovery Plan :MERP) สำหรับปี 2564-2565 ถึงปี 2566-2567 ซึ่งเป็นแผนระยะกลาง โดย MERP จะเอื้อต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ก่อนการเลือกตั้งครั้งต่อไป

    แผน MERP ประกอบด้วย 30 เป้าหมาย 165 ผลลัพธ์และ 430 แผนปฏิบัติการเพื่อเร่งการสร้างงานและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งมีการปฏิรูปกฎ ระเบียบ และขั้นตอนด้านภาษี การธนาคาร การเงิน การค้า การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล การขนส่งและห่วงโซ่อุปทาน การพัฒนาการท่องเที่ยวและการเกษตรการปศุสัตว์และการประมง ตลอดจนภาคพลังงานและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

    ปัจจุบันกระทรวง MIFER ได้รับใบยื่นขอลงทุนในปี 2564-2565 จากนักลงทุนในประเทศ มูลค่ารวม 1,795.36 พันล้านจั๊ต (1.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้น 51% เมื่อเทียบกับ 1,171.8 พันล้านจัต (660 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปี 2563-2564 ซึ่งเป็นช่วงที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดอย่างหนักและเกิดเหตุการณ์ไม่สงบ การยื่นขอลงทุนของนักลงทุนในประเทศ จนถึงขณะนี้มีการขอยาวไปถึงปี 2565-2566 ด้วยมูลค่า 2,107.7 พันล้านจัต (1.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) หากได้รับการอนุมัติ การลงทุนของนักลงทุนในประเทศจะเพิ่มขึ้นเกือบ 80% เมื่อเทียบกับปี 2020-2021

    กระทรวง MIFER เชื่อว่า การลงทุนจากนักลงทุนในประเทศที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นภาคการผลิตนั้นมาจาก 1) เสถียรภาพของเงินจัต 2) เสถียรภาพในประเทศ 3) แรงจูงใจทางภาษี 4) การให้บริการครบวงจรของรัฐบาลเพื่อการอนุมัติธุรกิจที่รวดเร็ว และ 5) การผ่อนปรนข้อกำหนดที่ว่ากรรมการอย่างน้อย 1 คนต้องมีถิ่นที่อยู่ในประเทศอย่างน้อย 6 เดือนแต่ละปี

    ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 กระทรวง MIFER ได้อนุมัติโครงการการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจำนวน 18 โครงการมูลค่า 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ FDI ที่ได้รับการอนุมัติ ในปี 2563-2564 มาจาก 49 องค์กรธุรกิจ รวมมูลค่า 3.89 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาคที่ดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นพลังงาน ไฟฟ้า รองลงมาคือการผลิต การขนส่ง โทรคมนาคม และอสังหาริมทรัพย์

    “อัตราการติดเชื้อโรคระบาดที่ลดลงและการที่ประเทศกลับมามีเสถียรภาพของชาติ มีส่วนทำให้การลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้น เรามีได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา จากรัสเซียและประเทศในเอเชียสำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ความเชื่อมั่นธุรกิจดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เราให้ความสำคัญกับการอำนวยความสะดวกในการเดินทางที่ปลอดภัยด้วย มาตรการด้านสุขภาพที่เหมาะสม และความมั่นคงภายในประเทศ เพื่อสร้างการลงทุน การค้า และการจ้างงานอย่างรวดเร็วเพื่อเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ” นายออง ไหน่ อู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์เศรษฐกิจต่างประเทศ

    สิงคโปร์ทำข้อตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลกับสหราชอาณาจักร

    ที่มาภาพ: https://www.straitstimes.com/business/banking/singapore-sees-largest-rise-in-digital-investments-among-financial-institutions
    ข้อตกลงการค้าดิจิทัลฉบับใหม่กับสหราชอาณาจักรจะทำให้ชาวสิงคโปร์สามารถเพลิดเพลินกับสินค้าและบริการที่ราคาถูกลงจากสหราชอาณาจักรได้ในเร็วๆ นี้

    ทั้งสองประเทศบรรลุการเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงเศรษฐกิจดิจิทัล ระหว่างสหราชอาณาจักร-สิงคโปร์ ในวันพฤหัสบดี( 9 ธ.ค.)

    ข้อตกลงฉบับนี้ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีผลบังคับใช้ในต้นปีหน้า เป็นข้อตกลงดิจิทัลฉบับแรกของสหราชอาณาจักร และเป็นข้อตกลงแรกระหว่างประเทศในเอเชียและยุโรป

    ข้อตกลงดังกล่าวจะส่งเสริมการค้าดิจิทัลที่มีอยู่ระหว่างสิงคโปร์และสหราชอาณาจักร และขยายความร่วมมือใหม่ๆ ของภาคธุรกิจของทั้งสองประเทศ ซึ่งจะมีผลให้ผู้บริโภคได้รับบริการที่ดีขึ้น

    นางคารา โอเว่น ข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำสิงคโปร์ กล่าวว่า ข้อตกลงนี้มีเป้ามุ่งหมายเพื่อเปลี่ยนระบบการซื้อขายที่มีอยู่เดิม ซึ่งเป็นระบบที่เก่ามากและใช้ย้ายกระดาษจำนวนมหาศาลทั่วโลก “ทั้งหมดนี้เกี่ยวกับการใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ เพื่อเร่งการค้าและทำให้ราคาถูกลง”

    นางโอเว่นกล่าวว่า สินค้าจะสามารถเคลื่อนย้ายได้เร็วและถูกลง “ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคปลายทางอย่างแน่นอน”

    สิงคโปร์เป็นหุ้นส่วนการค้าและการลงทุนรายใหญ่ที่สุดของสหราชอาณาจักรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่สหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางด้านการลงทุนชั้นนำของสิงคโปร์ในยุโรป

    แรงผลักดันที่สำคัญของข้อตกลงใหม่นี้รวมถึงการกระตุ้นให้กระบวนการซื้อขายทั้งหมดเป็นแบบดิจิทัล การคุ้มครองข้อมูลที่ใช้และแลกเปลี่ยนในข้อตกลงทางการค้า และอำนวยความสะดวกในสภาพแวดล้อมดิจิทัลที่บริษัทขนาดเล็กรู้สึกว่าธุรกรรมของตนปลอดภัย และผู้บริโภคได้รับการปกป้องจากการฉ้อโกง การทำให้เข้าใจผิด หรือหลอกลวงทางออนไลน์

    นายเอส. อิสวารัน รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบด้านความสัมพันธ์ทางการค้า กล่าวในลอนดอนว่า ข้อตกลงนี้ต่อยอดและ ในบางส่วนก้าวไกลกว่าข้อตกลงที่มีอยู่ “มันจะกำหนดมาตรฐานสากลสำหรับกฎการค้าดิจิทัลที่มีมาตรฐานสูง และเป็นประโยชน์ต่อผู้คนและธุรกิจในสองประเทศของเรา”

    การเจรจาข้อตกลงเริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน ซึ่งจะต่อยอดจากข้อตกลงเขตการค้าเสรีสหราชอาณาจักร-สิงคโปร์ที่ลงนามเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว และมีผลบังคับใช้ในเดือนกุมภาพันธ์

    ข้อตกลงดังกล่าวครอบคลุมความสัมพันธ์ทางการค้าที่เจริญรุ่งเรืองซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 17 พันล้านปอนด์ (30.6 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์) ในปี 2019 การค้าบริการทวิภาคีมีมูลค่าเกิน 22 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งประมาณ 70% สามารถส่งมอบแบบดิจิทัลได้

    นางแอนน์-มารี เทรเวลยัน รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษเพื่อการค้าระหว่างประเทศในลอนดอนกล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่า “ข้อตกลงอันล้ำสมัยกับสิงคโปร์นี้เชื่อมโยงศูนย์กลางไฮเทคที่มีพลวัตมากที่สุดในโลก 2 แห่ง และมีบทบาทต่อจุดแข็งของเราในฐานะผู้บุกเบิกการค้าดิจิทัล

    “การเจรจาใช้เวลาเพียง 6 เดือน เป็นข้อตกลงการค้าดิจิทัลฉบับแรกที่เคยลงนามโดยประเทศในยุโรป และจะลดระดับการทุจริต ลดต้นทุน และสนับสนุนงานที่ได้รับค่าตอบแทนสูงทั่วทั้งสหราชอาณาจักร”

    สิงคโปร์ได้ทำข้อตกลงด้านเศรษฐกิจดิจิทัลที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ ข้อตกลงหุ้นส่วนกับชิลีและนิวซีแลนด์ และข้อตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลสิงคโปร์-ออสเตรเลีย นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับเกาหลีใต้

    สหราชอาณาจักรและสิงคโปร์ยังได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจสามฉบับในการอำนวยความสะดวกทางการค้าดิจิทัล ข้อมูลประจำตัวดิจิทัล และความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การทำธุรกรรมง่ายขึ้น ปลอดภัยขึ้น และถูกลง และเพื่อส่งเสริมธุรกิจในทั้งสองประเทศ

    กัมพูชาเปิดตัวโครงการ “Startup Cambodia”

    ที่มาภาพ: https://www.khmertimeskh.com/50985337/startup-cambodia-national-programme-launched/
    กระทรวงเศรษฐกิจและการคลังเปิดตัวโครงการระดับชาติ “สตาร์ทอัพกัมพูชา”หรือ “Startup Cambodia” เมื่อวันพุธ(8 ธ.ค.) เพื่อสร้างระบบนิเวศให้กับชุมชนสตาร์ทอัพผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล

    พิธีเปิดจัดขึ้นภายใต้การนำของ ดร.อัน พรมณีโรท รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง พร้อมด้วยผู้แทนจากกระทรวง แลสถาบันที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบนิเวศสตาร์ทอัพ

    โครงการนี้ริเริ่มโดย Techo Startup Center และ Khmer Enterprise มีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดเข้าด้วยกันเป็นระบบนิเวศสตาร์ทอัพ และเสริมสร้างความร่วมมือซึ่งกันและกันผ่าน โครงการเพื่อชุมชนและแพลตฟอร์มดิจิทัล และเพื่อร่วมมือกันในการบ่มเพาะสตาร์ทอัพ โดยให้การสนับสนุนซึ่งกันและกันในระบบนิเวศสตาร์ตอัพผ่านกลไกการร่วมมือสร้างสรรค์

    นอกจากนี้ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับสตาร์ตอัพ ผู้ประกอบการ และระบบนิเวศของสตาร์ตอัพทั้งหมดผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล และเตรียมเวทีระดับประเทศเพื่อเชื่อมต่อกับโครงการในลักษณะเดียวกันในประเทศอื่นๆ เช่น Startup Singapore, Startup Vietnam, Startup Thailand เป็นต้น เพื่อผลักดันและสร้างกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศกับประเทศในภูมิภาคและระดับโลก

    โครงการนี้ยังเป็นการสนับสนุน “กรอบนโยบายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของกัมพูชา 2564-2578” ที่เปิดตัวไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลให้เป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ ตลอดจนสร้างระบบนิเวศที่ช่วยเพิ่ม ผลิตภาพและประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจและเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในสังคมดิจิทัลของกัมพูชา

    นอกจากนี้ ในบริบทของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ที่ผู้คนลดการประชุมแบบเจอตัว การทำธุรกิจในกัมพูชาเช่นเดียวกับในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกกำลังเริ่มที่จะพัฒนาไปสู่ระดับใหม่ด้วยเทคโนโลยีที่เป็นแกนหลักของการให้บริการ หรือการผลิตสินค้า

    “เพื่อสนับสนุนกรอบนโยบายดังกล่าวและตอบสนองต่อบริบทของการทำธุรกิจแบบปกติใหม่ รัฐบาลกัมพูชาโดยกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง ได้เปิดตัวโครงการระดับชาติ “Startup Cambodia” ซึ่งจัดโดย Techo Startup Center และ Khmer Enterprise ” กระทรวงระบุ

    เวียดนามใช้มาตรฐานมลพิษ Euro 5 ต้นปี 2565

    ที่มาภาพ: https://en.vietnamplus.vn/euro-5-emission-standards-to-be-rolled-out-for-new-cars-in-vietnam-early-2022/217944.vnp

    ในช่วงต้นปี 2022 เวียดนามจะใช้ มาตรฐานการปล่อยมลพิษ Euro 5 สำหรับรถยนต์ใหม่

    รถยนต์ใหม่ทุกประเภทในเวียดนามต้องเป็นไปตามมาตรฐานการปล่อยมลพิษยูโร 5 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 หลังจากผ่านการพิจารณาเห็นชอบของนายกรัฐมนตรี

    รถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นหนึ่งในแหล่งปล่อยมลพิษที่สำคัญ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน ไนโตรเจนออกไซด์ มลพิษจากอนุภาค และสารพิษในเชื้อเพลิง เช่น เบนซิน ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศโดยเฉพาะมลพิษทางอากาศในเมืองที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชน

    มาตรฐานการปล่อยไอเสียยูโร 3 ได้บังคับใช้กับรถจักรยานยนต์สองล้อตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 ขณะที่รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินและเชื้อเพลิงอื่นๆ ยกเว้นดีเซล จะใช้มาตรฐานยูโร 4

    ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นมา รถยนต์ดีเซลจะต้องไดตามมาตรฐานยูโร 4 รถยนต์ที่ประกอบใหม่หรือนำเข้าจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานยูโร 5 ในปีหน้า