คณะกรรมาธิการแม่นํ้าโขง (Mekong River Commission:MRC) เผยยุทธศาสตร์ใหม่ 10 ปี(2021–2030 Basin Development Strategy) และแผนปฏิบัติงาน 5 ปี(MRC Strategic Plan 2021–2025) เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการบริหารจัดการและการพัฒนาลุ่มน้ำ
วันที่ 5 เมษายน 2564 ที่นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว คณะกรรมาธิการแม่นํ้ำโขง ได้เผยแพร่ยุทธศาสตร์ 10 ปี เพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขงและแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (แผนยุทธศาสตร์ MRC) ฉบับใหม่เพื่อให้ประเทศในลุ่มน้ำโขงสามารถจัดการความท้าทายใหม่ๆ และพัฒนาสถานการณ์โดยรวมของลุ่มน้ำได้ ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขงปีพ.ศ. 2564-2573 ซึ่งได้รับการรับรองจากคณะมนตรีอันประกอบด้วยรัฐมนตรีจากประเทศกัมพูชา, สปป.ลาว, ไทย, และเวียดนาม มุ่งเน้นประเด็นสําคัญ 5 ประการ ได้แก่
1.การพัฒนาหน้าที่เชิงระบบนิเวศของแม่น้ำโขงเพื่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ดีและชุมชนที่อุดมสมบูรณ์
2.การพัฒนาการเข้าถึงและการใช้น้ำและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเพื่อสุขภาวะที่ดีของชุมชน
3.การพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ทั่วถึงและครอบคลุม
4.ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและความเสี่ยงต่อภัยพิบัติ และ
5.การยกระดับความร่วมมือระดับภูมิภาคจากมุมมองของทั้งลุ่มน้ำ
“ยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าวนี้สอดคล้องกับประเด็นสําคัญของรัฐบาลต่าง ๆ ในลุ่มน้ำโขงและความต้องการที่จะพัฒนาให้ลุ่มแม่น้ำโขงมีความเข้มแข็งขึ้น รวมถึงสามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้นผ่านทางการวางแผนเชิงรุกและการบริหารจัดการที่ประสานงานกัน ทั้งนี้ เพื่อนําไปสู่การสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” ดร.An Pich Hatda ประธานกรรมการบริหาร สํานักเลขาธิการ คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กล่าวในงานเปิดตัวยุทธศาสตร์ฯ และแผนยุทธศาสตร์ของคณะกรรมาธิการฯเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมางานเปิดตัวดังกล่าว ยังเป็นการระลึกถึงวันแม่โขง (Mekong Day)ซึ่งเป็นวันที่ประเทศภาคีสมาชิกของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงได้ลงนามในข้อตกลงแม่น้ำโขงเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2538
ยุทธศาสตร์ฯ ฉบับใหม่นี้จัดทําขึ้นโดยอาศัยข้อมูลจากการประเมินที่จัดทําขึ้นเมื่อไม่นานมานี้เพื่อศึกษาผลกระทบที่มีนัยสําคัญ อันเกิดจากการพัฒนาทรัพยากรน้ำและทรัพยากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และระบบโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงเขื่อนซึ่งทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการไหลของน้ำ ส่งผลกระทบต่อการพัดพาตะกอนและการกัดเซาะตลิ่งที่เพิ่มสูงขึ้น ผลกระทบต่างๆ เหล่านี้ส่งผลให้เกิดการลดลงของจํานวนประชากรปลาตามธรรมชาติการเสื่อมโทรมของเขตสินทรัพย์ทางสิ่งแวดล้อมและที่ราบน้ำท่วมถึงและการลดลงของปริมาณดินตะกอนที่สะสมบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศยิ่งทําให้ผลกระทบต่างๆ รุนแรงขึ้น นําไปสู่ความไม่แน่นอนและความเสี่ยงต่างๆ รวมถึงปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งที่จะเกิดบ่อยขึ่น
ยุทธศาสตร์ฯ ฉบับนี้ยังกําหนดแผนดําเนินงานของมาตรการ ที่เสนอแนะให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค
สามารถนําไปดําเนินการต่อเพื่อบรรลุประเด็นสําคัญเชิงยุทธศาสตร์ผ่านทางโครงการริเริ่มและแผนงานต่าง ๆ ของตัวเอง
คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงจะมีบทบาทอย่างยิ่งในการดําเนินงานตามประเด็นสําคัญดังกล่าว ที่มีการระบุไว้ในยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขง ผ่านการดําเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2564-2568 ซึ่งได้ระบุแผนงานกิจกรรมทั้งสิ้น 95 กิจกรรม และผลงานที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นจํานวน 86 ผลงานแนวทางหลักเพื่อการดําเนินงานของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงในทิศทางใหม่ คือการประเมินในเชิงรุกและการระบุทางเลือกใหม่ ๆ สําหรับการเก็บกักน้ำ การไหลของน้ำและขีดจํากัดด้านสิ่งแวดล้อม และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการร่วมลงทุนในระดับลุ่มน้ำซึ่งจะยังประโยชน์หลายประการต่อการจัดการด้านอุทกภัย การบรรเทาภัยแล้ง ความมั่นคงทางพลังงานและการปกป้องสิ่งแวดล้อม
การดําเนินการดังกล่าวเพื่อให้มั่นใจว่าแผนการผลิตไฟฟ้าใหม่ๆ จะคํานึงถึงแหล่งผลิตพลังงานที่มีศักยภาพทั้งหมด รวมทั้งการ
บูรณาการทางเลือกด้านน้ำและพลังงาน รวมทั้งการนําพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประกอบ มาตรการเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความยั่งยืนและจัดการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในขณะเดียวกัน
นอกจากนี้ทางคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงจะยังมุ่งเน้นการประสานงานร่วมกันระหว่างผู้พัฒนาโครงการระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำตลอดทั่วทั้งลุ่มน้ำ เพื่อให้การดําเนินโครงการเหล่านี้ยังประโยชน์มากขึ้นและจํากัดผลกระทบต่อแม่น้ำโขงสายประธาน คณะกรรมาธิการฯ จะยังคงทํางานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงกว้างขึ้นและผ่านทางช่องทางต่างๆ ที่เกี่ยวกับแม่น้ำโขง โดยเฉพาะภายใต้กรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขงในด้านน้ำ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะมีการแจ้งเตือนที่ทันเวลา มีการประสานงานและการสนับสนุนในด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำ
ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงฉบับใหม่ ทางคณะกรรมาธิการฯ คาดว่าจะมีเงินทุนสนับสนุนมากกว่า 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดช่วงระยะเวลา 5 ปีที่จะถึงนี้โดยร้อยละ 40 ของเงินทุนสนับสนุนจะมาจากประเทศภาคีสมาชิก นอกจากทรัพยากรการเงินที่มีความจําเป็นแล้ว เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายดังที่ได้ระบุไว้ในแผนยุทธศาสตร์จําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยภาวะผู้นําที่สร้างแรงบันดาลใจจากหน่วยต่างๆ ของคณะกรรมาธิการฯ และความร่วมมืออย่างแข็งขันพร้อมทั้งการสนับสนุนจากผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
แผนยุทธศาสตร์ของคณะกรรมาธิการฯ ฉบับถัดไป จะจัดทําขึ้นในปี พ.ศ. 2567 เพื่อสนับสนุนการดําเนินงานตามยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขงที่เหลือระหว่างปีพ.ศ.2569-2573 ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงนี้และแผนยุทธศาตร์ของทางคณะกรรมาธิการฯ ได้จัดทําขึ้นโดยอ้างอิงจากผลการศึกษาในขั้นรายละเอียด ตามรายงานสถานการณ์ของลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งรวมถึงความท้าทายและโอกาสด้านการพัฒนาของลุ่มน้ำ การถอดบทเรียนจากยุทธศาสตร์ก่อนหน้านี้และการปรึกษาหารือกับประเทศลุ่มน้ำโขงทั้ง 6 ประเทศ หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partners)หน่วยงานรัฐบาลในระดับภูมิภาค องค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชนและสถาบันต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างครอบคลุมทั่วถึง
นับตั้งแต่มีการก่อตั้งในปีพ.ศ.2538 คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงได้จัดทําแผนยุทธศาสตร์มาแล้ว 5 ฉบับและยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำ โขงทั้งหมด 3 ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับนั้นมีกรอบระยะเวลา 5 ปี
การเปลี่ยนกรอบระยะเวลาของยุทธศาสตร์ฯ ให้ครอบคลุม 10 ปีนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) และความต้องการการพัฒนาอย่างยั่งยืนของลุ่มน้ำ ตลอดจนปัญหาความมั่นคงด้านน้ำในปัจจุบัน ซึ่งจะสามารถแก้ไขได้ในระดับลุ่มน้ำ โดยอาศัยความร่วมมือกันของประเทศภาคีแม่น้ำโขงทั้ง 6 ประเทศและชุมชนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเท่านั้น
ยุทธศาสตร์ฯ นี้จะสามารถบรรลุเป้าประสงค์ได้ก็ต่อเมื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ร่วมมือกันเพื่อพัฒนาให้ลุ่มน้ำโขงมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ มีความยุติธรรมทางสังคม มีสิ่งแวดล้อมที่ดีและสามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้
คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) คือองค์กรระหว่างรัฐบาลซึ่งตั้งขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระดับภูมิภาคในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง เมื่อปีพ.ศ. 2538 ตามข้อตกลงแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศกัมพูชา สปป.ลาว ไทย และเวียดนาม องค์กรได้ทําหน้าที่เป็นเวทีระดับภูมิภาคในเชิงการทูตว่าด้วยเรื่องน้ำ และเป็นคลังความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรนำเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของภูมิภาค