ThaiPublica > ประเด็นร้อน > COVID-19 พลิกโลก > สธ.แบ่ง 6 โซน รพ.รัฐ-เอกชนดูแลผู้ป่วยโควิด กทม.-ปริมณฑล

สธ.แบ่ง 6 โซน รพ.รัฐ-เอกชนดูแลผู้ป่วยโควิด กทม.-ปริมณฑล

27 เมษายน 2021


นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ที่มาภาพ: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/04/157290/

วันนี้ (27 เมษายน 2564) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุขนายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ รายงานสถานการณ์การจัดการเตียงที่กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้รับผิดชอบ ขณะนี้มีการแบ่งเขตสุขภาพผู้ป่วยสำหรับโควิด-19 แบ่งออกเป็น 13 เขต มีทั้งหมด 44,560 เตียง โดยเขตที่ 1 – 12 นั้น สามารถจัดการได้อย่างเพียงพอ และเขต 13 คือพื้นที่กรุงเทพนั้น มีเตียงว่างทั้งหมด 4,720 เตียง

เมื่อแบ่งเป็นประเภทของเตียงทั่วประเทศ จะพบว่าทั้งเตียงไอซียูห้องความดันลบ ห้องความดันลบ หรือ AIIR-ICU ที่มีเครื่องมือดูแลผู้ป่วยอาการหนัก ใส่เครื่องช่วยหายใจ และ เตียงห้องรองลงมา Modified AIIR ที่เป็นระบบความดันลบ มีผู้ป่วยครองเตียงแล้ว 70 – 80 % ซึ่งทำให้พื้นที่ในการรับผู้ป่วยลดน้อยลง ในส่วนนี้จึงจะต้องมีการนำ ผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ใน ICU ออกไปอยู่ในห้องผู้ป่วยสามัญ และพยายามเพิ่มจำนวน ICU ในโรงพยาบาล ทั้งภาครัฐและเอกชน แม้เตียงจะยังมีมาก แต่เนื่องจากต้องทยอยนำผู้ป่วยเข้ารับการรักษา และต้องประเมินระดับความรุนแรง ให้เหมาะสมเพื่อให้ได้รับความปลอดภัย

ในภาคเอกชน โดยเฉพาะกรุงเทพ มีปริมาณเตียงมากที่สุด ทั้งหมด 13,718 เตียง ครองแล้ว 8,306 เตียง และว่าง 5,412 เตียง และยังได้ได้มีการเปิดโรงแรมที่มีการเปิดสถานพยาบาลอยู่ภายในเพื่อปรับให้เป็น Hospital สำหรับรับผู้ป่วยที่มีอาการน้อย หรือไม่มีอาการ โดยภายในห้องอยู่ 2 คน หรืออาจจะอยู่เป็น ครอบครัว ซึ่งการดูแลจะได้รับตามมาตรฐานที่กำหนด

โรงพยาบาลสนามขณะนี้มี 2 แบบ คือการจัดตั้งอยู่ในสนามกีฬาปิดมิดชิด แต่ระบบพยาบาลเทียบเท่า กับโรงพยาบาล และพร้อมที่จะดูแลหากเกิดสถานการณ์ที่รุนแรงขึ้น อีกประเภทคือการจัดตั้ง ในโรงพยาบาล เช่น สถานบำบัดยาเสพติดของกรมการแพทย์ สำหรับผู้แลผู้ป่วยระดับสีเหลือง ซึ่งไม่ว่าจะเข้ารักษาที่โรงพยาบาลสนามหรือ Hospitel เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นก็มั่นใจ ได้ว่าจะมีระบบ เครือข่ายโรงพยาบาลเพื่อรับรองดูแล

ทั้งนี้ นายแพทย์ณัฐพงศ์ ให้ข้อมูลอีกว่า โรคโควิดสามารถรักษาได้ในโรงพยาบาล แม้แต่โรงพยาบาลสนาม ผู้ติดเชื้อที่ไม่ได้มีอาการเลย โรงพยาบาลขนาดเล็กโรงพยาบาลทั่วไปสามารถรักษาได้หายเช่นกัน แต่หากมีอาการหนัก มีความจำเป็นเป็นโรคที่ซับซ้อน จำเป็นที่จะต้องส่งตัวไปยังโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ที่มีเครื่องไม้ เครื่องมือ และมีแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ โดยได้มีการแบ่งกลุ่มเขตพื้นที่ดูแลในกรุงเทพ 6 เขต ตามพื้นที่ที่ติดต่อกันซึ่งจะมีโรงพยาบาลที่เป็น หัวหน้าโซน คอยดูแล โรงพยาบาลเล็กๆในเครือรัฐและเอกชน ดังนั้นผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาลต่าง ๆ ก็จะได้รับการดูแลที่เหมาะสมและมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้การดูแลและคำปรึกษา

โดยโซนที่ 1 คือโรงพยาบาลทั้งหมดที่อยู่ในส่วนกลางโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าและโรงพยาบาลราชวิถี เป็นหัวหน้าโซน โซนที่ 2 แดูแลด้านใต้ โซนที่ 3 เป็นโซนเหนือ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์และโรงพยาบาลภูมิพล โซนที่ 4 ตะวันออก โรงพยาบาลรามาธิบดี โซนที่ 5 โรงพยาบาลศิริราช และโซนที่ 6 แ

“ทั้ง 6 โซนนี้เราเชื่อมั่นว่าทางอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จากโรงเรียนแพทย์ แพทย์ จากกรมการแพทย์ โรงพยาบาลขนาดใหญ่จะดูแลพี่น้องประชาชนได้อย่างถึงที่สุดในระบบที่ระวังไว้ ส่วนภาคเอกชนมักจะมี โรงพยาบาลที่เป็นเครืออยู่แล้วใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นสมิติเวช เกษมราษฎร์ จะมีระบบการดูแลในเครือกันเอง แต่หากมีความจำเป็นที่จะต้องดูแลข้ามโซนก็จะมีส่วนที่จะปรึกษา ผ่านศูนย์บริหารจัดการที่ราชวิถี ขอให้ ไว้วางใจว่าทุกโซนทุกจุดของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะได้รับการดูแลโดยมาตรฐานที่เหมือนกัน”

สำหรับผู้ติดเชื้อที่ยังไม่ได้รับการติดต่อเข้ารักษาให้เตรียมเอกสารผลตรวจ และติดต่อไปที่ 1668 ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปเพื่อสอบถามรายละเอียด และจัดส่งรถพยาบาลไปรับ หรือสามารถ ติดต่อกับจุดคัดกรองที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด สำหรับกรุงเทพได้แก่ สถาบันบำบัดรักษายาเสพติด รังสิต และจะถูกส่งต่อไปยังโรงพยาบาลต่าง ๆ

ที่มาภาพ:https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/04/157290/

สำหรับการจัดการวัคซีนในประเทศไทย นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ชี้แจงว่า เป้าหมายในการจัดหาวัคซีนให้ได้ 100 ล้านโดส ภายในปี 2564 นั้น ในส่วนของ Astrazeneca ซึ่งมีการตั้งฐานผลิตในประเทศไทย ขณะนี้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต วัคซีนได้ประสบความสำเร็จ และสามารถผลิตวัคซีนและมีวัคซีนที่ผ่านการตรวจคุณภาพแล้วจำนวน 2 รุ่น

ส่วนรุ่นอื่น ๆ ขณะนี้กำลังตรวจสอบคุณภาพอยู่ที่สกอตแลนด์และอเมริกา ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการ กลางใน การ ควบคุมคุณภาพวัคซีนของบริษัท astrazeneca ดังนั้นการส่งมอบวัคซีนมั่นใจ ได้ว่าจะเป็นไป ตามแผนที่ได้มีการวางกำหนด

นอกจากนี้ นพ.นคร ยังได้ตอบคำถามที่เกิดขึ้นกรณีการจัดซื้อวัคซีน Pfizer ที่เป็นข่าวลือทางโซเชียลมีเดียว่า
1.บริษัท Pfizer เคยเสนอขายวัคซีนให้ไทย 13 ล้านโดส จริงหรือไม่ ?
ตอบ ไม่เป็นความจริง ตัวเลข 13 ล้านโดสเป็นข้อมูลตัวเลขที่บริษัท Pfizer ใช้ในการนำเสนอกับบริษัทแม่ เพื่อเตรียมการหารือกับกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นการนำข้อมูลที่เกิดจากการวางแผนการจัดหาวัคซีนในช่วงปี 2563
2.การซื้อวัคซีน Pfizer สามารถนำเข้าวัคซีนก่อนค่อยจ่ายทีหลัง จริงหรือไม่ ?
ตอบ ไม่เป็นความจริง เอกสารการจองซื้อที่ได้รับจากบริษัท Pfizer ซึ่งมีการเจรจากันมาตั้งแต่ต้นปี ทุกฉบับมีเงื่อนไขที่ต้องมีการวางเงินมัดจำทั้งสิ้น
3.บริษัท Pfizer เคยเสนอขายวัคซีนให้กับรัฐบาลถึง 4 รอบแต่ถูกปฏิเสธ จริงหรือไม่ ?
ตอบ ไม่เป็นความจริง ที่ผ่านมาบริษัท Pfizer ได้มีการติดต่อประสานงานกับทางสถาบันวัคซีน แห่งชาติและกรมควบคุมโรค ในการนำเสนอข้อมูลผลการวิจัยในระยะต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของวัคซีน

ปัจจุบันวัคซีน Pfizer สามารถจัดเก็บวัคซีนที่อุณหภูมิที่ – 20 องศาได้ในระยะเวลาหนึ่ง และค่อยนำมา เก็บไว้ในตู้เย็น 2-8 องศา ซึ่งลักษณะแบบนี้ทำให้กระบวนการจัดเก็บ และการขนส่งทำให้สามารถขนส่งได้ สะดวกขึ้นในประเทศไทย และวัคซีนสามารถใช้ได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ซึ่งจะช่วยเข้ามาอุดช่องโหว่ ของวัคซีนที่มีในประเทศไทยตอนนี้ที่มีข้อจำกัดในการฉีดให้กับผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไป รวมทั้งเงื่อนไขในจะจัดส่งวัคซีนให้ได้ภายในไตรมาสที่ 3 ดังนั้น สถาบันวัคซีนแห่งชาติ จึงได้มีการติดต่อ ประสานเจรจาต่อเนื่องกับบริษัท Pfizer และนำไปสู่การที่หารือกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ายอนุทิน ชาญวีรกูล ในการจองซื้อวัคซีนจากบริษัท Pfizer

นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค ออกมาชี้แจงถึงกรณีที่มีผู้เสียชีวิต ภายหลังจากได้รับวัคซีน sinovac ว่า ผู้เสียชีวิตเข้ารับวัคซีนที่โรงพยาบาล แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทร สาครเมื่อวันที่ 1 เมษายน และในวันต่อมาได้มีการรับประทานอาหารเสริมไม่ทราบชนิด 30 นาทีหลังจากนั้นเกิดอาการปวดศีรษะรุนแรง และอาเจียนจึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ต่อมามีอาการเพิ่มขึ้นทางระบบประสาทและเสียชีวิตในวันต่อมา ซึ่งจากการสอบสวนทั้งหมด พบว่าอาการทางประสาทที่เกิดภายหลังคือ Encephalopathy คือมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง และเริ่มมีอาการแสดงท่าทางแปลก ๆ คล้ายการรำ

สำหรับโรค Encephalopathy นั้นเหตุการน่าจะเกิดขึ้นหลังจากรับวัคซีน sinovac มากกว่า 4 วัน ดังนั้นจึงสันนิฐานว่าไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์วัคซีน คาดว่าน่าจะเป็นเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นร่วมโดยบังเอิญ แต่ทั้งนี้กำลังอยู่ในกระบวนการชันสูตรหาสาเหตุที่แท้จริง และนำผลตรงนี้เข้าสู่ การพิจารณา อีกครั้งหนึ่ง

สุดท้ายนี้ นพ.ทวีทรัพย์ ยังแนะนำว่าสำหรับครอบครัวที่อยู่ด้วยกันหลายคน โดยเฉพาะมีผู้สูงอายุควร ใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัว