ASEAN Roundup ประจำวันที่ 29 มีนาคม-4 เมษายน 2563
ประเทศสมาชิกอาเซียนหลายประเทศได้ออกมาตรการเพื่อเยียวยาผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งมาตรการที่ใช้นี้มีทั้งมาตรการทางการคลังและที่ไม่ใช่มาตรการคลัง รวมไปถึงการแจกเงิน
นับตั้งแต่การระบาดของไวรัสโควิด-19 อุบัติขึ้น ห่วงโซ่อุปทานของอาเซียนขาดตอน เศรษฐกิจจึงชะลอตัวประกอบกับอาเซียนเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองของจีน แซงหน้าสหรัฐฯอันเป็นผลจากสงครามการค้า อาเซียนจึงได้รับผลกระทบจากการระบาดอย่างมาก ผลกระทบทันทีเกิดกับธุรกิจท่องเที่ยว และการบิน มาตรการจึงมีทั้งระยะสั้นและระยะยาวที่ครอบคลุมถึงการยกเว้นภาษีการขยายเวลาชำระภาษี และแจกเงินให้ประชาชน
สิงคโปร์อัดฉีดผ่านงบประมาณตั้งวงเงินเพิ่ม7%
สิงคโปร์ช่วยเหลือภาคธุรกิจผ่านงบประมาณรายจ่ายปี 2563 วงเงิน 83.6 พันล้านเหรียญเพิ่มขึ้นงบประมาณประจำปี 2562 ถึง 7% โดยแบ่งออกเป็นนโยบายระยะสั้นเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และนโยบายระยะยาวเพื่อสนับสนุนและรองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของโลก ควบคู่กับการจัดสรรเงินจากงบประมาณ 800 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในการควบคุมการระบาดของไวรัสและสนับสนุนการทำงานแนวหน้าของบุคคลากรทางการแพทย์
มาตรการระยะสั้นรับมือไวรัส
รัฐบาลจัดสรร 4 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ สำหรับมาตรการการสร้างเสถียรภาพและการสนับสนุน (Stabilisation and Support Package) เป้าหมายช่วยเหลือธุรกิจที่ประสบปัญหาสภาพคล่องชั่วคราวเพื่อให้สามารถจ้างงานต่อไปได้ ประกอบด้วย
- โครงการ Jobs Support Scheme จ่ายเงินชดเชยค่าจ้างแรงงานท้องถิ่น 8% ของ แต่ไม่เกิน 3,600 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อเดือนเป็นเวลา 3 เดือน ให้กับนายจ้าง โดยจะเริ่ม ภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม 2563
- โครงการ Wage Credit Scheme รัฐบาลจะให้เงินสนับสนุนด้านต้นทุนค่าจ้าง 15% แก่ผู้ประกอบการที่มีการขึ้นค่าจ้างรายเดือน อย่างน้อย 50 ดอลลาร์สิงคโปร์ ให้แก่แรงงานชาวสิงคโปร์ที่มีฐานเงินเดือนไม่เกิน 5,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ จากเดิม 4,000 ดอลลาร์สิงคโปร์
- ช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านกระแสเงินสดหมุนเวียน ให้ลดหย่อนภาษีเงินนิติบุคคล ปีบัญชี 2563 ได้ 25% แต่ไม่เกิน 15,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อบริษัท และยังได้ปรับเพิ่มวงเงินกู้ของ ธุรกิจ SMEs จาก 300,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ เป็น 600,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ และเพิ่มสัดส่วนการค้ำประกันเงินกู้จาก 50-70 % เป็น 80 %
- รัฐบาลจะคงอัตราภาษีสินค้าและบริการ(GST)ไว้ที่ 7% จากเดิมที่จะขึ้นเป็น 9% ปีนี้ไปจนถึงปี 2564 และเตรียมวงเงิน 6 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์รองรับการปรับ GST ในปี 2565
- ภาคการท่องเที่ยว ธุรกิจที่พัก ห้องประชุม ห้องจัดเลี้ยงและศูนย์แสดงสินค้าจะได้รับการลดหย่อนภาษีทรัพย์สินใน อัตรา 30% ส่วนท่าเรือเฟอรี่และเรือสำราญระหว่างประเทศ ได้รับการลดหย่อนภาษีทรัพย์สินใน อัตรา 15% ส่วนรีสอร์ตได้รับการลดหย่อนภาษีทรัพย์สินใน อัตรา 10%
- เตรียมวงเงิน 1 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์เพื่อปล่อยกู้ธุรกิจในภาคท่องเที่ยวในอัตราดอกเบี้ย 5% โดยรัฐรค้ำประกันเงินกู้ 80 %
- ภาคการบิน สนามบิน Changi จะได้รับการลดหย่อนภาษีทรัพย์สิน15% รวมถึงเงิน ชดเชยสำหรับการลงจอดเครื่องบิน ค่าจอดรถ ค่าเช่าสำหรับร้านค้า บริษัทตัวแทนขนส่งสินค้าที่สนามบิน Changi และบริษัทตัวแทนการจัดการภาคพื้นดิน
- ผู้ประกอบการที่อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงาน National Environment Agency (NEA) จะได้รับยกเว้นค่าเช่าเต็มเดือน
- ภาคขนส่ง เตรียมวงเงิน 55 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ช่วยเหลือคนขับรถแท็กซี่และบริการขนส่งส่วนตัว
- ด้วยการ reskill แรงงานสิงคโปร์มากกว่า 330,000 คนผ่านโครงการ Redeployment Program ในภาคการท่องเที่ยว บริการอาหารและค้าปลีก
- จัดสรรงบประมาณ 300 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ สำหรับร่วมลงทุนระหว่างรัฐบาลสิงคโปร์กับนัก ลงทุนภาคเอกชนใน StartUps ของสิงคโปร์ ภายใต้โครงการ Startup SG Equity
- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประชาชนสิงคโปร์ที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไปจะได้รับเงิน 500 ดอลลาร์สิงคโปร์ ผ่านโครงการ SkillsFuture Credit ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2563 จนถึงสิ้นปี 2568 เพื่อส่งเสริมให้ reskill และ upskill ส่วนบริษัทจะได้เงิน 10,000 ดอล ลาร์สิงคโปร์ เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดอบรมทักษะ ซึ่งรัฐบาลคาดว่า SMEs 25,000 รายได้ประโยชน์
- นอกจากนี้ยังมีโครงการ SkillsFuture Mid-Career สำหรับแรงงานที่มีอายุ 40-60 ปี เพื่อให้ยังสามารถรับจ้างงานต่อไป และสามารถหางานที่ดีได้
- รัฐบาลจัดสรรเงิน 1.6 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายครัวเรือนระหว่างที่เศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอน โดย จะแจกเงินให้ 100- 300 ดอลลาร์สิงคโปร์ ตามฐานรายได้แก่ประชาชนที่มีอายุ 21 ขึ้นไป และมีคูปองลดภาษี GST เพิ่มขึ้น 2 เท่าสำหรับการใช้จ่ายหนึ่งครั้งเพื่อช่วยครัวเรือนรายได้น้อย
- ประชาชนที่ได้รับสวัสดิการสังคมจะได้รับเงินเพิ่มอีก 20% จากเงิน 100 ดอลลาร์สิงคโปร์ที่รัฐบาลจะแจก และครัวเรือนรายได้น้อยจะได้รับคูปองมูลค่า 100 ดอลลาร์สิงคโปร์ในปี 2563 และ 2564เพื่อนำไปซื้อของใช้
- ธุรกิจในภาคการท่องเที่ยว ทั้งโรงแรม สายการบิน และบริษัทท่องเที่ยวจะได้รับการผ่อนปรนให้ขยายเวลาการชำระภาษีออกไป 6 เดือนตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 และเตรียมแจกคูปองส่วนลดวงเงิน 113 ล้านดอลลาร์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ
- ธนาคารกลางได้เตรียมวงเงินกู้ 453 ล้านดอลลาร์ให้ SMEs ผ่านธนาคารพาณิชย์ ซึ่ง SME แต่ละรายสามารถขอกู้ได้ถึง 226,000 ดอลลาร์ในอัตราดอกเบี้ย 3.75% ระยะเวลาการกู้นานถึง 5.5 ปี โดยรัฐค้ำประกันเงินกู้ 80 %
- ธนาคารกลางเตรียมโครงการเงินกู้ 226 ล้านดอลลาร์ให้ SMEs ในธุรกิจผลิตอาหาร ซึ่ง SME แต่ละรายสามารถขอกู้ได้ถึง 1.1 ล้านดอลลาร์ในอัตราดอกเบี้ย 3.75% ระยะเวลาการกู้นานถึง 8 ปี
- รัฐบาลเตรียมวงเงิน 43 ล้านดอลลาร์ เป็นเงินกู้ให้กับธุรกิจขนาดย่อมในภาคการท่องเที่ยว และอีก 9 ล้านดอลลาร์ให้ SMEs ในภาคเกษตรเพื่อส่งเสริมให้จำหน่ายพืชผลผ่านอีคอมเมิร์ซ
- รัฐบาลจะแจกเงิน 45 ดอลลาร์ต่อเดือน ให้ครัวเรือนรายได้น้อยและจะได้รับเงินที่แจกให้เพียงครั้งเดียว 22 ดอลลาร์
- รัฐบาลจะลดวงเงินจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของลูกจ้างจากปัจจุบัน 7-11% ลงมาที่ 4% เพื่อให้เงินในมือครัวเรือนเพิ่มขึ้นราว 2.2 พันล้านดอลลาร์
- จะพัฒนาโครงการพื้นฐานขนาดเล็กในวงเงิน 450 ล้านดอลลาร์ เช่น การซ่อมถนน สะพาน ไฟส่องถนน ระบบน้ำเสีย และระบบส่งน้ำ ทั้งในส่วนกลาง ในแต่ละรัฐและท้องถิ่น เพื่อช่วยเหลือผู้รับเหมาก่อสร้างรายเล็ก
- รัฐบาลเตรียมวงเงิน 68 ล้านดอลลาร์เป็นเงินกู้เพื่อส่งเสริมให้ SMEs หันมาใช้ระบบดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งแต่ละรายขอกู้ได้ 679,000 ดอลลาร์ระยะเวลาการชำระคืน 10 ปี
- จะเร่งการดำเนินโครงการ เช่น Fiberization and Connective Program (NCP) มูลค่าราว 682 ล้านดอลลาร์ ที่ส่งเสริมการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตในทุกระดับของสังคม
- จะเปิดประมูลโครงการผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ขนาด 1,400 เมกะวัตต์ในปีนี้
- ยกเว้นภาษีการขายและภาษีนำเข้าให้กับเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับผู้บริหารท่าเรือที่ต้องนำเข้าเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในงานของท่าเรือ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ถึง วันที่ 31 มีนาคม 2566
- ตลาดหลักทรัพย์มาเลเซียยกเว้นค่าธรรมเนียมจดทะเบียน ในกระดาน LEAP หรือ ACE ให้กับบริษัทที่จะเข้าใหม่ หรือบริษัทที่มีมูลค่าตลาดต่ำกว่า 113 ล้านดอลลาร์ที่จะเข้าจดทะเบียนในกระดานหลัก
- รัฐบาลจะยกเว้นภาษี 6 เดือน ถึง 1 ปี สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสและได้รับผลจากการตัดสิทธิภาษีจะได้รับการยกเว้นภาษี
- กรมศุลกากรจะอำนวยความสะดวกในการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ ชิ้นส่วน และเครื่องตกแต่งสำหรับธุรกิจสิ่งทอและการ์เม้นท์ ที่กำลังขาดแคลนวัตถุดิบ อันเนื่องจากการระบาดของไวรัส
- โรงแรมและเกสต์เฮ้าส์ในเสียมเรียบจะได้รับการยกเว้นภาษีเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม 2563
- ธุรกิจท่องเที่ยวในพนมเปญ เสียมเรียบ กำปอต ปอยเปต แกบ บาเว็ด สีหนุวิลล์ จะได้รับการยกเว้นภาษีถึงพฤษภาคม 2563
- รัฐบาลจะจ่ายเงินค่าจ้างขั้นต่ำให้ 20% สำหรับลูกจ้างที่ตกงานในธุรกิจท่องเที่ยวทั้ง โรงแรม เกสต์เฮ้าส์ ร้านอาหารและบริษัทท่องเที่ยว
- จัดแคมเปญส่งเสริมการท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์นครวัดนครธม ด้วยการขยายการใช้ตั๋วเข้าชม โดยตั๋ว 1 วันสามารถเข้าชมได้ 2 วันตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 25 มิถุนายน2563 ตั๋ว 3 วันจะใช้เข้าชมได้ 5 วัน และตั๋ว 7 วันจะใช้ได้ 10 วัน
- รัฐบาลตั้งกองทุน 72 ล้านดอลลาร์ เพื่อปล่อยกู้ให้บริษัทในประเทศที่อยู่ในภาคธุรกิจสำคัญในอัตราดอกเบี้ย 1% ระยะเวลาชำระคืน 1 ปี โดยมีธนาคารเมียนมาอีโคโนมิกเป็นผู้บริหารกองทุน
- บริษัทในภาคธุรกิจสำคัญจะได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาชำระภาษีไตรมาส 1 สิ้นสุด 31 มีนาคม 2563 และไตรมาส 2 สิ้นสุด 30 มิถุนายน 2563 ไปถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 สำหรับรอบปีบัญชี 2562-2563
- ขยายระยะเวลาชำระภาษีการค้าประจำเดือนไปถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 และของงวดสิ้นสุด 31 มีนาคม 2563จะขยายไปถึง 31 สิงหาคม 2563
- ธุรกิจส่งออกได้รับการยกเว้นภาษีก้าวหน้า 2% ไปจนถึงสิ้นปีงบประมาณ วันที่ 30 กันยายน 2563
- ธนาคารกลางได้ลดอัตราดอกเบี้ยลง 1% วันที่ 24 มีนาคม 2563 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ชั้นดีของธนาคารใหญ่ลดลงมาที่ 11.5% สำหรับเงินกู้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
- กระทรวงแรงงานออกคำสั่งวันที่ 20 มีนาคม 2563 ขยายเวลาจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของทั้งนายจ้างและลูกจ้างออกไป 15 วันนับจากวันสิ้นเดือนเป็นเวลา 3 เดือน
- ยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินเดือนของลูกจ้างทั้งภาครัฐและเอกชน สำหรับฐานเงินเดือนต่ำกว่า 550 ดอลลาร์ ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน
- ขยายระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน
- ยกเว้นภาษีกำไรของธุรกิจรายย่อย(micro-enterprises) ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน
- ยกเว้นค่าธรรมเนียมศุลกากร ภาษี และอื่นๆ สำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อการป้องกัน ควบคุม และเตรียมความพร้อมรับมือกัยการระบาดของไวรัสโควิด-19
- เลื่อนการชำระภาษีของผู้ประกอบการธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สำหรับเดือนเมษายนถึงมิถุนายน โดยกระทรวงข้อมูลสารสนเทศ วัฒนธรรมและท่องเที่ยวจะประกาศรายละเอียดต่อไป
- เลื่อนการชำระภาษีใช้ถนนประจำปีออกไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563
- ธนาคารกลางเสนอลดอัตราสำรองของธนาคารพาณิชย์เอกชน
- รัฐบาลกำลังพิจารณาลดค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าทั้งประชาชนทั่วไปและธุรกิจ
มาตรการเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากไวรัส COVID-19
มาตรการรองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและสร้างการเติบโต
เพื่อให้สิงคโปร์เติบโตต่อเนื่องและเปลี่ยนโฉมเศรษฐกิจ ได้จัดสรรงบประมาณ 8.3 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ สำหรับการช่วยเหลือและพัฒนา ขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการสิงคโปร์ ในช่วงระหว่างปี 2563 – 2565 ซึ่งเน้นใน 3 ด้าน
ในวันที่ 6 เมษายน 2563 นายเฮง สวี เคียต รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง จะแถลงมาตรการเยียวภาคธุรกิจเพิ่มเติม เพื่อให้รักษากำลังการผลิตและจ้างแรงงานต่อไปได้ และสามารถพลิกฟื้นได้รวดเร็วหลังยกเลิกข้อห้ามในช่วงไวรัสระบาด
มาเลเซียเน้นกระตุ้นการเติบโต-ส่งเสริมการลงทุน
มาเลเซียออกมาตรการเดือนกุมภาพันธ์ในวงเงิน 4.8 พันล้านดอลลาร์ เพื่อเยียวยาผลกระทบจากการระบาดของไวรัส กระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งเสริมการลงทุน และสนับสนุนให้ธุรกิจในประเทศหันมาใช้ระบบดิจิทัลมากขึ้น
มาตรการเยียวยาผลกระทบทันที
เสริมสภาพคล่อง SMEs
นอกจากนี้ยังขอความร่วมมือสถาบันการเงินให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ทั้งการปรับโครงสร้างหนี้หรือเลื่อนระยะเวลาชำระหนี้ออกไป หรือพักชำระหนี้ และมีวงเงิน 45 ล้านดอลลาร์สำหรับธุรกิจในการพัฒนาทักษะแรงงาน
มาตรการกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ
ส่งเสริมการลงทุน
มาตรการภาษี
อินโดนีเซียออกมาตรการแล้ว 2 ชุด
อินโดนีเซียออกมาตรการมาแล้ว 2 ชุด ชุดแรกออกมาเดือนกุมภาพันธ์วงเงินรวม 725 ล้านดอลลาร์ ส่วนชุดที่สองที่ออกในเดือนมีนาคมมีวงเงิน 8 พันล้านดอลลาร์
แพกเกจแรกออกมาวันที่ 25 กุมภาพันธ์ เพื่อปกป้องเศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของไวรัส จึงให้สิทธิประโยชน์ทางการเงินแก่ธุรกิจท่องเที่ยว สายการบิน และอสังหาริมทรัพย์ นอกเหนือจากการให้เงินอุดหนุน การลดภาษี และสิทธิประโยชน์ด้านการว่างงาน
สิทธประโยชน์แก่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและสายการบิน
กระทรวงกิจการทางทะเลและการลงทุนคาดว่า อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศสูญเสียราว 500 ล้านดอลลาร์จากการระบาดของไวรัส รัฐบาลได้เตรียมวงเงิน 98.5 พันล้านรูเปียะห์หรือ 6 ล้านดอลลาร์รองรับธุรกิจสายการบินและตัวแทนท่องเที่ยว พร้อมจัดสรรเงิน 10 ล้านดอลลาร์สำหรับการทำการตลาดและส่งเสริมการท่องเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ
นอกจากนี้ยังให้ส่วนลดคิดเป็นมูลค่า 27 ล้านดอลลาร์สำหรับนักท่องเที่ยวในประเทศที่ไปเยือน 1 ใน 10 แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ที่รัฐบาลส่งเสริม ซึ่งเทียบเท่าการให้ส่วนลด 30% สำหรับเที่ยวบินในเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 2563 และโรงแรมและร้านอาหารในสถานที่ท่องเที่ยวทั้ง 10 แห่ง จะได้รับการยกเว้นภาษีเป็นเวลา 6 เดือน
แหล่งท่องเที่ยวทั้ง 10 แห่งได้แก่ เดนปาซาร์ บาตัม บินตัน มานาโด ยอร์กจาการ์ต้า ลาบวน บาโจ เบลิตัง ลอมบอก มาลัง
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
รัฐบาลเตรียมเงิน 324 ล้านดอลลาร์ให้โครงการจัดหาอาหารสำหรับกลุ่มรายได้น้อย 15 ล้านครัวเรือนเพื่อนำไปใช้จ่ายในการซื้ออาหารและสินค้าจำเป็นในราคาส่วนลด และแจกเงินครัวเรือนรายได้น้อยครัวเรือนละ 13.97 ดอลลาร์ต่อเดือนเป็นเวลา 6 เดือน
เตรียมวงเงิน 104 ล้านดอลลาร์เป็นเงินอุดหนุนโครงการสร้างบ้านเอื้ออาทร ซึ่งคาดว่าจะช่วยสร้างบ้านใหม่ได้ 175,000 หลัง และ อีก 55 ล้านดอลลาร์ไว้สำหรับค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย
แนวทางช่วยเหลือ SMEs
สำหรับมาตรการขุดที่สองมีเป้าหมายช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEs โดยเฉพาะในภาคการผลิต โดยลดอัตราภาษีเงินได้ลง 30% สำหรับธุรกิจใน 19 อุตสาหกรรมการผลิตตลอดเวลา 6 เดือน นอกจากนี้ยังขยายเวลาการชำระภาษีนำเข้าของทั้ง 19 อุตสาหกรรมไป 6 เดือนเช่นกัน และผ่อนปรนการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 6 เดือน
ลูกจ้างของทั้ง 19 อุตสาหกรรมนี้ที่มีรายได้ต่อปีต่ำกว่า 13,000 ดอลลาร์จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ 6 เดือน
ธุรกิจ SMEs ที่มีประวัติดีสามารถขอเงินกู้ได้ถึง 655,000 ดอลลาร์
ส่วนมาตรการอื่นที่ไม่ใช้เงินได้แก่การปรับปรุงการส่งออกและการนำเข้าให้ง่ายขึ้นโดยเฉพาะการนำเข้าวัตถุดิบ จะยกเลิกพิกัดศุลกากร 749 รายการ รวมทั้งจะเร่งพิจารณาออกใบอนุญาตนำเข้าและส่งออกสำหรับผู้ค้าที่มีประวัติดีให้เร็วขึ้น
เวียดนามขยายระยะเวลาชำระภาษี 5 เดือน
รัฐบาลเวียดนามเตรียมมาตรการวงเงิน 27 ล้านล้านด่องหรือ 1.16 พันล้านดอลลาร์เพื่อเยียวยาผลกระทบต่อเศรษฐกิจ จากการระบาดของไวรัสโควิด-19
เศรษฐกิจของเวียดนามพึ่งการด้านการค้ากับจีนถึง 17% สูงที่สุดในอาเซียน ภาคการผลิตของเวียดนามได้รับผลกระทบจากขาดแคลนวัตถุดิบจากจีนจนต้องชะลอการผลิต และบางรายต้องหยุดผลิต ขณะเดียวกันเวียดนามส่งสินค้าเกษตรไปจีนถึง 20% ของผลิตผลโดยรวม
รัฐบาลตั้งเป้าการเติบโตของเศรษฐกิจไว้ที่ 6.8% แต่การขาดตอนของห่วงโซ่อุปทานอาจจะมีผลให้เติบโต 5.96% ในปีนี้
รัฐบาลขยายระยะเวลการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลออกไป 5 เดือนสำหรับธุรกิจในภาคเกษตร ผลิตรองเท้า รถยนต์ การบิน สิ่งทอ อิล็กทรอนิคส์ แปรรูปอาหาร และการท่องเที่ยว ซึ่งคิดเป็นเงินภาษีราว 974 ล้านดอลลาร์
รวมทั้งขยายเวลาการชำระค่าธรรมเนียมการใช้ที่ดินออกไปจนถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2562
ธนาคารกลางได้ลดอัตราดอกเบี้ย0.5- 1 %ของในเดือนกุมภาพันธ์ และการเตรียมวงเงินสินเชื่อ 12.4 พันล้านดอลลาร์ให้กับธุรกิจที่ได้ผลกระทบ และได้ขอให้ธนาคารพาณิชย์ลดลดอกเบี้ยตาม
กัมพูชารับมือไวรัสและการถูกตัดสิทธิภาษี
ในเดือนกุมภาพันธ์ รัฐบาลกัมพูชาได้ออกประกาศช่วยเหลือธุรกิจ ไม่เฉพาะรายที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส แต่ช่วยธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการตัดสิทธิทางภาษีจากสหภาพยุโรปด้วย เนื่องจากผู้ส่งออกสินค้า 30 รายการต้องชำระภาษีเต็ม
สิ่งทอและรองเท้า
ภาคท่องเที่ยว
การระบาดของไวรัสทำให้เป้าหมายที่จะดึงนักท่องเที่ยวจีน 2 ล้านคนปีนี้อาจจะไม่บรรลุผล
นอกจากนี้รัฐบาลยกเว้นค่าอาการแสตมป์ 4% การโอนที่อยู่อาศัยเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ถึงมกราคม 2564 สำหรับที่อยู่อาศัยมูลค่าต่ำกว่า 70,000 ดอลลาร์ และต้องรับโอนจากบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงการคลัง พร้อมเตรียมวงเงินกู้ 50 ล้านดอลลาร์ดอกเบี้ยต่ำให้ธุรกิจ SMEs ในภาคเกษตร ผ่านธนาคารพัฒนาชนบท
เมียนมาตั้งกองทุน 72 ล้านดอลลาร์ช่วย SMEs
กระทรวงวางแผน การคลังและอุตสาหกรรมออกคำสั่งวันที่ 18 มีนาคม 2563 ให้ความช่วยเหลือธุรกิจสิ่งทอประเภท cut-make-pack (CMP) โรงแรม บริษัทท่องเที่ยว และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จะจัดอยู่ในภาคธุรกิจสำคัญ โดยความช่วยเหลือทางการเงิน
ลาวยกเว้นภาษีธุรกิจรายย่อย
วันที่ 2 เมษายน 2563 นายกรัฐมนตรีสปป.ลาวออกประกาศมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 สำหรับธุรกิจในประเทศ เพิ่มเติมหลังจากวันที่ 27 มีนาคม 2563 กระทรวงการคลังได้ขยายระยะเวลาการส่งงบการเงินจากวันที่ 30 มีนาคม 2563 ไปเป็นวันที่ 30 เมษายน 2563 และหลังจากธนาคารกลางได้ออกแนวทางแก่สถาบันการเงินในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ซึ่งครอบคลุมทั้งการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การปรับปรุงเงื่อนไขการชำระเงินทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย การพักชำระหนี้ 1 ปี การให้สินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้สำหรับมาตรการเพิ่มติมประกอบด้วย
เรียบเรียงจาก ASEAN Briefing, Khmer Times,allenandgledhill,Tilleke&Gibbins