ThaiPublica > เกาะกระแส > แอมเนสตี้เรียกร้องปล่อยตัวเพนกวินและยืนยันสิทธิในการประกันตัว

แอมเนสตี้เรียกร้องปล่อยตัวเพนกวินและยืนยันสิทธิในการประกันตัว

29 เมษายน 2021


ที่มาภาพ : เฟซบุ๊ก พริษฐ์ ชีวารักษ์ (เพนกวิน)

สืบเนื่องจากรายงานการเข้าเยี่ยมนักกิจกรรม พริษฐ์ ชีวารักษ์ (เพนกวิน) เเละปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (รุ้ง) ปรากฏว่าพริษฐ์ ผู้อดอาหารเพื่อเรียกร้องสิทธิในการปล่อยชั่วคราวหรือสิทธิในการประกันตัวมาตั้งเเต่วันที่ 15 มีนาคม 2564 เริ่มมีอาการอ่อนเเรง ผิวหนังซีด อีกทั้งยังขับถ่ายออกมาเป็นก้อนเนื้อสีดำ

นางปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเเนล ประเทศไทย เผยว่าแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเเนล ประเทศไทย มีความกังวลอย่างยิ่งต่อความเสี่ยงเเละอันตรายร้ายเเรงที่อาจถึงแก่ชีวิตของนักกิจกรรมทั้งสอง โดยเฉพาะพริษฐ์ ผู้อดอาหารเพื่อเรียกร้องสิทธิในการปล่อยชั่วคราวนานถึง 45 วัน

“การไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวนักกิจกรรมโดยไม่มีเหตุอันชอบธรรม ตอกย้ำว่าทางการไทยไม่เคารพสิทธิในการได้รับพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม อีกทั้งยังขัดต่อหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ การปล่อยชั่วคราวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาทุกคนตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายไทย”

“แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ยืนยันว่ารัฐบาลต้องปล่อยตัวนักกิจกรรมเพื่อให้พวกเขามีโอกาสต่อสู้คดีอย่างเป็นธรรม พร้อมทั้งยุติการดำเนินคดีกับนักกิจกรรมเพียงเพราะการชุมนุมเเละการเเสดงออกทางการเมืองในช่วงปีที่ผ่าน”

ข้อมูลพื้นฐาน

จากการดำเนินคดีต่อกลุ่มแกนนำผู้ชุมนุมเเละผู้เข้าร่วมชุมนุมของรัฐนับตั้งเเต่ปี 2563 ตามรายงานของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ในเดือนมีนาคม 2564 มีผู้ถูกดำเนินคดีอันเนื่องมาจากการเข้าร่วมชุมนุมเเละแสดงออกทางการเมืองอย่างน้อย 581 คน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 268 คดี

อย่างน้อย 88 คนถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญาใน 81 คดี พริษฐ์ ชีวารักษ์ และปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล คือหนึ่งในแกนนำผู้ชุมนุมที่ถูกเเจ้งข้อหาตามมาตราดังกล่าวถึง 20 และ 9 คดี ตามลำดับ มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญามีโทษสูงสุด 15 ปี พริษฐ์และปนัสยาจึงอาจถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิต

ศาลอาญา รัชดาภิเษก มีคำสั่งยกคำร้องขอปล่อยชั่วคราวพริษฐ์เเละปนัสยา 8 และ 4 ครั้ง ตามลำดับ นับเเต่ทั้งสองถูกสั่งฟ้องและไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราวเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2021 สำหรับพริษฐ์ และ 8 มีนาคม 2021 สำหรับปนัสยา ทั้งสองถูกคุมขังในเรือนจำมาเเล้วทั้งสิ้น 79 วันเเละ 52 วัน โดยศาลอาญา รัชดาภิเษก ยังมิได้เริ่มกระบวนการสืบพยานเเละนับเป็นการคุมขังบุคคลที่ยาวนานที่สุดนับเเต่มีการชุมนุมประท้วงใหญ่ในเดือนกรกฏาคม เเละรัฐเริ่มใช้มาตรา 112 กลับมาดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกัน

พริษฐ์ได้เริ่มอดอาหารตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2564 และปนัสยา ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2564 โดยการอดอาหารเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมในสิทธิในการปล่อยชั่วคราว ซึ่งปัจจุบัน มีผู้ถูกกล่าวหาด้วยมาตรา 112 อย่างน้อย 12 คนไม่ได้รับสิทธิดังกล่าว และถูกคุมขังทั้งในชั้นสอบสวน ระหว่างรอสืบพยาน และระหว่างอุทธรณ์คดี

Amnesty International Thailand: Parit must be released and the right to bail must be upheld

Pursuance to reports about the visits to Parit Chiwarak and Panusaya Sithijirawattanakul and that Parit has been on a hunger strike to demand the right to temporary release or the right to bail since 15 March 2021, and his health has become so frail as he has sustained pail skin, as well as pooped blood, Piyanut Kotsan, Director of Amnesty International Thailand, has this to say;

“Amnesty International Thailand is gravely concerned about the fatal risk and harm that may claim the lives of the two activists, particularly Parit, who has been on a hunger strike to demand the right to temporary release for 45 days successively.
“By denying the activists bail without legitimate grounds, it simply reiterates how the Thai authorities do not respect the right to a fair trial. The act also constitutes a breach of the presumption of innocence. According to domestic and international laws, the right to temporary release is such basic right to which all accused in a criminal suit should be entitled.”

“Amnesty International Thailand asserts that the Thai government must release the activists and give them a chance to fight the charges against them fairly. All the prosecutions against activists merely as a result of their exercising freedom of expression and participating in the political assemblies since last year must end.”

Background:

Protest leaders and participants in the anti-government assemblies since 2020 are facing prosecution. According to the Thai Lawyers for Human Rights (TLHR), as of March 2021, at least 581 individuals have been charged for participating in such assemblies and expressing themselves politically in 268 cases.

At least 88 of them are also accused of violating the Penal Code’s Section 112 in 81 cases. Parit Chiwarak and Panusaya Sithijirawattanakul are among protest leaders who have been charged for such offence in at least 20 and nine cases, respectively. The Penal Code’s Section 112 carries up to 15 years of imprisonment and Parit and Panusaya may also face life imprisonment.

The Ratchadaphisek Criminal Court has dismissed bail application of Parit and Panusaya at least eight and four times, respectively, since they have been indicted and first denied bail on 9 February 2021 for Parit and 8 March for Panusaya. Both have been detained pretrial for 79 and 52 days, respectively even before the Ratchadaphisek Criminal Court begins the trial and the witness examination in such cases. It is the most prolonged pretrial detention since the mass demonstration first happened in July 2020. The state has resumed the use of Section 112 against the protesters since November the same year.

Parit began his hunger strike since 15 March 2021, while Panusaya since 30 March 2021. The hunger strike is their last resort to demand the right to temporary release. At present, at least 12 individuals charged for violating Section 112 are denied such right. They have been remanded during the investigation, detained pending the trial and the appeal of their cases.